ผล ไม้ที่นิยมใช้หมักน้ำเอนไซม์ (สูตรป้าเช็ง)


บทความที่เกี่ยวข้อง

Anti Aging Medication อายุรวัฒน์เวชศาสตร์
SuperCheng

สูตร น้ำหมักขยะ ป้าเช็ง จาก SuperCheng Channel
สูตร น้ำหมักผลไม้ ป้าเช็ง จาก SuperCheng Channel
ผล ไม้ที่นิยมใช้หมักน้ำเอนไซม์ (สูตรป้าเช็ง)
วิธีการขยายน้ำหมักเอนไซม์


ประโยชน์ของลูกยอ

จากงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ผลยอสามารถเสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน
โดยควบคุมการทํางาานของเซลล์ต่างๆ และการงอกใหม่ของเซลล์ที่ถูกทําลาย โดยการใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นผลยอจึงมีค่าอันประมาณไม่ได้ในการเป็นสมุนไพรที่ช่วยเยียวยา ด้วยสรรพคุณต่างๆ และนอกจากนี้ผลยอสามารถรับประทานร่วมกับยาอื่นๆ ได้โดยเกือบจะไม่มีปฏิกิริยาทางลบเลย
นอกจากนี้ผลยอยังมีคุณสมบัติใน การบําบัดรักษาโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง, โรคข้ออักเสบบรูมาตอยด์, โรคสะเก็ดเงิน, เบาหวานชนิดที่ 2, ต่อมธัยรอยด์อักเสบ, โรคลําไส้อักเสบแบบโครห์น และลูปัส อีริธีมาโตลัส, โรคติดเชื้อไวรัส HIV และเอปสไตน์-บาร์, โรคเชื้อรา แคนดิดาเรื้อรัง การขาดพละกําลังแห่งชีวิตและ A.S.E., เนื้องอกผนังมดลูก หลอดเลือดแดงแข็ง, โรคติ่งเนื้อ (Diverticular disease) หูด, การเสื่อมความสามารถในการคัดกรองเซลล์เนื้องอกชนิดร้ายซึ่งจะนําไปสู่การ เป็นโรคมะเร็ง, ไซนัสอักเสบ, หอบหืด, หลอดลมอักเสบและน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง, แผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น, กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาพบอีกว่า ยอทําให้การทํางานของต่อมชนิดหนึ่งในสมองดีขึ้น ต่อมนี้จะทําหน้าที่ผลิตสารชื่อ Serotonin เป็นตัวผลิตฮอร์โมน Melatonin ช่วยให้การนอนหลับเป็นปกติ ช่วยให้อุณหภูมิ อารมณ์ มีความสมดุล รวมทั้งยังเชื่อว่า ยอทําให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่
ช่วยบรรเทาอาการ เจ็บปวดของสตรี ก่อนมีประจําเดือน และช่วยลดการปัสสาวะในเวลากลางคืนเนื่องจากการบวมของต่อมลูกหม
สาระดีๆ จาก ดาราเดลี่


ประโยชน์บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thoms.
Tinospora rumphii Boerl.
Tinospora tuberculata Beaumee
วงศ์ Menispermaceae
ชื่อท้องถิ่น จุ่งจริงตัวแม่, เจ็ดมูลย่าน, เจ็ตมูลหนาม, จุ่งจิง, เครือเขาฮ่อ , ตัวเจ็ตมุลย่าน, เถาหัวด้วน , เจ็ตหมุนปลูก

สารออกฤทธิ์
1.สารกลุ่ม terpenoid เช่น Borapetoside A ,Borapetoside B, Borapetol A , Tinocrisposide เป็นต้น
2. สารกลุ่ม Alkaloids เช่น N-formylannonaine, N-acetylnornuciferine เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีสารในกลุ่มอื่นๆ อีกหลายชนิด

การใช้ประโยชน์
มีการใช้บอระเพ็ดเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคฝีดาษ โรคไข้เหนือ โรคไข้พิษทุกชนิด ใบ รักษาพยาธิในท้อง รักษาฟัน ตำให้ละเอียดพอกฝี แก้ฟกช้ำ ปวดแสบปวดร้อน ผล เป็นยารักษาโรคไข้พิษอย่างแรงและเสมหะเป็นพิษ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ โรคโลหิตพิการ
ในทางการเกษตร มีการนำบอระเพ็ดมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น หนอนกอ เพลี้ยกระโดด


สมอไทย

สมอไทยนอกจากจะนำมาเป็นยาสมุนไพรแล้ว เรายังนำมาเป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวมได้อีกด้วย โดยนำเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อนำมาปั่นรวมกับผลไม้อื่น

แคลเซียมใน สมอไทยช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินเอช่วยในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ และวิตามินซีสร้างแรงยืดหยุ่นให้ผิวหน้า ป้องกันดรคลักปิดลักเปิด

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับ ประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 53 แคลอรี่
โปรตีน 85.9 กรัม
ไขมัน 1.7 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม
แคลเซียม 18 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม
เหล็ก มีน้อยมาก
วิตามินเอ 500221 หน่วย
วิตามีนบี 2 0.01 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 2.0 มิลลิกรัม
วิตามีนซี 116 มิลลิกรัม


ประโยชน์มะขามป้อม
แก้หวัด
ผลมะขามป้อมมีสรรพ-คุณแก้หวัด แก้ไอได้ดี เป็นที่รู้กันในทุกประเทศที่มีมะขามป้อม จนปัจจุบันมีสิทธิบัตรจดในประเทศสหรัฐอเมริกาของตำรับยาที่มีส่วนผสมของ มะขามป้อมอยู่ระบุสรรพคุณในการแก้หวัด แก้ไข้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากวิตามินซีหรือสาร ในกลุ่มแทนนิน
อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ให้ใช้ผลสด ๑๕-๓๐ ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว

ไข้จากเปลี่ยนอากาศ
ใช้ มะขามป้อมสดตำคั้นน้ำดื่ม จะช่วยลดไข้ได้ ดื่มวันละ ๓-๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา น้ำคั้นมะขามป้อมเป็นยาเย็นช่วยลดความ ร้อน และระบายความร้อนออกจากร่างกาย โดยช่วยขับปัสสาวะและระบายท้อง

ไอ เจ็บคอ เสมหะติดคอ
ตามตำรายาไทยเชื่อว่าของที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดช่วย ละลายเสมหะ และหมอยา พื้นบ้านเชื่อว่ารสเปรี้ยวที่ละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุดคือมะขาม ป้อม ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าในมะขามป้อมมีสารที่ละลายน้ำได้มีฤทธิ์ละลายเสมหะ และที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีการพัฒนายาแก้ไอมะขามป้อมขึ้นทะเบียน ยาเป็นยาแผนโบราณ เป็นที่นิยมของทั้งผู้ใช้ยาและแพทย์ โดยตำรับยาทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ นำมะขามป้อมแห้งมาต้มแล้วแต่งรส
มะขามป้อมที่จะนำมากินแก้ไอ เจ็บคอ ควรเลือกลูกที่แก่จัดจนผิวออกเหลือง
เมื่อมีอาการเป็นหวัด ไอ ให้นำมะขามป้อมสดมาเคี้ยวอมกับเกลือทุกครั้งที่มีการไอ
ถ้าไม่ไอแต่ยัง มีไข้อยู่ก็ควรอมมะขามป้อมเพื่อให้ชุ่มคอและขับเสมหะ เป็นการป้องกันการไอได้ด้วย

ละลายเสมหะ แก้การกระหายน้ำ ใช้ผลแก่จัด มีรสขม อมเปรี้ยว อมฝาด เมื่อกินแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือใช้ผลแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ ๑๐ กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม

ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย ให้ใช้ผลสด ๕-๑๕ ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม

บำรุงเสียง
มะขามป้อมสดสามารถช่วย บำรุงเสียงได้ เพราะเวลาอม มะขามป้อมจะทำให้ชุ่มคอ คอไม่แห้ง เสียงจะสดใส นักร้องสมัยก่อนมักจะเฉือนลูกมะขามป้อมชิ้นหนึ่งมาอมไว้จนร้องเสร็จเพื่อ ป้องกันไม่ให้เสียงแห้ง

บำรุงผม
ผลแห้งของมะขามป้อมมีสรรพคุณ เป็นสารชะล้างอ่อนๆ คนอินเดียนิยมนำมา ใช้ทำเป็นแชมพูสระผม คนอินเดียเชื่อว่ามะขามป้อมบำรุงผม ช่วยทำให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัย ป้องกันผมร่วง
ในอินเดียมีการนำมะขามป้อมมาทำเป็นน้ำมันบำรุงให้ผมดกดำ ป้องกันการหงอกก่อนวัย
นำลูกมะขามป้อมมาฝานเป็นแว่นเล็กๆ ตากให้แห้งในที่ร่ม นำมาทอดในน้ำมันมะพร้าว ทอดจนเนื้อมะขามป้อมไหม้เกรียม แล้วกรองเก็บไว้ทาผมเป็นประจำ ยาน้ำมันนี้ ถ้าได้ เนื้อลูกสมอไทยและดอกชบาแดง ใส่ลงไปทอดด้วย จะทำให้น้ำมันมีสรรพคุณดียิ่งขึ้น ซึ่งตำรับนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยา- อภัยภูเบศรได้พัฒนามาเป็นน้ำมันหมักผมมะขามป้อม สมอไทย และได้ใส่ดอกอัญชันลงไปแทนดอกชบา ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก วิธีทำก็ง่ายๆ ตามที่เขียนไว้ในสูตร
น้ำแช่ลูกมะขามป้อมแห้งสามารถบำรุงผมได้ ขั้นตอนก็คือ นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๑ กำมือ แช่ในน้ำ ๑ ขัน แช่ไว้ตลอดคืน เมื่อเวลาสระผมเสร็จแล้ว ให้เอาน้ำแช่มะขามป้อมนี้ล้างเป็นน้ำสุดท้าย
มี การศึกษาพบว่าสารในมะขามป้อมช่วยกระตุ้นการงอกของผม และมีการจดสิทธิบัตรส่วนผสมที่มีมะขามป้อมที่ใช้กับเส้นผม

บำรุงร่าง กายให้แข็งแรง
มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มากเช่นเดียวกับสมอไทย
ตำรายาอินเดียยกย่องมะ ขามป้อมไว้มากว่า เป็นผลไม้บำรุงร่างกายที่ดีมาก ตำราบางเล่มถึงกับกล่าวว่า ถ้าคนอินเดียไม่มองข้ามมะขามป้อม คือเอามะขามป้อมมากินเป็นประจำวันละ ๑ ลูก ทุกวัน เขาเชื่อว่าคนอินเดียจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงกว่านี้มากนัก ทั้งนี้เพราะมะขามป้อมบำรุงอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย คือ บำรุงผม สมอง ดวงตา คอ หลอดลม ปอด หัวใจ กระเพาะ ลำไส้ ตับ ไต ตับอ่อน ผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย ปรับประจำเดือนให้มาปกติ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันเลือดสูง ปัจจุบันมีการศึกษาพบประโยชน์มากมายของมะขามป้อมในการลดความดัน ลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือด
การกินมะขามป้อมช่วยควบคุม โรคเบาหวานทางอายุรเวท พบว่าการ ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๕ ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด ๑ ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินและลดระดับ น้ำตาลในเลือด ได้ การกินยาตำรับนี้ต้องมีการควบคุม อาหารอย่างเข้มงวด และยาตำรับนี้ยังลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน

ลักปิดลักเปิด
มะขาม ป้อมมีวิตามินซีสูงมาก และเป็นวิตามินซีธรรมชาติ ที่มีสรรพคุณดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ทด-ลองให้คนกินยาเม็ดวิตามินซีกับกินมะขามป้อมเปรียบเทียบกัน
พบว่า วิตามินซีจากมะขามป้อมถูกดูดซึมเร็วกว่าวิตามินซีเม็ด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในมะขามป้อมมีสารอื่นๆ ที่ช่วยพาวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว
มะขามป้อมที่ผ่านการต้ม หรือตากแห้ง ทำให้วิตา-มินซีลดลง แต่ก็ยังเพียงพอที่จะใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ถ้าเก็บไว้ไม่เกิน ๑ ปี

กระหาย น้ำ
มะขามป้อมสดๆ เมื่อรู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำจัด ถ้าดื่มน้ำมากกะทันหันจะทำ ให้จุกเสียดไม่สบายได้ ถ้าได้อมมะขามป้อมก่อน อาการกระหายน้ำและคอแห้งอย่างแรงจะรู้สึกดีขึ้นทันที ไม่ทำให้ ดื่มน้ำมากไป เหมาะแก่การเดินทางไกล วิ่งมาราธอน
เวลาอมก็ใช้ฟันกัดลูกมะขามป้อมให้พอ มีน้ำซึมออก มา แล้วดูดลงคอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด

ท้องผูก
คนที่ ท้องผูกประจำ ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าได้กินมะขามป้อมแล้วอาการท้องผูกจะหายไป
เนื่องจากมะขามป้อมมีรสฝาด จะทำให้กินยากไปสักหน่อย ควรปรุงรสให้อร่อย ด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ ๑๐ ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอนหรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
วิธีลดความฝาดของมะขามป้อม ก็คือแช่น้ำเกลือ มีขั้นตอนดังนี้
ล้างมะขามป้อมให้สะอาด ลวกด้วยน้ำร้อน และนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด แช่ไว้สัก ๒ วัน รสฝาดก็จะลดลง ยิ่งแช่นานรสฝาดก็ยิ่งหมดไป

ไข้ทับระดู
นำมะขามป้อมแห้งจำนวนเท่า กับอายุของผู้ป่วย ลูกสมอไทยแห้งจำนวนเท่า กับอายุของผู้ป่วย ใบมะกาแห้ง ๑ กำมือ เกลือนิดหน่อย ใส่น้ำท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที ในวันแรกที่กินให้กินเว้นระยะห่างทุก ๔-๖ ชั่วโมง ครั้งละ ๑ แก้ว วัน ต่อมาให้กินวันละ ๒ ครั้งครั้งละ ๑ แก้ว เช้า-เย็น กิน ๓ วันหาย หลังจากกินยาไปแล้ว ๑๒ ชั่วโมงอาการจะดีขึ้น คืออาการปวดหัวเมื่อยตัว ปวดท้อง ทุเลาลง

คันจากเชื้อรา
ใช้รากมะขามป้อมสับเป็นชิ้นเล็กๆ พอประมาณ ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที นำมาทาบริเวณที่มีเชื้อรา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
หลังจากทาแล้วประ-มาณ ๒-๓ ชั่วโมงอาการคันจะค่อยๆ ลดลง และจะค่อยๆ หายไปภายใน ๑ สัปดาห์

น้ำกัดเท้า-ฮังกล้า
น้ำกัดเท้า หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า "ฮังกล้า" เกิดจากการถอน ต้นกล้าแล้วเอารากกล้าฟาดตีกับข้อเท้าให้ดินโคลนหลุดออกจากรากกล้า ต่อมาเท้าเกิดโรคตุ่มคันขึ้น จะมีอาการคันมาก ยิ่งเกาก็ยิ่งแตกทั่วรอบข้อเท้า ภาคอีสานเป็นกันมาก บางคนก็เรียกว่า "เกลียดน้ำ" ให้ใช้เปลือก ต้นมะขามป้อมตำให้ละเอียด ผสมน้ำพอเปียกชะโลมให้ทั่ว รักษาได้

ถ้าเกามากจนหนังถลอก น้ำเหลืองไหล ปวดแสบปวดร้อน คือโรคเป็นหนักแล้ว ให้เอาลูกมะขามป้อมแก่ๆ สดๆ มาใส่ในโพรงเหล็กผาลไถนา ใส่น้ำให้เต็มโพรงเหล็กผาลนั้น ตั้งไฟจนมะข้ามป้อมเละ และมีสีดำเหนียว เมื่อเอามาทาแล้วยาจะแห้งเข้าจนดำหมดทั้งหลังเท้าที่แตกเป็นน้ำเหลืองไหล แผลนั้นจะค่อยๆ หายไปจนเป็นปกติ
นอกจากนี้แล้วก่อนลงนาหรือหลังจากขึ้นมา จากนา ชาวนาสมัยก่อนนิยมนำเปลือกต้นมะขามป้อมมาแช่เท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคและความฝาด ของเปลือกมะขามป้อมยังช่วยตะกอนโปรตีนทำให้ผิวหนังของเท้าและข้อเท้าหนาขึ้น ทนทานต่อการเกิดน้ำกัดเท้ามากยิ่งขึ้น

บิด
ถ่ายเป็นบิด ใช้เปลือกต้นมะขามป้อม ต้มใส่ข้าวเปลือกเจ้าดื่มต่างน้ำ
ตำราอินเดียบอก ว่า ลูกมะขามป้อมใช้แก้ท้องเสียและบิดได้ดี ด้วย การนำมะขามป้อมสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ทุกครั้งที่ถ่าย หรือดื่มทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ใบมะขามป้อมมีสรรพคุณแก้บิดและ ท้องเสียได้เช่นกัน นำใบตำให้ละเอียด ดื่มครั้งละ ๑ ช้อนชา ทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ถ้า จะให้ดื่มง่ายควรผสมน้ำผึ้งเพื่อให้มีรสชาติกลมกล่อม

ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย
นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๓-๕ ลูก แช่ในน้ำ ๑ แก้ว ตลอดคืน ตื่นเช้าดื่มทั้งน้ำและกินเนื้อทุกวันจนกว่าอาการจะหาย
มะขามป้อมยังแก้ กระเพาะอาหารอักเสบและโรคกระเพาะอาหาร มีกรดมากเกินไปได้ด้วย
ถ้าจะใช้ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ให้กินผงลูกมะขามป้อมวันละ ๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ก่อนอาหารและก่อนนอน
หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ใช้รากแห้ง ๑๕-๓๐ กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ ๓-๔ ครั้ง

แก้น้ำ เหลืองเสีย
คนที่มีน้ำเหลืองเสีย คือคน ที่เป็นแผลแล้วหายช้า แผลมีน้ำเหลืองไหลมาก หรือผิวหนังถูกอะไร นิดหน่อยก็คันแล้ว หรืออยู่ดีๆ คันทั่วตัว
ในคนที่มีน้ำเหลืองเสียควรกิน มะข้ามป้อม ๑ ลูก หลังอาหารเป็นประจำทุกวัน

แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน
ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะ ต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือ ชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น

ขับพยาธิ
ใช้ น้ำคั้นลูกมะขามป้อม ๑ ช้อนชา ผสมกับน้ำกะทิมะพร้าว ๑ ถ้วย ดื่มวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ ขับพยาธิตัวตืด และพยาธิปากขอ

หิด ผื่นคัน
นำเมล็ดในลูกมะขามป้อม มาเผาจนเป็นถ่าน บดให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำมันพืช พอให้ยาเหลว ข้น ทาวันละ ๒-๓ ครั้ง น้ำมันนี้ใช้ทาดับพิษน้ำร้อนลวก และใช้รักษาแผลได้ด้วย

แก้ปวดฟัน
แก้ ปวดฟัน ใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปาก บ่อยๆ จะบรรเทาอาการปวดฟัน

มะขาม ป้อมแปรรูป
ปัจจุบันในต่างประเทศมีผลิตภัณฑ์มะขามป้อมมากมายจำหน่ายใน รูปของชา อาหารสุขภาพ เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นตำรับบำรุงสุขภาพ ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน และต่อสู้กับการหลุดร่วงของเส้นผม ลบรอยจุดด่างดำ ซึ่งในประเทศไทยโรง-พยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก มะขามป้อม โดยพัฒนาเป็นยาแก้ไอ น้ำมันหมักผมมะขามป้อมสมอไทยเพื่อบำรุงผม น้ำมะขามป้อมเพื่อบำรุงสุขภาพและอยู่ระหว่างการทำเป็นครีมลบรอยด่างดำบนใบ หน้า ซึ่งตำรับต่างๆ สามารถทำได้ง่ายๆ


ลิ้นจี่ ผลไม้อร่อย ประโยชน์มากมาย

ลิ้นจี่ มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานผลสด ทำผลไม้กระป๋อง ดอง มีน้ำตาลสูง หากเราผ่านไปทางภาคตะวันออก จะเห็นว่าทางภาคนี้จะปลูกผลไม้แทบทุกชนิด เพราะอากาศดี ดินอุดมสมบูรณ์และมีลิ้นจี่ปลูกมากในภาคนี้ สารอาหารที่ได้จากลิ้นจี่คือแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินฯลฯ

ชื่อ อื่น ลีจี (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ lichi chinensis sonn.

วงศ์ sapndaceae
ลักษณะทั่วไป ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 11-12 เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยขนาดเล็ก
ผล มีรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระสากมือ หรือมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงแข็ง หนึ่งผลมีเพียง 1 เมล็ด
ส่วน ที่ใช้ เมล็ด เนื้อผล
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อ ในผล รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน
คุณค่าทางอาหาร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย
คุณ ค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 57 แคลอรี่
โปรตีน 0.9 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใยอาหาร 0.1 กรัม
เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.1 กรัม
แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1 0.11 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2 0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 0.3 มิลลิกรัม


ลำไย ( Logan )

ลำไย(1)มีรสหวานฉ่ำชื่นใจหากทานพอประมาณจะกลายเป็น ยาบรรเทาหวัด แก้ปวด
ลำไย(2)แก้ไข้มาลาเรีย วิงเวียนศีรษะส่วนดอกยังรักษานิ่ว+ริดสีดวงทวารได้

ลำไย ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสหวานอร่อยและยังทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ลำไยมีสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส ซูโคสและฟรุกโตสและวิตามินชนิดต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1

--------------------------------------------------------------------------------
ลำไย ( Logan )

ลักษณะ/พันธุ์ :
1. ลำไยเครือหรือลำไยเถา มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ ลำต้นไม่มีแก่น ใบเล็ก และสั้น ผลเล็กผิวผลสีชมพูปนน้ำตาล เนื้อผลบางมีกลิ่นคล้ายกำมะถันปลูกไว้สำหรับเป็นไม้ประดับมากกว่ารับประทาน ผล

2. ลำไยต้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- ลำไยพื้นเมือง หรือลำไยกระดูก
- ลำไยกระโหลก

คุณค่าทางโภชนาการ:ลำไย ถือว่าเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสหวานอร่อยและยังทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ลำไยมีสารอาหารมากมายไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส ซูโคสและฟรุกโตสและวิตามินชนิดต่างๆ เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 และบี 2 สูง โดยเนื้อลำไยมีรสหวานและมีสรรพคุณแก้ผอมแห้งแรงน้อย นอนไม่หลับ ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยบำรุงกำลังของสตรี ภายหลังจากการคลอดบุตร ส่วนลำไยแห้งนั้นจะมีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ ระบบประสาท ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต

การนำไปใช้ประโยชน์:นอกจากจะรับประทาน ผลสดแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ลำไยทั้งเปลือกอบแห้ง ลำไยดอง ลำไยกวนปรุงรส ลำไยแช่อิ่ม น้ำลำไยผง น้ำลำไยสด น้ำลำไยแห้ง ลำไยกวน ลำไยกระป๋อง หรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม นอกจากนี้ยังทำเป็นอาหารคาว หวาน เช่น ข้าวต้มลำไย ข้าวเหนียวเปียกลำไย คุกกี้ลำไย เค้กลำไย พายลำไย ขนมปังลำไย แกงเผ็ดลำไย แกงจืดลำไยสอกไส้ เป็นต้น ส่วนคุณค่าทางยาสมุนไพร เนื้อลำไย ยังสามารถนำมาดองเหล้าเก็บไว้ 10 วัน รับประทานเป็นยาบำรุงโดยการนำมาตุ๋นกับน้ำตาลรับประทานเป็นยาบำรุงเลือดให้ ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล แก้หวัด แก้ไข้มาเลเรีย แก้ปวด ห้ามเลือด รักษาเกลื้อน แก้วิงเวียนศรีษะ ส่วนดอกลำไยช่วยในการขับนิ่ว โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวารหนัก

บทความที่เกี่ยวข้อง

Anti Aging Medication อายุรวัฒน์เวชศาสตร์
SuperCheng

สูตร น้ำหมักขยะ ป้าเช็ง จาก SuperCheng Channel
สูตร น้ำหมักผลไม้ ป้าเช็ง จาก SuperCheng Channel
ผล ไม้ที่นิยมใช้หมักน้ำเอนไซม์ (สูตรป้าเช็ง)
วิธีการขยายน้ำหมักเอนไซม์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘