อภิสัมโพธิกถา กัณฑ์ที่ ๒

                  เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยได้  ๒๙  พรรษา  ทรงรู้สึกสลดพระทัยด้วยคิดถึง  ชรา  พยาธิ  และมรณะ  อันมีประจำแก่สรรพสัตว์  และพระองค์จะต้องได้รับอย่างแน่นอน
                  การคิดถึง  ชรา  พยาธิ  และมรณะ  เป็นเหตุให้ทำลายความเมา  ๓  อย่าง  คือ  ความเมาในวัย  หลงคิดว่าตนยังหนุ่มยังสาว  ความเมาในความไม่มีโรค  หลงคิดว่าตนยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  และความเมาในชีวิต  ความลืมคิดถึงความตาย
                  ความเมาทั้ง  ๓  อย่างนี้  เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนประพฤติทุจริต  หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นเหตุให้ลืมทำความดี
                  การบรรพชาเป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง  สามารถทำลายความทั้ง  ๓  นั้นได้  หรือทำให้บรรเทาเบาบางลง  เมื่อถึงเวลาแก่  เจ็บ  หรือตาย  ก็จะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ  เหมือนคนทั่วไป  ที่เรียกว่า  หลงตาย
                  เพราะทรงเห็นประโยชน์แห่งการบรรพชาอย่างนี้จึงเกิดกุศลฉันทะน้อมใจไปในบรรพชา  ในที่สุดได้เสด็จออกบรรพชา  ทั้งที่ยังทรงพระเยาว์ดรุณกุมาร  มีพระเกศายังดำสนิท
                  เมื่อเสด็จออกบรรพชา  ถือเพศเป็นนักพรตแล้ว  ได้เสด็จสัญจรจาริกเที่ยวเสาะหาสันติวรบท  คือ  ทางเครื่องบรรลุถึงธรรมอันระงับดับกิเลส
                  สมัยนั้น  แคว้นสักกะมีคณาจารย์ใหญ่  ๒  ท่าน  คือ  อาฬารดาบส  กาลามาโคตร  ๑  อุทกดาบส  รามบุตร  ๑  ประชุมชนเคารพนับถือโดยคุณธรรม
                  พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปยังสำนักของอาฬารดาบส  ทรงศึกษาลัทธิสมัยได้สมาบัติ  ๗  คือ  รูปฌาน  ๔  อรูปฌาน  ๓  เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
                  ต่อจากนั้นเสด็จเข้าไปยังสำนักของอุทกดาบส  ทรงศึกษาลัทธิสมัยได้สมาบัติ  ๘  คือ  รูปฌาน  ๔  อรูปฌาน  ๔
                  ทรงเห็นว่า  ลัทธิสมัยของอาจารย์ทั้งสองเป็นเพียงสันติวิหาร  คือ  อุบายเครื่องอยู่เป็นสุขทางใจเท่านั้น  ก่อให้เกิดปปัญจธรรม  คือ  ธรรมเป็นเหตุเนิ่นช้ากับการเวียนว่ายในวัฏทุกข์  ได้แก่  ตัณหา  มานะ  และทิฏฐิ
                  จากนั้น  ทรงเสาะหาอนุตรสันติวรบททางเครื่องพ้นจากกิเลสอย่างยอดเยี่ยมต่อไป  ได้เสด็จเข้าสู่แคว้นมคธ  จนลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม  อันน่ารื่นรมย์สำราญจิต  สมควรจะเป็นสถานที่บำเพ็ญสัมมัปปธานวิริยะ  จึงประทับอยู่  ณ  ที่นั้น
                  ณ  สถานที่นั้น  อุปมา  ๓  ข้อ  อันเป็นอนวัศวริยะ  (ไม่เคยสดับมาก่อน)  ได้มาแจ่มแจ้งเป็นวิสยญาณโคจร  (อารมณ์แห่งญาณวิสัย)  แก่พระโพธิสัตว์ว่า
                  ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง  ทั้งแช่อยู่ในน้ำ  จะพยายามอย่างไรก็สีให้เกิดไฟไม่ได้
                  ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง  แม้จะวางไว้บนบก  ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้เช่นเดียวกัน
                  ไม้แห้งที่ปราศจากยาง  และวางไว้บนบก  หากพยายามเต็มที่และถูกวิธี  ก็ย่อมสีให้เกิดไฟได้
                  อุปมาข้อที่   ๑  เปรียบได้กับสมณพราหมณ์ผู้บริโภคกามคุณ  ทั้งใจก็ยังยินดีในกามคุณนั้นอยู่
                  อุปมาข้อที่  ๒  เปรียบได้กับสมณพราหมณ์ผู้ออกบำเพ็ญพรต  แต่ใจยังรักใคร่ปรารถนาจะได้กามคุณอยู่
                  อุปมาข้อที่  ๓  เปรียบได้กับสมณพราหมณ์ผู้ออกบำเพ็ญพรต  ด้วยใจที่เบื่อหน่ายในกาม  ถ้าหากพากเพียรอย่างถูกวิธี  ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ประโยชน์จากการบำเพ็ญทุกรกิริยา
ทรงเลิกทุกรกิริยา
ตรัสรู้
จตุตถฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา
จตุตถฌาน (อภิญญา) เป็นบาทแห่งวิปัสสนา
อรหัตมรรคญาณเป็นที่มาแห่งญาณทั้งปวง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘