คู่มือการใช้งาน SUTinRAM 4.0

การเริ่มใช้งาน SUTinRAM 4.0 การทำแผ่น SUTinRAM เป็นของท่านเอง ดูหนังฟังเพลงด้วย Gxine Media player
การกำหนด Firewall สร้างเอกสารด้วย AbiWord การตั้งค่า Network card
ออนไลน์ Chat อ่านไฟล์ .chm ด้วย ChmSee เขียนแผ่น cd/dvd
การใช้งาน Wireless Lan Download/Upload ผ่าน ftp ด้วย gFTP การติดตั้งระบบลงใน USB Thrumb drive
การเปลี่ยนรูปพื้นโต๊ะ การใช้งาน SSH Server การใช้งาน Webalizer
การใช้งาน FTP Server การใช้งาน Web Server การใช้งาน phpMyAdmin
ผู้ใช้โดยปริยายคือ root รหัสผ่าน meroot
***ติดตั้งบน USB อีกแบบ***

แนวความคิด

ทุกคนทราบดีว่าก่อนการใช้งานคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการและโปรแกรมที่เป็นแอพพลิเคชันต่างๆ ก่อน ซึ่งอาจกินเวลาเป็นชั่วโมง แต่ด้วยความสามารถของนักคอมพิวเตอร์ ในระยะ 5-6 ปีมานี้ ทางด้านระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์ส ได้มีการพัฒนาลินุกซ์ที่รันได้จากแผ่นโดยตรง ที่เรียกว่า LiveCD คนที่ทราบเรื่องนี้และเคยลองใช้งานมาก่อน จะรู้สึกทึ่งและประหลาดใจมาก ที่เราสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ลงในฮาร์ดดิสก์ก่อน โดยการรันโปรแกรมทั้งหมดจากแผ่นโดยตรง และมีโปรแกรมต่างๆ พร้อมอยู่ในแผ่น เพียงบูตจากแผ่นทุกอย่างก็จะพร้อมใช้งาน อย่างไรก็ตาม การรันจากแผ่นดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ 2 ประการคือ
  • การรันจากแผ่นซีดีจะทำให้ระบบ ทำงานช้าเพราะต้องอ่านตัวโปรแกรมและข้อมูลทั้งหมดจากแผ่นซีดี
  • ขณะที่รันอยู่นั้นจะใช้ไดรว์ซีดีรอมไม่ได้ นอกเสียจากจะมีซีดีรอมอยู่สองไดรว์
การใช้งาน LiveCD จึงไม่แพร่หลายเท่าที่ควร และมีผู้ใช้จำนวนไม่มากที่ทราบเรื่องนี้

ในขณะเดียวกัน เริ่มเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดความก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่งสำหรับวงการโอเพ่นซอร์ส นั่นคือ ได้เกิดมีลินุกซ์ เวอร์ชั่นที่เล็กจนสามารถโหลดทั้งหมดเข้าไว้ในหน่วยความจำและรันจากที่นั่นโดยตรง ที่เรียกว่า ลินุกซ์รันในหน่วยความจำ ซึ่งก็มีหลายค่ายในต่างประเทศ ที่ได้ทำลินุกซ์ประเภทนี้ออกมา เช่น ค่าย Damn Small Linux (http://www.damnsmalllinux.org/) ก็ได้ออกเวอร์ชั่นที่ใช้ kernel 2.6.xx ทางทีมงานของเรา ได้พัฒนาต่อยอดสำหรับการใช้ภาษาไทย จนได้ผลงานเป็น SUTinRAM เวอร์ชั่น 1.0 เมื่อเดือน สิงหาคม 2549 ซึ่งในรุ่นแรกนี้ การป้อนภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงความเร็วในการดูหนังฟังเพลงยังไม่เป็นที่พอใจ อย่างไรก็ตามทางทีมงานยังไม่ย่อท้อที่จะสร้างผลงานดีๆ ออกมาสู่การใช้งานของพี่น้องชาวไทย โดยในระยะต่อมา ได้พัฒนา SUTinRAM 2.0 ด้วยการพัฒนาต่อยอด Puppy linux (http://www.puppylinux.org/) จากเวอร์ชั่น 2.13 ที่มีการเพิ่มความสามารถด้านภาษาไทย ให้สมบูรณ์พร้อมใช้มากยิ่งขึ้น สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตและสนทนาออนไลน์ได้ทันที และได้พัฒนาเพิ่มเติมได้เป็นเวอร์ชั่น 2.1 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
บัดนี้ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้ง ทางทีมงานจึงได้ทำการต่อยอดและปรับปรุง Puppy linux 4.0 อีกครั้ง โดยให้สามารถทำงานได้ทั้งสำหรับเป็นเครื่อง Desktop และเป็นเครื่อง Server และเพิ่มความสามารถในการใช้งานภาษาไทย ให้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้น โดยในเวอร์ชั่นนี้ จะมีการ detect และ mount อุปกรณ์ CDROM และ USB อัตโมมัติด้วย สิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากต้นแบบที่สำคัญคือ การเพิ่มในส่วนที่เป็น Server เพิ่มโปรแกรม KompoZer ที่ใช้แก้ไข html แบบ wysiwyg และเพิ่ม animation icon ที่อยู่ด้านล่างของจอ นอกจากนี้ที่ยังมีคู่มือแนะนำการใช้งานสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งานใหม่ไว้ให้ด้วย ผลงานชิ้นนี้ของเราถือได้ว่าเป็นลินุกซ์พร้อมใช้ที่รันในหน่วยความจำที่ทางทีมงานได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยอาจนับได้ว่าเป็นรายแรกๆ ของประเทศไทย

หลักการทำงาน

SUTinRAM ทั้งแผ่นโตประมาณ 190 MB ส่วนที่ใช้รันในหน่วยความจำประมาณ 94 MB สำหรับ การใช้งานเป็น Desktop และประมาณ 169 MB เมื่อใช้งานเป็น Server ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20 MB เป็นพวกไดรเวอร์ที่ยังคงอยู่ในแผ่น แต่ทั้งนี้เวลาทำงานจริง เมื่อเป็น Desktop จะต้องการหน่วยความจำ 256 MB ขึ้นไปและเมื่อรันเป็น Server จะต้องใช้หน่วยความจำ 512 MB ขึ้นไป เนื่องจากเวลาเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำ จะมีการแตกไฟล์ที่ได้ถูกบีบอัดไว้ออกไปด้วย โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีสำหรับแบบ Desktop และใช้เวลาประมาณ 2-3 นาทีสำหรับแบบ Server ซึ่งจะเร็วหรือช้ากว่านี้ ขึ้นอยู่กับความเร็วของการอ่านแผ่นซีดีที่เครื่องนั้นๆ ด้วย แต่ถ้าเป็นการบูตทาง USB Thrumb drive จะใช้เวลาประมาณ 1 นาทีซึ่งเร็วมาก โดย เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะพบความสามารถในการทำงานพอสังเขปดังนี้
  • สามารถกำหนดให้รับ IP จาก DHCP server ในกรณีใช้เน็ตเวิร์กการ์ด
  • มีโปรแกรม Web browser สำหรับการไปเยี่ยมเว็บต่างๆ ที่อ่านไทยด้วยฟ้อนที่สวยงามและการป้อนคีย์บอร์ด 2 ภาษาที่สมบูรณ์แบบ
  • มีโปรแกรมสำหรับดูหนังจากแผ่น CD/DVD
  • มีโปรแกรมเล่นเพลง MP3 และจากแผ่นซีดีเพลง
  • สามารถตั้งเป็น Web Server ที่ใช้ภาษาสั่งงาน PHP มีดาต้าเบส MySQL และคู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา PHP
  • สามารถตั้งเป็น FTP Server และ SSH Server
  • สามารถใช้ Wireless LAN ได้
  • มีโปรแกรมติดต่อสื่อสารแบบ Instant massager เช่น ICQ และ MSN เป็นต้น
  • มีโปรแกรมเขียน CD/DVD ถ้าเครื่องมีอุปกร์ซีดีรอมไดร์ฟที่เขียนได้
  • มีโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของแผ่น
  • มีการเม้าท์ไดรฟ์ต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์อัตโนมัติ ที่สามารถอ่านและเก็บงานได้
  • สามารถอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่เป็น NTFS
  • สามารถติดต่ออ่านข้อมูลในแผ่นซีดี ข้อมูลในแผ่น Floppy และใน Flash drive
  • มีโปรแกรมเปลี่ยนโค้ด HTML เป็นโค้ด PHP และมีโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องคงเดิมของแผ่นระบบ
  • สามารถ ทำดิสทริบิวชั่น ใหม่เป็นของผู้ใช้เองได้
ข้อควรทราบ

หลายๆ คนอาจเข้าใจว่า ในเมื่อทั้งระบบรันในหน่วยความจำ ดังนั้นเมื่อจะหยุดใช้งาน น่าจะปิดระบบด้วยการกดปุ่มปิดเครื่องได้เลย ซึ่งก็เป็นความคิดที่มีเหตุผล แต่เนื่องจากทางทีมงานได้เพิ่มส่วนในการเชื่อม (mount) ไดรว์ต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์เข้ากับระบบเพื่อรองรับการโอนถ่ายข้อมูลได้ทันทีตั้งแต่ระบบเริ่มทำงาน และโดยธรรมชาติแล้วการถ่ายโอนข้อมูลของลินุกซ์จะกระทำผ่านทางส่วนที่เรียกว่า buffer ก่อน รอจนกว่าจะมีการถอนเชื่อม (umount) ระบบจึงจะนำข้อมูลใน buffer เข้าไปสู่ปลายทางทั้งหมด ดังนั้นการปิดเครื่องหรือรีบูตด้วยเมนู จึงปลอดภัยจากการสูญหายของข้อมูล เพราะระบบจะมีการถอนเชื่อมทุกอุปกรณ์ ก่อนปิดเครื่องหรือรีบูตเครื่องทุกครั้ง


ความแตกต่างของ SUTinRAM 4.0 กับตัวต้นแบบ Puppy Linux 4.0
  1. เปลี่ยนภาพของพื้นโต๊ะ (Desktop) ใหม่
  2. เปลี่ยนส่วนของพื้นโต๊ะใหม่ โดยลบไอคอนต่างๆ ที่ดูไม่สวยงามออกไป
  3. บนพื้นโต็ะได้ติดตั้งโปรแกรม wbar ซึ่งเป็นเหมือน animation 3 มิติ ไว้ด้านล่างสำหรับการเรียกรันโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
  4. ถอนโปรแกรม Web browser Seamonkey ออก แล้วติดตั้งโปรแกรม Firefox ลงแทน เพราะ Firefox ตัวเล็ก ทำงานได้เร็วกว่า และมี plugins ให้เรียกใช้มากกว่า
  5. ปรับระบบให้พร้อมใช้สำหรับภาษาไทย โดยการเพิ่มส่วนของการสลับภาษา ติดตั้ง Thai fonts เพิ่ม locale Thai
  6. เปลี่ยนการบูตระบบจากเท็กซ์ธรรมดา ให้เป็นแบบกราฟิก โดยใช้ Grub
  7. ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มในส่วนที่เป็น Server อันมี SSH, Apache, PHP, MySQL, FTP โดยได้แก้ไขส่วนการทำ remaster ให้สอดคล้องด้วย
  8. เขียนโปรแกรมเพิ่มเติมในส่วนการปิด-เปิด การทำงานของ Server ต่างๆ
  9. เพิ่มโปรแกรมในการตรวจสอบความถูกต้องคงเดิมของแผ่นระบบ โดยต้องรัน Web server ก่อนจากนั้นที่เมนูบน Firefox ไปที่ Utilities --> Check Disk Integrity
  10. เพิ่มโปรแกรมในการเปลี่ยนโค้ดภาษา HTML ให้เป็นโค้ดภาษา PHP โดยต้องรัน Web server ก่อนจากนั้นที่เมนูบน Firefox ไปที่ Utilities --> Chang html code to php code
  11. เพิ่มโปรแกรม KompZer สำหรับการสร้างและแก้ไขไฟล์ HTML แบบ wysiwyg
  12. เพิ่มโปรแกรม mc ที่เป็นตัวจัดการไฟล์ใน text mode ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ดูแลระบบ
  13. เพิ่มโปรแกรม ftp ซึ่งเป็นโปรแกรม ftp client ที่ใช้ใน text mode เหมาะสำหรับผู้ดูแลระบบ
  14. เพิ่มโปรแกรม เพื่อทำการ mount ไดรว์ต่างๆ เข้ากับระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกที่จะสามารถติดต่อกับไดรว์ต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บหรืออ่านข้อมูลได้ทันที
  15. เพิ่มคู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา PHP
  16. เวลาทำดิสทริบิวชั่นใหม่ เพิ่มการสร้างไฟล์ MD5.txt ในระบบอัตโนมัติ เพื่อสามารถตรวจสอบความถูกต้องของแผ่นในภายหลังได้
  17. เพิ่มโค้ดโปรแกรมเป็นภาษาไทย ช่วยในการติดตั้งระบบลงบน USB Thrumb drive
  18. ที่สำคัญที่สุดคือมีคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทยไว้ให้ด้วย
ลิขสิทธิ์
ดำเนินตามลิขสิทธิ์ดังเดิมคือ General Public Lincense ซึ่งผู้ใช้สามารถพัฒนาต่อยอดและแจกจ่ายได้อย่างอิสระ

โปรดทราบ

ผลงานนี้ ทางทีมพัฒนาได้ทดสอบใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และแน่ใจว่าผลงานของราใช้ได้ดีเป็นที่น่าพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงรอการทดสอบใช้งานอย่างแพร่หลายอีกครั้ง ดังนั้นขอให้ท่านใช้งานด้วยความระมัดระวัง และถ้าพบข้อผิดพลาดใดๆ หรือมีข้อติชมหรือเสนอแนะใดๆ โปรดสละเวลาเข้าไปที่ linux.sut.ac.th ซึ่งมีกระดานถามตอบเตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจและเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาให้ได้ผลงานดีๆ เช่นนี้ออกมาสู่การใช้งานของพี่น้องชาวไทยอีก

ทางทีมงานต้องขอขอบคุณนักพัฒนาทั้งหมดทั้งในต่างประเทศ ที่ผลิตตัวต้นแบบและเขียนคู่มือดีๆ ไว้ให้ศึกษา รวมทั้งนักพัฒนาคนไทยอีกจำนวนหนึ่ง ที่ทางทีมงานได้ติดต่อสอบถาม และได้กรุณาให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือผู้ใช้ เพราะถ้าไม่มีผู้ใช้ เราก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำงานชิ้นนี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เรามีหลักคิดประจำใจดังนี้

กำลังใจ = จำนวนผู้ใช้งาน
จำนวนผู้ใช้งาน = จำนวนคำติ + จำนวนคำชม + จำนวนข้อเสนอแนะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘