อุปนิสัยมี ๓ อย่าง

                  .  ทานุปนิสัย          อุปนิสัยคือทาน  การเสียสละ  คนผู้มีอุปนิสัยนี้ย่อมกำจัดความโลภหรือทำความโลภให้เบาบางลงได้
              .  สีลุปนิสัย           อุปนิสัยคือศีล  การเว้นจากเบียดเบียนสัตว์อื่นคนผู้มีนิสัยนี้  ย่อมไม่มีการเบียดเบียนสัตว์อื่น
              .  ภาวนุปนิสัย        อุปนิสัยคือภาวนา  การสั่งสมความดี  คนผู้มีอุปนิสัยนี้  ย่อมเพียรพยายาม  เพื่อทำความดีให้สูงยิ่ง ๆ  ขึ้นไป
              กุศลกรรมบถ  ๑๐  นี้  จัดเป็นศีล  ดังนั้น  จึงเป็นสีลุปนิสัย  ที่จะช่วยสนับสนุนให้ได้บรรลุสมาธิ  ปัญญาและวิมุตติ  ตามพระบาลีว่า  สีลปริภาวิโต  สมาธิ  มหปฺผโล  โหติ  มหานิสํโส  แปลว่า  สมาธิที่ถูกบ่มด้วยศีล  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  อธิบายว่า  บุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์  เมื่อบำเพ็ญสมาธิ  ย่อมสามารถทำฌานให้เกิดได้ง่าย  ครั้นได้ฌานแล้ว  ตายไป  ย่อมเกิดเป็นพรหม  อย่างนี้  ชื่อว่ากุศลกรรมบถ  เป็นเหตุให้ได้ไปเกิดในพรหมโลก
              ส่วนผู้ได้ฌานบางท่าน  ทำฌานให้เป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา  ย่อมรู้แจ้งเห็นจริงได้ง่าย  ตามพระบาลีว่า
              สมาธิปริภาวิตา  ปญฺญา                 มหปฺผลา  โหติ  มหานิสํสา

              แปลว่า  ปัญญาที่ถูกบ่มด้วยสมาธิ  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก

จิตของบุคคลผู้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ตามพระบาลีว่า           ปญฺญปริภาวิตํ  จิตฺตํ          สมฺมเทว  อาสเวหิ  วิมุจฺจติ 
                  เสยฺยถีทํ  กามาสวา                        ภวาสวา  อวิชฺชาสวา
              แปลว่า  จิตที่ถูกอบรมด้วยปัญญา  ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ  ภวาสวะ  อวิชชาสวะ  โดยชอบ   อย่างนี้  ชื่อว่ากุศลกรรมบถ   เป็นเหตุให้ได้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
                  สีลุปนิสัย  คือ  กุศลกรรมบถ  ๑๐  เป็นเหตุให้บุคคลได้บรรลุฌาน  มรรค  ผล  และนิพพาน  ดังพรรณนามาฉะนี้  เปรียบได้กับส่วนของต้นไม้  สีลุปนิสัย  เป็นเสมือนรากไม้  สมาธิ  เป็นเสมือนลำต้น  ปัญญา  เป็นเสมือนกิ่งก้านและใบ  วิมุตติ  ความหลุดพ้นเป็นเสมือนดอกและผลของต้นไม้
              ศีลคือกุศลกรรมบถ  ๑๐  ประการ  ทำให้ผู้ปฏิบัติได้มนุษยสมบัติ  สวรรคสมบัติ   และนิพพานสมบัติ  ตามขั้นตอนดังได้อธิบายมานี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘