รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย 14

14. Verb Patternนิยาม Verb Pattern คือ กลุ่ม Verb แท้ที่ตามหลังด้วย Verb ไม่แท้

ความรู้เบื้องต้น

1. Verb แท้Verb = Verb แท้ ซึ่ง Verb แท้คือ Verb ที่ผันได้ตาม Tense (อยู่ในหัวข้อที่ 1 Tense)

2. Verb ไม่แท้
คือ Verb ที่ไม่มีการผันตาม Tense
มีอยู่ 4 ชนิด
   1) Ving
   2) V3
   3) to-infinitive (to-inf) = to+V1
   4) infinitive without to(inf w/o to) = V1

จากที่เรียนมาทั้งหมดจะมีทั้งสิ้น 12 สูตรซึ่งเพื่อให้ง่ายต่อการจำ
ทางผมจึงจัดกลุ่มใหม่ตาม Verb ไม่แท้จึงเหลือ 4 กลุ่มใหญ่
แล้วก็แตกย่อยเป็น 12 กลุ่มอีกทีหนึ่ง

รูป/สูตรสูตรทื่ 1) Verb+Ving หรือ Verb+to-inf แต่ความหมายเปลี่ยน
สูตรทื่ 2) Verb+Ving ได้อย่างเดียว และ Verb+(one's)+Ving
สูตรทื่ 3) Preposition+Ving หรือ Noun (อันนี้ผมแทรกเพิ่ม)
สูตรทื่ 4) Verb+to-inf
สูตรทื่ 5) Verb+(Obj)+to-inf
สูตรทื่ 6) Verb+to-inf
สูตรทื่ 7) Verb+Obj+inf w/o to หรือ Verb+Obj+V3
สูตรทื่ 8) Verb+Obj+inf w/o to อย่างเดียว และ Verb+Obj+Adj
สูตรทื่ 9) Helping Verb+ inf w/o to
สูตรทื่ 10) Adj+ (for s/n หรือ of s/n)+to-inf
สูตรทื่ 11) Wh-words+to-inf
สูตรทื่ 12) Verb+Obj+to be หรือ to have

หมายเหตุตัวย่อ
Verb = Verb แท้ที่มีการผัน tense
Ving = Verb ที่มีการใช้รูป ing มาต่อท้าย
V1 = Verb ช่องที่ 1 ที่ไม่มีการผัน คือ การเติม s หรือ es ต่อท้าย = do (เวลาเขียนเป็นโครงสร้างเช่น make s/n do sth --> do = V1)
V3 = Verb ช่องที่ 3 ส่วนมากจะเห็นพวก เติม ...ed
to-inf = to infinitive = to+V1
inf w/o to = infinitive without to = V1
Helping Verb = Verb ช่วย ได้แก่ can, could, will, would, shall, should, may, might เป็นต้น (ดูรายละเอียด helping verb อีกทีนะครับ)
s/n = someone = ใช้แทนคน หรือชื่อคน เช่น my, your, his, her เป็นต้น
one's = แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น yours, his, hers, its เป็นต้น
Wh-word = พวกที่ขึ้นต้นด้วย Wh รวม  how เช่น what, where, when, why, who, which, how, whose เป็นต้น
Obj = Object = กรรมของประโยค ส่วนมากเป็นคำนาม
to be = verb to be ได้แก่ is/am/are/be/was/were/been ---> รูปเชิงไวยกรณ์ใช้ be/were/been
to have = verb to have ได้แก่ has/have/had --> รูปเชิงไวยกรณ์ใช้ have/had
เทคนิคการจดจำของผมจะอิงจากการจัดกลุ่มแล้วก็อิงตามความรู้เดิมสรุปได้ดังนี้ครับ
กลุ่มที่ 1: กลุ่มที่ทราบกันอยู่แล้ว หรือใช้ได้กับทุก ๆ กรณี1) Preposition+N หรือ Ving เท่านั้น = สูตรที่ 3)กรณีเฉพาะที่ใช้กับ Ving เท่านั้น
    - devote to+Ving (อุทิศให้กับ)
    - object to+Ving (คัดค้าน)
    - be opposed to+Ving (คัดค้าน)
    - be no good+Ving (ไม่มีประโยชน์กับ)
    - be no use+Ving (ไม่มีประโยชน์กับ)
    - เคยชิน be/get/become+ used/accustomed + N หรือ Ving (ดูเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่อง Use เพิ่มเติมท้ายหัวข้อครับ)
    - do+[a lot of/a little/(not) much/some/the/Possessive adj(one's)]+Ving
      (ไว้จะมาขยายความให้อีกทีครับในหัวข้อ do+....+Ving)
2) Helping Verb+inf w/o to = สูตรที่ 9)3) กลุ่ม Wh-words+ to-inf = สูตรที่ 11)4) กลุ่ม Adj+(for s/n หรือ of s/n)+to-inf ทั้งหมด
    ยกเว้น adj ที่เป็น busy และ worth+Ving
5) กลุ่ม Mental Process Verb+Obj+(to be หรือ to have) = สูตรที่ 12)
    ตัวอย่างกลุ่ม Mental Process = กระบวนการเชิงความคิด
จำหมวดหลักง่าย ๆ ดังนี้ --> เห็นว่า,เชื่อว่า,เดาว่า,ประมาณการ,รู้อยู่แก่ใจ
   - เห็นว่า = see, find, consider
   - เชื่อว่า = believe, maintain, take, reckon
   - เดาว่า = rpesume, reckon, guess
   - ประมาณการ = estimate(ประเมินว่า), calculate(คำนวณว่า)
   - รู้อยู่แก่ใจ = know(รู้ว่า), acknowledge(รู้ว่า), understand(เข้าใจว่า)

กลุ่มที่ 2: มี inf w/o to ร่วมแบ่งเป็น 3 Sections
1) กล่มควบ 2 มี make, let, have + inf w/o to หรือ V3 = สูตรที่ 7)    ข้อแตกต่างในการใช้งาน inf w/o to --> ใช้ในกรณี Active; V3 ---> ใช้ในกรณี Passive
โครงสร้าง
   make s/n do sth --> บังคับใครให้ทำอะไร
   make sth done --> เป็นที่รู้จัก (โครงสร้าง make ทั้งหมดจะแสดงไว้ในเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยท้ายบทครับ)
   let s/n do sth --> ปล่อยใครให้ทำอะไร
   let sth done ---> (ไม่มั่นใจความหมายไว้จะหามาเสริมให้อีกทีครับ)
   have/get s/n do sth ---> ให้ใครทำอะไร
         หรือ  s/n to do sth
   have/get sth done by s/n ---> ให้ใครทำอะไรโดยที่ตัวเองไม่ได้ทำ

2) กลุ่มควบ 3 คือ Verb+Obj+inf w/o to หรือ Ving หรือ V3 = สูตรที่ 8/1)    ข้อแตกต่างการใช้งาน inf w/o to = เน้น result (Active)
                                         Ving = เน้น Process (Active)
                                            V3 = ถูกกระทำ (Passive)
    มี 7 คำ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
         - กลุ่มประสาทรับรู้ see(เห็น), hear(ได้ยิน), feel(รู้สึก), smell(ได้กลิ่น)
         - กลุ่มสังเกต watch, notice, observe

3) กลุ่ม Verb+Obj+Adj เป็นกลุ่มเพิ่มเติมของกลุ่มควบ 3 = สูตรที่ 8/2)สูตรนี้เราจะเห็นบ่อยและใช้เยอะ (ควรจำอย่างยิ่งครับ) มี 7 กลุ่มย่อย
  นำมาจากกลุ่มควบ 3 (กระสาทรับรู้และสังเกต), ชอบ, ต้องการ, ลงมือทำ, กระทำบางอย่าง, นอกกลุ่ม
   - นำมาจากกลุ่มควบ 3 --> see, hear, feel, smell, watch, notice, observe
   - กลุ่มชอบ --> like, love
   - กลุ่มต้องการ --> want, consider, wish
   - กลุ่มลงมือทำ --> make, get, set
   - กลุ่มการกระทำ (แปลตรงตัว) --> paint(ทาสี), wipe(เช็ดปัดกวาด), keep(รักษา), lick(เลีย)
   - นอกกลุ่ม 2P --> perfer(ชอบมากกว่า), precive(รับรู้)

กลุ่ม 3: กลุ่ม Ving
1) ความหมายเปลี่ยนใช้ Ving หรือ to-inf = สูตรที่ 1
    ข้อแตกต่างการใช้งาน to-inf ใช้ในกรณีต้องการเน้น และเป็นภาพนิ่ง
                                  Ving ใช้ในกรณีที่เป็นการกระทำ ภาพเคลื่อนไหว
มี 6 กลุ่ม
   - กลุ่มชอบ like, love, hate
               - Ving แปลว่า ใช้ในกรณีทั่ว ๆ ไป
               - to-inf แปลว่า เน้นย้ำ ชี้เฉพาะ [มี to เพิ่ม พยางค์เหมือนเน้น ๆ]
   - หยุด Stop
               - Ving = หยุดในการทำสิ่งนั้น ๆ [เป็นภาพขยับแล้วก็ต้องตัดฉากเป็นภาพนิ่ง]
               - to-inf = หยุดเพื่อจะทำอะไรต่อ [ภาพนิ่งแล้วก็จะมีการทำต่อ]          
   - พยายาม/ลอง try
               - Ving = ลอง [เช่น ลองเสื้อ จะเห็นว่าขณะลองจะต้องมีการขยับเนื้อขยับตัว]
               - to-inf = พยายาม [ภาพนิ่ง ในการคิดว่าจะต้องทำอะไรต่อ]
    - จำได้/เสียใจ/ลืม remember, regret, forget
               - Ving = สิ่งที่เป็นอดีต ทำมาแล้ว [ภาพที่มีการทำบางสิ่งบางอย่างอยู่ผ่านมาแล้ว]
               - to-inf = สิ่งที่เป็นอนาคต [ภาพนิ่งเป็นจุด ๆ คิดถึงอนาคต]
    - เรียน/เรียนรู้ learn
               - Ving = เรียน [สิ่งที่คนอื่นสอน]
               - to-inf = เรียนรู้ [รู้ได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ส่วนตัว]
    - จำเป็นต้อง need [อยู่ใน helping verb ให้จำสลับที่กันจะจำง่ายกว่า]
               - to-inf = จำเป็นต้อง --> รูป active
               - Ving = need to be+V3 --> รูป passive
    - ตั้งใจ/หมายความว่า mean
               - Ving = ตั้งใจที่จะ [ทำบางอย่าง จะดูเหมือนภาพขยับ]
              - to-inf = หมายความว่า [การบรรยายเรื่อง]

2) กลุ่ม Verb+Ving อย่างเดียว = สูตรที่ 2/1)มี 5 กลุ่มย่อย --> ทนไม่ได้, จิตนาการ, พฤติกรรม, รังเกียจ, ขอโทษ
    - ทนไม่ได้ที่จะ not bare, not help, not stand
    - จินตนาการ imagine, fancy
    - พฤติกรรม practise(ฝึกฝน), risk(เสี่ยง), enjoy(สนุก)
    - ปิดกั้น/รังเกียจ mind#not mind(รังเกียจ#ไม่รังเกียจ), hinder(ขัดขวาง), excuse(ห้าม), prevent(ป้องกัน)
    - อภัย/ขอโทษ drop(หล่น,ปล่อย), pardon(ขอโทษ), forgive(ให้อภัย), confess(สารภาพ), finish(จบ,เสร็จ)

3) กลุ่ม Verb+Possesive(one's)+Ving = สูตรที 2/2)แยกย่อยเป็น 4 หมวด
    - มาจาก 2/1--> enjoy, mind, risk
    - เลื่อน put off --> postpone(เลื่อนเวลา), defer(ขอเลื่อน), delay(ชักช้า,ช้าลง)
    - หนี/ปฏิเสธ (เชิงลบ) --> avoid(หลีกเลี่ยง), deny(ปฏิเสธ)
    - แนะนำ/พิจารณา --> suggest(แนะนำ), consider(พิจารณา)

กลุ่มที่ 4: กลุ่ม Verb+to-infเป็นกลุ่มสุดท้ายผมแยก เป็น 3 section ย่อยดังนี้ครับ
1) ตามหลัง to-inf อย่างเดียว = สูตรที่ 4)    - ดูเหมือนว่า --> seem, appear
    - ตั้งใจ/เอาใจใส่ --> ตั้งใจ(determine, decide, mean), เอาใจใส่(care)
    - คาดหวัง/ได้โดยบังเอิญ --> คาดหวัง(hope, wish), บังเอิญ(happen)
    - จัดให้ได้ = afford, manage
    - กลุ่มเอกสาร
         จัดเรียง(arrange), เสนอ(offer), รับรอง(undertake), สัญญา(promise), หลอกลวง(pertend), พิสูจน์(prove), ปฏิเสธ(refuse)
    - อื่น ๆ แปลตามตัว
         มา(come), กำหนด(be bound), รีบเร่ง(hurry), พลาดพลั้ง(fail), กล้า(dare), เปลี่ยนแปลง(change)

2) Verb+(Obj)+to-inf = สูตรที่ 5)    - ตั้งใจ --> ask, intend, mean
    - กลุ่มชอบ/รัก/เกลี่ยด --> like, love, hate
    - กลุ่มคาดหวัง/หวังว่า --> expect(คาดหวัง), wish(ปรารถนา), want(ต้องการ), beg(อ้อนวอน), choose(เลือก)

3) Verb+s/n+to-inf = สูตรที่ 6)
    แบ่งเป็น 5 ส่วนย่อย
   
- บังคับ/สั่ง/บอก/ขอร้อง
          - บังคับ --> compel, force, oblige, press
          - สั่ง = order, บอก = tell, ขอร้อง = request
    - สอน/ตักเตือน --> teach(สอน), instruct(สอน), advise(แนะนำสั่งสอน), warn(ตักเตือน)
    - เชื้อเชิญ/ยั่วยวน --> tempt(ยั่วยวน), persuade(เชื้อเชิญ), invite(เชิ้อเชิญ)
    - ยอม/อนุญาต --> allow(ยอม), permit(อนุญาต)
    - นอกเหนือ --> cause(สาเหตุ), encourage(ให้กำลังใจ)

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
1.  เรื่อง Use (ดูใน หัวข้อ 31) Used to/be Used to ประกอบอีกทีครับ)
Use มี 4 ความหมาย
เคย = used to+V1
เคยชิน = be/get/become+ used/accustomed to+N/Ving
ใช้ = use+Obj
ถูกใช้ = be used (รูป passive voice)

2.  เรื่อง Makeมี 5 โครงสร้างหลัก
    - make s/n do sth --> บังคับใครให้ทำอะไร
      Ex. He made me stay at school until 5 PM. (เขาบังคับให้ผมอยู่ที่โรงเรียนจนถึง 5 โมงเย็น)
    - make+Obj+adj ---> ทำให้...
      Ex. The teacher makes the lession interesting. (ครูคนนี้ทำให้ประเด็นการสอนดูน่าสนใจ)
    - make it + adj + (for s/n) + to-inf --> ทำให้มัน... (เป็นการเน้น)
      Ex. The teacher makes it easy to understand the lecture. (ครูคนนี้ทำให้มันง่ายต่อความเข้าใจใน lecture นี้)
    - make+อาชีพ = V to be + อาชีพ --> ทำอาชีพ...
      Ex. I am an engineer. = I make an engineer. (ผมทำอาชีพวิศวกร)
    - make+s/n+ตำแหน่ง(w/o artical) = ทำในตำแหน่ง... (ไม่ต้องใส่ artical a/an/the)
      Ex. We made him captain of the team. (พวกเราแต่งตั้งให้เขาเป็นกัปตันทีม)
make เสริมจาก verb pattern
    - make sth done --> เป็นที่รู้จัก

สรุป
เนื้อหาของ verb pattern ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แม้ว่าตอนแรกผมจะไม่คิดว่าสำคัญเลย
แต่พอเมื่อเราใช้พูด อ่าน เขียน เราก็เลยรู้เลยว่า หลาย ๆ ทีเราใช้ไวยกรณ์ผิด
และหลายครั้งความหมายมีการผิดเพี้ยนไปได้
รวมถึงหากเราสามารถจำ pattern ได้มันจะเป็นเหมือนกลุ่มคำในภาษาไทยที่เราสามารถหยิบ
เป็นจิ๊กซอต่อประโยค ต่อคำได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘