รูปแบบธุรกิจ (Business Model)

การบริหารบริษัทนั้นต้องมีBusiness Model ที่ชัดเจน และที่สำคัญนักลงทุนต้องมองให้ออกว่าบริษัทที่เราจะลงทุนนั้นผู้บริหารเขา วางรูปแบบธุรกิจหรือ Business modelเอาไว้อย่างไร มีความเป็นไปได้ไหม และที่สำคัญมันได้แสดงให้เห็นหรือยังว่ามันทำกำไร
          ก่อนอื่นมาดูคำจำกัดความของคำว่า รูปแบบธุรกิจ หรือ Business Model กันก่อน รูป แบบธุรกิจคือแนวทางที่ผ่ายบริหารใช้ในการที่จะกำหนดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อใช้ในการการกำหนดรูปแบบการนำเสนอสินค้าและบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งราย ได้และโครงสร้างต้นทุนที่ทำให้เกิดกำไรที่น่าพอใจรวมไปถึงสามารถสร้างผลตอบ แทนจากการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการนั้นได้อย่างน่าพอใจ
            ใน คำจำกัดความนั้นมีคำหลักๆหลายตัวเช่น ความสามารถในการแข่งขัน การนำเสนอสินค้าและบริการ รายได้และโครงสร้างต้นทุน ผลกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาเราก็ต้องมาทำความเข้าใจในแต่จะคำหลักๆเหล่านี้ก่อน
          เริ่มจาก ผลกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ ในการทำธุรกิจนั้นบรรทัดสุดท้ายที่นักลงทุนต้องการคือกำไร และตัวที่จะวัดว่ากำไรที่ได้นั้นมันคุ้มไหมสำหรับการลงทุนก็คือผลตอบแทนจาก การลงทุนหรือ Return on investment ด้วยเหตุที่ว่าแม้ธุรกิจจะมีกำไรออกมาก็ตามแต่อาจจะไม่คุ้มกับเงินลงทุนก็ เป็นได้ เพราะในโลกใบนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆจำเป็นที่จะต้องได้อย่างเสียอย่าง การลงทุนเองก็เช่นกันมีค่าเสียโอกาส มีต้นทุนดังนั้นกำไรที่ได้ต้องคุ้มทุนและมีเหลือเข้ากระเป๋านักลงทุนจึงเป็น ที่มาของคำว่าน่าพอใจ และรูปแบบธุรกิจใดๆก็ตามที่ดำเนินการไปแล้วได้กำไรไม่คุ้มนั้นถือว่ารูปแบบ ธุรกิจนั้นใช้ไม่ได้ และบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ๆมีการทำกำไรที่ยังไม่สูงมากพอก็อาจจะพูดได้ว่ารูป แบบธุรกิจนั้นยังไม่ได้ถูกแสดงให้เห็นว่าใช้งานได้ต้องอาศัยเวลาติดตามอีก สักหน่อย
          ต่อมาก็คือเรื่องของรายได้และต้นทุนซึ่งเมื่อจับมาหักลบกันแล้วก็คือกำไร การจะพิจารณาโครงสร้างรายได้และกำไรเราก็ต้องพิจารณาการนำเสนอสินค้าและ บริการไปพร้อมๆกันครับ เพราะรายได้และต้นทุนนั้นมาจากการขายสินค้าและบริหาร บริษัทอาจจะเลือกที่จะขายสินค้าหรือบริการที่ราคาสูง แต่ปริมาณไม่สูงมาก โครงสร้างต้นทุนจะต้องเหมาะสมกับรายได้ การขายสินค้าและบริการที่ราคาสูงแต่ต้นทุนก็สูงตามนั้นอาจจะทำให้มีส่วนต่าง ราคากับต้นทุนที่น้อยเมื่อไปคูณกับปริมาณขายเข้าไปอาจมีกำไรไม่เพียงพอ บางบริษัทเลือกที่จะขายของในราคาถูกแต่เน้นที่ปริมาณมากๆก็ต้องมีโครงสร้าง ต้นทุนและรายได้ที่ไปด้วยกัน การขายสินค้าราคาถูกส่วนต่างราคากับต้นทุนนั้นแน่นอนต้องต่ำอยู่แล้วดังนั้น จำเป็นต้องขายให้ได้มากๆเพื่อให้ได้เม็ดเงินมากพอที่จะสร้างผลตอบแทนจากการ ลงทุนที่น่าพอใจ
          อีกประเด็นหนึ่งของการนำเสนอสินค้าและบริการนั้นบริษัทต้องเข้าใจพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อนำไปกำหนดโครงสร้างรายได้และต้นทุนให้เหมาะสม รวมไปถึงการพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันของกิจการเองว่าทำได้ไหม คู่แข่งทำได้ไหม เราจะหนีคู่แข่งอย่างไร รวมไปถึงการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจในส่วนต่างๆเพื่อเป็นแผนที่นำกิจการไปสู่เป้า หมายสุดท้ายคือการสร้างผลกำไรและผลตอบแทนที่น่าพอใจ
          ก่อนจะจบบทความนี้ผมขอยกเอากรณีศึกษาที่เราๆท่านน่าจะพอมองเห็นกันง่ายๆใกล้ ตัวสักหน่อยเพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้ไปศึกษากันต่อในเรื่องนี้ ผมขอยกเอาธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจโรงพยาบาลนี้ทำให้เราเห็นอะไรหลายๆอย่างในเรื่องรูปแบบธุรกิจครับ
          โรงพยาบาลทุกแห่งต้องมีแพทย์และพยาบาลเป็นหลัก มีเครื่องมือแพทย์ที่เพียงพอต่อการที่จะให้แพทย์ใช้ในการประกอบการวินิจฉัย โรค แต่เราก็ยังได้เห็นว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็มีอัตราค่ารักษาที่แตกต่างกัน มีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน สถานที่ตั้งในแหล่งต่างๆต่างกัน การขยายกิจการล้วนต่างกัน บางที่เน้นที่จุดๆเดียวและขยายออกนอกประเทศ บางแห่งเน้นไปที่การขยายสาขาไปในจุดสำคัญๆของประเทศ บางแห่งกระจายตัวเป็นโรงพยาบาลย่อยตามแหล่งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม แน่นอนต้องมีโครงสร้างราคา รายได้และต้นทุนที่แตกต่างกัน แต่ละแห่งจะมีความสามารถในการแข่งขันของตัวเองและเห็นได้ว่ามีกำไรและผลตอบ แทนของบริษัทเองแตกต่างกันไป ผมคงไม่บอกต่อว่ารูปแบบธุรกิจของแต่ละแห่งเป็นอย่างไร โรงพยาบาลไหนมีรูปแบบธุรกิจเหมาะสมหรือไม่อย่างไร แต่อยากจะฝากคุณๆที่สนใจศึกษาเรื่องธุรกิจเพื่อนำไปประกอบการลงทุนในทุกๆ อุตสาหกรรมนำเอาไปเป็นกรณีศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขอบข่ายความ สามารถของแต่ละคนเองครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘