'หุ้นดี' ...ดูอย่างไร?

ถ้าท่านศึกษาบทวิเคราะห์ หรือคำแนะนำของโบรกเกอร์ตาม นสพ. ต่างๆจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า มักจะมีคำแนะนำของนักวิเคราะห์ให้ซื้อ "หุ้นพื้นฐานดี" เก็บไว้ลงทุนระยะยาว บางแห่งก็จะบอกชื่อหุ้นให้ซื้อลงทุนเรียบร้อย โดยที่ท่านไม่ต้องไปปวดหัวกับการค้นหา "หุ้นพื้นฐานดี" อย่างที่กล่าวไว้

ขณะ ที่นักลงทุนจำนวนมากซื้อหุ้นตามที่มีคนบอก จากนั้นจึงค่อยไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจนั้นเพิ่มเติมตามหลัง หรือลงทุนโดยซื้อหุ้นตามที่มีคนแนะนำให้เราซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ โดยที่เราไม่ได้เข้าใจ และศึกษาธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ด้วยตัวเอง

วิธีการดังที่กล่าวมา จึงไม่ใช่วิธีที่ "นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า" หรือ Value Investor ควรปฏิบัติ

สำหรับ "นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า" ควรจะทำศึกษาหุ้นตัวนั้นและการบ้านอย่างหนักก่อน ที่จะลงทุนซื้อหุ้นบริษัทไหนสักบริษัทหนึ่ง

การ หา "หุ้นพื้นฐานดี" นั้น ไม่ยากเกินความสามารถและเราสามารถค้นหาได้ด้วยตัวเราเอง ยิ่งถ้าเราเข้าใจในธุรกิจที่เราลงทุนแล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวลกับสภาพของตลาดหุ้น ที่ราคาหุ้นอ่อนไหวไปตาม "ความโลภ" และ "ความกลัว" ของอารมณ์นักลงทุนทั้งหลายในตลาด

หุ้นพื้นฐานดีสามารถบอกได้โดยดูจากงบการเงินของบริษัทนั้น ก็ คือ งบดุล งบการเงิน และงบกระแสเงินสด โดยดูย้อนหลังไปหลายๆ ปี เพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชี และดูความสามารถของบริษัทว่าแข็งแกร่งจริงหรือไม่

วิธีดูหุ้นพื้น ฐานดีที่จะกล่าวในที่นี้ จะพูดถึงเฉพาะหุ้นที่มีประวัติการดำเนินงานที่ดี โดยไม่ได้ครอบคลุมถึงหุ้นที่เพิ่งผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ (Turnaround) ที่ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเวลาไม่นาน

ลักษณะที่ดี 9 ประการของ "หุ้นพื้นฐานดี" ควรจะมีดังต่อไปนี้

1.มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หุ้น ที่ดีควรจะมียอดขายที่เติบโตขึ้น ถ้าเติบโตเพิ่มขึ้นได้ทุกปีก็จะดีมาก แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจนั้นมีการขยายตัว และสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นได้ ส่วนหุ้นที่มียอดขายสาละวันเตี้ยลงทุกปีทุกปี น่าจะเป็นหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึงว่า กิจการนั้นกำลังถูกคู่แข่งแย่งตลาดสินค้าไป หรือไม่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นก็อาจจะอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมตะวันตกดิน (sunset industry) หรือผู้บริหารมีปัญหาในการดำเนินกิจการ แต่ยอดขายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้น พื้นฐานดีหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจ ดังจะกล่าวต่อไป

2. มีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานที่ดี

บริษัท ที่มีการควบคุมการดำเนินงานที่ดี เราสามารถตรวจสอบดูได้จากงบกำไรขาดทุน โดยสังเกตจากต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ควรจะไปตามยอดขายของกิจการ ถ้ายอดขายสูงขึ้นค่าใช้จ่ายก็สามารถอนุโลมให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนยอดขาย ที่สูงขึ้น แต่ธุรกิจที่ยอดขายลดลงแต่ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นักลงทุนควรจะระวังและถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำควรตรวจสอบให้ดีก่อนลงทุนใน บริษัทนั้น

3. ไม่ประสบปัญหาขาดทุน
บริษัท ที่ดีควรจะมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร ถ้าขาดทุนตลอดปีหรือไม่ ก็ขาดทุนปีเว้นปี นักลงทุนควรเอาเวลาไปศึกษาธุรกิจอื่นจะดีกว่า ยกเว้นท่านที่ชอบลงทุนใน "หุ้นฟื้นคืนชีพ" (Turnaround) ที่ขาดทุนมาหลายปีอยู่ดีๆ ก็กลับมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ

อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีผลดำเนินงานขาดทุนจะปลอดภัยกว่า

4. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (Positive Working Capital)

ธุรกิจที่ดีควรมีทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพราะ ธุรกิจควรมีการเตรียมความพร้อมของเงินทุนระยะสั้นให้เพียงพอต่อ การจ่ายคืนหนี้สินระยะสั้น มิฉะนั้นธุรกิจอาจจะมีปัญหาการเงินเกิดขึ้นได้

โดยเฉพาะบริษัทที่ทำการกู้ยืมระยะสั้นมาก อาจจะต้องสำรองเงินสดไว้พอสมควรทีเดียวสำหรับการจ่ายคืนหนี้ที่เรียกเก็บภายใน เวลาไม่นาน ยก เว้นธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่ง ที่รับเงินจากการขายให้กับลูกค้าเป็นเงินสด แต่ได้เครดิตจากผู้ผลิตสินค้าเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจ่ายเงิน

ใน กรณีนี้เงินทุนหมุนเวียนอาจจะติดลบได้ ซึ่งกลับกลายเป็นจุดแข็งสำหรับธุรกิจประเภทนี้เสียอีก เพราะแทนที่จะต้องมีเงินสำหรับของที่อยู่ในสต็อกกลับเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะ ต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าคงคลังแทน

5. มีหนี้ไม่มากหรือมีหนี้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม
ตัวเลขคร่าวๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในการตรวจสอบสภาพหนี้สินของธุรกิจก็คือ "อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน" (Debt/Equity Ratio) ธุรกิจ ที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่า มีการกู้ยืมหนี้ระยะยาวมาก และทำให้ธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูง อัตราหนี้สินต่อทุนที่พอเหมาะที่ใช้กันทั่วไปคือ น้อยกว่าหนึ่งเท่า หรือไม่เกินสองเท่า

6. มีกำไรสะสม (Retain Earning) เพิ่มขึ้นทุกปี

ธุรกิจ ที่ดีควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ธุรกิจที่มีกำไรสะสมลดลง นักลงทุนควรตั้งคำถามก่อนที่จะลงทุนในบริษัทนั้นว่า บริษัทนำกำไรสะสมนั้นไปใช้ ทำอะไรและมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นหรือไม่

7. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ

บริษัท ที่สามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอนับว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารในการนำเงินของบริษัทไปลงทุนในกิจการ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นลดลงหรือติดลบ แสดงว่า ธุรกิจนั้นที่ผ่านมามีการขาดทุนเกิดขึ้น

8. กำไรต่อยอดขาย (Profit Margin) มากพอสมควร

ธุรกิจ ที่มีกำไรต่อยอดขายสูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนของกิจการในระดับที่ดี แต่กำไรต่อยอดขายสูง อาจจะดึงดูดให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆ เข้ามาในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น

ในขณะที่ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรม มีการแข่งขันสูงส่วนมากจะมีกำไรต่อยอดขายต่ำ เพราะมีการตัดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของ ตน ทำให้กำไรของทั้งอุตสาหกรรมลดลง ดังนั้น ธุรกิจที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงก็คือ ธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ (Cost Leadership)

9. ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) สูง
ผล ตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คำนวณจาก กำไรหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น (Net Profit/ Equity) ธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงแสดงว่า ผู้บริหารสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางธุรกิจที่มีเงินกู้ยืมสูงก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ได้ เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหนี้สินระยะยาวมากกว่าส่วนผู้ถือหุ้น

ดัง นั้น ในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return on Total Capital) ในการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น จะเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากได้รวมส่วนหนี้สินระยะยาวในการคำนวณไว้ด้วย

ผล ตอบแทนต่อเงินลงทุน หาได้จากกำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินระยะยาว (Net Profit/(Longterm Liability+Equity)) บริษัทที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้ต่ำ

การค้นหาลักษณะที่ดี 9 ประการข้างต้นของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะช่วยให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหุ้นที่ท่านลงทุนมากขึ้น แทนที่จะรอให้คนอื่นหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรกเกอร์ต่างๆ มาแนะนำ "หุ้นพื้นฐานดี" ให้กับท่าน

ท่านสามารถที่จะเริ่มศึกษาและค้นหา "หุ้นพื้นฐานดี" ได้ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนทางในการเป็น "นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า" หรือ Value Investor ที่ดีทางหนึ่ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘