สิ่งที่ควรรู้ เมื่อคุณเป็นผู้ใช้ Anti-virus

บทความนี้จะกล่าวถึง ทริก และทิปส์ ดี ๆ เกี่ยวกับการใช้ ซอฟท์แวร์ แอนติไวรัส
จากประสบการณ์ ของผมเอง ยังไงก็ลองเก็บไปเป็นความรู้รอบตัวนะครับ
Tip 1: Downloader
   เมื่อคุณเป็นนักโหลดไฟล์จากทั่วโลก แล้วคุณมีแอนติไวรัสประจำเครื่องอยู่
บางครั้ง คุณจำเป็นต้องปิดการทำงานของ แอนติไวรัส เพื่อช่วยให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้เร็วขึ้น
โดยเฉพาะ แอนติไวรัส ที่มีฟังก์ชั่นครอบคลุมไปถึงไฟร์วอลล์ หรือ อินเตอร์เน็ต
เพราะมันจะทำการแสกนทุกกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ต จนอาจทำให้การดาวน์โหลดช้าลง

*ในที่นี้รวมถึงเว็บที่มี Stream media อย่าง Youtube หรือ Imeem ด้วย
Tip 2: Downloader 2
   บางครั้งเมื่อคุณกดดาวน์โหลดไฟล์ แต่ว่า Browser ก็ไม่ยอมเด้งหน้าดาวน์โหลดขึ้นมาให้เรากด
ดาวน์โหลดไฟล์ซักที (แบบว่านานจนผิดสังเกต เป็นนาที 2 นาที)
แสดงว่า Browser ได้ทำการดาวน์โหลดแล้ว แต่อาจเกิดการรวนเล็กน้อย เมื่อ Browser โหลดเสร็จ
ถึงจะยอมขึ้นหน้าเซฟไฟล์ให้เรากดวิธีสังเกตก็คือ พอเรากด ไฟล์ก็จะโหลดเสร็จทันที
แต่ถ้าหากปิดการทำงาน แอนติไวรัส อยู่ เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น
Tip 3: Uploader
   เมื่อคุณเป็นนักแจกไฟล์ การอัพโหลด หรือใช้บริการเว็บโฮสต์ ต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่ใช้ประจำ
หากคุณมีแอนติไวรัสประจำเครื่องอยู่ โดยเฉพาะประเภทที่มีการทำงานครอบคุมถึง ไฟร์วอลล์ หรืออินเตอร์เน็ต
เมื่อคุณอัพโหลดเข้าเว็บโฮสต์ อาจประสบปัญหา ไฟล์เสีย อัพแล้วขึ้นเออเรอร์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้
มาจาก แอนติไวรัส ของคุณ พยายามขัดขวางข้อมูลขาออก (ซึ่งเป็นเรื่องดีนะครับ อย่าไปโทษมันนะ )
ให้เราแก้ไขด้วยการ ปิดการทำงานของ แอนติไวรัส ไว้ก่อนแล้วค่อยอัพโหลด

*เช็คว่าแอนติไวรัสของคุณพยายามขัดขวางข้อมมูลขาออกหรือไม่ http://www.mediafire.com
เมื่อเข้าไปหน้าเว็บ ให้ทำการอัพโหลดไฟล์อะไรก็ได้ซัก 5-6MB หากว่าแถบอัพโหลดพุ่งขึ้นจาก 0 ไปถึง 100%
ในเวลาไม่ถึง 5 วินาที หรือเร็วผิดสังเกต (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเร็วขนาดนั้น เน็ตไทยยังไม่เมพเท่าเน็ตนอก)
แสดงว่า แอนติไวรัสของคุณ พยายามขัดขวางข้อมูลขาออก ยินดีด้วยครับ คุณวางใจได้ระดับหนึ่ง
เมื่อคุณกำลังทำงานบนอินเตอร์เน็ต

*ทำไมถึงต้องขัดขวางข้อมูลขาออก? หากมีข้อมูลของเครื่องเราถูกดึงจากที่อื่น เป็นจำนวนมาก
เพื่อความปลอดภัย แอนติไวรัส จะปกป้องคุณให้เครื่องเหล่านั้นดึงข้อมูลของคุณไปได้ลำบากที่สุด
ซึ่งนั่นรวมถึง Hacker หรือไวรัส Trojan ที่พยายามส่งข้อมูลออกจากเครื่องของคุณ

Tip 4: Crack, Keygen, Patch Software
   หลายต่อหลายครั้งที่โหลดโปรแกรมที่มีแคร็ก เมื่อโหลดมาเสร็จ ปรากฏว่าใช้แคร็กไม่ได้
หรือแคร็กหายไป ทางที่ดีคุณควรที่จะปิดการทำงานของแอนติไวรัสก่อน เพื่อไม่ให้มันลบแคร็ก
แต่ก็ควรระวังด้วย เพราะบางครั้ง มันอาจเป็นไวรัสจริง ๆ ก็ได้ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงมาก
แนะนำให้ ผู้รู้ ทำตามเท่านั้น ส่วนคนที่ไม่มั่นใจว่าจะโหลดได้มั้ย ก็ไปตามผู้รู้มาดูนะครับ

*Crack-Keygen-Patch ต่างกันอย่างไร? ต่างกันที่ลักษณะการทำงานครับ แต่ทั้งหมดล้วนทำให้เล่นฟรีได้
Crack    เป็นการนำเอาไฟล์ดังกล่าวที่โหลดมาไป replace ไฟล์ต้นฉบับ
Keygen เป็นการ generate code หรือ สุ่มรหัสออกมา เพื่อสมัครโปรแกรมนั้น ๆ
Patch    คล้ายการ Crack แต่สะดวกกว่าเพราะเราไม่ต้องเข้าไปหาไฟล์ต้นฉบับที่ลงไว้ และการทำงานอาจ
             มีการ replace ไฟล์เดียว หรือหลายไฟล์ก็ได้

Tip 5: Install Software
   หากคุณกำลังอินสตอลล์โปรแกรม การหยุดการทำงานของ แอนติไวรัส ก่อนเริ่มอินสตอลล์
จะช่วยให้การอินสตอลล์เร็วมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องแบกภาระความเสี่ยงของไวรัสเอง
ซึ่งถ้าหากคุณรู้ว่าปลอดภัยอยู่แล้ว ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้อย่างสบายใจ และจะเห็นได้ชัดหากคุณ
อินสตอลล์โปรแกรมขนาดใหญ่ จะเร็วกว่าเป็น 10 นาทีเลยทีเดียว

สำหรับตอนนี้ก็นึกได้เท่านี้ล่ะครับ ถ้ามีอะไรนึกออก ไว้จะมาเพิ่มให้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘