The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness

The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness เป็นหนังสือเล่มต่อจาก The 7 Habits of Highly Effective People ซึ่งประพันธ์โดย Stephen Covey ผู้แต่งใช้เวลานานกว่า 15 ปีในการรวบรวมข้อมูลและประพันธ์ผลงานชิ้นนี้ออกมา หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิธีการผันตัวเองจากคนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้ กลายเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมี ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้
ก่อนจะกล่าวถึงนิสัยประการที่แปด ขอกล่าวถึงนิสัยทั้งเจ็ดประการโดยสรุป อันได้แก่
กฎ ข้อที่1. นิสัยรู้และเลือก (Be Proactive) คือการมีสติอยู่กับตัวอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังคิดอะไร พูดอะไร และทำอะไรอยู่ เพื่ออะไร และจะเกิดผลอะไรตามมา
กฎข้อที่2. สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind) คือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน
กฎข้อที่3. ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน (Put First Things First) คือการเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก
กฎข้อที่4. การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win)
กฎข้อที่5. การพยายามเข้าใจผู้อื่นมากกว่าให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา (Seek first to understand, and then to be understood)
กฎข้อที่6. การสร้างทีมเวิร์ค (Synergize)
กฎข้อที่7. การเพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw) คือการรู้จักดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและแจ่มใสอยู่เสมอ
กฎข้อที่ 8.  การผันตัวเองให้กลายเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมี (From Effectiveness to Greatness) ผู้ เขียนมีความเชื่อว่า ในยุคปัจจุบันบุคลากรในองค์กรถูกมองว่าเป็นตัวสร้างหนี้สิน เป็นตัวสร้างปัญหามากกว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าต่อองค์กร ดูได้จากระบบต่าง ๆ ที่บริษัทสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ให้พนักงานทำตามเสมือนกับพนักงานเป็น เพียงเครื่องจักรที่มีหน้าที่ผลิตผลงาน เมื่อไม่ได้ผลกำไรตามที่ตั้งไว้ก็คัดคนออกหน้าตาเฉย พนักงานทุกคนจึงขาดขวัญและกำลังใจ ไม่มีความสำนึกรักในองค์กรขอให้ตนเองอยู่รอดไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จก็คงเป็นไปได้ยาก ผู้แต่งจึงนำเสนอวิธีการที่จะเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมีที่สามารถสร้างขวัญ กำลังใจและจิตสำนึกให้กับพนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานให้ แก่องค์กร วิธีการดังกล่าวคือ
1. การสร้างเสียงในใจ (Inner voice)
      เสียงนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถสร้างขึ้นมาได้ โดยมีขั้น ตอนเบื้องต้น 3 ประการ คือ
      1.เปิดใจให้กว้างยอมรับความเป็นจริงทุกอย่างในชีวิต มองปัญหาทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบ เมื่อยอมรับได้จิตใจจึงจะสงบ
      2.มีความปรารถนาดีกับคนรอบข้างอยากให้ผู้อื่นมีความสุข อยากให้องค์กรมีความเจริญรุ่งเรือง
      3.คิดบวกหรือมองโลกในแง่ดี ไม่ตีโพยตีพายเมื่อเจอปัญหาและอุปสรรค

     1.1 วิธีการสร้างเสียงในใจ (Inner voice) หรือตัวรู้ให้ บังเกิดขึ้นในจิตของตัวเอง       1.1.1 เลือกพูด เลือกทำ เลือกคิด เลือกตัดสินใจ เมื่อสิ่งภายนอกเข้ามากระทบอายาตนะทั้ง 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิตใจ
  ก่อนอื่นเราจะต้องรู้เนื้อรู้ตัวก่อนว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ และเรามีความรู้สึกและอารมณ์ต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร เมื่อเรารู้จักตัวเองดีพอเมื่อมี  สิ่งใด ๆ เข้า มากระทบทั้งทางการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส เราจึงจะเลือกได้ว่าเราจะควรจะตอบสนองต่อ  สิ่งเหล่านั้นอย่างไรจึงจะเป็น วิธีที่ดีที่สุด เมื่อเราเป็นผู้เลือกเองถึงแม้ว่ามันจะผิดพลาดไปบ้างเราก็จะไม่โทษผู้อื่น เราจะสามารถยอมรับสิ่ง  ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มหัวใจเพราะเราเป็นผู้เลือกเอง เมื่อนั้นแล้วเราจึงจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างแท้จริง

       1.1.2 จงเคารพกฎธรรมชาติว่าด้วยเรื่องศีลธรรมจรรยา  เช่น
   - ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
   - มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
   - มีศีล 5
   - ขจัดซึ่งนิวรณ์ 5 อันได้แก่ ความโลภ หรือความอยากได้อยากมีอยากเป็นมากเกินความเหมาะสม ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ    ความลังเลสงสัยความเบื่อหน่าย และความอิจฉาริษยาอาฆาตแค้น
   - มีความกตัญญูกตเวที
   - มีความจริงใจ ปากกับใจตรงกัน
   เมื่อจิตมีธรรมะ จิตก็สงบสบายไม่ว้าวุ่น ไม่ตึงเครียด เสียงในใจจึงจะเกิดขึ้น


       1.1.3  ฝึกความฉลาด 4 ด้าน ได้แก่
   - ความฉลาดทางความคิด คือการฝึกการวิเคราะห์ปัญหาโดยไม่มีความขุ่นมัวของอารมณ์ จิตใจต้องนิ่งสงบ ไม่ตีโพยตีพาย    มองปัญหาเป็นเรื่องธรรมดามองอย่างเป็นตรรกะ(มองอย่างเป็นเหตุผล) มองที่มาของปัญหา และสิ่ง     ที่พอจะแก้ไขได้ตอนนี้คืออะไร แล้วลงมือกระทำ
   - ความฉลาดทางกาย คือการฝึกความรู้เนื้อรู้ตัวในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
   - ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ.) คือการฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองในทุกขณะจิต ขณะนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องสามารถ   บอกออกมาได้อย่างชัดเจนเป็นคำพูด เช่น เมื่อเราโกรธเรารู้สึกอย่างไร หน้าตาของอารมณ์โกรธเป็นอย่างไร และสิ่งที่สำคัญคือ   การรู้ให้ทันถึงจุดเปลี่ยนของอารมณ์จากอารมณ์ปกติเป็น อารมณ์ต่าง ๆ ว่าอารมณ์มันเปลี่ยนไปเพราะเหตุใด และเพราะอะไรจึง   กลับมาสู่สภาวะปกติ
   - ความฉลาดทางด้านจิตใจ คือการพยายามทำตัวเป็นคนดีอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ใจอ่อนไปกับ 


     1.2 วิธีการปลุกเสียงในใจของผู้ร่วมงานและพนักงาน
 จาก วิธีการที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อผู้นำสามารถปลุกเสียงในใจและมีพลังจิตที่สูงเพียงพอแล้วจึงจะสามารถ ปลุกเสียงในใจของผู้ร่วมงานและ  พนักงานทุกคนให้เกิดขึ้นได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้


       1.2.1 สร้างความเคารพ ยอมรับและศรัทธาจากพนักงานทุกคน
  ผู้ นำจะต้องแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าตนนั้นเป็นคนที่สมควรจะได้รับความเคารพรักและ ศรัทธาจริง ๆ จะทำได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 7   ประการคือ
   - ไม่เสียเวลาทำในสิ่งที่เราไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม ถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการที่ดีขนาดไหนก็ตาม
   - ปรึกษาและสอบถามวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากบุคคลภายนอก
   - ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือบุคคลภายนอกองค์กรเพื่อขยายขอบเขตความสัมพันธ์
   - มีปัญหาต้องรีบแก้ อย่าปล่อยให้คาราคาซัง
   - ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ กับหัวหน้าของเราหรือถ้าตัวเราอยู่ในตำแหน่งสูงสุดแล้วก็ควรปรึกษากับผู้ร่วมถือหุ้น เป็นต้น
   - รายงานความคืบหน้าในการทำงานแก่หัวหน้าหรือผู้ร่วมถือหุ้นเป็นระยะ ๆ
   - ทำงานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจนประสบความสำเร็จ


       1.2.2 การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่พนักงานทุกคน ทำได้โดย
   - มีหลักการและคุณธรรมในตัวเอง ปากกับใจตรงกัน (Trustworthiness)
   - มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีปัญหาค่อย ๆ แก้ ไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล อารมณ์คงที่ไม่      แปรปรวน (Maturity)
   - ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น จิตใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี
   - มีความรู้และเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตัวเองทำเป็นอย่างดี ทั้งการติดต่อกับลูกค้า กับซัพพลายเออร์ กับผู้ร่วมงานในระดับเท่า ๆ กัน    และกับหัวหน้าแผนก ต่าง ๆ และสามารถดูแลลูกน้องได้เป็นอย่างดีด้วย
   - สร้างพฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ได้แก่
    1) พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อนที่จะให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา
    2) รักษาคำมั่นสัญญา
    3) ซื่อสัตย์สุจริตและมีความจริงใจ
    4) บอกจุดประสงค์และสิ่งที่เราต้องการได้อย่างชัดเจนก่อนมอบหมายงาน
    5) ไม่พูดพิงถึงบุคคลที่สามในทางที่ไม่ดี
    6) กล้ายอมรับผิดและให้อภัยผู้อื่นเมื่อเขาทำผิดพลาด


       1.2.3 สร้างทีมเวิร์ค (One Voice) สามารถทำได้โดย
   - ผู้นำจะต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกน้องก่อน
   - ผู้นำต้องมอบหมายงานได้อย่างชัดเจนว่าเราต้องการอะไรจากงานชิ้นนี้
   - ผู้นำต้องสามารถบอกได้ว่าลูกน้องแต่ละคนนั้นรับผิดชอบในเรื่องอะไรและมีความสำคัญต่อ
   ความสำเร็จขององค์กรอย่างไรบ้าง
   ในการสร้างทีมเวิร์คนั้นผู้แต่งกล่าวว่าปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิดความล้มเหลวคือ ผู้ร่วมงานไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

2. มีหลักการประจำใจ 3 ประการ ได้แก่
     
2.1 มีจิตใจฝักใฝ่ต่อจริยธรรมคุณธรรม (Ethos) ทำ สิ่งที่ถูกต้องให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ต้องสนใจคนรอบข้างว่าเขาจะมีคุณธรรมหรือไม่มีคุณธรรม เมื่อมีคุณธรรมจิตใจของเราจะเข้มแข็ง  ไม่หวั่นต่อคำสรรเสริญหรือคำนินทา
      2.2 การแสดงออกซึ่งความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Pathos)
 สิ่ง นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราต้องหัดเป็นผู้ฟังที่ดี ยิ่งฟังมากย่อมยิ่งเข้าใจอีกฝ่ายว่าเหตุใดเขาจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา และที่สำคัญคือต้อง  รู้จักปล่อยวางบ้างเพราะในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และอย่ามั่นใจนักว่าสิ่งที่เราเห็นหรือได้ยินนั้นจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ให้สัก  แต่รู้สักแต่เห็น
     
2.3 การพยายามใช้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์ (Logos) ก่อน จะลงมือทำสิ่งใดต้องมองให้เห็นถึงผลที่จะตามมาก่อนเมื่อรู้แล้วจึงจะเลือก ได้ แต่การกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยสภาวะจิตที่สงบและ  เบาสบายจึง จะมองเห็นความเป็นจริงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

3. เคารพและให้เกียรติมนุษย์ด้วยกัน (Power of Win-Win Thinking) ทำ ได้ง่าย ๆ โดยการหยุดคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองเสียก่อน รู้จักให้เกียรติผู้อื่นบ้าง ถ้าทำได้ทุกคนที่เราจะต้องร่วมงานด้วย เช่น หัวหน้า เพื่อนร่วม  งาน และลูกน้อง จะรู้สึกดีที่ได้ทำงานร่วมกับเรา ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีก็จะเริ่มแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ จะมีผู้คนรักใคร่เมตตาซึ่งเป็นที่มาของการ  สร้างบุญญาบารมี

4. ดูแลและชี้แนะลูกน้องให้ทำงานตามภารกิจให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี       4.1 หัวหน้าที่ดีจะต้องถ่อมตนและเห็นความสำคัญของลูกน้องอยู่เสมอ
      4.2 มอบหมายงานตรงตามความสามารถของลูกน้อง
      4.3 ไว้ใจและให้โอกาสลูกน้องในการแสดงความสามารถ
      4.4 บอกเป้าหมายของงานและกำหนดระยะเวลาได้อย่างแน่ชัด
      4.5 ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาในการทำงาน
      4.6 สนใจผลของงานมากกว่าขั้นตอนการทำงาน
      4.7 สามารถดึงเอาศักยภาพของลูกน้องออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม คือสามารถสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตนเองมีค่าและมีความ สำคัญต่อองค์กร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘