วิธีการฝึกภาษาอังกฤษทั้ง 4 Skills

วิธีฝึก Speaking skill 
 
 
 

    1. เวลาพูด ให้สร้างประโยคด้วย S+V+O  และหากมี Conjunction  ก็ต้องเตรียม 2 ประโยคทันที (ประโยคดูจาก Verb แท้ที่มีการผัน)
    2. ต้องจำหลัก Grammar 25 กฎได้อย่างคล่องแคล่ว และจำ Structure ย่อย ( ดูได้จากเทป) ได้อย่างอัตโนมัติ ทดสอบได้จากเวลาทวน หากพูดเพียงตัวแรก เช่น practice  ต้องรู้ทันทีว่า Verb ที่ตามมาต้องเป็น V.ing หรือ find + Obj.  ตัวที่ตามมาคือ Adj.
    3. ต้องสร้างฐานศัพท์ให้มากเพียงพอที่จะแปลงความคิดจากภาษาไทยเป็นภาษา อังกฤษได้ ให้สังเกตว่าคำไหนเห็นบ่อยๆก็หัดเริ่มจำคำนั้นและศึกษาวิธีการใช้ ซึ่งก่อนอื่นต้องรู้ว่าศัพท์ที่เราจะจำแต่ละคำทำหน้าที่อะไร เช่น V, N, Adj., Adv, Conj. เป็นต้น และใช้หลัก Grammar และ Structure connect คำนั้นให้ออกมาในรูปของประโยค การพูดภาษาอังกฤษก็เปรียบเสมือนกับการร้อยพวงมาลัย มะลิแต่ละดอกก็เหมือนกับคำศัพท์แต่ละคำ จะมาร้อยรวมกันหรือรวมกับดอกกุหลาบ ดอกจำปี หรือดอกไม้ประเภทต่างๆ ก็ต้องอาศัย Grammar และ Structure เข้าช่วย จึงจะออกมาเป็นพวงมาลัยที่งดงามหรือภาษาที่ถูกต้องสละสลวย ฟังแล้ว อ่านแล้ว เข้าใจอย่างถ่องแท้
    4. ในใจต้องมีความอยากจะอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจ หรืออยากให้คนทำตามสิ่งที่เราเชื่อ นั่นคือ ในแต่ละวัน เราจะพยายาม Convince ผู้อื่นให้เชื่อตามเรา คล้อยตามเรา ฝึกให้เป็นนิสัยจนเคยชิน และเมื่อพูดภาษาอังกฤษจะได้รู้จักการหา supporting ideas มาสนับสนุน idea ของเรา
    5. เวลาพูดจริงๆ ให้มี  Sensation หรือประสาทรับความรู้สึกแถวริมฝีปาก ลิ้นและฟันหน้าอยู่เสมอ วิธีการง่ายสุดคือ พยายามฉีกปากยิ้มเวลาพูด ทุกอย่างจะ sound smooth เองและเราจะไม่ nervous ระหว่างพูด ให้ทุกอย่าง flow ออกมาจากความรู้สึก
    6. เนื้อหาเวลาพูด ให้ Touch the main point ไม่พูดเรื่อยเจื้อยหรือต่อความยาวสาวความยืด บอกตัวเองตลอดเวลาว่า ประเด็นคืออะไร พูดไปทำไม ฟังแล้วน่าเชื่อไหม หรือฟังแล้วน่าเบื่อไร้สาระ
    7. อาจเริ่มฝึกพูดกับตัวเองบ่อยๆ พูดดังๆ บางคนอาจมีคำถามว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าพูดถูกหรือป่าว รู้ได้สิครับ รู้โดยการเช็คดูว่า Grammar และ Structure เราแม่นขนาดไหนมี word selection  มากพอไหม พูดคล่องขนาดใด ถ้ารู้สึกยิ่งพูดยิ่งมัน ถือว่าภาษาเข้าขั้นแล้ว
 
 

วิธีฝึก Listening skill 
 
 
 

    1. การฟังมี 2 แบบคือ ฟังแบบจับใจความ (Macro)และฟังการออกเสียงสำเนียง (Micro) ให้เริ่มจากการจับใจความก่อน เมื่อคล่องบวกกับเริ่มมั่นใจว่าฟังออกแล้ว ถึงเริ่ม focus on pronunciation ได้ยินคำไหน ให้ฝึกออกเสียงตาม โดยเฉพาะให้สังเกตศัพท์ที่เรารู้อยู่แล้ว แต่ทำไม Native speaker จึงออกเสียงไม่เหมือนกับเราก็ให้รีบแก้สำเนียงการออกกเสียงของคำนั้นๆให้ถูก ต้อง (คนฉลาดคือคนที่ช่างสังเกต = observing)
    2. ให้ไปซื้อหูฟังใหญ่ๆ ยี่ห้อ Philips ประมาณ 4,000 กว่าบาท เสียงดังฟังชัด Input เท่ากับ Output ใน เส้นสมองของเราต้องมีเสียงที่ถูกต้องของศัพท์แต่ละคำก่อน เราจึงจะออกเสียงของคำๆนั้นได้ถูกต้อง และเมื่อเราได้ยินเสียงนั้นอีกครั้ง เราก็จะระลึกและจำได้ ทำให้ฟังรู้เรื่อง
    3. ต้องสร้างฐานศัพท์ก่อน มิฉะนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาพูดอะไร (ดูวิธีสร้างฐานศัพท์ในส่วนการฝึก Speaking Skill ข้อ 3)
    4. จับ Key Words ให้ได้โดยแปลงคำเหล่านั้นเป็นมโนภาพ (visualization) เพื่อจะได้ปะติดปะต่อเรื่องและเข้าใจความรู้สึกของผู้พูด (ภาพสื่อความรู้สึก)
    5. ให้หัดดูหนังฝรั่งบ่อยๆหรือฟังสารคดี ข่าว CNN อย่า อ่าน Subtitle มิฉะนั้นประสาทจะไม่ทำงาน ตั้งใจฟังอย่างเดียว วันละสัก 1.5-2 ชั่งโมงเพื่อสร้างความเคยชินกับภาษา อีกทั้งโครงสร้างของภาษาที่ถูกต้องจะถูกดูดซับเข้าไปในเส้นสมอง และควรฝึกหัดฟังเพลง โดยเฉพาะเพลงโปรดของเรา พยายามเข้าใจเนื้อความและความหมาย หูเราก็จะพัฒนาความละเอียดอ่อนของการออกเสียงสู่จุดสูงสุด เวลาหัดฟังรายการหรือเพลงภาษาอังกฤษ ในตอนแรกไม่ต้องพยายามเข้าใจความหมาย แต่ตั้งจิตฟัง Pronunciation  ของแต่ละคำ  stress and intonation  โดยเฉพาะให้สังเกตปากของฝรั่งเวลาพูด จะเปิดกว้างมาก และมีลมพวยพุ่งออกมาจากปากตลอดเวลา (เสียงระเบิด) เราก็ฝึกพูดตามไปด้วยคือ ยิ้มสยามเข้าไว้ทุกอย่างจะดีเอง เพราะปากเราจะเปิดถ้ากว้างตามไปด้วย เสียงจะได้ไม่ตะกุกตะกัก
 
 
 
 
 
 
วิธีฝึก Reading Skill
 
 
 
 
 
 

    1. Apply ศัพท์และ Grammar รวมทั้ง Structure เพื่อ สร้างภาพ แสง สี เสียง และความรู้สึกตามผู้เขียนไปด้วย ถ้าศัพท์ไม่พอ ภาพไม่เกิด หรือมัวเหลือเกิน grammar ไม่แม่น ยิ่งอ่านยิ่งงง ไม่รู้อันไหนประโยคหลัก ประโยครอง เน้นหรือไม่เน้น ฉะนั้นต้อง build a solid foundation of grammar and vocabulary
    2. เวลาที่อ่านแต่ละประโยค และแต่ละบรรทัดเป็นการ Add ข้อมูลให้ภาพในใจของเราชัดเจนกับหนังที่ฉายต่อไปเรื่อยๆ เมื่อเรามีมโนภาพเราจะจำเนื้อเรื่องได้เอง และจะรู้สึกว่าตรงไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ ประเด็นหลักอยู่ตรงไหน
    3. เวลาเจอศัพท์ที่ไม่เคยเจอ ก็ให้เดาความหมายจากภาพ ถามต่อไปว่าเป็นความรู้สึกบวกหรือลบ ชื่นชมหรือวิจารณ์ ซึ่งปรับเรียกเท่ห์ๆว่า Vocabulary in context ไม่มีอะไรมากนักหรอก
 
 
 
การฝึก Writing Skill
 
 
 
 
 
 

    1. คิดให้ชัดๆว่า ประเด็นหลักหนึ่งประเด็นคืออะไรและมีเหตุผลอะไรชัดๆ 2-3 ประเด็นในการ support ประเด็นหลักการเขียนมิใช่สักแต่เขียน แต่จะต้องพยายามจูงให้คนอ่านเห็นคล้อยตามเรา หาเหตุผลจากแม่น้ำทั้ง 5 มาเพื่อให้ argument ของเรา strong เขียนด้วย passion มิใช่ปากกาลากไป ก็สักแต่เขียนไปอย่างนั้น เราต้องเชื่อมั่นจริงๆ สิ่งที่เราเขียนสิ่งที่เราแสดงออก คนอื่นจึงจะเชื่อเราตามไปด้วย
    2. ก่อนลงมือเขียนให้ Outline ด้วย key words หลักๆ เพื่อใช้เป็น supporting  ideas ให้ think through ในแต่ละประเด็นที่เราเสนอไม่คิดไปเขียนไปเพราะเราจะเป็น run-on sentences คิดให้เร็วคิดให้ทะลุ คิดแล้วเขียนออกมาทุกคนจะต้องเชื่อเรา ถ้าเราไม่เชื่อสิ่งที่เราเขียนใครจะเชื่อเราล่ะ
    3.  ใช้แนวทางการแปลจากไทยเป็นภาษาอังกฤษที่อาจารย์สอนไทยชัด อังกฤษก็ชัด ทุกประโยคความคิดภาษาไทยฟังแล้วต้องเข้าใจทันที ห้ามกำกวมเพื่อโอกาสที่ภาษาอังกฤษจะออกมาชัดตามไปด้วย เวลาเขียนศัพท์และ grammar รวมทั้ง structure ต้อง flow มา automatically ต้องไม่คิดอีกแล้ว แค่ focus on idea presentation ล้วนๆ
    4. การเขียน paragraph  แรกเป็น opening paragraph เป็นการเปิดประเด็น ส่วนอีกสัก 3 paragraphs ต่อมาจะลงในเรื่องรายละเอียดที่ support thesis statement ปิดท้ายด้วย conclusion ซึ่งไม่ควรเป็นการ repeat idea ใน opening paragraph แต่เป็นการสรุปโดยใช้  key words represent idea หลักๆ ของแต่ละ paragraph และอาจจะ insert อีกสักประโยคเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของ argument เรา 
    5. การเขียนให้ระวังเรื่อง tense เป็นสำคัญ รูปประโยคให้ keep simple and clear เข้าไว้ เขียนแบบพังผืดไม่เอา คนที่เก่งจริง พูด 3-4 ประโยคก็เข้าประเด็นและน่าเชื่อถือแล้ว แต่ต้องเป็นเนื้อๆจริงๆ มิใช่น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘