รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย 09

9. Helping VerbsนิยามHelping Verbs คือ Verb ช่วยเพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์
ได้แก่ can, could, need, must, have to, had to, may, might, shall, should, will, would, had better, ought to เป็นต้น
ทั้งนี้บางคำหากใช้ในกรณี Verbs แท้ก็จะยกเว้น need ที่สามารถใช้ในกรณี Verb แท้ได้

ความรู้พื้นฐาน
1. Verb Patterns (หัวข้อที่ 14)
    ตามที่แจ้งไปแล้วคราวก่อนเรื่อง Verb Patterns จะพบได้ว่ามีสองสูตรที่เกี่ยวข้องกับ Helping Verb
คือ สูตรที่ 9: Helping Verb + inf w/o to  --> อันนี้จะใช้กับทุกกรณียกเว้น need
และสูตรที่ 1: Verb+to-inf และ Verb+Ving ได้แต่ความหมายเปลี่ยน --> เฉพาะ need
                  นั่นคือ need+to-inf = จำเป็นต้อง และ need+Ving = need to be+V3 =(รูป passive ของ need+ to-inf)

2. Tense/Voice
   อันนี้จะช่วยในกรณีรูปแบบการใช้งาน โดยเฉพาะด้านของ must เนื่องจาก must มีรูปแค่ 2 รูปคือ Present และ Future Tense
ที่เหลือต้องใช้ has/have to หรือ had to มาช่วย

สูตรและวิธีการใช้งาน
ผมจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ Helping Verbs แบบทั่วไป และ กลุ่มใช้ในกรณี Helping Verb+V.to have+V3
1. General Helping Verbs
แยกย่อยได้ 6 ประเภทตาม Verb ช่วยดังนี้
1) need    - need กรณี Verb แท้ แปลว่า ต้องการ --> สูตร need+Object    - need กรณี Verb ช่วย แปลว่า จำเป็นต้อง --> สูตร need to+V1 (จำเป็นต้องรูป Active)
                                                                          need +Ving = need to + be+V3 (จำเป็นต้องรูป Passive)
  
- ไม่จำเป็นต้อง มี 2 รูป รูป Present กับรูป Past
      Present: ทำได้ 3 แบบ --> (1) don't need to+V1
                                           (2) don't have to+V1
                                           (3) needn't+V1
      Past: ทำได้ 2 แบบ ------> (1) didn't need to+V1
                                           (2) needn't have+V3 (มีหว้า ดูกลุ่ม Helping Verb+Verb to have+V3 เสริมอีกทีครับ)
2) must
มี 2 ประเภทคือ Obligation(การบังคับ) และกลุ่ม Assumtion (สรุปว่าเป็นเช่นนั้น)
- Obligation (การบังคับ) : แปลว่า ต้อง = must+V1 = has/have to+V1
            รูปปฏิเสธ ต้องไม่ = mustn't+V1
   เนื่องด้วย must มีเพียง 2 tense คือ กลุ่ม Present และกลุ่ม Future แต่ไม่มีกลุ่ม Past และ Perfect
   ดังนั้นจำต้องใช้ has/have to หรือ had to มาช่วย ดังนี้
   Present --> must --> has/have to
   Past --> had to
   Future --> must --> will/shall have to
   Perfect --> has/have/had + had to
ปล. โดยทั่วไปทางด้านอารมณ์แล้ว has/have to จะเบากว่า must

- Assumtion (สรุปว่าเป็นเช่นนั้น)  ความหมาย จะเป็นทำนอง เชิงความมั่นใจ ทั้งนี้จะมีรูปของ เชิงบวก และเชิงลบ และแยกเป็นกลุ่ม Present และ Past
ในกรณีเชิงลบหรือรูปปฏิเสธ จะใช้ can มาแทนห้ามใช้ must
   ซึ่งห้ามจำผิดนะครับเพราะหากใช้ must ในรูปปฏิเสธ (mustn't+V1) จะมีความหมายว่า "ต้องไม่" (ดูด้านบน Obligation)

                                 เชิงบวก(+)                                 เชิงลบ(-)
Present                       must+V1                                  can't+V1
              มั่นใจว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นแน่ ๆ ในปัจจุบัน     มั่นใจว่าสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในปัจจุบัน  

Past                        must have+V3                           can't have+V3
              มั่นใจว่าสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในอดีต     มั่นใจว่าสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในอดีต

หมาเหตุ รูป Past ของกรณี Obligation จะเหมือนกับ กรณีใช้ตามความเป็นจริงของ Helping Verb+V. to have+V3

3. can/could    แปลว่า สามารถ --> สูตรทั่วไป can/could+V1
    และใช้ในกรณีเป็นตัวเสริมของ must ในรูปปฏิเสธของ Obligation

4. may/might    แปลว่า อาจจะ ---> สูตรทั่วไป may/might+V1
ใช้ได้ 3 กรณี
    - Possibility แสดงความมั่นใจ ---> may    มั่นใจ 50% ไม่มั่นใจ 50%
                                                   might  มั่นใจ 30% ไม่มั่นใจ 70%
    - Permission --> ข้อร้องเชิงสุภาพ นิยมใช้ may (เพราะจะขอร้องในรูปแบบ ปัจจุบัน)
    - เปลี่ยนตามโครงสร้างไวยกรณ์ เชน reported speech --> จะเป็น might เสียส่วนใหญ่

5. should/ougth to/ had better  = ควรจะทำรูป should/ougth to/had better+V1 

6. will/would, shall/should = จะ
รูป  will/would+V1 = จะ
      shall/should+V1 = จะ
เฉพาะกรณีที่ใช้ในรูปของกลุ่ม Future คือ will/shall
           และกลุ่ม Future in the Past คือ would/should
(กรณี Future in the past ใช้ในกรณีเล่าเรื่องอดีตที่กล่าวถึงอนาคต
และการเปลี่ยนรูปโครงสร้างของ Grammar)
หมายเหตุ 1. ทั้งนี้ shall/should = จะ = will/would แต่จะไม่ค่อยนิยมใช้กันในรูปแบบของ US English
หากใช้จะเป็นเชิงสุภาพมาก ๆ และนิยมใช้ กับ I shall หรือ You shall มากกว่า
2. would/should --> ใช้ในกรณีขอร้องเชิงสุภาพได้ด้วย และใช้ในกรณีควบคู่กับโครงสร้าง Structure ของ Grammar
    เช่น rather (อยู่ในหัวข้อ 29 Prefer) หรือ โครงสร้าง If (อยู่ในหัวข้อที่ 3 Conditional sentenses)

2) Helping Verb+Verb to Have+V3จะเป็นรูปโครงสร้างเชิง Grammar ที่แสดงความมั่นใจหรือ Assumtion (สรุปว่าเป็นเช่นนั้น)
จะมี 2 แบบ คือ กลุ่มที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง และกลุ่มที่ใช้ตามความเป็นจริง รวมถึงรูปบอกเล่าและรูปปฏิเสธ ดังนี้

ตรงข้ามกับความเป็นจริง (มีหว้า)                            ใช้ตามความเป็นจริง- can/could+have+V3                                              - can't/couldn/t+have+V3
  หว้าน่าจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ไม่ได้ทำ                             มั่นใจว่าสิ่งนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในอดีต
                                                                              ---> เหมืนอกับ รูป Past เชิงลบ ของ Must กรณี Assumtion
- should/ought to/had better+have+V3                      - must+have+V3
  หว้าควรจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ไม่ได้ทำ                            มั่นใจว่าสิ่งนั้นจะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ ในอดีต
  should/ought to/had better+not have+V3                   ---> เหมือนกับ รูป Past เชิงบวก ของ Must กรณี Assumtion
  หว้าไม่ควรจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
- might+have+V3                                                    - may+have+V3 = may+not have+V3
  อาจจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ไม่ได้ทำ                                อาจจะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ในอดีต
  might+not have+V3
  อาจจะไม่ได้ทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
- would rather+have+V3
  อยากจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ก็ไม่ได้ทำ
  would rather+not have+V3
  ไม่อยากจะทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
- needn't have+V3
  ไม่จำเป็นต้องทำสิ่งนั้นในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว (หว้า)
   --> เหมือนกับ need กรณีไม่จำเป็นต้องรูปที่ 2 ของ กรณี Past

เทคนิคในการจำ Helping Verb+V.to have+V31. จำ step การไล่จากกลุ่มหว้า ---> can/should/might/would rather/need
2. ผันขยายความต่อ จากตัวหลัก เช่น can --> can/could, should --> should/ougth to/had better
3. ไล่ step ลงมาตามลำดับเชิงบอกเล่าและปฏิเสธ --> might+have+V3 และ might+not have+V3
4. เทคนิคการจำความหมาย
    มี หว้า ---> helping verb+v.to have+V3
    ความหมายตัวแรก helping verb
    ควาหมาย can/could = น่าจะ, should/ought to/had better = ควรจะ,
                       might = อาจจะ, would rather = อยากจะ, need จำเป็นต้อง
    ความหมายตัวที่สอง v.to have
             have = ทำสิ่งนั้น
       not have = ไม่...ตาม ความหมาย helping verb...+ทำสิ่งนั้น
               หรือ    ตามความหมายของ helping verb+ไม่ได้ทำสื่งนั้น
               เช่น might not have = อาจจะไม่ได้ทำสิ่งนั้น
                    should not have = ไม่ควรจะทำสิ่งนั้น
    ความหมายตัวที่สาม V3 = ในอดีตแต่ก็ไม่ได้ทำ หรือ ในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
       ในที่นี้ให้ดูที่ have หรือ not have
            หากเป็น have แปลว่า ในอดีตแต่ก็ไม่ได้ทำ
    แต่ห้าเป็น not have แปลว่า ในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
ทีนี้ก็มาประกอบกันจะได้ว่า
เช่น might+have+V3 = อาจจะ ทำสิ่งนั้น ในอดีตแต่ก็ไม่ได้ทำ
      might+not have+V3 = อาจจะ ไม่ได้ทำสิ่งนั้น ในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
      should+have+V3 = ควรจะ ทำสิ่งนั้น ในอดีตแต่ก็ไม่ได้ทำ
      should+not have+V3 = ไม่ ควรจะ ทำสิ่งนั้น ในอดีตแต่ก็ทำไปแล้ว
5. โยงกลับไปฝั่งตรงข้ามให้เป็นกรณีใช้ตามความเป็นจริง
   can ฝั่งหว้า ---> can't/couldn't + have + V3
6. จาก can't ---> ผันกลับ เป็น must และเป็น may

หลังจากจบ Helping Verbs แล้ว
จะมีเรื่องหลัก ๆ อยู่อีก 4 เรื่อง คือ
 - Condition of sentenses (หัวข้อที่ 3)
 - Relative Clauses (หัวข้อที่ 6)
 - Participial Construction (หัวข้อที่ 7)
 - Reported Speech (หัวข้อที่ 23)
ที่จะเป็นแก่นตัวถัดไป ซึ่งผมจะทำการนำเสนอเพิ่มเติมในโอกาสต่อ ๆ ไปครับ
ส่วนเรื่องที่เหลือจะเป็นเรื่องย่อย ๆ ของ grammar อันจะเป็นตัวประกอบ จะเป็นการอธิบายสั้น ๆ ก็น่าจะจบโดยไม่ยากนัก
แล้ว สุดท้ายทางผมจะบูรณาการสรุปรวบยอดเชิง Grammar ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งตอนสุดท้ายครับหลังจากหัวข้อที่ 36. เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย (เชิง grammar อย่างเดียว)

ปล.ดูท่าคงใช้เวลาพอสมควรเหมือนกันเพราะอาศัยเวลาที่ผมว่าง ๆ มาทำให้ ... หวังว่าเนื้อหาที่ผมสรุปนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ
ซึ่งจะติดตามอ่านและเสนอแนะหากมีเนื้อหาตรงไหนผิดพลาด หรือทางผมเข้าใจผิดก็จะยินดีแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘