รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย 07

ข้อ 7 Participial Constructionผมขอเสริม เล็กน้อยจากคุณ funnal เพิ่มเติม 3 ประเด็นครับ
(ดูที่กระทู้อันดับที่ 3 จากท้ายของหน้าแรกครับ)
ความรู้พื้นฐาน: Tenses/Voice/Relative Clause
1. เรื่องการทำเป็นรูปปฏิเสธ
สูตรรูปแบบบอกเล่า
1)    Ving (Active)
2)    V3 (Passive)
3)    Having+V3 (Active)
4)    Having been+V3 (Passive)
เวลาทำเป็นรูปปฏิเสธให้ใส่ not ไว้ข้างหน้าครับ
สูตรรูปแบบปฏิเสธ
1)    not + Ving
2)    not + V3
3)    not+having+V3
4)    not+having been +V3
ข้อควรระวังที่คนมักจำผิดคือ having been+ving หรือ having +ving ครับ
ให้ล็อคตรรกะไว้ที่ว่า กลุ่ม perfect = have+V3 ครับ ... แล้วเราจะไม่พลาดที่จะจดจำ

2. เรื่องการละประธาน (Absolute Construction)
โดยทั่วไปแล้ว participial construction จะมีการละประธานเสียมาก
แต่ความเป็นจริงแล้วจะมีกฎที่ว่า หากประธานต่างกันแล้วห้ามละประธานครับ หรือถ้าพิจารณาว่า
ตัดประธานออกแล้วจะสับสนก็ไม่ควรละประธานครับ
เช่น
When the sun had set, they set off.
  --> The sun having set, they set off.
หรือ
Because it was cold, no one went out.
 --> It being cold, no one went out.

3. วิธีการสังเกตและผันรูปกลับของ Participial Construction
ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับหลาย ๆ คน แต่ถ้าลองค่อย ๆ ฝึกก็จะง่ายครับ
ทำเป็น step แบบนี้ครับ
ก่อนอื่น --> มาดูที่นิยามนิดนึง
Participial Constuction นั้นทำมาจากรูปประโยคที่ตามหลังด้วย Relative Clause
และประโยคเชิงซ้อน ที่มี 2 ประโยค คือ Principle Clause และ Subodinate Clause
ซึ่ง Subodinate Clause ที่จะแปลงได้มี 4 กรณี คือ บอกเวลา, สาเหตุ, เงื่อนไข และความขัดแย้ง

3.1 หลักการสังเกตว่าเป็น Participial Construction คือ  --> จู่ ๆ มี Ving, V3, having+V3, having been+V3 มาต่อท้ายคำนาม จะเป็นพวก relative clause
                                                                     หรือขึ้นต้นประโยค จะเป็นพวก subordinate clause
หรือ --> ดูว่ามี verb ไม่แท้ตามหลัง N ลอย ๆ

เช่น
Apartments facing south get the most sunlight.
เราจะเห็นว่า จู่ ๆ ก็มี facing (Ving) ตามหลัง N
หรือ
Children born in the U.S. are American citizens
เราจะเห็นว่า จู่ ๆ ก็มี born (V3) ตามหลัง N
หรือ
Having just woken up , she was in no mood for Tom's jokes.
เราจะเห็นว่า จู่ ๆ ก็มี having woken (having+V3) มาลอย ๆ
หรือ
Not having been given the fact, he can't make the decision.
 เราจะเห็นว่า จู่ ๆ ก็มี having been given (having been+V3) มาลอย ๆ

3.2 วิธีการผันกลับ
หลักการผันกลับให้ดูแยกเป็น
รูปของ relative clause หรือ กรณี subordinate clause (มี 4 กรณี บอกเวลา, สาเหตุ, เงื่อนไข และความขัดแย้ง)

กรณีเป็น relative clause
อันนี้ดูไม่ยากครับ คือ มี N+Ving, V3, having+V3 หรือ having been+V3 เวลาผันกลับ
ทำดังนี้ครับ
จากตัวอย่างเดิม
ตัวอย่างที่ 1
Apartments facing south get the most sunlight.
จะเห็นว่า facing เป็น verb ในเชิง participial --> ก็ผันกลับ
step1: ตามหลัง N ไม่มี "," ดังนั้นเป็น รูป relative clause
step2: หา relative pronoun ดูประธานด้านหน้า --> apartments ใช้ which/that
step3: ดูว่า facing --> อยู่ใน lock สูตร ที่ 1 (Ving --> active)
step4: ตรวจสอบ tense ---> ดูจากบริบทของประโยค (อพาร์ตเมนต์ตั้งอยู่ทิศใต้) บอกเล่าทั่ว ๆไป--> present simple --> รูป V1
step5: สรุปรูป facing = which/that face ...
จะได้ว่า
Apartment which/that face south get the most sunlight

ตัวอย่างที่ 2
Children born in the U.S. are American citizens
จะเห็นว่า born เป็น verb ในเชิง participial --> ก็ผันกลับ
step1: ตามหลัง N ไม่มี "," ดังนั้นเป็น รูป relative clause
step2: หา relative pronoun ดูประธานด้านหน้า --> Children ใช้ who/that (ทำหน้าทีประธานของประโยค)
step3: ดูว่า born --> อยู่ใน lock สูตร ที่ 2 (V3 --> Passive)
step4: ตรวจสอบ tense ---> ดูจากบริบทของประโยค เด็ก ๆ เกิด (เกิดไปแล้วเป็นอดีต) --> past simple passive --> รูป was/were + V3
step5: สรุปรูป born = who/that were born ...
Children who/that were born in the U.S. are American citizens.

ปล. ในกรณีที่เป็น Non Defining เราสามารถทำในรูปของ Participial Construction ได้เช่นกันครับ เช่น
The taxi driver, who did not realize what had happened, continued on.
ก็จะได้เป็น The taxi driver, not realizing what had happened, continued on.
ในกรณีที่เป็น non defining เราสามารถจับโยกลำดับใหม่ได้ครับ
เป็น Not realizing what had happened, the taxi driver continued on.

กรณีเป็น subordinate clause ผมขอเขียนต่อด้านล่างละกันครับ
เพราะค่อนข้างยาว ...และซับซ้อนมาก


ขอมาสรุปเรื่อง participial construction ต่อให้จบครับ
จากข้างบนคราวก่อนได้สรุปถึงเรื่อง
Participial Construction ในกรณีที่เป็น Relative Clause
ทีนี้จะมาต่อในกรณีที่เป็น Subordinate Clause ครับ
อย่างน้อย ๆ ก็ถือว่าเป็นส่วนช่วยเสริมกับของคุณ Pim และให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในประเด็นนี้ครับ

กรณีเป็น subordinate clauseคงต้องออกตัวก่อนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างมากแต่ก็หวังว่าคงไม่ยากเกินที่เพื่อน ๆ จะจดจำได้ครับ
โดยผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแปลงเป็นรูป participial construction และ การแปลงกลับจากรูป participial construction เป็นรูปเดิม
ทางผมอาศัยแหล่งข้อมูลหลัก 2 แหล่งครับ คือ จากหนังสือ Grammar ดร.บุญชัยและหนังสือ Writing Academic English
(ตอนเรียน Writing กับอาจารย์อนุสร)
มาเริ่มกันเลยละกันครับ ...

หลักการ คือSubordinate Clause ที่ทำได้ต้องเฉพาะ Subordinate Clause ที่บ่งบอก เวลา สาเหตุ เงื่อนไขหรือความขัดแย้ง
ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นการบอกเงื่อนไขหรือความขัดแย้งนั้น ห้ามละ Conjunction

โดยเราจะพิจารณาที่ความหมายและตัว Conjunction เป็นหลัก ทั้งนี้ Conjunction นั้นที่พบส่วนใหญ่มี 7 ตัว คือ
Because/As/Since/Before/After/While/When

เพื่อให้สามารถเข้าใจเรื่อง Participial Construction กรณีที่เป็น Subordinate Clause ได้
จำต้องเข้าใจในส่วนของ Conjunction ในแต่ละตัวก่อนครับ
เพราะจะเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการละ Conjuction ที่แตกต่างกันในรายละเอียดอันผมจะอธิบายต่อไปด้านล่าง
1. Because (conj.) = เพราะว่า
2. As มี 4 ความหมายหลัก
    As(conj.) = เพราะว่า (Because)
    As(conj.) = ในขณะที่ (While) --> เวลาใช้งานจะเป็นรูป continuous เป็นหลัก
    As(conj.) = ตามที่...
    As(prep.) = ในฐานะที่เป็น
    สำหรับ As ที่ใช้ในเรื่องนี้ได้ คือ ความหมายที่ 1(เพราะว่า) และ 2(ในขณะที่)
3. Since มี 2 ความหมายหลัก
    Since(conj.) = เพราะว่า (Because)
    Since(conj.) = ตั้งแต่
4. Before(conj.) = ก่อน...
    มี 3 โครงสร้างหลักที่ใช้บ่อย คือ
   Before+past simple+past perfect --> ในกรณีที่ต้องการเน้นว่าอะไรเกิดก่อนหลัง
   Before+past simple+past simple --> ในกรณีที่เล่าเรื่องทั่ว ๆ ไป
   Before+present simple+present simple --> ในกรณีเล่าเรื่องที่เป็นความจริงมีเหตุมีผล
5. After(conj.) = หลังจาก...
    มี 2 โครงสร้างที่ใช้บ่อย คือ
   After+past perfect+past simple --> ในกรณีที่ต้องการเน้นว่าอะไรเกิดก่อนหลัง
   After+past simple+past simple --> ในกรณีที่เล่าเรื่องทั่ว ๆ ไป
6. While(conj.) = ในขณะที่/แม้ว่า
    While(conj.) = ในขณะที่  มี 2 โครงสร้างที่ใช้บ่อย คือ
       While+past continuous +past simple --> ส่วนมากแล้วจะใช้กับภาพขยับเป็นหลัก
       While+past simple+past simple --> เป็นภาพนิ่งส่วนมากจะไม่ค่อยใช้กันเพราะภาพนิ่งจะนิยมใช้ when มากกว่า
    While(conj.) = แม้ว่า = though,although, even though, even if
    ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จะเป็น While ที่แปลว่าในขณะที่เท่านั้น
7. When(conj.) = เมื่อ
    ห้ามใช้กับภาพขยับ โครงสร้าง When+past simple+past simple

ภายหลังจากที่เข้าใจตัว Conjunction ทั้งหมดแล้ว
ผมขอสรุปโดยจัดกลุ่มตาม Grammar ที่อาจารย์สอน คือ
ในกรณีที่บอกเวลา และบอกสาเหตุ สามารถตัด Conjunction ได้
แต่กรณีที่บอกเงื่อนไขหรือความขัดแย้ง ห้าม Conjunction ดังนี้ครับ
1. การบอกเวลาแบบไม่มีเงื่อนไข คือ As(ความหมาย = while ในขณะที่)/While(ในขณะที่)
เช่น
2. การบอกสาเหตุ คือ Because, As(ความหมาย เพราะว่า), Since(ความหมาย เพราะว่า)
3. การบอกเงื่อนไข คือ Before(ก่อน), After(หลังจาก ตัดได้เฉพาะกรณีที่เป็น After+กลุ่ม Perfect+....
    ที่พบบ่อยคือ After+past perfect+past simple เท่านั้น), Since(ตั้งแต่)
4. การบอกความขัดแย้ง คือ When, While (หากต้องการตัด conj. 2 ตัวนี้ทำได้เมื่อขึ้นหน้าประโยคเท่านั้น)



วิธีการทำเป็น participial construction

มี 4 step ครับ
1. Check Conjunction ดู conj. --> ว่าเป็นพวก 7 ตัวนี้หรือไม่ (Because/As/Since/Before/After/While/When)
    และเป็นรูปแบบการบอกเวลา สาเหตุ เงื่อนไขหรือความขัดแย้งหรือไม่
    ถ้าไม่เข้ากลุ่ม conjunction ทั้ง 7 ตัวแต่เข้ารูปแบบ่ของการทำดังกล่าว ผมไม่แนะนำให้ทำครับ
    หรือถ้าจำเป็นต้องทำก็ให้คง Conjunction ไว้ครับ
2. Check Verb of Subordinate Clause --> เปลี่ยน Verb ให้เป็นรูปของ Participial Construction
    กลุ่ม Active ทั่วไป         ใช้รูป Ving                        ปฏิเสธใช้ Not+Ving
    กลุ่ม Passive ทั่วไป       ใช้รูป V3                          ปฏิเสธใช้ Not+V3
    กลุ่ม Perfect Active       ใช้รูป Having + V3            ปฏิเสธใช้ Not+having+V3
    กลุ่ม Perfect Passive     ใช้รูป Having been + V3    ปฏิเสธใช้ Not+having been+V3
    (ดูตาม Chart ของคุณ Pim ได้ครับ)
3. Check Delete or Retain Conjuction ดูความหมายของแต่ละตัวว่าเข้าเงื่อนไขไหนเพื่อพิจารณาตัด Conj. ทิ้งหรือคงไว้
   ผมสรุปง่าย ๆ ตาม Conj. แบบนี้ครับ
   1) Because/As --> ตัดได้หมด
   2) Since ตัดได้เฉพาะกรณีบอกสาเหตุ
   3) Before/After --> ให้คงไว้ ยกเว้นกรณีที่ After+กลุ่ม perfect จะไม่ตัดทิ้งก็ได้
   4) While/When --> ให้คงไว้ หากจะตัดออกได้เฉพาะกรณีอยู่ด้านหน้าเท่านั้น
   อย่างไรก็ตามถ้าไม่มั่นใจ หรือแปลว่ามันงง ๆ ไม่ชัดเจนสามารถคง Conjunction ได้ครับ
4. Check Subject พิจารณา ประธานของ Main Clause หรือ Principal Clause และ Subordinate Clause
    1) หากประธานตัวเดียวกันให้ตัดประธานของ Subordinate Clause ทิ้ง
    2) หากประธานด้านหลังเป็นกลุ่ม Pronoun ให้คืนรูปตามประธานด้านหน้าและตัดประธานของ Subordinate Clause ทิ้ง
    3) หากประธานเป็นคนละตัวกันให้คงประธานไว้

สำหรับตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจอย่างถ้องแท้ผมคิดว่าควรแจกแจกให้ครบทุก conjunction เลย
ตัวอย่าง1:  Because/As(เพราะว่า)/Since(เพราะว่า)

Because/As/Since I didn't have any matches, I was not able to light the fire.
(เพราะว่าผมไม่มีไม้ขีดไฟเลย ผมจึงไม่สามารถจุดไฟได้)
Step1 Check Conj.: Because/As/Since --> อยู่ในกลุ่มแบบ เหตุผล
Step2 Check Verb: ตรวจสอบ Verb ของ Subordinate Clause --> didn't have --> past simple+active+ปฎิเสธ
         เปลี่ยนรูปจาก didn't have เป็น --> not having
จะได้ Because/As/Since I not having  any matches, I was not able to light the fire.
Step3 Check Delete/Retain Conj.: ตรวจสอบตัด Conj. ได้หรือไม่ เข้ากรณีที่ 1 --> ตัดได้
Because/As/Since I not having any matches, I was not able to light the fire.
Step4 Check Subject: ตรวจสอบประธาน Main Clause = I, Subordinate Clause = I  --> ตัดทิ้งได้
        I not having any matches, I was not able to light the fire.
        ดังนั้นให้ตัดประธานของ Subordinate Clause ทิ้งจะได้
Not having any matches, I was not able to light the fire.

ตัวอย่างที่ 2: Since (ตั้งแต่)Carlos has not been back home since he came to the United States three years ago.
(Carlos ไม่ได้กลับบ้านเลย ตั้งแต่เขาไป US เมื่อ 3 ปีที่แล้ว)
Step1 Check Conj.: Since (ตั้งแต่) --> อยู่ในกลุ่มแบบมีเงื่อนไข
Step2 Check Verb: came --> past simple+active+บอกเล่า --> Ving --> coming
Step3 Check Delete/Retain Conj. : since --> คงไว้
Step4 Check Subject: Main Clause = Carlos, Subordinate Clause = he --> ตัวเดียวกัน --> ตัดทิ้ง
สรุป
Carlos has not been back home since coming to the United Stated three years ago.
หรือ Since coming to the United Stated three years ago, Carlos has not been back home.

ตัวอย่างที่ 3: Before(ก่อนจาก)
Before
a student chooses a college, he should consider several factors.
(ก่อนที่เก็จะเลือกเข้าวิทยาลัย เขาควรที่จะต้องพิจารณาปัจจัยมากมาย)
Step1 Check Conj.: Before --> อยู่ในกลุ่มเวลาแบบมีเงื่อนไข
Step2 Check Verb:
 chooses --> present simple+active+บอกเล่า --> Ving --> choosing
Step3 Check Delete/Retain Conj.: Before --> ตัดไม่ได้ เพราะเป็น Before
Step4 Check Subject.:  Main Clause = he, Subject of Subordinate Clause = a student --> ตัวเดียวกัน
           --> แต่ ใน Main Clause เป็น pronoun --> เปลี่ยนเป็นประธานตาม Subordinate Clause --> a student และตัด he ทิ้ง
สรุป Before choosing a college, a student should consider several factors.
หรือ  A student should consider several factors, before choosing a college.

ตัวอย่างที่ 4: After(หลังจาก)After she had received the prize, she went back to her seat.
(หลังจากที่เธอได้รับรางวัล เธอก็กลับไปนั่งที่ที่นั่งของเธอ)
Step1 Check Conj.: After --> อยู่ในกลุ่มเวลาแบบมีเงื่อนไข
Step2 Check Verb: had received --> past perfect+active+บอกเล่า --> having+V3 --> having received
Step3 Check Delete/Retain Conj.: After --> ตัดได้ เพราะ Verb เป็น present perfect
Step4 Check Subject.:  Main Clause = She, Subject of Subordinate Clause = she --> ตัวเดียวกัน --> ตัด she ทิ้งได้
สรุป Having received the prize, she went back to her seat.

ในกรณีที่เป็น After+past simple+past simple (เล่าเรื่องทั่วไป)
After she received the prize, she went back to her seat.
(หลังจากที่เธอได้รับรางวัล เธอก็กลับไปนั่งที่ที่นั่งของเธอ)
Step1 Check Conj.: After --> อยู่ในกลุ่มเวลาแบบมีเงื่อนไข
Step2 Check Verb: received --> past simple+active+บอกเล่า --> Ving --> receiving
Step3 Check Delete/Retain Conj.: After --> ตัดไม่ได้ เพราะ Verb เป็น past simple+past simple
Step4 Check Subject.:  Main Clause = She, Subject of Subordinate Clause = she --> ตัวเดียวกัน --> ตัด she ทิ้งได้
สรุป After receiving the prize, she went back to her seat.

ตัวอย่างที่ 5: While/As(ในขณะที่)While/As he was preparing for his exam, Jim thought about his teacher.
(ในขณะที่เขาเตรียมการสอบ Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์)
Step1 Check Conj.:   While --> อยู่ในกลุ่มแบบบอกเวลา
Step2 Check Verb:  was preparing --> past continuous+active+บอกเล่า --> Ving --> preparing
Step3 Check Delete/Retain Conj.
: While --> ตัดทิ้ง(กรณีอยู่ด้านหน้า-คงไว้เมื่ออยู่ด้านหลัง)
                      
As --> ตัดทิ้งได้เลยแม้ว่าจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง
Step4 Check Subject:  Main Clause = Jim, Subject of Subordinate Clause = he --> ตัวเดียวกัน --> ตัด he ทิ้งได้
สรุป Preparing for his exam, Jim thought about his teacher.
หรือ Jim thought about his teacher, while preparing for his exam.

ตัวอย่างที่ 6: When
When the sun had set, they set off
(เมื่อพระอาทิตย์อัสดง พวกเขาก็ออกเดินทาง)
Step1 Check Conj.:  When --> อยู่ในกลุ่มแบบมีเงื่อนไข
Step2 Check Verb:  had set --> present perfect+active+บอกเล่า ---> ใช้สูตร having+V3 --> having set
Step3 Check Delete/Retain Conj.: When --> ตัดทิ้งได้เพราะวางไว้ด้านหน้า
Step4 Check Subject: Main Clause = the sun , Subject of Subordinate Clause = they  --> คงประธานไว้
สรุป The sun having set , they set off.



การกรณีผันรูป Participial Construction กลับ
ให้พิจารณาดังนี้
1. กรณีที่มีการแสดง Conjunction ไว้แล้ว
  
ให้ทำการพิจารณา Verb ในการผันค่ากลับ
Conjunction ที่พบ ได้แก่
Since(ตั้งแต่), Before, After(past simple+past simple), While/When(กรณีต่อท้าย Main Clause)
โดยการ
1) Check Subject --> ตรวจสอบการนำประธานสลับข้าง หรือนำประธานใส่คืน ในกรณีที่ประธานคนละตัวกันก็ใช้ตัวเดิมเลย
                               โดยที่ให้ใส่หลัง conjunction
2) Chcek Verb --> Check บอกเล่า/ปฏิเสธ --> Check voice ---> Check tense --> ผันรูปกลัย

สำหรับตัวอย่างผมขอแสดงเฉพาะตัวหลักครับ
ส่วนตัวอื่น ๆ ให้เพื่อน ๆ ค่อย ๆ พิจารณาลองทำดูจากตัวอย่างด้านบนกลับครับ
พอเราทำคล่อง ๆ แล้วเมื่อเราดูปุ๊ปก็จะทราบเลยว่ารูปจริงมากจากไหน

จากตัวอย่างที่ 2 Since
Since coming
to the United Stated three years ago, Carlos has not been back home.
(ตั้งแต่ไป US เมื่อ 3 ปีที่แล้ว Carlos ไม่ได้กลับบ้านเลย)
1) Check Subject --> Carlos --> วางไว้หลัง Conj. และสลับ Carlos ของ Main Clause เป็น pronoun แทน --> ใช้ he
Since  Carlos  coming to the United Stated three years ago, Carlos has not been back home.
Since Carlos  coming to the United Stated three years ago,  he has not been back home.
2) Cehck Verb
    --> Check บอกเล่า/ปฏิเสธ  --> บอกเล่า
    --> Check voice --> coming --> Ving --> Active    --> Check tense --> past simple --> ดูได้จากการแปล และ main clause
          เหตุบ่งบอกว่าเป็น past simple --> มีจุดบ่งเวลาในอดีต และไม่เป็นภาพขยับ
          (ถ้าไม่เชี่ยวชาญเรื่องการใช้ tense เชิญทบทวนได้ในหัวข้อแรกครับ)
3) ผันรูปกลับ ---> coming = came ดังนั้นได้ Since Carlos  came to the United Stated three years ago, he has not been back home.
หรือ Carlos has not been back home, since he came to the United Stated three years ago.



2. กรณีที่มีไม่มีการแสดง Conjunction ต้องพิจารณาความหมายเป็นหลักเพื่อหา Conjunction ตัวแทนก่อนพิจารณา Verb
Conjunction ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
Because/As(เพราะว่า)/Since(เพราะว่า), After(past perfect+past simple), While/When(กรณีนำหน้าประโยค)
โดยการ
1) Check Conjunction --> โดยดูรูปแบบการพิจารณาดังนี้
    - ความหมายเป็นเหตุเป็นผล --> Because/As/Since --> ถ้าแปลแล้วใช้คำว่าเพราะว่าเป็นตัวแทนได้
    - ลำดับก่อนหลังโดยไม่มีเวลาบอก ---> พิจารณาใช้ After
    - ลำดับก่อนหลังโดยมีเวลาบอก ---> พิจารณาใช้ Since(ตั้งแต่)
    - ภาพขยับแบบมีเงื่อนไข/ความขัดแย้ง --> While/As(ในขณะที่)
    - ภาพนิ่งแบบมีเงื่อนไข --> When(ไม่ค่อยนิยมใช้ While)
2) Check Subject --> ตรวจสอบการนำประธานสลับข้าง หรือนำประธานใส่คืน ในกรณีที่ประธานคนละตัวกันก็ใช้ตัวเดิมเลย
                               โดยที่ให้ใส่หลัง conjunction
3) Chcek Verb --> Check บอกเล่า/ปฏิเสธ --> Check voice ---> Check tense --> ผันรูปกลัย

เช่น
จากตัวอย่างที่ 5
Preparing
for his exam, Jim thought about his teacher.
(เตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์)
1. Check Subject --> Jim --> วางไว้หน้า Participial และสลับ Jim ของ Main Clause เป็น pronoun แทน --> ใช้ he
Jim  preparing for his exam, Jim thought about his teacher.
Jim  preparing for his exam,  he thought about his teacher.

1. Check Conjunction    จากความหมาย "...เตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์"
    เหมือนเติมในช่องว่าง ถ้าคิดไม่ออกก็ลองค่อย ๆ ใส่ทีละตัวดู
    เช่น --> เพราะว่า เขาเตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์
                             ---> ฟังแล้วเปร่ง ๆ
          --> หลังจาก เขาเตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์
                           ---> ฟังแล้วอาจจะเป็นไปได้ แต่ Verb ต้องเป็น past perfect ในที่นี้เป็น past simple จำต้องมี After แสดง
                                  แต่ในที่นี้ไม่มีดังนั้นไม่น่าจะใช้
          -->  เมื่อ เขาเตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์
                           ---> ฟังแล้วพอใช้ได้ แต่ต้องพิจารณาต่อว่าภาพการเตรียมการสอบควรเป็นภาพขยับมากกว่า
          --> ในขณะที่  เขาเตรียมการสอบของเขา Jim ก็ได้คิดถึงอาจารย์
                           ---> ฟังแล้วน่าจะถูกต้องที่สุด ดังนั้นใช้ While/As (ในขณะที่)
3. Cehck Verb
    --> Check บอกเล่า/ปฏิเสธ  --> บอกเล่า
    --> Check voice --> preparing --> Ving --> Active    --> Check tense --> past continuous --> ดูได้จากการแปล และ main clause
          เหตุบ่งบอกว่าเป็น past continuous --> เป็นภาพขยับ และ main cluase เป็น past simple

4. ผันรูปกลับ ---> preparing = was preparingดังนั้นได้ While/As   Jim was preparing for his exam, he thought about his teacher.


ถือได้ว่าจบเรื่องของ Participial Construction แบบเต็มรูปแล้ว ... หากมีตรงไหนที่ผิดพลาดแจ้งได้ครับผมจะรับมาแก้ไขทันที

สุดท้ายถ้าผมมีเวลาจะทำ chart สรุปในส่วนของ Relative Clause และ Participial Construction (เนื่องจากเป็นหัวข้อต่อเนื่องกัน)
นำมาแสดงเป็น Chart เดียวให้ครับ เพราะค่อนข้างที่จะเห็นใจมากเนื่องด้วยเป็นหัวข้อที่เข้าใจยาก

ตอนนี้ก็จะเหลือหัวข้อหลัก ค้างอยู่ 1 หัวข้อ คือ Reported Speech จะนำมาแสดงให้ภายหลังเมื่อผมว่างครับ
(หัวข้อนี้ค่อนข้างสลับซับซ้อนเช่นกันครับ)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘