ปรโลก ฝ่ายทุคติ

ปรโลก ฝ่ายทุคติ คือ สถานที่ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เรียกว่า อบายภูมิ มี 4แห่ง การแบ่งภูมิต่างๆในทุคติ อาจเปรียบได้กับการแบ่งแดนต่างๆในเรือนจำ ซึ่งแบ่งแดนกักขังนักโทษ ตามความหนักเบาของแต่ละคน ดังนี้

1.นรก หรือ นิรยภูมิ

นิรยภูมิ หรือ นรก
จัดอยู่ใน อบายภูมิอันดับที่1 เป็นดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ไม่มีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมาน นรกมีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8ขุมใหญ่ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุมบริวารที่เรียกว่า อุสสทนรก อีก 128ขุม มีนรกขุมย่อยที่เรียกว่า ยมโลก อีก 320ขุม
เปตติวิสยภูมิ หรือ ภูมิเปรต

2.ภูมิเปรต หรือ เปตติวิสยภูมิ

จัดอยู่ใน อบายภูมิอันดับที่2 เป็นดินแดนที่มีแต่ความเดือดร้อนอดอยาก หิวกระหาย เปรตแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยมแบ่งกันมาก คือ เปรต 12ตระกูล ที่อยู่ของเปรตนั้น อยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปนอยู่กับมนุษยโลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็นเปรต เพราะได้ทำ อกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์ เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก หรือเกิดจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็นเปรต

อสุรกายภูมิ

อสุรกาย

3.อสุรกายภูมิ

จัดอยู่ใน อบายภูมิอันดับที่3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมากแยกแยะได้ยาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเปรต คือ ที่ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่างประหลาดพิลึกกึกกือ เช่น มีหัวเป็นหมูตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่แสนยากลำบากเช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิวกระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะ ความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ

สัตว์เดียรัจฉาน
เดียรัจฉาน

4.ติรัจฉานภูมิ

เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดใน นรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อ เดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพานด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘