ขั้นตอนการติดตั้ง Linux Fedora Core 5



หลังจากบูตเครื่องพีซีด้วยแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้ง จะปรากฏหน้าจอแรกโปรแกรมติดตั้งจะรอคอยคำสั่งจากการพิมพ์ของผู้ติดตั้ง เรียกว่า บูตพร้อมพ์ ( Boot Prompt )ซึ่งผู้ติดตั้งสามารถกำหนดทางเลือก ( Options ) การทำงานของโปรแกรมติดตั้งนี้ได้หลายรูปแบบตามความต้องการ ตัวอย่างของคำสั่งกำหนดทางเลือกได้แก่
  • boot: linux textboot:
  • linux rescueboot:
  • linux askmethodboot:
  • linux ks=floppy
  • ข้อความที่จะพิมพ์สั่งงานได้นั้นอาจดูได้โดยการกดปุ่ม F2หากผู้ติดตั้งรอสักครู่หรือกด Enter จะเป็นการเข้าสู่การติดตั้งแบบกราฟฟิกต่อไป


    โปรแกรมติดตั้งจะสอบถามว่าต้องการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้งนี้หรือไม่





    หากผู้ติดตั้งตอบ Yes จะเข้าสู่การตรวจสอบแผ่นซีดีรอมทีละแผ่นและรายงานผลให้ทราบ





    ขั้นตอนการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมมาแล้วจะเป็นหน้าจอแสดงสัญลักษณ์และ Release Notes





    เลือกภาษาที่ต้องการใช้ระหว่างการติดตั้ง





    เลือกภาษาของแป้นพิมพ์




    เลือก ที่จะติดตั้งทับลีนุกซ์เดิมที่มีอยู่ในฮาร์ดดิสก์จะต้องเลือกรูปแบบ (Layout) อย่างใดอย่างหนึ่งหากเลือกใช้ Free space และ default layout จะเป็นการติดตั้งโดยใช้รูปแบบตามที่ Fedora กำหนดให้ โดยจะใช้ระบบจัดการระบบไฟล์แบบ LVM และจะใช้เนื้อที่ดิสก์ทั้งหมดที่เหลืออยู่

    การที่ Fedora ออกแบบให้มี Default Layout เช่นนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานที่ยังไม่เคยใช้ลีนุกซ์มาก่อน หลังจากกำหนด Layout หรือรูปแบบการแบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์แล้ว
    หากผู้ติดตั้งมีความประสงค์จะกำหนดคุณสมบัติให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นจะต้องเลือกตัวเลือก Custom Layout ในขั้นตอนนี้



    ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดค่าเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)



    กำหนด ค่า Time Zone เป็น Asia/Bangkok ส่วนตัวเลือก System clock uses UTC จะใช้ในกรณีที่เป็นเครื่อง Portable หรือ Notebook ที่กำหนดวันเวลาภายในฮาร์ดแวร์ (RTC/BIOS) เป็นเวลามาตรฐานโลก (UTC หรือ GMT) แล้วอาศัยการปรับเวลาในระบบปฏิบัติการตามเวลาท้องถิ่น ( Local Date/Time ) ได้ตามสภาพความเป็นจริง



    กำหนด รหัสผ่านของผู้ควบคุมระบบ ( root ) โดยยืนยันให้ตรงกันทั้ง 2 ครั้ง รหัสผ่านของ root นี้ควรกำหนดให้มีความซับซ้อน ยากต่อการสุ่มเดา แต่ง่ายต่อการจำโดยควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักขระ ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่สำคัญคือ จะต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำว่าอะไรเป็นรหัสผ่าน ห้ามใช้รหัสง่ายๆ อย่างชั่วคราวเด็ดขาด



    เลือก ชุดของซอฟต์แวร์ ( Package Selection )Fedora จะมีตัวเลือกอย่างกว้างๆ ให้ง่ายต่อการติดตั้งคือ Office สำหรับงานเดสทอป Software Development สำหรับงานพัฒนาซอฟต์แวร์ และ Web Server สำหรับงานระบบเครือข่าย แต่อันที่จริงแล้วควรเลือกแพคเกจทีละชุดด้วยตนเองเพื่อให้มีซอฟต์แวร์ ครบถ้วนเพียงพอต่อการใช้งานและไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ดิสก์โดยไม่เกิด ประโยชน์ (โปรดอ่านการเลือกซอฟต์แวร์แพคเกจ)



    ก่อน ที่จะเริ่มการติดตั้งจริง โปรแกรมติดตั้งจะรอให้ผู้ติดตั้งยืนยันที่ขั้นตอนนี้ หมายความว่า หากคลิ๊ก Back จะยังสามารถแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้ทั้งหมด โดยที่ยังไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นแต่ถ้าคลิ๊กที่ Next โปรแกรมติดตั้งจะเริ่มจัดการกับฮาร์ดดิสก์และเริ่มติดตั้งโปรแกรมซึ่งจะไม่ สามารถขัดขวางการทำงานเหล่านั้นได้




    โปรแกรมติดตั้งจะสอบถามว่าต้องการตรวจสอบแผ่นซีดีรอมชุดติดตั้งนี้หรือไม่




    หาก คลิ๊ก Next ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มจัดการกับฮาร์ดดิสก์โดยแบ่งพาร์ทิชั่น ฟอร์แมต และสำเนาไฟล์ต่างๆ จากซีดีรอมลงสู่ฮาร์ดดิสก์ แล้วร้องขอให้เปลี่ยนแผ่นซีดีรอมถัดไปทีละแผ่นจนกระทั่งครบตามที่ได้เลือกแพ คเกจไว้ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานานมากขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และ จำนวนแพคเกจที่เลือกติดตั้ง




    เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งโปรแกรมจะแสดงข้อความให้นำแผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์อื่นๆ ออกไป แล้วบูตเครื่องโดยคลิ๊กปุ่ม Reboot


    การเซ็ตอัพภายหลังจากติดตั้งสำเร็จแล้ว



    จาก ขั้นตอนการติดตั้ง จะเห็นว่า Fedora ได้ลดจำนวนข้อคำถามต่างๆ ที่ผู้ติดตั้งจะต้องตอบลงเพื่อให้การติดตั้งดำเนินไปอย่างรวดเร็วและเรียบ ง่ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการติดตั้งสำเร็จลงและทำการบูตเข้าสู่ระบบเป็นครั้ง แรก ( First Boot ) โปรแกรมชื่อ First Boot จะพยายามนำเข้าสู่การแสดงผลแบบกราฟฟิกหรือ X Window System และจะเข้าสู่การตั้งค่าบางอย่างที่จำเป็นต่อระบบ ดังนี้




    กำหนดการทำงานของ Firewall เป็นการเปิดให้บริการงานด้านเครือข่ายเฉพาะงานที่กำหนดเท่านั้น




    หากผู้ใช้งานยังไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน Firewall ของ Fedora ขอแนะนำให้ Disable ไว้ก่อน





    ปิดการทำงานของ SELinux โดยให้เป็น Disable





    กำหนดค่าวันเวลาปัจจุบัน




    กำหนดค่าความละเอียดของการแสดงผลเป็น 1024x768 และความลึกของสีที่เหมาะสมกับอุปกรณ์แสดงผลที่ใช้อยู่




    กำหนด ชื่อผู้ใช้งานเครื่องที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมระบบ (Non-Root User) อย่างน้อย 1 ชื่อบัญชี ในการใช้งานปรกติ เช่น การใช้งานแบบเดสทอป ไม่ควรใช้งานโดยใช้ชื่อผู้ใช้ root เนื่องจากเป็นผู้ควบคุมระบบที่มีสิทธิสูงสุด หากมีความผิดพลาดหรือเป็นภัยต่อระบบเกิดขึ้นระหว่างใช้สิทธิของ root จะทำให้ระบบได้รับความเสียหายรุนแรงได้




    ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการตั้งค่าและทดสอบการทำงานของ Sound Card ซึ่งในปัจจุบันลีนุกซ์สามารถทำงานได้กับชิปส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี


    การจัดแบ่งพาร์ทิชั่นแบบ Custom



    โปรแกรม ที่ใช้ในการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นของ Fedora นี้มีชื่อว่า Disk Druid การเข้าสู่การใช้ Disk Druid ในการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นนี้ผู้ติดตั้งจะต้องเลือก ตัวเลือก Create custom layout จากขั้นตอนการติดตั้ง แทนที่จะเลือกเป็น Default Layout ตามปรกติ




    ลักษณะ ของโปรแกรม disk druid นี้จะช่วยให้สามารถสร้าง ( New ) แก้ไข ( Edit ) ลบ ( Delete ) พาร์ทิชั่นในฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการได้จากกรอบด้านล่าง ( ในรูปเป็น /dev/had ) Reset เป็นการยกเลิกให้กลับไปสู่สภาพเดิมก่อนการแก้ไขทั้งหมดRAID และ LVM เป็นการสร้างหรือแก้ไขพาร์ทิชั่น
    คลิ๊กที่ปุ่ม New เพื่อเริ่มสร้างพาร์ทิชั่นใหม่




    จะ ได้พาร์ทิชั่น /dev/had ดังรูปผู้ติดตั้งสามารถแก้ไขพาร์ทิชั่นนี้ได้โดยคลิ๊กที่รูป (กรอบบน) หรือที่ชื่ออุปกรณ์ (กรอบล่าง) แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Edit





    คลิ๊กที่ปุ่ม เพื่อเริ่มสร้างพาร์ทิชั่นใหม่อีกหนึ่งพาร์ทิชั่นเป็น Swap Partition




    ขณะนี้จะมีพาร์ทิชั่นสิ้น 2 พาร์ทิชั่น คือ / และ swap เป็น /dev/hda1 และ /dev/hda2 ตามลำดับ




    หลัง จากทำการจัดแบ่งพาร์ทิชั่นของดิสก์แล้วโปรแกรมติดตั้งจะให้กำหนดโปรแกรม Boot Loader เป็นลำดับต่อมาซึ่งในปัจจุบันลีนุกซ์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม GRUB เป็นโปรแกรม Boot Loader ซึ่งจะช่วยสร้างเมนูการบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการให้เอง หากมีระบบปฏิบัติการอื่นเช่น MS Windows ติดตั้งอยู่ด้วยก็จะทำหน้าที่เป็นโปรแกรมช่วยในการบูตให้พร้อมมีเมนูให้ เลือกได้


    การเลือกแพคเกจด้วยตนเอง (Customized Package Selection)



    การเลือกแพคเกจด้วยตนเอง จะเริ่มในขั้นตอนการติดตั้งที่ผู้ติดตั้งจะต้องกำหนดตัวเลือก
    "Customize now"




    โปรแกรม จะเข้าสู่เมนูตัวเลือกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ประเภทของซอฟต์แวร์ รายชื่อกลุ่มของซอฟต์แวร์แพคเกจ และกรอบแสดงคำอธิบายรายละเอียดของซอฟต์แวร์แพคเกจที่กำลังเลือกอยู่ ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยแพคเกจย่อยๆ อีกหลายแพคเกจ โดยผู้ติดตั้งสามารถเข้าไปเลือกทีละแพคเกจได้โดยใช้ปุ่ม Optional packages

    ประเภท Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมแบบกราฟฟิกของลีนุกซ์ มี GNOME กับ KDE ปรกติ Fedora จะเลือก GNOME เป็นค่าปริยาย ให้เลือก KDE เพิ่มอีกหนึ่งทางเลือก




    ใน Optional packages ควรเพิ่มแพคเกจที่น่าสนใจเข้าไปอีกได้แก่ kdeadmin




    ใน ประเภท Applications ควรเลือกเฉพาะงานที่ต้องการใช้เท่านั้น เช่น ไม่เลือกติดตั้ง Authoring and Publishing ,Engineering and Scientific ,Graphics ,Office/Productivity เป็นต้น




    ประเภท Development หรือเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม มีส่วนสำคัญต่อการคอมไพล์และติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเข้าสู่ระบบ จึงควรเลือกให้เพียงพอต่อการใช้งาน




    ประเภท Servers คือ โปรแกรมบริการในระบบเครือข่ายทั้งหลาย เช่น Database ,Web ,File Serverควรเลือกเฉพาะที่ต้องการใช้งานเท่านั้น เนื่องจากแต่ละเซิร์ฟเวอร์มักจะมีหน้าที่เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น




    ส่วน Base System จะเป็นส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการที่ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้ควบคุมระบบจำเป็นต้องใช้



    ส่วน ประเภทสุดท้ายคือ Languages ควรเลือก Thai Support เพื่อให้มีการติดตั้งแพคเกจที่เกี่ยวข้องกับระบบภาษาไทย เช่น รูปแบบอักขระ (Fonts) การเข้ารหัส ( Encoding ) และรูปแบบแป้นพิมพ์ ( Keyboard Layouts )

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

    ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

    ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘