เข้าใจผิด! คิดว่าไวรัส

สำหรับ หน้านี้จะเป็นเรื่องราวของความเชื่อและความเข้าใจผิดในหลายๆอาการครับ ความเข้าใจผิดที่ว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นไวรัสแน่ๆ หรือเป็นอาการที่เกิดจากไวรัสแน่ๆ เท่าที่ผมได้พบเห็นมารวมทั้งความเข้าใจผิดของตัวเองที่หลายๆ ครั้งเคยคิดเหมือนกันว่าสงสัยเครื่องเราติดไวรัส จนหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงรู้ว่าจริงๆมันไม่ใช่ ไปโทษมากเดี๋ยวไวรัสมันน้อยใจนะ เลยตั้งใจจะเอามาเล่าสู่กันฟังไว้ในหน้านี้ครับ เพื่อนๆคนไหนมีข้อมูลอะไรที่คิดว่าน่าสนใจก็มาร่วมแชร์ข้อมูลกันได้นะครับ

สารบัญ

File และ Folder ใสๆสีจางๆ

Folder ชื่อ Recycler และ Recycled

ชื่อ File เป็นสีน้ำเงิน

ไฟล์ Thumbs.db มายังไง

ไฟล์ Desktop.ini คืออะไร



สำหรับ เรื่องแรกเรามาดูกันถึงเรื่องที่หลายๆคนมักจะตกใจว่าเครื่องติดไวรัส เพราะปรากฏมี Folder และไฟล์แปลกประหลาดไม่ปรากฏสัญชาติ แถมยังตัวซีดๆใสๆจางๆซะอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดหลังจากการใช้ตัว Ultra ทุกๆตัวในการกำจัดไวรัส สำหรับไฟล์ หรือ Folder สีจางๆนั้น โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่ไวรัสนะครับ ย้ำว่าโดยส่วนใหญ่เพราะมีส่วนหนึ่งที่เป็นไวรัสเช่นกัน เดี๋ยวตอนท้ายๆผมจะสรุปคร่าวๆอีกทีว่าตัวไหนเป็นไวรัส 100% และตัวไหนไม่ใช่ 100 % ส่วนที่เหลือซึ่งผมอาจจะมีข้อมูลไม่ครอบคลุมเพื่อนๆคนไหนมีข้อมูลฟันธงก็ รบกวนแจ้งมาเลยนะครับ จะได้เป็นวิทยาทานแก่ผมและคนอื่นๆด้วย
ก่อน อื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าสีจาง(หลังจากนี้ขออนุญาตใช้คำว่าสีจางซึ่งผม จะหมายรวมถึงทั้งไฟล์และ Folder ที่มีสีจางๆใสๆนะครับ) กันก่อน เจ้าสีจางนี้โดยแท้จริงแล้วคือคุณสมบัติของไฟล์และ Folder รูปแบบหนึ่งของ Windows น่ะครับ โดยภาษาฝรั่งเค้าเรียกกันว่า Attribute ซึ่งก็จะมี A(Archive File),R(Read-Only File),H(Hidden File) และ S(System File)

ตัว R(Read-Only) ก็ตรงๆตามชื่อล่ะครับคือไฟล์หรือ Folder นี้อ่านได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขใดๆได้ ซึ่งในสมัย Dos รุ่งเรืองไม่มี Windows ใช้นี่การเข้าไปแก้เจ้าอ่านอย่างเดียวให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้นี่ใช้ Command กันอย่างเดียวเลย โดยคำสั่งผมจะพูดถึงในตอนหลังนะครับ แต่ในยุค Windows แบบนี้ไม่ยุ่งยากครับ เพียงแค่เรา Click ขวาที่ไฟล์หรือ Folder ที่ต้องการแล้วเลือก Properties ก็จะเห็นว่ามีให้ติ๊กเข้าติ๊กออกได้เลยว่าจะให้อ่านอย่างเดียวหรือจะให้เป็น ไฟล์ปกติ(อ่านเขียนได้) อันนี้ไม่น่าตื่นเต้นครับเพราะไม่ส่งผลต่อสีว่าจะจางหรือไม่ ขอกล่าวถึงสั้นๆพอ

ตัว H(Hidden File) ตัวนี้สิครับต้นเรื่องของเราเลยล่ะ ก็ตรงๆตามชื่ออีกเช่นเคยมันคือไฟล์ซ่อนนั่นเอง สำหรับไฟล์ซ่อนนั้นก็หลายสาเหตุในการใช้งานล่ะครับ เช่นบางคนอาจจะต้องการแอบไฟล์หรือ Folder ต่างๆซึ่งไม่อยากให้ใครรู้หรือเห็นก็ไปตั้งมันให้ซ่อนตัวไว้ซะ ซึ่งถ้าสมัยก่อนที่ใช้ Dos นี่เจ้านี่ใช้ได้ผลดีทีเดียวครับเพราะมันจะมองไม่เห็นเลยจริงๆ นอกจากใช้คำสั่งพิเศษที่จะทำให้มองเห็นมันได้(ขอยกยอดคำสั่งไปรวมไว้ท้ายๆ เลยนะครับ) หรืออาจจะเป็นไฟล์ระบบของ Windows ซึ่งแอบไว้เพราะกลัวผู้ใช้ไปลบพลาดโดนมันเข้า อาจจะถึงขั้นเข้า Windows ไม่ได้เลย ซึ่งในการตั้งค่าให้เป็นไฟล์ซ่อนก็เช่นเดียวกันครับ Click ขวาแล้วเลือก Properties แล้วติ๊กที่ Hidden ได้เลย แต่สำหรับยุค Windows นี่เราสามารถกำหนดให้มองเห็นไฟล์ที่ซ่อนทั้งหมดได้ง่ายดายมากครับ โดยไปที่ Folder Options ตรง Tab View ในหัวข้อ Hidden files and folders จะเห็นว่ามี 2 ตัวเลือกให้แสดงไฟล์ที่ซ่อนหรือไม่แสดงก็ได้ ลองเลือกแล้ว Apply ดูนะครับจะเห็นผลการทำงานทันที

เรื่อง ของเรื่องก็คือว่ามีไวรัสหลายๆตัวที่อาศัยคุณสมบัติข้อนี้ในการแอบซ่อน ตัวเองเช่นกัน ในตัว Ultra ทุกๆตัวผมจึงได้กำหนดให้ทำการเปิดแสดงไฟล์ที่มีการซ่อนทั้งหมดไว้ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบผลการทำงานว่ายังมีไวรัสตกค้างอยู่หรือไม่ ตรงจุดนี้จึงอาจจะทำให้หลายๆคนตกใจที่จู่ๆมีไฟล์แปลกประหลาดสีจางๆโผล่มา เพราะไฟล์หรือ Folder ที่มีการกำหนด Attribute ให้เป็น Hidden นั้นเมื่อเปิดให้แสดงจะแสดงตัวออกมาเป็นสีจางๆครับ(ประมาณว่าแอบอยู่แล้วโดน บังคับให้แสดงตัว เลยไม่ค่อยเต็มใจว่างั้น) ซึ่งถ้าใครเห็นแล้วไม่ค่อยสบายใจ หรือกลัวจะพลาดไปลบผิดเข้าก็สามารถปิดการแสดงมันโดยการไปที่ Folder Options ตรง Tab View ในหัวข้อ Hidden files and folders แล้วเลือก Do not show hidden files and folders ได้เลยครับ มันก็จะม่แสดงตัวแล้วล่ะครับ

ตัว S(System File) ตัวนี้จริงๆแล้วไม่เกี่ยวข้องกับสีจางโดยตรง แต่มักจะใช้คู่กันกับตัว H โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟล์ระบบของ Windows ครับ ซึ่งการกำหนด Attribute ให้เป็น System File นั้นเราไม่สามารถ Click ขวาแล้ววเลือกเหมือน 2 ตัวข้างต้นได้นะครับ จะต้องทำใน Command ของ Dos เท่านั้น ซึ่งนี่ล่ะเป็นที่มาที่ผมต้องกล่าวถึงตัวนี้เพราะไวรัสบางตัวก็ใช้ตัวนี้กับ เค้าด้วยเช่นกัน คือเอาทั้ง S ทั้ง H ร่วมกันเลย ปัญหาก็คือว่าเมื่อไวรัสทำการกำหนดไฟล์หรือ Folder ของเราให้เป็นแบบ Hidden แถมยังเป็น System ด้วยถึงแม้เราจะสามารถเปิดแสดงไฟล์ที่แอบไว้จนมองเห็นไฟล์ของเราแล้ว(เห็น แบบจางๆ) แต่เราไม่สามารถที่จะแก้กลับให้เป็นไฟล์ธรรมดาซึ่งไม่ซ่อนได้ครับ ถ้าลอง Click ขวา Properties ดูจะเห็นว่าช่อง Hidden ที่เราจะต้องเอาออกเพื่อยกเลิกการซ่อนนั้นเป็นสีเทา ไม่สามารถติ๊กได้ครับ นั่นเป็นเพราะเราไม่สมารถแก้ไขคุณสมบัติของไฟล์ซึ่งมี Attribute เป็น S ซึ่ง Windows ตีความเอาว่านี่คือไฟล์ระบบ ถ้าจะยกเลิกการซ่อนคุณจะต้องปลดจากการเป็นไฟล์ระบบซะก่อน ซึ่งตามที่บอกข้างต้นครับว่าจะต้องปลดกันใน Command ของ Dos ซึ่งผมจะกล่าวถึงในภายหลังอีกครั้ง แต่ปัญหาอีกข้อก็คือถ้าไฟล์หรือ Folder เราตั้งเป็นภาษาไทยล่ะ การจะพิมพ์คำสั่งภาษาไทยใน Dos นี่ก็เป็นเรื่องลำบากพอสมควร แล้วจะทำไงล่ะ? ช้าก่อน! ถึงตรงนี้แล้วผมขอแนะนำผู้ที่จะมาช่วยคุณแก้ปัญหานี้ นั่นคือเจ้า Ultra จ๊ะเอ๋ ซึ่งเพียงคุณเลือกไปยังไฟล์หรือ Folder ที่มีปัญหานี้ เจ้าจ๊ะเอ๋ก็จะทำการปลดและแก้ไขกลับเป็นเป็นไฟล์ธรรมดาสามัญให้ทันทีครับ

มาตามสัญญาครับ เรามาดูคำสั่งในการ Set Attribute ไฟล์และ Folder กันครับเผื่อใครเบื่อการติ๊กอยากจะลองพิมพ์คำสั่งดู
ไป ที่ Start => Run พิมพ์ Cmd แล้ว OK เลยครับ ก็จะพบกับหน้าต่างของ Dos แล้ว คิดว่าทุกคนน่าจะรู้จักกันดีแล้วคงไม่ต้องแนะนำมาก มาเข้าคำสั่งกันเลยครับ สำหรับคำสั่งในการกำหนด Attribute ของไฟล์หรือ Folder นั้นก็คือคำสั่ง Attrib ครับ ซึ่งถ้าเป็นการพิมพ์ Attrib เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอะไรต่อท้ายก็จะเป็นการสั่งให้แสดง Attribute ของไฟล์ต่างๆตาม Path ที่อยู่ในขณะนั้น ซึ่งจะเห็นว่าตัวอักษรที่อยู่ด้านหน้าชื่อนั่นล่ะครับค่า Attribute ของมันถ้าว่างๆเลยก็เป็นไฟล์ธรรมดาสามัญ ถ้า H ก็เป็นไฟล์แอบ ถ้าพิเศษหน่อย SH ก็ทั้งแอบทั้งเป็นไฟล์ระบบล่ะครับ มาถึงตรงนี้ผมขอแถมที่ติดไว้ข้างต้นเลยว่าตอนนี้ถ้าเราพิมพ์ Dir แล้ว Enter จะเห็นชื่อไฟล์และ Folder แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ สังเกตุว่าจะไม่เห็นไฟล์บางตัวที่ Attribute เป็น H หรือ SH จากที่เราเห็นตอนใช้คำสั่ง Attrib ในขั้นต้น นั่นเพราะมันจะไม่แสดงไฟล์ที่แอบไว้ให้เราเห็นครับ ถ้าเราต้องการดูทั้งหมดทั้งไฟล์ธรรมดาและไฟล์ซ่อนด้วย ให้ใช้คำสั่ง Dir /a นะครับ

มา เข้าเรื่อง Attrib กันต่อครับ สำหรับการใช้ Attrib นั้นจะมี Parameter หลักๆก็ 3 ตัวที่ผมกล่าวถึงด้านบนนั่นล่ะครับคือ S H และ R และการจะสั่งให้เป็นหรือการปลดก็ใช่เครื่องหมาย + และ – นี่ล่ะครับ เช่นผมต้องการให้ไฟล์ชื่อ A.txt เป็นไฟล์ซ่อน ก็จะใช้คำสั่งจาก Command Prompt ว่า Attrib +h A.txt แล้วกด Enter ในทางกลับกันถ้าต้องการปลดก็ใช้ Attrib –h A.txt ครับ

สุดท้าย นี้เรามาดูรายชื่อไฟล์และ Folder สีจางๆโดยเฉพาะใน Root ของ Drive ที่เราจะเห็นเป็นอันดับแรกหลังจาก Double Click เข้าไปใน Drive แล้วว่าตัวไหนไวรัสตัวไหนไม่ใช่ไวรัสจะได้ไม่พลาดไปลบมันเข้านะครับ

ตัวที่ไม่ใช่ไวรัสได้แก่ AUTOEXEC.BAT , boot.ini, CONFIG.SYS, IO.SYS, MSDOS.SYS, NTDETECT.COM, ntldr, pagefile.sys และ Folder ชื่อ RECYCLER(อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไปครับ),Recycled,System Volume Information,MSOCache

ตัวที่เป็นไวรัสแน่นอน ถ้าเปิดเข้าไปแล้วเจอลบทิ้งได้เลย Autorun.inf(ยกเว้น Folder Autorun.inf รูปอุลตร้า) รวมถึง Autorun.อื่นๆด้วย ,ชื่ออะไรก็แล้วแต่ที่นามสกุล .VBS รวมถึงไฟล์ชื่ออะไรก็แล้วแต่ที่นามสกุล .Exe ซึ่งเป็นสีจางๆ ให้สงสัยไว้ได้เลยว่าไวรัสแน่นอนลบได้เลยครับ




เรื่องต่อมาที่เคยได้ยินและเคยเข้าใจผิดด้วยตัวเองเหมือนกันคือเรื่องของ Folder ที่ชื่อ Recycler ที่เห็นอยู่ในทุกๆ Drive เลย แถมยังสีจางๆซะอีก ทีแรกคิดว่าโดนไวรัสเข้าแล้วเรา ลบก็ไม่ได้หรือลบได้ก็กลับมาอีก น่ากลัวจริงๆ ด้วยความเข้าใจผิดที่ว่าถ้าเป็นถังขยะจะต้องเป็นชื่อ Recycle Bin เท่านั้นและต้องเป็นรูปถังขยะเขียวๆสิ ถึงจะของแท้ จนลองไปค้นหาข้อมูลดูจาก Google ถึงได้ตาสว่างว่าจริงๆแล้วมันก็อาจจะเป็นไวรัสหรือไม่ใช่ไวรัสแล้วแต่กรณี ครับ เลยขอเอามาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้แยกแยะออกว่าไหนไวรัส ไหนไม่ใช่ไวรัสเอาแบบฟันธงกันลงไปเลย

ก่อน อื่นต้องขอเกริ่นเรื่องของถังขยะสักเล็กน้อยนะครับเผื่อคนที่เพิ่งเริ่มต้น จะได้ไม่งง เรื่องของเรื่องก็คือว่าใน Windows นั้นเมื่อเราทำการลบไฟล์ ตัว Windows จะไม่ได้ทำการลบไฟล์นั้นจริงๆครับ(ยกเว้นกด Shift+Delete) ตัว Windows เพียง แค่ทำการย้ายไปใส่ในถังขยะซึ่งเรียกว่า Recycle Bin ซึ่งทุกๆคนจะเห็นมันอยู่บน Desktop นั่นล่ะครับ เผื่อวันนึงเรา เปลี่ยนใจให้อภัยจะเอามันกลับมาก็ยังสามารถไปเอามันออกมาจากถังได้ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเจ้า Recycle Bin ที่เราเห็นอยู่บน Desktop เป็นเพียงแค่ Shortcut นะครับไม่ได้เป็นที่เก็บไฟล์ที่ลบไปจริงๆ ที่เก็บของมันจริงๆก็จะเป็น Folder Recycler หรือ Recycled ซึ่งเป็น Folder แอบ(สีจาง)ซึ่งอยู่ในทุกๆ Drive นั่นเอง อ้าว! แล้ว Recycler กับ Recycled ต่างกันยังไงล่ะ ทำไมบางเครื่องมี Recycled ซึ่งเป็นรูปถังขยะเลย แต่บางเครื่องกลับมี Recycler ซึ่งเป็นรูป Folder ธรรมดาๆแล้วข้างในมีถังขยะชื่อยาวๆ นี่ล่ะครับที่มาของเรื่องนี้

ที่มาที่ไปมันเป็นแบบนี้ครับ คือในการแบ่ง Partition เพื่อลง Windows นั้นเราสามารถเลือกประเภทของ Partition ได้ทั้งแบบ FAT32 หรือ NTFS ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบต่างกันยังไงนั้นลองไปอ่านดูที่นี่นะครับ NTFS vs FAT ผมขอไม่อธิบายนะครับไม่งั้นจะยาวไป เอาเป็นว่าเราต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่งแล้วกันนะครับ ซึ่งในกรณีที่เราเลือกแบบ FAT32 นั้นเจ้าถังขยะที่อยู่ในทุกๆ Drive เพื่อเก็บไฟล์ที่โดนลบนั้นก็จะเป็นรูปถังขยะและชื่อว่า Recycled ซึ่งอันนี้ไม่ค่อยน่าตกใจ แต่ปัญหาก็คือว่าถ้าเราเลือกเป็น NTFS นี่สิครับเจ้า Folder ที่เก็บไฟล์ที่โดนลบนั้น ไม่ได้ใช้ชื่อ Recycled แถมไม่ได้เป็นรูปถังขยะซะอีก เป็นแค่รูป Folder ธรรมดาๆสีจางๆ และใช้ชื่อว่า Recycler ครับ ซึ่งมีไวรัสบางตัวก็ใช้เจ้า Recycler นี่ล่ะครับเป็นที่อาศัย จนผมก็เคยเข้าใจผิดไปว่าเจ้า Folder ที่ว่านี้เป็นไวรัสไปด้วย ดังนั้นในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงเพียง Folder Recycler เพียงอย่างเดียวนะครับ เพราะเจ้า Recycled นั้นผมยังไม่เคยเจอปัญหาครับ

คราวนี้เรามาดูกันนะครับว่าเจ้า Recycle Bin ซึ่งอยู่บน Desktop กับเจ้า Recycler ซึ่งมีอยู่ในทุกๆ Drive มีหน้าที่และความเกี่ยวข้องกันยังไง จะได้เป็นข้อมูลในการแยกแยะระหว่างไวรัสกับไม่ใช่ไวรัสครับ สำหรับ Recycle Bin ที่อยู่บน Desktop นั้นตามที่บอกว่าเป็นเหมือนแค่ Shortcut ชี้ไปยังที่เก็บไฟล์ที่โดนลบไปเท่านั้น ซึ่งในการลบไฟล์นั้นในกรณีที่ HD เราแบ่งเป็นหลายๆ Drive ถึงแม้ว่าเมื่อเราลบไฟล์แล้วเราเห็นว่ามันมาอยู่ใน Recycle Bin บน Desktop แต่โดยแท้จริงแล้ว Folder ที่ใช้เก็บไฟล์ที่โดนลบนั้นอยู่ในแต่ละ Drive ที่เราลบครับ เช่นเราลบไฟล์ใน Drive D ถึงแม้ว่าเราจะมองเห็นว่ามันอยู่ใน Recycle Bin บน Desktop แต่โดยแท้จริงแล้วไฟล์ที่โดนลบมันจะเอาไปเก็บไว้ที่ D:\Recycler\ ตัวเลขยาวๆ นะครับ แล้วเดี๋ยวจะอธิบายเพิ่มเติมว่าตัวเลขยาวๆคืออะไร โดยถ้าเราเปิดเข้าไปผ่าน My Computer ก็จะเห็นว่ามันอยู่ใน Folder ชื่อ Recycler\ ตัวเลขยาวๆ ในทุกๆ Drive นั่นล่ะ แต่จริงๆไม่ใช่นะครับมันเพียงภาพลวง ถ้าอยากดูของจริงก็ลองใช้ ExplorerXP เข้าไปดูครับจะเห็นว่าจริงๆแล้วมันมีอะไรอยู่ข้างในกันแน่ เอาเป็นผมสรุปสั้นๆก่อนแล้วกันครับว่าโดยแท้จริงแล้ว ไฟล์ที่เราลบจาก Drive ไหนก็จะไปเก็บอยู่ใน Folder Recycler\ตัวเลขยาวๆ ของ Drive นั้นๆ ไม่ได้อยู่ในทุกๆ Drive เหมือนที่เห็นใน My computer (ผมคงอธิบายไม่งงนะครับ)

เอาล่ะครับก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโดยคร่าวๆกับตัวเลขยาวๆกันก่อนว่ามัน คืออะไรและมายังไงกัน สำหรับตัวเลขยาวๆที่กล่าวถึงจะเป็นตัวเลข 8 ชุดซึ่งคั่นด้วยเครื่องหมาย - ซึ่งเรียกว่า SID(Security IDentifier) ก็จะเป็นหมายเลขประจำตัวของ User ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ จะเรียกว่าเป็นหมายเลขบัตรประจำตัวก็ใกล้เคียงครับ จะใช้ในการอ้างอิงถึง User ในเครื่องนั้นๆกรณีติดต่อกับเครื่องอื่นๆในระบบเครือข่าย ซึ่ง User แต่ละคนในเครื่องจะมีหมายเลขไม่ซ้ำกันครับ สำหรับรายละเอียดลึกๆเรื่องนี้ลองศึกษาเพิ่มเติมที่ Well-known security identifiers in Windows operating systems นะครับ ตรงนี้เอาแค่เข้าใจคร่าวๆเพื่อนำไปวิเคราะห์ไวรัสในขั้นต่อไปกันครับ ก่อนจะจบหัวข้อ SID แนะนำให้โหลด Ultra_SID เก็บไว้นะครับโดย Tool ตัวนี้ใช้ในการแสดงหมายเลข SID ของ User ในเครื่องของเราทั้งหมดครับ

อีกเรื่องที่ควรจะรู้ก่อนจะไปวิเคราะห์เรื่องของไวรัส Recycler ก็คือการจัดเก็บไฟล์ที่โดนลบไว้ใน Foder Recycler ครับ ตามที่บอกไว้ข้างต้นว่าในการลบไฟล์นั้นถึงแม้ว่าเราจะมองเห็นว่ามีไฟล์ที่เราลบนั้นอยู่ใน Recycle Bin บน Desktop แต่โดยแท้จริงแล้วไฟล์ที่โดนลบมันจะเอาไปเก็บไว้ที่ Drive ที่ลบไฟล์:\Recycler\ ตัวเลขยาวๆครับ ซึ่งตอนนี้เรารู้แล้วล่ะว่าตัวเลขยาวๆที่ว่าคือหมายเลข SID ซึ่งเราสามารถตรวจสอบหมายเลข SID ของเราได้จาก Tool ที่ให้โหลดไปนั่นล่ะครับ

มาถึงตอนนี้เราจะลองใช้ ExplorerXP(แนะนำไว้ในหัวข้อู้ทันป้องกันไวรัส) เข้าไปดูที่ Folder Recycler เลยก็ได้ครับ จะเห็นรูปถังขยะที่เป็นหมายเลข SID ของเราอยู่ข้างในซึ่งกรณีที่เรายังไม่ได้มีการลบไฟล์ใดๆ ภายในถังนั้นจะมีไฟล์ชื่อ Desktop.ini และ INFO2 อยู่ภายใน(ซึ่งผมจะอธิบายไว้ในตอนหลังๆนะครับว่า 2 ไฟล์นี้คืออะไร) กรณีนี้ถือว่าเป็นปกติครับ มาต่อกันในเรื่องของการจัดการกับไฟล์ที่โดนลบครับ คือในกรณีที่เครื่องของเราใช้หลายๆคน คือมีหลายๆ User เมื่อเข้าไปใน Folder Recycler นั้นเราก็จะเห็นว่ามีถังขยะหลายๆถังซึ่งแต่ละถังจะเป็นหมายเลข SID ของแต่ละ User แยกจากกัน พูดง่ายๆว่าไฟล์ที่ลบโดยใครก็จะอยู่ในถังใครถังมันล่ะครับ

แล้วถ้ามีการลบไฟล์เกิดขึ้นล่ะจะเป็นยังไง คำตอบก็คือ Windows จะทำการย้ายไฟล์ที่โดนลบนั้นมาใส่ไว้ใน Folder Recycler ตาม Drive ที่ไฟล์นั้นๆอยู่ก่อนโดนลบครับ คือถ้าลบไฟล์ใน Drive มันก็จะไปเก็บไว้ใน Folder Folder D:\Recycler ลบใน Drive C ก็จะไปเก็บไว้ใน Folder C:\Recycler และภายในก็จะใส่ไว้ในถังตาม SID ของ User ที่เป็นผู้ลบครับ

ยกตัวอย่างเช่นผมมีหมายเลข SID เป็น S-1-5-21-3008556928-1690244188-1837343850-500 และได้ลบไฟล์ C:\Test\Test_C.exe ตัว Windows ก็จะทำการย้ายไฟล์ Test_C.exe ซึ่งโดนลบไปเก็บไว้ที่ C:\Recycler\S-1-5-21-3008556928-1690244188-1837343850-500\ ครับ

เรามาดูลึกเข้าไปอีกนิดว่า Windows มันจัดการกับไฟล์ที่เราลบไปยังไงบ้าง ตัว Windows ไม่ได้เอาไฟล์ที่เราลบไปเก็บไว้ตรงๆเหมือนเรา Cut แล้ว ไป Paste ในอีก Folder นะครับ(ทั้งๆที่ Recycler ก็เป็นเหมือน Folder ธรรมดาๆนี่ล่ะ) แต่ Windows จะทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ที่เราลบ ก่อนเอาไปใส่ไว้ใน Folder Recycler โดยมีหลักในการเปลี่ยนชื่อดังนี้ครับ คือชื่อใหม่ที่เปลี่ยนจะขึ้นต้นด้วยตัว D (ตัวใหญ่ เข้าใจเอาเองว่าน่าจะย่อมากจาก Delete) ตามด้วยชื่อ Drive ที่ไฟล์นั้นอยู่ก่อนโดนลบ และสุดท้ายก็จะเป็นหมายเลขซึ่งจะเป็นลำดับไฟล์ที่โดนลบ ตามด้วยนามสกุลของไฟล์ครับ ถ้าอ่านแล้วงงมาดูตัวอย่างกันเลยครับ

เช่นจากตัวอย่างข้างต้น ผมลบไฟล์ C:\Test\Test_C.exe ดังนั้นเมื่อ Windows ทำการย้ายไฟล์ที่โดนลบไปใส่ใน Folder Recycler ก็จะเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น Dc1.exe ถ้าผมลบไฟล์ชื่อ C:\XXX.doc ไปอีกไฟล์มันก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น Dc2.doc หรือกรณีผมลบไฟล์ชื่อ D:\Test\Test_D.exe มันก็จะเปลี่ยนชื่อเป็น Dd1.exe เพียงแต่เอาไปเก็บไว้คนละ Drive ตามที่บอก คือลบจาก Drive ไหนก็เก็บใน Folder Recycler ของ Drive นั้น ลองดูรูปด้านล่างประกอบนะครับ

คง มีคำถามกันในใจว่า แล้วถ้าวันนึงเราเปลี่ยนใจที่จะยกเลิกการลบล่ะ จะ Restore ไฟล์กลับออกมาจากถังแล้วWindows จะรู้ได้ยังไงว่าจะเอาไฟล์ของเรากลับไปไว้ที่เดิมก่อนลบตรงไหนและชื่ออะไรใน เมื่อเล่นเปลี่ยนชื่อไฟล์เราซะแล้ว ความลับอยู่ที่ไฟล์ Info2 ที่กล่าวถึงไว้ตอนต้นน่ะครับ ถ้าเราเปิดเข้าไปดูข้างในก็จะเห็นว่า Windows เก็บชื่อพร้อมตำแหน่งเดิมของไฟล์ก่อนลบไว้ในนั้นล่ะครับ เมื่อจะ Restore กลับ Windows ก็จะไปอ่านค่าจากในนั้นล่ะว่าควรจะแก้ชื่อกลับเป็นอะไร และเอากลับไปไว้ตรงไหน เอาเป็นว่าเราเข้าใจแล้วนะครับว่าไฟล์ Info2 มีไว้เพื่ออะไร ส่วนอีกไฟล์ที่อยู่ด้วยกันคือไฟล์ Desktop.ini นั้นก็ไม่มีอะไรมากครับ เป็นเพียงแค่ตัวบอกว่านี่คือ Folder ถังขยะให้แสดง Icon เป็นรูปถังขยะ และทำการ Link ข้อมูลกับ Folder Recycle Bin บน Desktop เท่านั้นเองครับ ลองดูรูปด้านล่างประกอบนะครับ
เอาล่ะครับ หลังจากเกริ่นเรื่องของ Folder Recycler กันมายาว(มาก) เราก็คงเข้าใจหน้าที่และหลักการทำงานของมันแล้ว คราวนี้เรามาดูกันครับว่าเจ้าไวรัส Recycler มันมาแอบอยู่ตรงไหน และต่อไปเราจะแยกแยะได้ยังไงว่าอันไหนไวรัสอันไหนไม่ใช่ เท่าที่ผมเคยเจอและค้นๆข้อมูลดู เจ้าไวรัส Recycler มันจะใช้การแอบอยู่ใน Folder Recycler ของเครื่องเรานี่ล่ะครับ โดยการสร้างถังที่มีหมายเลขSID เป็น S-1-5-21-1078073611-1993962763-839522115-1003 ไว้ใน Folder Recycler ซึ่งหมายเลข SID นี้ไม่ได้เป็นหมายเลขของ User ในเครื่องเราแต่อย่างใดครับ สำหรับเครื่องที่มีผู้ใช้เพียงคนเดียว(User เดียว) จะสังเกตุได้ไม่ยากครับเพราะเมื่อเข้าไปใน Folder Recycler แล้วมันควรจะมีถังหมายเลข SID ซึ่งเป็นของเราเพียงถังเดียว แต่กลับมีถังแปลกปลอมขึ้นมาซึ่งก็มีหมายเลข SID ตามที่บอกไป อันนี้ติดไวรัส Recycler แน่นอนแล้วครับ หรือในกรณีที่มีหลาย User ก็ลองสำรวจดูนะครับว่าถังไหนไม่ใช่หมายเลข SID ของ User ในเครื่องเรา มันคือไวรัสแน่นอนครับ ซึ่งภายในถัง SID ปลอมนั้นมันจะมีไฟล์ที่ชื่อ mmc32.exe หรือบางครั้งก็ชื่อ Info32.exe อยู่ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจหลักการจัดการกับไฟล์ที่โดนลบตามที่อธิบายในขั้นต้นแล้ว เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าไฟล์ที่อยู่ในถัง SID นั้น ไม่มีทางที่จะเก็บชื่อเต็มๆแบบนี้ ดังนั้นไฟล์ 2 ตัวนี้มีความผิดปกติ หรือพูดง่ายๆว่าเป็นไวรัสนั่นเองครับ

และในอีกกรณีหนึ่งซึ่งสังเกตุได้ก็คือ ในกรณีที่เราเลือกรูปแบบ Partition เป็นแบบ FAT32 มันจะไม่มี Folder Recycler ครับ แต่มันจะเป็น Folder Recycled ซึ่งเป็นรูปถังขยะเลย ดังนั้นถ้าเราสร้าง Partition เป็นแบบ FAT32 แล้วมี Folder Recycler โผล่ขึ้นมา มั่นใจได้เลยครับว่าไวรัสแน่นอน ซึ่งในกรณีนี้ผมขอหมายรวมถึง Thumb Drive ด้วยนะครับ เพราะตัว Thumb Drive ไม่ว่าจะเป็น Partition เป็นแบบไหนก็จะไม่มีการสร้าง Folder Recycler หรือแม้กระทั่ง Folder Recycled โดยเด็ดขาดครับ เพราะการลบไฟล์จาก Thumb Drive เป็นการลบแล้วลบเลย สังเกตุว่าจะไม่มีการถามว่าจะ Send to Recycle Bin หรือไม่ ต่างกับการลบไฟล์บน HD ครับ ดังนั้นถ้าใน Thumb Drive มี Folder Recycler หรือ Folder Recycled นั่นคือไวรัส 100% ครับ ฟันธง! ลองดูภาพประกอบนะครับ



มา ถึงเรื่องชื่อ File เป็นสีน้ำเงินกันครับ สำหรับข้อนี้ก็เคยเห็นหลายๆคนถามกันไว้ว่าไฟล์หรือ Folder บางอันทำไมตรงชื่อถึงเป็นสีน้ำเงินไม่เป็นสีดำเหมือนชาวบ้านเค้า ใช่อาการของไวรัสหรือไม่? ขอตอบเลยครับว่าไม่ใช่ไวรัสหรอกครับ จริงๆแล้วมันเป็นไฟล์ที่มีการบีบอัด ถ้าเป็นทางการตามฝรั่งหน่อยก็ต้องเรียกว่า Compressed File ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นเจ้าพวกไฟล์หรือ Folder สีน้ำเงินที่ว่านี้ใน Folder Windows ซะเป็นส่วนใหญ่ และเป็น Folder ซึ่งไฟล์ข้างในนั้นก็จะเป็นสีน้ำเงินเหมือนกันเช่น Folder ชื่อ $NtUninstallKB910437$ เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘