คำเสียสละของเป็นนิสสัคคีย์

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 1 (เกี่ยวกับการเก็บจีวรเกินจำเป็นไว้เกิน 10 วัน)
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต (อาุวุโส) จีวะรัง ทะสาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎ัมะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ถ้าสละตั้งแต่ 2 ผืนขึ้นไป พึงว่ารวมกัน ดังนี้
“อิมานิ เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรานิ ทะสาหาติกกันตานิ นิสสัคคิยานิ อิมานาหัง อายัส๎ัมะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรเหล่านี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละจีวรเหล่านี้แก่ท่าน.”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยคำว่า
คำคืนจีวร
จีวรผืนเดียว พึงว่า “อิมัง จีวะรัง อายัส๎มะโต ทัมมิ.”
จีวรหลายผืน พึงว่า “อิมานิ จีวะรานิ อายัส๎ัมะโต ทิมมิ.”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 2 (เกี่ยวกับอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้ราตรีหนึ่ง)
พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าขา จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศจากแล้วล่วงราตรีเป็นของจำจะเสียสละ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ถ้าสละ 2 ผืน พึงว่า “ทะวิจีวะรัง”
ถ้าสละ 3 ผืน พึงว่า “ติจีวะรัง”
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้นพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละไปอย่างสิกขาบทที่ 1
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 3 (เกี่ยวกับเก็บอกาลจีวร ไว้เกินกำหนด)
“อิทัง เม ภันเต(อาวุโส) จีวะรัง อะกาละจีวะรัง มาสาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วงเดือนหนึ่ง จำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 6 (เกี่ยวกับขอจีวรต่อคฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติ)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อัญญัต๎ระ สะมะยา วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัยเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แ่ก่ท่าน.”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 7 (เกี่ยวกับจีวรฉิบหายไป แล้วรับจีวรเกินกำหนด)
“อิทัง เม ภันเต(อาุวุโส) จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง ตะทุตตะิริัง วิญญาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนดต่อเจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 8 (เกี่ยวกับพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง อุปะสังกะมิต๎ิวา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงการกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 10 (เกี่ยวกับทวงจีวรจากผู้รับปากผู้อื่นเกิน 3 กำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายัง อะติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ อะภินิปผาทิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน 3 ครั้ง ด้วยยืนเกิน 6 ครั้ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8 (เกี่ยวกับรับเิงินหรือทอง)
“อะหัง ภันเต (อาวุโส) รูปิยัง ปะฏิคคะเหสิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์.”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 9 (เกี่ยวกับทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ)
“อะหัง ภันเต (อาวุโส) นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงการซื้อขาย ด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.”
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 10 (เกี่ยวกับทำการซื้อขาย โดยใช้ของแลก)
“อะหัง ภันเต (อาวุโส) นานัปปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง, อิทัง เม นิสสัคคิยัง, อิมาหัง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ ของสิ่งนี้ ของข้าพเจ้าเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 (เกี่ยวกับบาตรที่เกิน 1 ลูกไว้เกิน 10 วัน)
“อะยัง เม ภันเต (อาวุโส) ปัตโต ทะสาหาติกกันโต นิสสัคคิโย, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ”
“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ข้าพเจ้าล่วง 10 วัน เป็นของจำจะเสียสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน”
คำคืนบาตร
“อิมัง ปัตตัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 2 (เกี่ยวกับบาตรร้าวไม่เกิน 5 แห่ง ขอบาตรใหม่)
“อะยัง เม ภันเต (อาวุโส) ปัตโต อูนะปัญจะพันธะเนนะ ปัตเตนะ เจตาปิโต นิสสัคคิโย, อิมาหิง สังฆัสสะ นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละ เพราะเป็นบาตรมีแผลหย่อนห้า ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 3 (เกี่ยวกับเก็บเภสัช 5 ไว้เกิน 7 วัน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง, อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง 7 วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน.”
คำคืนเภสัช
“อิมัง เภสัชชัง อายัส๎มะโต ทัมมิ”
“ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4 (เกี่ยวกับแสวงหาและทำผ้าอาบน้ำฝนก่อนเวลา)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) วัสสิกะสาฏิกะจีวะรัง อะติเรกะมาเส เสเส คิมหาเน ปิริยิฏฐัง อะติเรกัฑฒะมาเส เสเส คิมหาเน กัต๎วา นิวัตถัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายั ส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรคือผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ของข้าพเจ้า แสวงหาได้มาในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลือเกินกว่า 1 เดือน ทำนุ่งในฤดูร้อน ซึ่งยังเหลืออยู่เกินกว่ากึ่งเดือน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรคือผ้าอาบน้ำฝนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 5 (เกี่ยวกับให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้วชิงคืน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ภิกขุสสะ สามัง ทัต๎วา อิจฉินนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเอง แล้วชิงเอามา เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 6 (เกี่ยวกับขอด้ายมาเองแล้ว ให้ช่างทอเป็นจีวร)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง สามัง สุตตัง วิญญาเปต๎วา ตันตะวาเยหิ วายาปิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ขอด้ายมาเองแล้ว ยังช่างหูกให้ทอเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 7 (เกี่ยวกับให้ช่างทอดีกว่าผู้ที่จะถวายกำหนด)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริโต อัญญาตะกัสสะ คะหะปะติกัสสะ ตันตะวาเย อุปะสังกะมิต๎ิวา จีวะเร วิกัปปัง อาปันนัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.” 
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างหูกของเจ้าเรือน ผู้ไม่ใช่ญาติ ถึงความกำหนดในจีวร เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 8  (เกี่ยวกับเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินจีวรกาล)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) อัจเจกะจีวะรัง จีวะระกาละสะมะยัง อะติกกามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.” 
“ท่านเจ้าข้า ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เก็บไว้ล่วงเลยสมัย จีวรกาลเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 9 (เกี่ยวกับอยู่ป่ามีภัยเก็บจีวรในบ้านเกิน 6 คืน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) จีวะรัง อะติเรกะฉารัตตัง วิปปะวุตถัง อัญญัต๎ระ ภิกขุสัมมะติยา นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.”
“ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วเกิน 6 ราตรี เป็นของจำจะสละ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.”
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 10  (เกี่ยวกับน้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน)
“อิทัง เม ภันเต (อาวุโส) ชานัง สังฆิกัง ลาภัง ปะริณะตัง อัตตะโน ปะริณามิตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง อายัส๎มะโต นิสสัชชามิ.” 
“ท่านเจ้าข้า ลาภนี้เขาน้อมไปเป็นของถวายสงฆ์ ข้าพเจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละลาภนี้แ่ก่ท่าน.”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘