ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 4

กระทู้ธรรม     ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่.....เดือน..................พ.ศ.............
ปาปานํ     อกรณํ     สุขํ

การไม่ทำบาป     นำสุขมาให้

ขุ.ธ.๒๕ / ๕๙.
                    
              บัดนี้  จักอธิบายความแห่งพุทธภาษิต  ว่า การไม่ทำบาปนำสุขมาให้  ตามระเบียบปฏิบัติของสนามหลวงแผนกธรรม     และความรู้ที่ได้ศึกษามา
              พระพุทธภาษิตนี้     ผู้ศึกษาควรทราบอรรถวิภาค     คือ     การจำแนกเนื้อความเป็น      ประการ     คือ     ๑.   บาป     ๒.     สิ่งที่จัดว่าเป็นบาป     ๓.   การทำบาป     ๔.   การไม่ทำบาป     นำความสุขมาให้
              คำว่า  บาป  หมายถึงความไม่ดีทุกอย่าง  เช่น อกุศล  โทษ  ความผิด  ทุจริต  เวร     ธรรมดำ  ทุกข์  ยาก  ลำบาก  เหน็ดเหนื่อย  เจ็บปวดความชั่ว เป็นต้น  ดังนั้นจึงมักพูดศัพท์เดิมว่า      บาป     หรือถ้าจะแปลก็มักจะแปลว่า  ความชั่ว  อันหมายถึงความไม่ดีนั่นเอง  ส่วนท่านผู้รู้คัมภีร์  ศัพทศาสตร์ให้ความหมาย ของคำว่าบาปไว้หลายนัย  เช่น สิ่งที่คนดีทั้งหลายพึงป้องกันตัวเอาไว้ให้ห่างไกล หรือสิ่งที่เป็นเหตุให้คนถึงอบาย  คือกลายสภาพเป็นดิรัจฉาน เปรต สัตว์นรก และ อสุรกาย      เป็นต้น    
              สิ่งที่จัดว่าเป็นบาปนั้น พระพุทธศานาจัดสิ่งที่เป็นบาป  ไว้ตามโทษหนักเบาดังนี้  บาปที่มีโทษหนักที่สุด  คือ  นิยตมิจฉาทิฏฐิ  แปลว่า  ความเห็นที่แน่นอนดิ่งลงไป  แก้ไขไม่ได้  ๓ อย่าง     คือ   อกิริยทิฏฐิ  เห็นว่า  ทำบาปหรือทำบุญ  ก็เป็นเพียงแต่กิริยาที่ทำเท่านั้น  ไม่ได้เป็นบาปหรือเป็นบุญ ดังที่ศาสนาทั้งหลายสอนเลย อเหตุกทิฏฐิ  เห็นว่าความสุขหรือความทุกข์ของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นเอง         ไม่ได้เกิดมาจากเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น นัตติกทิฏฐิ  เห็นว่าไม่มีอะไร  คือ บาปก็สูญ บุญก็สูญ   คนตายแล้วก็สูญ
              บาปที่มีโทษหนักรองจากนั้นได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง  คือ มาตุฆาต  ฆ่ามารดา ๑     ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา ๑   อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๑  โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระศาสดาจนถึงพระโลหิตห้อขึ้น ๑  สังฆเภท  ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ ทั้ง    ประเภทนี้  ใครทำหลังจากตายไปต้องตกนรกทันที
              บาปที่มีโทษถึงนำไปสู่อบายก็ได้ ที่ทำให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน เช่น ทำให้อายุสั้น      มีโรคมาก  ยากจนเข็ญใจ  เป็นต้น  ก็ได้  มี  ๑๐  อย่าง เป็นการกระทำทางกาย    อย่าง   คือ     ฆ่าสัตว์    ลักทรัพย์    ประพฤติผิดในกาม    เป็นการพูดทางวาจา    อย่าง   คือ  พูดเท็จ        พูดส่อเสียดทำให้คนแตกสามัคคีกัน ๑  พูดคำหยาบ ๑  พูดเพ้อเจ้อ  ทำให้ผู้อื่นเชื่อถือเองไร้สาระ       เป็นความคิดชั่วทางใจ ๓ อย่าง คือ โลภอยากได้ของคนอื่นอย่างผิดศีลธรรม ๑ คิดร้ายทำลายผู้อื่น ๑     มีความเห็นผิดไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ๑  
              การทำบาป  หมายถึง  การทำ การพูด  และการคิด  สิ่งที่จัดว่าเป็นบาปเหล่านี้เอง  คือ      ถือมั่นมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓  อย่าง  หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง กระทำอนันตริยกรรมมีการฆ่ามารดาบิดาเป็นต้น      หรือทำกายทุจริต    พูดวจีทุจริต ๔  และมีใจประกอบด้วยมโนทุจริต    ดังกล่าวแล้ว
              การทำบาปต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดความทุกข์     ความเดือดร้อนทั้งแก่ผู้ทำและบุคคลอื่นผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ชอบทำ  ที่เป็นเช่นนี้  ก็เพราะคนส่วนมากยังมีบาปอยู่ในใจ  คนที่มีเชื้อบาปอยู่ในใจย่อมทำ  ความชั่วได้ง่าย  สมดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย     อุทานว่า      
ปาปํ  ปาเปน  สุกรํ
ความชั่ว อันคนชั่ว ทำง่าย
              บาปที่ทำนั้น  อย่างหนักทำให้ตกโลกันตริกนรก  รองลงมาทำให้ตกนรกอเวจี  รองลงมาจากนั้น  ทำให้กลายสภาพเป็นดิรัจฉาน  เป็นเปรต  เป็นอสุรกาย  หรือเบากว่านั้นถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์     ก็จะทำให้มีอายุสั้น มีโรคเบียดเบียน  ทำกินไม่ขึ้นมีอุปสรรค    ประสบภัยอันตรายต่าง ๆ  เป็นต้น
              ส่วนการไม่ทำบาป  คือ   เป็นคนที่มีสัมมาทิฏฐิ  มีความคิดเห็นที่ส่งเสริมศีลธรรม  งดเว้นเด็ดขาดจากอนันตริยกรรม  และเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์  การลักทรัพย์  การประพฤติผิดในกาม       การพูดเท็จ  การพูดส่อเสียด  การพูดคำหยาบ  การพูดเพ้อเจ้อ  การโลภอยากได้อย่างผิดศีลธรรม     ความคิดร้ายทำลายผู้อื่น  ย่อมนำความสุขมาให้ทั้งแก่ตนเอง  ครอบครัวและสังคม
              จากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา     ดังได้บรรยายมาแต่โดยย่อนี้ พอสรุปใจความได้ว่า  ความสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้  อันดับแรกต้องเว้นจากการทำบาป  คือ  ความชั่วเสียก่อน        เหมือนคนจะแต่งตัวให้สวยงาม   ต้องอาบน้ำชำระกายให้สะอาดเสียก่อน  เพราะถ้าเนื้อตัวสกปรก              จะแต่งอย่างไรก็คงไม่งาม  ความสุขของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน  ถึงแม้จะมีทรัพย์สินเงินทอง  ยศศักดิ์มากมายอย่างไร  ถ้าไม่มีการงดเว้นจากการทำบาป  เช่นฆ่าฟัน   ประหัดประหารกัน เป็นต้น   ก็ยากที่จะหาความสุขได้อย่างแท้จริง  ดังนั้น  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงทรงสอนว่า
ปาปานํ      อกรนํ      สุขํ

การไม่ทำบาปนำความสุขมาให้

ดังได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘