EMA (Exponential moving average)
Moving average คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีการนำราคาหุ้น ณ ช่วงเวลาต่างๆมาทำการสร้างเป็นชุดข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น โดยมีการเกลี่ยข้อมูลให้เรียบ เพื่อลดการผันผวนด้วยจำนวนวัน โดยนิยมใช้ Moving average ในการดูแนวโน้มทิศทางของราคาหุ้น
โดย Moving average มี indicator ต่างๆอีกมากมายเช่น SMA (Simple moving average), WMA (weighted moving average) TMA (Time series moving average) และ EMA (Exponential moving average) เป็นต้น
ผมขอเลือก EMA (Exponential moving average) เพราะเป็นตัวที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนและมีการเกลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักความแปร ปรวนของข้อมูล โดย EMA ให้ค่าที่ตอบสนองต่อราคาในปัจจุบันได้ใกล้เคียงมากกว่าตัวอื่นๆ ทำให้แสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจน
การตีความหมาย
การนำ EMA มาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อ ขายนั้นส่วนมากนิยมนำเส้น EMA 2 เส้นหรือมากกว่ามาใช้ โดยพิจารณาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดย
- สัญญาณซื้อ(Buy signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวขึ้น
จาก ภาพ EMA8 (เส้นสั้น) มีค่ามากกว่า EMA20 (เส้นยาว) ทำให้เส้นสั้นตัดเส้นยาวขึ้น แสดงถึงการยกตัวของราคาหุ้น เกิดสัญญาณซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มขาขึ้น
จาก ภาพ EMA8 (เส้นสั้น) มีค่าน้อยกว่า EMA20 (เส้นยาว) ทำให้เส้นสั้นตัดเส้นยาวลง แสดงถึงการทรุดตัวของราคาหุ้น เกิดสัญญาณซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มขาลง
การเลือกระยะเวลาในการคำนวณ
การนำ EMA มาใช้ในนั้นมีเรื่องของ ขนาดเวลาที่นำมาใช้คำนวณเพื่อนิยามการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยมีข้อสังเกตคือ การใช้ EMA เส้นสั้นจำนวนวันสั้นเกินไป โอกาสเจอความผันผวนของสัญญาณซื้อขายที่ได้ก็จะสูง หรือถ้าใช้ EMA เส้นยาวจำนวนวันมากเกินไป โอกาสที่สัญญาณซื้อขายจะช้าก็มีมาก เช่นกัน
เราสามารถแบ่งจำนวนวันออกเป็นช่วงกว้างๆได้ดังนี้
- EMA5 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 5 วันทำการ (1 week) (สั้นมาก)
- EMA10 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 10 วันทำการ (2 week) (สั้น)
- EMA20 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 20 วันทำการ (4 week) (กลาง)
- EMA50 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 50 วันทำการ (10 week) (ยาว)
- EMA75 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 50 วันทำการ (15 week) (ยาวมาก)
ผมขอเลือก EMA (Exponential moving average) เพราะเป็นตัวที่มีการคำนวณที่ซับซ้อนและมีการเกลี่ยค่าถ่วงน้ำหนักความแปร ปรวนของข้อมูล โดย EMA ให้ค่าที่ตอบสนองต่อราคาในปัจจุบันได้ใกล้เคียงมากกว่าตัวอื่นๆ ทำให้แสดงถึงแนวโน้มที่ชัดเจน
การตีความหมาย
การนำ EMA มาใช้ในการกำหนดสัญญาณซื้อ ขายนั้นส่วนมากนิยมนำเส้น EMA 2 เส้นหรือมากกว่ามาใช้ โดยพิจารณาการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย EMA โดย
- สัญญาณซื้อ(Buy signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวขึ้น
- สัญญาณขาย(Sale signal) : EMA เส้นสั้นตัด EMA เส้นยาวลง
การเลือกระยะเวลาในการคำนวณ
การนำ EMA มาใช้ในนั้นมีเรื่องของ ขนาดเวลาที่นำมาใช้คำนวณเพื่อนิยามการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยมีข้อสังเกตคือ การใช้ EMA เส้นสั้นจำนวนวันสั้นเกินไป โอกาสเจอความผันผวนของสัญญาณซื้อขายที่ได้ก็จะสูง หรือถ้าใช้ EMA เส้นยาวจำนวนวันมากเกินไป โอกาสที่สัญญาณซื้อขายจะช้าก็มีมาก เช่นกัน
เราสามารถแบ่งจำนวนวันออกเป็นช่วงกว้างๆได้ดังนี้
- EMA5 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 5 วันทำการ (1 week) (สั้นมาก)
- EMA10 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 10 วันทำการ (2 week) (สั้น)
- EMA20 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 20 วันทำการ (4 week) (กลาง)
- EMA50 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 50 วันทำการ (10 week) (ยาว)
- EMA75 คือ ค่าเฉลี่ย ราคา 50 วันทำการ (15 week) (ยาวมาก)
ภาพแสดงค่า EMA ตาม จำนวนวันที่แตกต่างกัน ซื้อจะได้สัญญาณซื้อขายที่แตกต่างกัน ดังนั้นการนำจำนวนวันมาใช้ ขึ้นกับกลยุทธ์ของการลงทุนของผู้ลงทุนว่าต้องการลงทุนระยะสั้น กลางหรือยาว โดยต้องพิจารณาแนวโน้มใหญ่ภาพรวมของราคาหุ้นประกอบด้วย
ข้อสังเกต
- พิจารณากราฟแท่งเทียนของราคา ร่วมกับ EMA เส้นสั้น กรณีที่แท่งเทียนลอยสูงกว่า EMA เส้นสั้นมาก นั้นแสดงถึงแรงซื้อที่มาก ราคามีการปรับตัวขึ้นสูงเข้าข่าย overbought โดยอาจจะพิจารณาร่วมกับ ระยะห่างระหว่าง EMA เส้นสั้น และ EMA เส้นยาว กรณีที่ EMA เส้นสั้นอยุ่บนห่างจาก EMA เส้น ยาวมาก (มีช่องว่างมาก) จะเป็นการยืนยันการปรับตัวขึ้นของราคาอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนเข้าข่าย overbought เช่นกัน
- กรณี แท่งเทียนขาลงที่ลอยต่ำกว่า EMA เส้นยาวมากๆ ก็บ่งบอกถึงภาวะ oversold เช่นกัน บอกถึงการขายต่อเนื่อง โดยระยะห่างระหว่าง EMA เส้นสั้นตัดลงอยู่ต่ำกว่า EMA เส้นยาวเป็นช่องว่างกว้างกว่าปกติ