ย้อนรอยโศกนาฏกรรมของชาวพุทธ

ย้อนรอยโศกนาฏกรรมของชาวพุทธ: ความเหมือนและความต่างของกรณีพระยันตระ และหลวงพ่อธัมมชโย
✪ 1. คุณสมบัติและเกียรติประวัติ
▸ กรณีพระยันตระ:
(1) รูปงาม น้ำเสียงไพเราะ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
(2) พระสายปฏิบัติและพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
มากที่สุดแห่งยุค
(3) มีผู้เคารพศรัทธามากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ข้อ 1-3 เหมือนกัน
และมีเพิ่มเติมคือ
(4) มีวัดและมูลนิธิที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง
(5) มีบุคลากรภายในทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา
ที่อุทิศตนเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา
(6) ขยายสถานที่ปฏิบัติ ศูนย์สาขา และวัดสาขาของ
วัดพระธรรมกายไปทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
✪ 2. ข้อกล่าวหาหลัก
▸ กรณีพระยันตระ: ปาราชิกข้อที่ 1 เสพเมถุน
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย:
ปาราชิกข้อที่ 2 รับของโจร สมคบฟอกเงิน
✪ 3. กลุ่มบุคคลผู้เกี่ยวข้องและแสดงความเห็น
▸ กรณีพระยันตระ: นางจันทิมา มายะรังษี /
นายสมเกียติ อ่อนวิมล / สุลักษณ์ ศิวรักษ์ / และอื่นๆ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: นายศุภชัย ศรีศุภอักษร /
นพ.มโน เลาหวณิช / นายไพบูลย์ นิติตะวัน / พระพุทธอิสระ /
และมีเพิ่มเติมคือบุคคลชุดเดิม / นายสมเกียติ อ่อนวิมล /
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ / นายโรจน์ งามแม้น (เปลวสีเงิน) /
/ และอื่นๆ
✪ 4. การสร้างประเด็นเชื่อมโยง
▸ กรณีพระยันตระ: มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมณเพศ เช่น เที่ยวสถานบริการทางเพศ พฤติกรรมเชิงชู้สาวอื่นๆ หรือไม่?
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: อาพาธจริงหรือไม่? (รวมถึงประเด็นอื่นๆ เช่น บิดเบือนคำสอน อวดอุตริมนุสธรรม เป็นต้น)
✪ 5. การอ้างพยานหลักฐานเพื่อเอาผิด
▸ กรณีพระยันตระ: ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง คลิปวิดีโอ
สลิปบัตรเครดิต
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: เช็คสั่งจ่ายเพื่อทำบุญ
ใบรับรองแพทย์ปลอม
✪ 6. การท้าทายและการจุดประเด็นชี้ชวนให้สังคมสงสัย
▸ กรณีพระยันตระ: ทำไมไม่ยอมตรวจ DNA
เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์?
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ทำไมไม่ไปรับข้อกล่าวหา
เพื่อเข้าสู่กระบวนการสู้คดี?
✪ 7. วิกฤติ
▸ กรณีพระยันตระ: ยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน แม้มติมหาเถรสมาคมจะให้พ้นจากความเป็นภิกษุ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน
มติมหาเถรวสมาคมตัดสินว่าไม่ปาราชิก แต่ก็ยังไม่วาย
ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งข้อกล่าวหา
✪ 8. การผ่าทางตัน
▸ กรณีพระยันตระ: เมื่อถูกสถานการณ์รอบด้านกดดัน เป็นเหตุให้ต้องลอบเดินทางออกนอกประเทศ กระทั่งมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: แม้แจ้งว่าอาพาธหนัก
ไม่สามารถไปไหนได้ และขอให้ DSI มาแจ้งข้อหาที่วัด
แต่ทาง DSI ไม่เชื่อ ตรงข้ามกลับยื่นศาลขอออกหมายจับ
ขณะที่หลวงพ่อยังคงปักหลักอยู่ที่วัดพระธรรมกาย และยืนยันในความบริสุทธิ์ โดยถือคติ "ไม่สู้...ไม่หนี...ทำดีเรื่อยไป"
✪ 9. สถานะปัจจุบัน
▸ กรณีพระยันตระ: อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
นาน 20 ปี จนคดีหมดอายุความ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: มีสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหา ตกเป็นเหยื่อของการสร้างวาทะแห่งความเกลียดชังของสื่อและผู้มีอำนาจ
"ทองแท้แม้ไม่กลัวไฟ แต่การจะพิสูจน์ใดๆ
ต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม"
cr:ทิพย์ปัญญา and Min.ven.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘