Inner Scorecard

Inner Scorecard
"เชื่อมั่นในสิ่งชี้วัดภายใน" หนึ่งในวิธีคิดแบบบัฟเฟตต์

ถ้าเคยศึกษาประวัติของวอเรน บัฟเฟตต์
หนึ่งในสิ่งที่บัฟเฟตต์เน้นย้ำอยุ่เสมอเลยก็คือ
"Inner Scorecard" หรือ "สิ่งชี้วัดภายใน"

ว่าแต่ "สิ่งชี้วัดภายใน" ที่ว่ามันคืออะไรหล่ะ???
ตามความหมายของบัฟเฟตต์ ก็คือ
การที่คนๆนึง สร้างกฎเกณฑ์ มาตรฐานขึ้นมา
เพื่อวัดผลในการกระทำของตัวเอง
โดนไม่ต้องสนใจมาตรฐานที่สังคมกำหนดขึ้นมามากนัก

ซึ่งจากการที่ผมได้อ่านประวัติบุคคลหลายๆคน
คนประสบความสำเร็จส่วนมากจะมีวิธีคิดแบบ "สิ่งชี้วัดภายใน" นี้
แต่อาจจะมีวิธีเรียกแตกต่างกันไป

ตัวอย่างที่ใกล้ตัวเลยก็คือ
บางคนเลือกที่จะเรียน MBA หาไอเดียไปทำธุรกิจ
เค้าก็อาจจะสร้าง "สิ่งชี้วัดภายใน" ของตัวเองขึ้นมาว่า
ถ้าเค้าได้ไอเดียไปทำธุรกิจ ถือว่าประสบความสำเร็จในการเลือกเรียน MBA

โดยเค้าจะไม่ให้ความสำคัฐ "สิ่งชี้วัดภายนอก" ซึ่งก็คือ "เกรด" มากนัก
เพราะจุดประสงค์ของอาจารย์ที่ใช้วัดเกรด
กับจุดประสงค์ของผู้เรียน อาจจะเป็นคนละเรื่องกัน
เกรด จึงเป็นสิ่งชี้วัดภายนอก

ทำไม วอเรน ถึงต้องเน้นย้ำเรื่องนี้???
มันเกี่ยวกับ "การลงทุน" ยังไง???

จุดประสงค์ที่ 'วอเรน' เน้นย้ำเรื่องนี้ก็เพราะว่า
ในเรื่องของการลงทุน
"สิ่งชี้วัดภายใน" ที่ว่านี้ก็คือ Intrinsic Value
หรือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
"สิ่งชี้วัดภายนอก" ก็คือ Market Price
ซึ่งในหลายๆครั้ง มันก็มีมูลค่าไม่เท่ากัน

ถ้าเราเชื่อว่า Market Price เป็นสิ่งที่ถูกต้อง
จะทำให้เราเสียโอกาสที่ลงทุนดีๆไปหลายครั้งมาก
และวอเรน บัฟเฟตต์ คงไม่ได้เป็นที่รู้จักขนาดนี้

ซึ่งมันก็ไม่ต่างอะไรไปจาก
การที่เรายอมให้คนอื่นมากำหนดมาตรฐานชีวิตของตัวเรา
โดยที่ในใจเราเองนั้น ก็รู้ว่ามันไม่ใช่!!!

เหมือนที่ครั้งนีง วอเรนเคยพูดว่า:

"If the world couldn't see your results, would you rather be thought of as the world's greatest investor but in reality have the world's worst record? Or be thought of as the world's worst investor when you were actually the best?"

"คุณอยากให้โลกคิดว่า คุณเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก โดยที่ความจริงแล้ว คุณก็รู้อยู่แก่ใจว่า ผลงานการลงทุนของคุณมันห่วยแตก
หรือคุณอยากให้โลกคิดว่า คุณเป็นนักลงทุนห่วยแตก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดกันหล่ะ???"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘