เทคนิคการหา แนวรับ - แนวต้าน ( Supports & Resistances ) จากกราฟ

แนวรับ - แนวต้าน ( Support & Resistance )

         เทคนิค การดูแนวรับ-แนวต้าน เพื่อหาจุดเหมาะสม ในการเข้ารับหุ้น หรือ ขายหุ้นทำกำไร มีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธี ก็จะมีแนวคิดที่มา ที่แตกต่างกัน ในที่นี้ ผมจะลองแยกให้เห็นเป็นวิธีต่างๆ ตามเครื่องมือที่มีในสูตรระบบเทรด ที่ได้พัฒนาขึ้น ( ใช้โปรแกรม Amibroker )   และสามารถเลือกเปิดใช้แต่ละวิธี เพื่อบอกข้อมูลเราได้ทันที ที่เราต้องการบนกราฟในขณะนั้น ดังนี้

          1. การตีเส้น Fibonacci Retracement เพื่อหาแนวรับ-แนวต้าน ว่าราคาจะปรับตัวลงไป บริเวณไหนได้บ้างที่มีนัยยะสำคัญทางจิตวิทยา เช่นที่ 23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% เป็นต้น แล้วคอยดูว่าตรงราคาไหนที่ราคาจะมีแรงรับซื้อเข้ามาดันไม่ให้ราคาหลุดลงไป ( รูปที่ 1 )... ซึ่งวิธีนี้ จะใช้ความเชื่อทางจิตวิทยาว่า ตัวเลข Fibo นั้น น่าเชื่อถือ ส่วนจะแม่นหรือไม่ ผมให้พวกเราตัดสินใจกันเองนะครับ ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่นๆแล้วเป็นอย่างไร





         2. การใช้จุด Pivot Point ระยะสั้นที่ผ่านมา เป็นแนวรับ-แนวต้าน จากความเชื่อที่ว่า ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นไปทดสอบแล้ว ราคาไม่หลุดลงไป ก็ถือว่าราคานั้นเป็นแนวรับได้ ส่วนราคาที่ขึ้นไปทดสอบแล้วผ่านไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นแนวต้านที่ราคาจะต้องขึ้นผ่านไปให้ได้หากอยากจะขึ้นต่อ ( รูป 2 )





        3. การใช้ Demand -Supply Zone บอกแนวรับ-แนวต้านเป็นบริเวณราคา โดยคำนวณจากบริเวณราคาที่มีการพักตัวนานๆ ก็จะมีคนติดหุ้นบริเวณราคานั้นกันมาก จึงใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้ ( รูปที่ 3 )





       4. การใช้ VAP ( Volume at Price ) เป็นการแสดงแต่ละระดับราคาที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในแต่ละช่วงเวลา (ในกราฟจะแบ่งช่วงเวลาเป็นแต่ละเดือน ) โดยราคาที่มีการซื้อขายมากที่สุดจะมีพื้นที่กว้างที่สุด และพื้นที่น้อยที่สุดก็จะเป็นระดับราคาที่มีการซื้อขายต่ำเป็นต้น หากราคาวิ่งขึ้นเหนือระดับราคาที่มีการซื้อขายมาก ราคาก็จะวิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเรื่อยๆ แต่หากราคาหลุดลงมาต่ำกว่าระดับราคาที่มีการซื้อขายมาก ( พิ้นที่มาก ) ราคาก็จะปรับตัวลงมาหาบริเวณระดับราคาที่มีการซื้อขายมากระดับถัดไปเรื่อยๆ ( รูปที่ 4 )






        5. การใช้การคำนวณ จากสูตรจากสัญญาณซื้อขายของระบบเทรดเป็นตัวกำหนดเป้าหมายโดยใช้ค่าตัวแปร ที่กำหนด เป็น % ที่เพิ่มขึ้นไปแต่ละระดับ หรือลดลงแต่ละระดับ ขึ้นกับการกำหนดในสูตร แต่ละสูตร....วิธีนี้จะเห็นเป้าหมายตัวเลขตายตัวเลย เมื่อเกิดสัญญาณซื้อ หรือสัญญาณขาย โดยระบบจะคำนวณตัวเลขบอกแต่ละเป้าหมายมาให้ 3-4 ระดับ แล้วแต่สูตร และเป้าหมายราคาจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดสัญญาณซื้อหรือสัญญาณขายครั้งใหม่ เกิดขึ้นเท่านั้น ( ดูรูปที่ 5 ) .....ตัวเลขเป้าหมาย Target จะอยู่ในกรอบ Message Bax





           ยังมีเทคนิคต่างๆ อีกมากมาย นอกเหนือจาก 5 วิธีที่บอกไปข้างต้น  ... เช่น การลากเส้น Trend Lines   วิธีต่างๆ    ,    การดูลักษณะแท่งเทียน ,      การใช้จุดเขียว-จุดแดง ของ TD ( Trend Detection ) เป็นจุด Stoploss หรือ เข้าเทรดรอบใหม่ได้ หรืออาจใช้เทคนิคการเปลี่ยนสีแท่งราคา XTL-Bar 3 แท่งเป็นตัวยืนยันการขาย หรือซื้อก้็ได้ หรืออาจใช้ราคา Low ของแท่งที่มี Volume มากๆ เป็นจุด stoploss ได้ ...และอีกหลายสิบวิธี ขึ้นกับว่า เราถนัดการลงทุนใน TF ไหน ยืดหยุ่นได้มากน้อยแค่ไหน และคาดหวังการทำกำไรต่อรอบมากน้อยแค่ไหน ...ซึ่งแต่ละวิธี เราต้องเลือกเองให้เหมาะกับลักษระการเทรดของตัวเรา ......เพียงแต่ ขอให้มีการวางแผนก่อนเทรดไว้เสมอว่า เราจะเข้าเทรดจากสัญญาณอะไร และจะออกด้วยสัญญาณอะไร ที่เหลือก็ทำตามแผนไปเท่านั้นครับ....


  หมายเหตุ  :  การนำเสนอบทความนี้ เพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลายสำหรับผู้สนใจศึกษาเรื่องแนวรับ - แนวต้าน   ในหลายๆมิติ  และมุ่งหาวิธีที่เหมาะสมกับการเทรดของตัวเอง    เท่านั้น ....แต่ละเทคนิค มีแนวคิดและเหตุผลในตัวมันเองอยู่แล้ว  แต่หากเราได้ทราบวิธีคิดและที่มาของ แต่ละเทคนิค ย่อมทำให้เราเข้าใจและเลือกใช้ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น  .... ขอให้โชคดีครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘