4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการลงทุน และวิธีเลี่ยงความผิดเหล่านั้น

4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการลงทุน และวิธีเลี่ยงความผิดเหล่านั้น
แปลจากบทความ Four Common Trading Mistakes and How to Avoid Them เขียนโดย Ivan Hoff


1. ซื้อขายหุ้นโดยไม่มีหลักการ

ถ้า คุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น

“ถ้า คุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง”

– Martin Taylor -



2. เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big)

การเข้าซื้อหุ้นครั้งเดียวในสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหุ้นเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย

ดัง นั้น ก่อนที่จะซื้อหุ้น คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่ เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น คุณยอมรับขาดทุนได้ 20,000 บาท โดยที่จุดตัดขาดทุนของคุณคือ เมื่อราคาหุ้นตกลงไปต่ำกว่าต้นทุน 5 บาท ดังนั้น คุณควรซื้อหุ้นตัวนี้จำนวน 4,000 หุ้น

“นักลงทุนมัก จะให้ความสำคัญเกือบทั้งหมดไปที่จุดเข้าซื้อ (entry price) ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว ขนาดของการเข้าซื้อ (entry size ) ในแต่ละครั้งมีความสำคัญกว่าจุดเข้าซื้อ เพราะหาก entry size แต่ละครั้งใหญ่มากเกินไป เวลาที่หุ้นปรับตัวลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ มันก็มักจะทำให้คุณกลัวและขายหุ้นที่ยังมีแนวโน้มดีนั้นทิ้งไป ดังนั้น ยิ่งขนาดของการเข้าซื้อใหญ่มากไปเท่าไร ความกลัวจะเข้ามาครอบงำการตัดสินใจของคุณ แทนที่จะตัดสินใจจากแผนการและประสบการณ์ที่พิจารณาอย่างดีแล้ว”

– Steve Clark -



3. ซื้อขายมากเกินไป (Overtrading)

การ ที่เราจะซื้อขายหุ้นบ่อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของเรา แต่ไม่ว่าคุณจะใช้แนวทางลงทุนแบบไหนก็ตาม การซื้อขายน้อยครั้งย่อมดีกว่าเสมอ (less is more)

อย่าเพิ่งเข้าใจ ผมผิดไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่ตลาดหุ้นนั้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คุณควรจะมีไอเดียหรือหุ้นที่จะเลือกลงทุนมากกว่า 1 ตัวอยู่เสมอ

แต่ การที่คุณซื้อๆขายๆในหุ้นทุกตัวที่เกิดสัญญาณ ทำให้เงินลงทุนและพลังงานของคุณถูกกระจายออกไปในหุ้นหลายตัวมากจนเกินไปนั้น คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ฉลาดนัก

คุณควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่คุณรู้ และเข้าใจ เลือกใช้วิธีการที่คุณทำแล้วได้ผล อย่าหลงไปตามกระแสข่าวลือหรือการลงทุนที่คุณไม่ได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆก็ตามที่คุณไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นเลยแม้แต่ น้อย

ในบางครั้ง การเทรดที่ดีที่สุดก็คือ การไม่เทรดเลย และตั้งมั่นอยู่กับหุ้นที่เราถือ ผมรู้ดีว่าในช่วงตลาดกระทิงดุนั้น มันมีสิ่งที่เย้ายวนใจมากที่จะทำให้คุณซื้อๆขายๆบ่อยครั้ง เมื่อหุ้นเกือบทุกตัวขึ้นไปทะลุ High เดิม คุณรู้สึกเหมือนเด็กที่อยู่ในร้านขนมหวานแล้วไม่รู้จะเลือกหยิบขนมชิ้นไหนดี

จง เลือกหุ้นเพียงไม่กี่ตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าพยายามที่จะไล่ซื้อหุ้นทุกๆตัว เพราะคุณไม่สามารถทำได้ (ยกเว้นว่าคุณเป็นคอมพิวเตอร์!!!)

เบื้องหลังของความผิดพลาดในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 มักจะเกิดจากความมั่นใจที่มากเกินไป

ถึง แม้้ว่าความมั่นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำตามแผนและระบบลงทุนของคุณ แต่ถ้ามีความมั่นใจที่มากเกินพอดี (Overconfidence) มันจะก่อให้เกิดผลเสีย เพราะความมั่นใจที่มากเกินไปนั้น เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมนักลงทุนและนักเก็งกำไรที่มีประสบการณ์จึงยังสามารถขาดทุนได้

เมื่อ ไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่า ความสำเร็จของคุณในตลาดมาจากการที่คุณเป็นอัจฉริยะ ไม่ได้มาจากความคิดที่รอบคอบและไตร่ตรองอย่างระมัดระวังในการลงทุน ก็เท่ากับว่าคุณใกล้ถึงเวลาที่จะขาดทุนแล้ว


4. เฝ้าดูราคาหุ้นมากเกินไป (Watching your stocks too closely)

ถ้า คุณเป็นนักลงทุนแบบ day trader นั่นคือสิ่งคุณควรทำ แต่ถ้าคุณใช้กรอบการลงทุนที่ยาวนานกว่านั้น การเฝ้ามองราคาหุ้นตลอดเวลาจะก่อให้เกิดผลเสียซะมากกว่า

เมื่อคุณตัดสินใจใดๆแล้วคุณต้องให้เวลากับมัน เพื่อให้หลักการหรือไอเดียการลงทุนของคุณนั้นได้โชว์ผลลัพธ์ของมันจริงๆออกมาเสียก่อน

“การ เฝ้ามองราคาหุ้นบนหน้าจอทั้งวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆและเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผมเชื่อว่าการเฝ้าดูทุกคำสั่งซื้อขายจะทำให้คุณขายหุ้นก่อนเวลาอันควร (ขายหมู) และ มักทำให้คุณซื้อหุ้นในราคาที่สูงเกินไปหรือขายหุ้นในราคาที่ต่ำเกินไปของวัน นั้น รวมถึงทำการซื้อขายมากเกินไป (Overtrading) ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเฝ้ามองราคาหุ้นตลอดเวลา และหันไปทำสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและต่อตัวของคุณเองในช่วงเวลา ซื้อขาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น”

- Steve Clark -


การ เฝ้ามองราหาหุ้นอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เมื่อคุณเข้าซื้อหุ้นแล้ว คุณไม่ควรซื้อขายเพียงเพราะเห็นคำสั่งซื้อขายเล็กๆน้อยๆที่สวนทางกับ Position ของคุณ การเฝ้ามองราคาหุ้นมากเกินไปนั้น ก็เปรียบเหมือนคุณนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่แสนอร่อยขณะที่คุณกำลัง diet


“หากคุณใช้เวลาอยู่ในร้านตัดผมสักพักหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็วคุณจะคิดว่าคุณต้องตัดผม ทั้งๆที่คุณหัวล้าน”

– Warren Buffett -



โซรอส เคยกล่าวไว้่ว่า

“ถ้า คุณออกไปทำงานทุกวัน เพียงเพราะคิดว่าคุณต้องทำอะไรซักอย่าง ผลก็คือ มันทำให้คุณมักจะทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเพื่อไม่ให้เบื่อไปวันๆ ซึ่งผมคิดว่าคุณควรจะอยู่เฉยๆดีกว่า ปกติแล้วผมจะไปทำงานเฉพาะเวลาที่มีงานให้ทำ ในเวลาที่มันควรค่าแก่การทำจริงๆ ผลก็คือ ผมเรียนรู้ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า วันไหนที่มีงานสำคัญกว่าวันอื่นๆ และรู้ว่าเวลาไหนที่ควรมุ่งมั่นกับงานเป็นพิเศษ”


ดังนั้น ถ้าคุณเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรที่ไม่ใช่ Day Trader คุณควรหาสิ่งอื่นทำแทนที่จะนั่งเฝ้าดูราคาหุ้นทั้งวัน อย่างเช่นการอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ต้องยุ่งกับการดูราคาหุ้นระหว่างวันมากเกินไป

ความ ไม่รู้ไม่ใช่อุปสรรคของคนส่วนใหญ่ในตลาด เพราะทุกคนต่างก็สามารถศึกษาหาความรู้ได้เหมือนๆกัน แต่เป็นความพยายามที่จะนำความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังต่างหาก เหมือนกับที่ทุกคนรู้ดีว่า ควรทำตัวอย่างไรเพื่อลดน้ำหนัก แต่จะมีสักกี่คนที่มีวินัยมากพอที่จะทำตามแผนของตนเองได้อย่างจริงจังและ สม่ำเสมอ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘