การบ้าน 10 ข้อ

การบ้าน 10 ข้อ ที่ควรทำทุกวัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายในชีวิตคือการเข้าถึงธรรม

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 1 นำบุญไปฝากคนที่บ้าน


นำ บุญไปฝากคนที่บ้าน หมายถึง การเดินทางกลับบ้านด้วยความสดชื่น ด้วยจิตใจสดใสมีพลัง เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา และความเข้าใจถึงสภาวะในบ้านของตน คนใกล้ชิด อย่างพอคาดคะเนได้ว่าในแต่ละวันจะต้องกลับไปพบกับอะไร ทำให้เกิดภาวะเตรียมตัว เตรียมใจ ห่อหุ้มตนไว้ด้วย สภาวธรรมที่ตนเข้าถึง หรือด้วยอารมณ์สดใสแช่มชื่นอย่างพร้อมที่จะพบกับทุกสิ่งบนพื้นฐานแห่งเมตตา ธรรมของตน

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 2 จดบันทึกผลการปฏิบัติธรรม

ทั้ง นี้เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องในเรื่องของการปฏิบัติ การจดบันทึกทำให้เกิดการทบทวน ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งทบทวนยิ่งรู้แจ้ง ยิ่งเกิดบุญ ครั้นเมื่อกลับมาอ่านในตอนเช้า หรือวันต่อไปจะทำให้ธรรมะของเราต่อเนื่องและลุ่มลึก เป็นข้อดีอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดพัฒนาในการปฏิบัติธรรม ทำให้ปรับตนได้ จับอารมณ์ของตัวเองว่าอย่างไรจึงทำให้ธรรมะดี อย่างไรทำให้การปฏิบัติถดถอย หรือละเอียดได้ไม่เท่าเดิม

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 3 ก่อนนอนนึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมด

หมาย ถึง ทุกคืนก่อนล้มตัวลงนอน หรือก่อนเข้านอน หรือเมื่ออยู่ในช่วงเวลาก่อนนอนให้นึกถึงความดีที่ทำมาตลอดวัน ตลอดสัปดาห์ ตลอดเดือน ตลอดปี โดยเริ่มต้นที่บุญหรือความดีที่ประทับใจที่สุดเพื่อให้เกิดปีติ จากนั้นความปีตินั้นก็จะทำหน้าที่ดึงดูดบุญหรือความดีอื่น ๆ โดยอัตโนมัติ หรือทำให้นึกได้อย่างต่อเนื่องจนเกิดความรู้สึกภูมิใจ ปีติใจ ชื่นใจในตนเอง

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 4 หลับในอู่แห่งทะเลบุญ

หมาย ถึง การฝึกให้หลับอย่างมีสติ หลับไปในห้วงของความสว่าง ในห้วงของความสงบ หรือหลับไปในปีติหลังจากที่นึกถึงบุญที่สั่งสมมาทั้งหมดแล้ว

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 5 ตื่นในอู่แห่งทะเลบุญ

หมายความว่าให้ตื่นในความสว่างไสว ตื่นอย่างสดใส ตื่นอย่างอารมณ์ดี ตื่นอย่างมีสติเตือนตนถึงความดีที่ได้ทำมา
เพื่อเช้าวันใหม่ ชีวิตใหม่จะได้ดีกว่าชีวิตเดิมเมื่อวานนี้ เพื่อการทำงาน ทำความดีได้เต็มที่เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 6 เมื่อตื่นแล้วรวมใจเป็นหนึ่งกับองค์พระ 1 นาที
ใน 1 นาทีให้นึกว่าเราโชคดีที่รอดตายมาอีกหนึ่งวันขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้น ตายแน่ ตายแน่

หมายความว่า ทันทีที่เรารู้สึกตัวตื่นขึ้นในเช้าวันใหม่ สิ่งแรกที่เราต้องฝึกคิดถึงเป็นอันดับแรกคือ องค์พระ สัก 1 นาที และใน 1 นาทีนั้นให้เรานึกว่าเราโชคดีที่รอดตายมาได้อีก 1 วัน แล้วแผ่เมตตาขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้นตายแน่ ตายแน่

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 7 ทั้งวันให้ทำความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ในองค์พระ องค์พระอยู่ในตัวเรา ตัวเราเป็นองค์พระ องค์พระเป็นตัวเรา

หมายความถึง การทำใจให้ผูกพันอยู่กับองค์พระ ใจเรากับใจพระจะได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อชีวิตจะอยู่ในความปลอดภัย ร่างกายจะได้แข็งแรง เพราะการที่ใจอยู่กับพระ กระแสของพระก็จะเข้ามาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 8 ทุก 1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที เพื่อหยุดใจ นึกถึงดวง องค์พระ หรือทำใจนิ่งๆ ว่างๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7

หมายความว่า วันทั้งวันที่ไม่ใช่เวลานอนเราจะได้ใกล้ชิดกับพระจริง ๆ ใกล้ชิดกับธรรมะเราเข้าถึงจริง ๆ เพราะในข้อที่ 7 นั้น เป็นการทำได้โดยโครงสร้าง เหมือนการวางตัวไว้ในกรอบเพื่อความไม่ประมาทแต่สำหรับข้อที่ 8 นี้ ถือเป็นการทำให้ละเอียดลงไปอีกขั้นตอนหนึ่ง

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 9 ทุก กิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ล้างจาน กวาดบ้าน ออกกำลังกาย ขับรถ ทำงาน ให้นึกถึงดวง หรือองค์พระไปด้วย

หมายถึงการทำใจให้จดจ่ออยู่กับธรรมะ อยู่กับศูนย์กลางกาย โดยไม่ต้องเลือกเวลา กิจกรรม หรือสถานที่ ซึ่งบางทีอาจนึกถึงดวง บางครั้งเป็นองค์พระ สลับไปมาก็ไม่เป็นไร จุดมุ่งหมายเพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับธรรมะ กับศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของตน
ารทำการบ้านข้อนี้จะมีผลทำให้ไม่ไป วุ่นวายกับเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน ทำให้ลดการเกิดวิบาก ลดการกระทำที่อาจทำให้เกิดบาปขึ้นได้ ตรงกันข้ามกลับทำให้บุญไหลมาเทมา ธรรมะสุกใสไปกับวันเวลาและภารกิจการงาน

การบ้านวัดพระธรรมกายข้อที่ 10 สร้างบรรยากาศให้ดี สดชื่น ด้วยรอยยิ้ม และปิยวาจา

หมายความถึงการสร้างสรรค์อารมณ์ที่ดี อารมณ์งดงาม ความสุนทรีให้เกิดในชีวิตและในบรรยากาศโดยรอบ
“รอย ยิ้ม” เคยเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เรียกว่า ยิ้มสยาม แต่นับวันรอยยิ้มของคนไทยเริ่มจางหายไปทุกที ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งสภาวะมลพิษทำให้คนไทยเกิดความเครียดในชีวิต หน้าที่การงาน ครอบครัว ทำให้ไม่มีอารมณ์ยิ้มเหมือนแต่ก่อน เมื่อยิ้มยากขึ้น คำพูดที่ออกมาก็กระด้าง ไม่ไพเราะ หรืออาจจะหยาบคาย ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบยิ่งตึงเครียด และเกิดการกระทบกระทั่งกัน ดังนั้นจึงต้องฝึกสร้างบรรยากาศด้วยรอยยิ้มและปิยวาจาโดยเริ่มที่ตัวเรา เมื่อเราส่งรอยยิ้มและปิยวาจาออกไป คนอื่นก็จะรู้สึกดีและส่งตอบกลับมาผลก็คือเกิดบรรยากาศที่ดีทำให้ใจเราดี ยิ่งขึ้น นุ่มนวลยิ่งขึ้น

วันนี้ ‪#‎ส่งการบ้าน‬ แล้วหรือยังครับ? ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย และหลวงพ่อธัมมชโย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘