สถิติคนไร้ศาสนาพุ่ง !


คริสต์ยังครองโลก อิสลามกำลังขยายตัว

ส่วนพุทธรั้งอันดับ 5 แถมจีนเมืองคอมมิวนิสต์ยังขึ้นแป้นเป็นเมืองพุทธใหญ่สุดในโลก แซงไทย พม่า ลาว เขมร ศรีลังกา และญี่ปุ่น ไปไกล

แต่อย่าไปสนใจนักเลย พวกทำสถิติมันคงไม่เคยมาเมืองไทย เลยไม่รู้ว่า เมืองไทยของเรานั้น พระพุทธศาสนายิ่งใหญ่แค่ไหน เรามีทั้งหลวงพ่อโต หลวงปู่ทวด ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่ทิม เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ แต่ละองค์ล้วนแต่ใหญ่โต "ที่สุดในโลก" ถ้ารวมกันได้ก็คงใหญ่ที่สุดในสุริยจักรวาลด้วย

เรามี พณฯท่านธัมมชโย ดำรงตำแหน่งศาสดาพยากรณ์ของโลก ท่านมีตาทิพย์สามารถมองเห็นทั้งสวรรค์และนรก ทำนายอดีต-ปัจจุบัน-อนาคตได้แม่นเหมือนตาเห็น แถมเรายังมีพระธุดงค์ธรรมชัยเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ต้องโปรยกลีบกุหลาบ-ดาวเรืองรองตีน เพื่อทำลายพระพุทธศาสนาบนกินเนสบุ๊ค

ให้มันรู้ไปสิ ว่าใครหญ่าย อิอิ !



เผย "คนไร้ศาสนา" เพิ่มมากขึ้น ครองอันดับ 3 ของโลก

"คริสต์" ครองแชมป์คนนับถือมากที่สุด

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการจัยในชื่อ ภูมิทัศน์ในการนับถือศาสนาของคนทั่วโลกโดย พิว” (The Pew Forum on Religion & Public Life) รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี พ.ศ.2553 พบว่า ประชากรโลกที่ระบุว่าตัวเองเป็นคน ไร้ศาสนาหรือ ไม่ผูกพันกับศาสนาใด มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ 3 ในขณะที่ศาสนาอิสลามและฮินดูมีแนวโน้มว่าคนจะนับถือมากที่สุดในโลก ส่วนศาสนายิวเป็นศาสนาที่มีแนวโน้มลดลงมากที่สุด

รายงานวิจัย ระบุว่า ประชากรโลกว่า ร้อยละ 84 หรือประมาณ 6.9 ล้านคน ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง สำหรับศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือศาสนาคริสต์ โดยมีประชากรผู้นับถือกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก

นายคอนราด แฮ็กเกตต์ นักวิเคราะห์สถิติประชากร กล่าวว่า จากการสำรวจสำมะโนประชากรตัวอย่างพบ ว่า ค่ากลางอายุของผู้ที่ระบุตัวเองว่าเป็นมุสลิมอยู่ที่อายุ 23 ปี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกที่อายุ 28 ปี จากข้อมูลจึงมีแนวโน้มว่าจะมีผู้นับถือศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นในอนาคต ขณะที่ศาสนายูดาย ค่ากลางอายุของผู้ที่นับถือศาสนานี้อยู่ที่ 36 ปี ขณะที่มีผู้นับถือศาสนานี้อยู่แค่เพียงแค่ 14 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 จึงมีแนวโน้มว่าจะมีผู้นับถือศาสนานี้น้อยลง สำหรับ 7 อันดับ กลุ่มศาสนาความเชื่อที่มีผู้นับถืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

อันดับ 1 ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถืออยู่ทั่วโลกสูงถึง 2.2 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.5 ของประชากรโลก แบ่งเป็ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกประมาณร้อยละ 50 นิกายโปรแตสแตนท์ นิกายแองกลิคัน และนิกายกรีกออร์โธดอกซ์ รวมกันร้อยละ 37 ส่วนนิกายออร์โธดอกซ์ รวมกันร้อยละ 12

อันดับ 2 ศาสนาอิสลาม สำหรับประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกขณะนี้มีอยู่ประมาณ 1.6 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งคิดเป็นศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์ถึงร้อยละ 87 ถึง 90 ส่วนมุสลิมชีอะฮ์ คิดเป็นร้อยละ 10 ถึง 13

อันดับ 3 สำหรับผู้ที่ระบุว่าไร้ศาสนา หมายถึง ผู้ที่แสดงตนว่าไม่ได้นับถือศาสนาใด ๆ เลย เช่น ผู้ที่ปฏิเสธการมีพระเจ้า หรือไม่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง หรือผู้ที่มีศรัทธาในจิตวิญญาณซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใด มีจำนวน 1.1 พันล้านคนทั่วโลก และกว่า 700 ล้านคนในจำนวนนี้ หรือคิดเป็นร้อยละ 62 อาศัยอยู่ในประเทศจีน ซึ่งจำนวนดังกล่าวนี้คิดเป็น 52.2 เปอร์เซ็นต์ของชาวจีนทั้งประเทศ รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น โดยมากกว่า 72 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 57 ของประชากรทั่วโลก อันดับ 3 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 51 ล้านคน คิดเป็นร้อละ 16.4 ของชาวอเมริกันทั้งประเทศ

อันดับ 4 ศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือกระจุกอยู่เพียงในอินเดียมากที่สุดในโลกถึงร้อยละ 94 ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูมีอยู่มากในประเทศอินเดีย เนปาล และบังคลาเทศ

อันดับ 5 ศาสนาพุทธ ครึ่งหนึ่งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศจีน รองลงมาคือประเทศไทย ร้อยละ 13.2 และอันดับ 3 คือที่ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.4%

อันดับ 6 กลุ่มศาสนาเล็กๆ เช่น บาไฮ ลัทธิเต๋า เจนไน ชินโต ซิกข์ เทนริเคียว วิคคา และโซโรอัสเตอร์ มีผู้นับถือรวมกันประมาณเกือบร้อยละ 1 หรือ 58 ล้านคนทั่วโลก ส่วนมากอยู่ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค

อันดับ 7 กลุ่มผู้ที่นับถือธรรมชาติ กราบไหว้ภูติผีและเทพเจ้าอื่นๆ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ มีประมาณ 405 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งโลก โดยส่วนใหญ่พบในทวีปแอฟริกา ประเทศจีน หรือชาวอินเดียนแดง และอะบอริจิ้น
อันดับ 8 ศาสนายิว มีผู้นับถือศาสนานี้ในประเทศอิสราเอล โดยคิดเป็นร้อยละ 40.5 ของชาวยิวทั่วโลก ส่วนชาวยิวในประเทศสหรัฐฯ มีอยู่ถึงร้อยละ 41.1


ข่าว : มติชน
31 ธันวาคม 2555

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘