ทำไมวัดพระธรรมกายต้องก่อสร้างศาสนสถานใหญ่ๆด้วย ?

ตอบ:เราชาวพุทธเป็นลูกพระพุทธเจ้า การทำงานก็ควรดูแบบอย่างจากพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำอย่างไร จึงประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้อย่างมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบทอดมาถึงเราได้ถึง 2,500กว่าปีแล้ว

ในแง่ศาสนสถาน เราพบว่า วัดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุดถึง 20กว่าพรรษา คือ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย สิ้นทรัพย์ถึง 54โกฏิกหาปณะ คือ เท่ากับ 540ล้านกหาปณะ ซึ่ง 1กหาปณะนั้น เทียบค่าของเงินปัจจุบันแล้ว มีค่ามากกว่าดอลลาร์หลายเท่า ดังนั้นเมื่อเทียบค่าเงินปัจจุบัน การสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร จึงสิ้นค่าใช้จ่ายหลายหมื่นล้านบาท อาจถึงแสนล้านบาท และพระเชตวันมหาวิหารนี่เอง ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการวางรากฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในครั้งพุทธกาล และสืบทอดมาถึงเราในปัจจุบั

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พระภิกษุเป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย ตั้งใจปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมตนเอง แต่ในแง่ศาสนสถาน การสร้างวัดซึ่งเป็นสถานที่เผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนแล้ว พระองค์กลับทรงชื่นชมอนุโมทนา สนับสนุนการสร้างวัดใหญ่ๆจำนวนมาก นอกจาก เชตวันมหาวิหารแล้ว ก็ยังมีอีกมากมาย เช่น วัดบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย เป็นโลหะปราสาท สิ้นทรัพย์นับเป็นค่าเงินเป็นหมื่นๆล้านบาทเช่นกัน พระองค์ถึงขนาดทรงให้พระมหาโมคคัลลนะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ไปเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างตามคำของนางวิสาขา เพราะวัดใหญ่ๆ เมื่อสร้างขึ้นโดยมีการใช้ประโยชน์จริง ก็จะสามารถรองรับ ประชาชนได้เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งแผ่นดิน ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง ก็คือประชาชนนั่นเอง

วัดพระธรรมกาย...เราเริ่มสร้างขึ้นจากวัดเล็กๆ มีศาลาปฏิบัติธรรมจุคนได้เพียง 450คน แต่เพราะการตั้งใจเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ประชาชนที่มาวัดจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหลักหมื่นหลักแสน จึงจำเป็นต้องสร้างศาลาอาคารมารองรับ

มหาธรรมกายเจดีย์...สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใจปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์จำนวน 1หมื่นรูป สาธุชนจำนวน 1ล้านคน แม้ขณะกำลังก่อสร้างอยู่ ก็มีคนมาปฏิบัติธรรมกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ครั้งละกว่าแสนคนแล้ว

สิ่งก่อสร้างในวัดพระธรรมกาย จึงสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานจริง งบประมาณในการก่อสร้างก็มาจากประชาชนทำบุญ ผู้ใช้ก็คือประชาชน ประโยชน์ก็เกิดขึ้นกับชาวพุทธทั้งแผ่นดิน

อ่่านจบแล้ว แชร์ต่อด้วย..

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘