เล่าเรื่องเจดีย์

เล่าเรื่องเจดีย์
>> เจดีย์เป็นพุทธสถานอันเป็นศูนย์รวมใจชาวพุทธแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน

จากบันทึกของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งได้จาริกไปอินเดียเมื่อ 1,400 ปีที่แล้ว กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดรูปแบบของเจดีย์ในเบื้องต้น
ด้วยการทรงนำจีวร สังฆาฏิ และสบงของพระองค์มาพับเป็นสี่เหลี่ยม แล้ววางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ จากใหญ่ไปหาเล็ก และทรงคว่ำบาตรของพระองค์วางลงไปบนผ้าอีกทีหนึ่ง แล้วตรัสว่า นี่แหละสถูปเจดีย์ (ดูภาพประกอบ)
รูปแบบเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ จึงเป็นต้นแบบของการสร้างเจดีย์นับแต่นั้นมา ดังตัวอย่างรูปทรงของสาญจิเจดีย์ เจดีย์เก่าแก่ที่สร้างเมื่อราว 2,200 ปีก่อน ก็มีรูปครึ่งทรงกลมประยุกต์จากรูปทรงบาตรคว่ำนั่นเอง
<< พัฒนาการของรูปทรงเจดีย์ >>
>> เมื่อเวลาผ่านมารูปทรงของเจดีย์ก็มีพัฒนาการมาตามลำดับ
เริ่มจากการใช้ฉัตร 7 ชั้นบ้าง 9 ชั้นบ้าง ประดับอยู่บนยอดเจดีย์เพื่อแสดงความเคารพบูชา แต่เมื่อนานวันเข้า ฉัตรก็ถูกลมพัดเอียงล้มบ้าง ชำรุดทรุดโทรมบ้าง
ในบางท้องที่จึงมีการสร้างฉัตรให้เป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร กลายเป็นส่วนยอดของเจดีย์รูปทรงระฆังคว่ำคล้ายที่พระปฐมเจดีย์ มหาเจดีย์ชเวดากองของเมียนม่าร์หรือเจดีย์ทรงทิเบต เป็นต้น
ในจีนก็มีรูปทรงเจดีย์เป็นทรงตึกซ้อนกัน 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง โดยชั้นล่างจะใหญ่ชั้นบนก็จะค่อยๆ เล็กลงตามลำดับ
เมื่อเวลาผ่านมากว่า 2,000 ปี แต่ละท้องถิ่นก็มีพัฒนาการรูปแบบเจดีย์เป็นเอกลักษณ์ของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเจดีย์แบบใด สิ่งที่เหมือนกันก็คือ เจดีย์แต่ละแห่งได้เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธในที่นั้นๆ ถือเป็นองค์แทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
<< พลังศรัทธาของชาวพุทธต่อองค์เจดีย์ >>
ในประเทศเมียนม่าร์ เมื่อเข้าสู่ลานพระเจดีย์หรือแม้แต่เข้าเขตวัด ทุกคนจะต้องถอดรองเท้าเพื่อแสดงความเคารพ ไม่ว่าจะเป็นคนใหญ่คนโตเพียงใดก็ต้องปฏิบัติตาม
เมื่อคราวที่อังกฤษยึดพม่าเป็นอาณานิคม ข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษต้องการเข้าเยี่ยมชมมหาเจดีย์ชเวดากอง โดยจะใส่รองเท้าเข้าไป เพราะนับถือคนละศาสนาและถือว่าตนคือผู้มีอำนาจปกครอง
เมื่อข่าวแพร่กระจายไป ชาวพม่านับหมื่นคน ก็มารวมตัวกันที่ลานมหาเจดีย์ชเวดากอง แม้จะไม่มีอำนาจห้ามปรามข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษ ไม่มีอาวุธจะไปต่อสู้ แต่ทุกคนก็พร้อมใจกันนอนทอดร่างเรียงต่อๆกันเต็มลานมหาเจดีย์ ยอมให้รองเท้าของข้าหลวงชาวอังกฤษย่ำเหยียบลงบนร่างกายของตนดีกว่าจะยอมให้ รองเท้ากระทบถูกลานพระเจดีย์
ด้วยพลังศรัทธาอันเปี่ยมล้นของชาวพม่า ทำให้ข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษถึงกับสะท้าน และยอมถอดรองเท้าเข้าลานเจดีย์
<< มหาธรรมกายเจดีย์ >>
มหาธรรมกายเจดีย์ ณ วัดพระธรรมกาย ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รวมชาวโลกมาปฏิบัติธรรมร่วมกันได้คราวละ 1 ล้านคน
** คริสต์ก็มีลานมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในนครรัฐวาติกัน เป็นที่รวมชาวคริสต์ได้คราวละหลายแสนคน
** อิสลามก็มีเมกกะ ในซาอุดิอาระเบียเป็นที่รวมชาวมุสลิมได้นับล้านคน
**ชาวพุทธก็น่าจะมีสถานที่สักแห่งหนึ่งที่รวมชาวพุทธได้คราวละนับล้านคนเหมือนกัน
>> เนื่องจากมีเป้าหมายให้เป็นพุทธสถานของชาวพุทธทั่วโลก รูปทรงเจดีย์จึงได้ย้อนกลับไปสู่ยุคดั้งเดิม ซึ่งเป็นรูปทรงสากล องค์เจดีย์เป็นรูปครึ่งทรงกลมคล้ายสาญจิเจดีย์
และมีเชิงลาดทอดเฉียงลงมาเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน
องค์พระ จำนวน 300,000 องค์ เชิงลาดถัดลงมาเป็นที่นั่งของพระภิกษุจำนวน 10,000 รูป

ภายในส่วนกลางองค์เจดีย์เป็นที่ประดิษฐานองค์พระอีก 700,000 องค์ รวมกับองค์พระภายนอกเป็นหนึ่งล้านองค์
รอบมหาธรรมกายเจดีย์มีลานธรรมรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ราว 400,000 ตารางเมตร ถัดจากลานธรรมออกไปที่ขอบทั้งสี่ด้านล้อมรอบด้วยมหารัตนวิหารคด 2 ชั้น เป็นแนวยาวทอดเป็นรูปขอบของสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 99 เมตร ยาวด้านละ 1,000 เมตร รวมพื้นที่ 2 ชั้นราว 700,000 ตารางเมตร
ในวันมาฆบูชาและวันสำคัญต่างๆ มีชาวพุทธทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ลานมหาธรรมกายเจดีย์นับล้านคน ต่างชื่นชมชาวพุทธไทยที่มีจิตศรัทธาสามารถสร้างพุทธสถานที่งดงามเป็นศูนย์ รวมใจชาวพุทธทั่วโลกได้ เป็นความภาคภูมิใจของชาวพุทธไทย
** แต่พุทธสถานภายนอก แม้จะใหญ่โตเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
สิ่งที่สำคัญคือ__ แสดงให้เห็นถึงจิตใจที่เลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างเต็มเปี่ยมของชาว พุทธไทย ซึ่งสามารถร่วมกันสร้างมหาธรรมกายเจดีย์จนสำเร็จได้และพร้อมเพรียงกันมา ปฏิบัติธรรมจนเต็มลานพระเจดีย์อย่างนี้

อย่างไรก็ตามเจดีย์ทุกรูปทรง ล้วนเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราชาวพุทธควรสักการะบูชา ถ้าเราได้ไปต่างประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น เมียนม่าร์ ทิเบต จีน เกาหลี เมื่อพบองค์เจดีย์ก็ควรเคารพบูชา จะเป็นสิริมงคลแก่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘