พบหลักฐานพระเยซูไม่ได้ถูกตรึงด้วยไม้กางเขน

นักวิชาการทางศาสนาคริสต์ ค้นคว้าหลักฐานภาพจำหลักและภาพวาด ชี้ว่าตำนานพระเยซูถูกตรึงด้วยไม้กางเขนและตอกตะปูด้วยนั้นไม่น่ามีจริง

 ขณะที่ชาวคริสต์ หลายล้านคนทั่วโลกต่างเชื่อว่า พระเยซูถูกตรึงด้วยตะปู อย่างที่ได้ถ่ายทอดกันมาผ่านงานศิลปะซึ่งแสดงถึงวิธีลงโทษด้วยการตรึงกางเขน (crucifixion) แม้แต่เมื่อหลายปีที่ผ่านมาก็มีผู้กล่าวอ้างว่า พบตะปูตอกตรึงกางเขนในสุสานที่คาดว่าจะเป็นสุสานของพระเยซูที่หายไป  แต่ล่าสุดนักวิชาการได้ตั้งข้อสงสัยในรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตรึง กางเขน  โดยถกเถียงกันว่า จริงหรือไม่ที่ "พระเยซูถูกตรึงกางเขนด้วยตะปู”?


 

       เมอเรอดิธ วอร์เรน (Meredith Warren) ศาสตราจารย์ด้านคัมภีร์ไบเบิ้ลและศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (University of Sheffield) ประเทศอังกฤษ ได้โต้แย้งผ่านบทความล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ใน “The Conversation” ว่า  "ภาพของพระเยซูที่นิยมถ่ายทอดออกมาลักษณะของชายที่ถูกตรึงกางเขนด้วยตะปู นั้น อาจเกิดขึ้นจากประเพณีนิยม มากกว่าที่จะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้"
       ตามข้อมูลของศาสตราจารย์วอร์เรน "หลักฐานแต่โบราณที่บอกว่าพระเยซูถูกตรึงกางเขนด้วยการตอกตะปูนั้นยังมีความ ขัดแย้งกัน"  โดยนักวิชาการชี้ว่า ไม่มีข้อความใดๆ เลยใน "พระวรสารสหทรรศน์”  (The Synoptic Gospels) 
       ไม่ว่าจะเป็นของนักบุญมัทธิว มาระโก หรือลูกา ที่กล่าวถึงว่า พระเยซูถูกตรึงกางเขนด้วยตะปู
       ทั้งที่มีข้อสังเกตเช่นนั้น แต่ดูเหมือนประเพณีของชาวคริสต์ที่เชื่อกันมาว่าพระเยซูถูกตรึงด้วยตะปูบน กางเขนนั้น กลับมีที่มาชัดเจนจาก "พระวรสารของนักบุญยอห์น" (The Gospel of John) ซึ่งได้อ้างถึงบาดแผลในมือของพระเยซูซึ่งถูกตรึงด้วยตะปูบนไม้กางเขน 
       แม้จะประจักษ์หลักฐานตามพระวรสารของนักบุญยอห์น แต่นักวิชาการก็ยังยกประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพระเยซูถูก ตรึงตะปูอยู่ดี  อาจเป็นเพราะยังมีความสงสัยเคลือบแคลงในตัวผู้แต่งและความน่าเชื่อถือในการ ถ่ายทอดเรื่องราวของพระวรสารนักบุญยอห์น ซึ่งเบี่ยงเบนไปจากพระวรสารสหทรรศน์
       นอกจากนี้ การแสดงภาพเหตุการณ์ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน ที่ทราบกันว่าเป็นหลักฐานชุดแรกสุดนั้น กลับขัดแย้งกับข้อความที่อ้างว่าพระเยซูถูกตรึงตะปูตามพระวรสารนักบุญยอห์น ในทางตรงข้าม กลับยิ่งเสริมรับกับข้อสันนิษฐานว่า "พระเยซูเพียงแต่ถูกผูกมัดไว้กับไม้กางเขนเท่านั้น" 
       ภาพหลักฐานชุดแรกๆ ที่อ้างถึง ภาพแรกคือ  "The Alexamenos Graffito” ซึ่งเป็นภาพขีดเขียนลายเส้น มีอายุราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ ภาพนั้นแทนที่จะเป็นภาพยกย่องสรรเสริญพระเยซู กลับเป็นภาพล้อเลียนชาวคริสต์ โดยวาดศีรษะพระเยซูเป็นหัวของลาที่กำลังถูกตรีงกางเขน

 
The Alexamenos Graffito, a spoof depicting Jesus with a donkey’s head on the cross

Wikipedia
 

       และหลักฐานอีกสองชิ้นหนึ่งคือ ภาพสลักบนหินแจสเปอร์ มีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 2-3 ปรากฏภาพชายถูกตรึงกางเขนล้อมรอบด้วยอักษรมนต์คาถา และสุดท้ายคือภาพสลักบนหินอัญมณีสำหรับหัวแหวน มีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นรูปพระเยซูถูกตรึงกางเขนล้อมรอบด้วยอัครทูตทั้ง 12 คน

 
The second century CE jasper carving of a crucified man, presumed to be Jesus [Image via British Museum/Creative Commons/

Link text
 

       จากภาพทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่มีชิ้นใดเลยที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า มือนั้นถูกตอกตรึงด้วยตะปู แต่กลับปรากฏว่า มือนั้นเหมือนห้อยลงอย่างเป็นธรรมชาติ คล้ายกับถูกผูกมัดไว้ที่ข้อมือเท่านั้น โดยที่ขาทั้งสองนั้นกลับพักสบายๆบนแท่น 

ขอบคุณแหล่งข่าว:
http://www.inquisitr.com/2900379/scholars-debate-was-jesus-really-nailed-to-the-cross-but-evidence-suggests-other-unspeakable-horrifying-details-about-the-crucifixion/
http://www.mirror.co.uk/news/world-news/expert-claims-jesus-christ-wasnt-7591220
http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-3498373/Was-Jesus-really-nailed-cross-Ancient-artefacts-suggest-tales-crucifixion-myth-tradition.html
http://news.sanook.com/1016127/
✑ แปลและเรียบเรียง: ทิพย์ปัญญา 

 
The fourth century CE Constanza gemstone showing Jesus with the Apostles

Link text
 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘