เมืองสาวัตถี

เมืองสาวัตถี

เมืองสาวัตถี นอกจากจะเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญที่สุด
ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล
ที่มีพระอรหันต์ มีเศรษฐีใจบุญแล้ว
ยังเป็นเมืองที่มีผู้หญิงบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรีถึง ๑๓ องค์
และเป็นเมืองที่มีคนถูกธรณีสูบถึง ๔ คน ได้แก่
พระเทวทัต นันทมานพ นางจิญจมาณวิกา
และพระเจ้าสุปปพุทธะ (พระราชบิดาของพระเทวทัต
และพระนางยโสธราพิมพา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ)
ในจำนวนทั้งหมด ๕ คนตามพระพุทธประวัติด้วย
ส่วนรายที่ ๕ ที่ถูกธรณีสูบไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นยักษ์ มีนามว่า
นันทยักษ์ ซึ่งมีฤทธิ์เดชมาก ได้เหาะขึ้นกลางอากาศแล้วใช้กระบอง
ซึ่งเป็นอาวุธประจำตน ฟาดลงมาหมายเศียรของพระสารีบุตร


เมืองสาวัตถี ในปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งทางภาคตะวันออก
ของรัฐอุตตรประเทศ ห่างจากสถานีรถไฟพารัมปุระ (Balrampur)
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร
ปัจจุบัน เป็นเพียงซากโบราณสถาน
เมืองสาวัตถีมีสถานที่สำคัญๆ ๒-๓ แห่ง โดย ๑ ในนั้น คือ
วัดเชตวันมหาวิหาร ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างมากๆ
เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ที่สำคัญที่สุดในสมัยพุทธกาล พุทธบริษัททั่วทั้งชมพูทวีป
เมื่อประสงค์จะเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะต้องเดินทางดั้นด้นมาที่สาวัตถีและวัดเชตวันมหาวิหาร
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา

วัดสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ที่ตั้งอยู่ในเมืองสาวัตถี
มีทั้งหมด ๓ วัด ประกอบด้วย
วัดบุพพารามมหาวิหาร สร้างโดยมหาอุบาสิกาวิสาขา
วัดราชิการาม สร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล
โดยสร้างไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมือง
และวัดเชตวันมหาวิหาร สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
โดยสร้างถวายพระพุทธเจ้า


สถานที่สำคัญที่สุดในวัดเชตวันมหาวิหาร ก็คือ พระมูลคันธกุฏี
หรือกุฏิของพระพุทธเจ้า ซึ่งด้านหน้ามีซากฐานของพระเจดีย์ทอง
ตามพุทธประวัติระบุว่า เป็นสถานที่ซึ่งท้าวสักกะให้เทวดาองค์หนึ่ง
มากราบทูลพระพุทธองค์ว่า “เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี
ได้พากันคิดมงคลทั้งหลายมาเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้
ขอพระพุทธองค์ตรัสบอกมงคลอันสูงสุดว่าคืออย่างไร
เพื่อนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียวแก่ชาวโลกทั้งปวง”

รูปภาพ

รูปภาพ

พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือวัดพระเชตวัน เป็นอาราม (วัด)
ที่สร้างขึ้นโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี
บนที่ตั้งของเชตวันหรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี
ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง ๑๘ โกฏิ
(ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น)
วัดแห่งนี้นับเป็นที่มั่นสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษามากที่สุดถึง ๑๙ พรรษา


รูปภาพ

ในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ชาวพุทธศรีลังกาจะมาประดับประดาพวงมาลาและดอกไม้
ถวายตามพระมูลคันธกุฏีและเรือนธรรมต่างๆ ภายในพุทธสังเวชนียสถาน
และสถานที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา


รูปภาพ

ธรรมศาลา ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
สถานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
เป็นสถานที่ที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรที่สำคัญๆ จำนวนมาก
ในพระพุทธศาสนามากมาย เช่น เรื่องของพระองคุลิมาล, นางปฏาจาราเถรี,
พระนางกิสาโคตมีเถรี, การถวายอสทิสทาน, เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้,
พราหมณ์จูเฬกสาฏก, ทรงพยากรณ์สุบินนิมิต ๑๖ ประการ, นางกาลียักษิณี,
นางจิญมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ, พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น

ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมากที่สำคัญๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร,
ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร,
คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร,
พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร,
อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร
โดยทั้งหมดทรงแสดง ณ วัดเชตวันมหาวิหาร แห่งนี้


รูปภาพ

กุฏิพระสารีบุตร

รูปภาพ

กุฏิพระโมคคัลลานะ

รูปภาพ

กุฏิพระมหากัสสปะ

รูปภาพ

กุฏิพระสีวลี

รูปภาพ

รูปภาพ

“ต้นอานันทโพธิ์” ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
เป็นต้นดั้งเดิม โดยเป็นต้นโพธิ์ที่ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล
ที่ประตูหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ชมพูทวีป
(ปลูกจากเมล็ดของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้)
โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
จึงเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์ที่มีอายุยืนที่สุดในโลก
ที่ยังคงยืนต้นอยู่มาจนถึงปัจจุบัน มีอายุกว่า ๒,๕๕๖ ปี
(มีอายุมากกว่าพุทธศักราช)
และชาวพุทธนับถือว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์เป็นอันดับสองรองจาก
“ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

พุทธคยาในสมัยพุทธกาล หลังจากการตรัสรู้และเสวยวิมุตติสุขของพระพุทธเจ้าแล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมา ณ ที่แห่งนี้ แต่อย่างใด
มีกล่าวถึงในอรรถกถา แต่เมื่อคราวพระอานนท์ได้มายังพุทธคยา
เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับตรัสรู้
กลับไปปลูก ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ซึ่งปรารถนาให้มีสิ่งเตือนใจเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปประทับที่อื่น

ประวัติความเป็นมาของ “ต้นอานันทโพธิ์” จากหนังสือปูชาวัลลิยะ
ของสมาคมมหาโพธิ์ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย
กล่าวไว้ว่า

“แม้ว่าพระเชตวันมหาวิหาร จะเป็นที่ยังความสะดวกและความสงบให้เกิดได้
ยิ่งกว่าสถานที่แห่งใดๆ อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
แต่พระองค์ได้ประทับพักตลอดปีไม่ แต่ละปีพระพุทธองค์ทรงประทับพัก
เพียง ๓ เดือนในพรรษาเท่านั้น ส่วนอีก ๙ เดือนของปีนอกฤดูฝน
พระองค์เสด็จจาริกออกไปแสดงธรรมในคามนิคมชนบทและหัวเมืองอื่น

เมื่อพระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นประมาณปีละ ๙ เดือน
ชาวนครสาวัตถีผู้เลื่อมใสในพระธรรม ใคร่จะทูลเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ
ไม่ปรารถนาให้พระองค์เสด็จไปประทับแห่งใดๆ จึงพากันเกิดความเดือดร้อนใจ
ปรึกษากันว่า จะทำไฉนหนอ จึงจะทูลเชิญพระองค์ให้ประทับอยู่ตลอดปีได้
เมื่อพระองค์ต้องเสด็จไป ก็ทำให้เกิดความอ้างว้างใจ
จะหาสิ่งใดของพระองค์ให้ปรากฏอยู่เป็นเครื่องระลึกแทนองค์พระพุทธเจ้าได้”

ความนั้นทราบถึง พระอานนท์เถระ พุทธอุปัฏฐาก เป็นต้น จึงนำกราบทูลให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา จึงรับสั่งให้นำ ผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด)
ที่ตำบลพุทธคยา มาปลูกไว้ที่หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ จักได้เป็นที่บูชากราบไหว้ของคนทั้งปวง

ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้าย ทราบความประสงค์ของพระพุทธเจ้า
จึงทูลอาสาแสดงฤทธิ์ โดยเหาะไปในอากาศถึงตำบลพุทธคยา
นำเอาผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด) กลับมายังพระเชตวันมหาวิหารได้ในวันเดียวกันนั้น

ครั้นนำผลสุขแห่งโพธิ์ (เมล็ด) มาแล้ว ก็มีการปรึกษากันว่า ผู้ใดจักสมควรเป็นผู้ปลูก
เบื้องต้นชาวเมืองและพระสงฆ์พร้อมใจกันถวายพระเกียรติแด่
พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองกรุงสาวัตถี ให้ทรงเป็นผู้ปลูก แต่ทรงปฏิเสธ
โดยบอกว่าฐานะกษัตริย์ย่อมไม่มั่นคงถาวร ทายาทที่จะมาภายหลังจะให้ความคุ้มครอง
บารุงรักษาต้นโพธิ์ต่อไปนี้ได้หรือไม่ก็ไม่ทราบได้ จึงควรยกเกียรตินี้ให้แก่คนอื่น

ในที่สุดก็ได้ตกลงให้ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ปลูก
เพราะด้วยคิดกันว่า ต้นโพธิ์จะอยู่ภายในที่สาคัญของท่านอย่างหนึ่ง
และท่านมีบริวารข้าทาสหญิงชายมาก คงสืบตระกูลช่วยกันรักษาต้นโพธิ์
ต่อๆ กันไปได้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปลูกเสร็จก็ได้มีการฉลองต้นโพธิ์
และพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ๑ ราตรี
ตั้งแต่นั้นมา ชาวเมืองก็พากันกราบไว้ต้นโพธิ์เสมือนเครื่องระลึกแทนพระพุทธเจ้า
ที่เรียกชื่อว่า อานันทโพธิ์ นั้นเป็นเพราะว่าพระอานนท์เป็นผู้จัดการดูแล
เรื่องการปลูกและรดน้ำจนต้นโพธิ์เจริญเติบโตนั่นเอง

อานันทโพธิ์ต้นนี้ยังคงยืนต้นอยู่ ณ ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร
นครสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้


อานันทโพธิ์ คือต้นโพธิ์ที่มาจาก ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
ชาวพุทธทั่วโลกจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาถูกทำลายมาแล้ว ๓ ครั้ง แต่ที่วัดเชตวันมหาวิหารนี้ยังคงอยู่
เราจึงเชื่อว่า ต้นอานันทโพธิ์มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา


• “ต้นพระศรีมหาโพธิ์”
ที่สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันนี้ มี ๓ ต้น

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39333

รูปภาพ

ซาก “ยมกปาฏิหาริย์สถูป” บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ปราบทิฏฐิพวกเดียรถีย์
ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนา ณ โคนต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์
สถูปแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากวัดเชตวันมหาวิหารประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร


• ยมกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=41346

รูปภาพ

บริเวณบ้านของปุโรหิตผู้เป็นบิดาของ “พระองคุลีมาลเถระ”
ตรงข้ามกันมองออกไปไม่ไกลนักจะเห็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ
ด้านหน้าบริเวณนั้นคือ บ้านท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี อุบาสกผู้คอยอุปัฏฐากพระพุทธศาสนา
ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นอุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน


รูปภาพ

“พระพุทธมหามงคลชัย มหาเมตตาธรรม ประทานพร เพื่อสันติภาพโลก”
พระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย
ประดิษฐาน ณ สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก”
เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


• พลิกฟื้นประวัติศาสตร์...ที่สาวัตถี : ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39323

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘