พระพุทธเจ้าทรงแนะวิธีสร้างพระสถูป









บทความดี ทีสถายีฯ นำมาฝาก อยากให้อ่าน

⦿ บันทึกหลักฐาน..."พระพุทธเจ้าทรงแนะวิธีสร้างพระสถูปทรงโอคว่ำ (ครึ่งวงกลม)"...ตามรูปทรงบาตร สังฆาฏิ สบง และจีวร...จากจดหมายเหตุการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง
ข้อคำถามที่มักสงสัยกันว่า...

รูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์มีที่มาอย่างไร?...การสร้างเจดีย์ลักษณะดังกล่าว ถูกต้องเป็นไปตามพุทธประเพณีหรือไม่?... เกษมสุข ภมรสถิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเจดีย์วิทยาได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้ว เกี่ยวกับพัฒนาการของรูปทรงเจดีย์ ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ “เล่าเรื่องเจดีย์” แต่หลักฐานต่อไปนี้ คือข้อความจากต้นฉบับดั้งเดิมในภาคภาษาจีนพร้อมคำแปล ซึ่งได้บันทึกการจาริกของสมณะเสวียนจ้างหรือพระถังซัมจั๋ง เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกจากอินเดียสู่จีน ที่ผู้เขียนคิดว่าจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้นและอธิบายให้กระจ่างยิ่งขึ้น


———大城西北五十餘里至提謂城。城北四十餘里有波利城。城中各有一窣堵波。高餘 三丈。昔者如來初證佛果。起菩提樹方詣鹿園。

ถัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครราว 50 ลี้เศษ ก็ล่วงมาถึงเมืองชื่อ “ถีเว้ย” เลยไปทางตอนเหนือของเมืองนั้น อีกราว 40 ลี้ มีเมืองชื่อ “โปหลี” แต่ละเมืองมีพระสถูปสูง 3 จ้าง (=30 ฟุต) ในอดีตเมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่งจะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ ทรงลุกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วเสด็จสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน


To the north-west of the capital about 50 li or so we arrive at the town of Ti-wei; 40 li to the north of this town of Po-li. In each of these towns there is a stūpa about three chang (30 feet) in height. In old days when Buddha first attained enlightenment after advancing to the tree of knowledge, he went to the garden of deer;


———時二長者遇被威光。隨其行路之資遂 獻麨蜜。世尊為說人天之福。最初得聞五戒十善也。

ในเวลานั้น คฤหัสถ์สองท่าน (ตปุสสะกับภัลลิกะ) ได้แลเห็นพระรัศมีแผ่พุทธานุภาพของพระองค์ จึงได้น้อมถวายสัตตุก้อนสัตตุผงเจือน้ำผึ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาถึงความสุขของมนุษย์และเทวาเพื่อประโยชน์ แก่เขาทั้งสอง กระทั่งได้ถึงความเป็นปฐมสาวก (ฝ่ายอุบาสก) ผู้ถือเบญจศีลและทสกุศลกรรมบถ


At this time two householders meeting him, and beholding the brilliant appearance of his person, offered him from their store of provisions for their journey some cakes and honey. The Lord of the world, for their sakes preached concerning the happiness of men and Devās, and delivered to them, his very first disciples, the five rules of moral conduct and the ten good qualities.


———既聞法誨請所供養。如來遂授其 發爪焉。二長者將還本國請禮敬之儀式。

ครั้นได้สดับฟังพระธรรมแล้ว พวกเขาจึงขอให้ทรงมอบวัตถุไว้สักการะบูชา พระตถาคตจึงประทานพระเกศ (ผม) และพระนขา (เล็บ) ที่ตัดแล้ว ให้แก่เขาทั้งสอง อุบาสกนั้นเมื่อจะเดินทางกลับยังเมืองของตน จึงทูลถามวิธีสักการะบูชาวัตถุธาตุเหล่านี้


When they had heard the sermon, they humbly asked for some object to worship. On this Tathāgata delivered to them some of his hair and nail-cuttings. Taking these, the merchants were about to return to their own country, when they asked of Buddha the right way of venerating these relics.


———如來以僧伽胝(舊曰僧祇梨訛也)方疊布下。次欝多羅僧。次僧卻崎(舊曰僧祇支訛也)又覆鉢。竪錫杖。如是次第為窣堵波。

พระตถาคตเจ้าจึงนำผ้าสังฆาฏิพับวางเป็นทรงสี่เหลี่ยมไว้ด้านล่าง แล้ววางซ้อนด้วยผ้าอุตตราสงค์ ทับซ้อนด้วยจีวร ตามด้วยบาตร แล้วจึงตั้งธงคทาขึ้นด้านบน การตั้งขึ้นตามลำดับเช่นนี้จึงกลายเป็น [รูปทรง]พระสถูป


Tathagata forthwith spreading out his saṃghāti on the around as a square napkin, next laid down his Uttarāsaṅga and then his saṁkakṣikā; again over these he placed as a cover his begging-pot, on which he erected his mendicant's staff. Thus he placed them in order, making thereby (the figure of) a stūpa.


———二人承命 各還其城。擬儀聖旨式修崇建。斯則釋迦法中。最初窣堵波也。

อุบาสกทั้งสองน้อมรับพระดำรัสนั้นแล้ว ต่างก็เดินทางกลับเมืองของตน แล้วจึงสร้างสถานที่เคารพขึ้นตามรูปแบบที่ทรงตรัสแนะนำ พระสถูปองค์แรกสุดในบวรพุทธศาสนาของพระศากยมุนีจึงได้บังเกิดขึ้น


The two men taking the order, each went to his own town, and then, according to the model which the holy one had prescribed, they prepared to build a monument, and thus was the very first stupa of the Buddhist religion erected.


ที่มา:大唐西域記 "บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตกแห่งมหาราชวงศ์ถัง” พระไตรปิฎกจีนฉบับไทโช (T2087)
แปลภาษาอังกฤษ:Si-Yu-Ki: Buddhist Records of the Western World โดย Samuel Beal)

แปลภาษาไทยและเรียบเรียง:ทิพย์ปัญญา 释聖達 @Wat_Benelux

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘