ภาคที่ ๕ เทคนิคการปั้นหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

โดยที่การสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล เป็นงานปั้นหล่อพระพุทธรูปปางลีลาสำริดชิ้นใหญ่ที่สุดที่เคยทำกันมาในประเทศไทย จึงสมควรบันทึกรายละเอียด เทคนิคการปั้นหล่อไว้ในจดหมายเหตุ ตามลำดับขั้นตอนที่ปฏับัติ ดังนิ้

การขยายรูปต้นแบบเพื่อเตรียมการปั้น

พระพุทธรูปต้นร่า ซึ่งออกแบบและปั้นโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี อันกำหนด ใช้เป็นต้นแบบสำหรับขยายสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลนั้น มีความสูงวัดจากฝ่าพระบาทถึงปลายยอดพระเกตุมาลา ได้ ๒.๑๔ เมตร ต้องการจัดสร้างให้มีความสูง ๒,๔๐๐ กระเบียดหรือ ๑๕.๘๗๕ เมตร

คิดเป็นอัตราขยายทางความสูงของรูปขยายสำริด ๗.๔๑๙ เท่าของรูปต้นแบบ
คิดเป็นอัตราขยายทางความสูงของรูปปั้นขยายปูนปลาสเตอร์ ๗.๕ เท่าของ รูปต้นแบบ

  ความสูงองค์ต้นแบบ ความสูงองค์ที่จัดสร้าง
ความสูงองค์พระ ๒.๑๔ เมตร ๑๕.๘๗๕ เมตร
ความสูงฐานบัวรองพระบาท  ๐.๒๐ เมตร ๑.๔๙๓ เมตร
รวมความสูงทั้งหมด   ๒.๑๔ เมตร     ๑๗.๓๔๙ เมตร

                                    
  พื้นที่ผิวองค์ต้นแบบ พื้นที่ผิวองค์ที่จัดสร้าง
พื้นที่ผิวองค์พระ     ๒.๘๘ ตารางเมตร ๑๕๘.๔๘๖ ตารางเมตร
พื้นที่ผิวฐานบัวรองพระบาท    ๐.๕๔ ตารางเมตร   ๒๙.๗๑๖ ตารางเมตร
รวมพื้นที่ทั้งสิ้น ๓.๔๒ ตารางเมตร    ๑๘๘.๒๐๒ ดารางเมตร 
                           
คิดเป็นอัตราขยายพื้นที่ผิวของรูปขยายสำริด ๕๕.o๓ เท่าของรูปต้นแบบ

 แต่เดิมมาเมื่อต้องการจะขยายงานประติมากรรม ช่างมักจะใช้วิธีเข้าสเกลด้วยการทำกล่องสเกลรูปสี่เหลี่ยมล้อมรอบรูปต้นแบบกล่องหนึ่ง และอีกกล่องหนึ่งสำหรับใช้ล้อมรอบรูปปั้นขยายที่ต้องการจะสร้าง หากต้องการขยายรูปต้นแบบให้ใหญ่ขึ้นเท่าใด ก็ทำกล่องสเกลล้อมรอบรูปที่ต้องการจะปั้นขยายให้ใหญ่กว่ากล่องสเกลที่ลอมรอบรูปต้นแบบเท่านั้นเท่า กล่องสเกลที่ทำขึ้นก็เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิงสำหรับสอบหาพิกัดตำแหน่งจุดต่างๆ ที่อยู่ภายในกล่อง จุดประสงค์ก็เพื่อหาสัดส่วนที่สำคัญอันเป็นโครงสร้างหลักของรูปแต่โดยประมาณ ไม่ตองการหาอย่างละเอียด เนึ่องจากในช่วงที่กำลังทำการปั้นนขยายอยู่นั้น ประติมากรยังคงมีโอกาสที่จะหาหรือพบบริมาตรที่ยังไม่สมบูรณ์และอาจแก!ขเพิ่มเดิมให้ครบครันได้อีก ควบคู่ไปกับการใช้สายตาหยั่งคะเนความลึก กะวัดเปรียบเทียบและคุมขนาดลัด ส่วนให้เป็นไปตามความด้องการ       การทำงานปั้นขยายด้วยวธีนี้เหมาะสำหรับประติมากรผู้ทำหรือคุมขยายงานของตน เองในลักษณะที่ทำไปหาไปจนถึงแล้วเสร็จ คือต้องด้วยตาเห็นจึงจะรับเอาไว้ได้ วิธีขยายด้วยอัตราส่วนน้อยๆ แต่ทำการขยายหลายครั้งจนถึงขนาดใช้งานขยายใหญ่ครั้งสุดทายนี้ เป็นวิธีการหนึ่งที่ประติมากรทั้งหลายใช้กันอยู่เป็นการสากล
เงื่อนไขในการใช้พิกัดกับงานปั้นขยายมีได้เป็นสองประการคือ ประการแรกประติมากรใช้พิกัดเพื่อชี้ตำแหน่งจุดที่สำคัญๆ ที่อยู่บนผิวของปริมาตรแต่เพียงบางที่ เช่นใช้บอกตำแหน่งความสูงของศีรษะ ความกว้างของช่วงไหล่ ความยาวของฝ่าเท้า เป็นต้น ล่วนที่เหลือนอกจากนั้นใช้ความแม่นยำและความเคยชินของสายตาเป็นเกณฑ์ การใช้จุดพิกัดในลักษณะนี้ ไม่เฉพาะแต่สำหรับใช้ปั้นนขยายเท่านั้นหากยังใช้ใด้สำหรับการติดตั้งอีกด้วย ประการที่สองเป็นการปั้น นด้วยเส้นรูปตัดขยาย หรือจะเรียกว่าปั้นนด้วยจุดพิกัดก็ได้ จุดประสงค์ที่สำคัญก็คือตองการขยายให้เหมือนต้นแบบมากที่สุดหมายถึงว่ารูปต้นแบบลงตัวแล้ว และจะไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีก
พระพุทธรูปต้นแบบซึ่งถอดพิมพ์เป็นปูนปลาสเตอร์ ใช้เป็นต้นแบบ
สำหรับงานปั้นขยาย
 

      ความคิดในการปั้นขยายด้วยเส้นรูปตัดขยายเกิดจากการพิจารณาความที่ว่า เส้นก็คือทางเดินของจุด ในทางปฏิบัติ หากนำเอาจุดหลายๆจุดมาวางเรียงต่อกันออกไป เรื่อยๆก็จะเกิดเป็นเส้น ดังนั้นการปั้นด้วยเล้นรูปตัดขยายก็คือการนำจุดที่เรียงชิดติดกันอยู่ แล้วโดยธรรมชาตินั่นเองมาขยายให้ใหญ่ขึ้น แล้วจึงนำเอาไปใช้กำหนดตำแหน่งปริมาตร ของรูปปั้นขยาย ซึ่งหากใช้กล่องสเกลหาพิกัดแต่ละจุดแล้วนำมาเรียงดูดกันให้ปรากฏเป็น เล้นรูปตัดของผิวหุ่น ช่างจะตองใช้จุดพิกัดเป็นจำนวนมาก โดยทางปฏิบ้ตแล้วการจะหา พิกัดของจุดและนำระยะตัวเลขพิกัดของจุดจำนวนมากมายเช่นนั้นมาลงตำแหน่งขยาย เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสินเปลืองทื้งกำลังงานและเวลา ที่สำคัญก็คือจะเกิดการคลาดเคลื่อนขึ้น ได้ขณะอ่านและวางระยะพิกัด

      วิธีหาเส้นรูปตัดผิวหุ่นต้นแบบ ปกติจะกระทำกัน ๓ วิธี คือ หาโดยใช้เครื่องหารูปตัดหุ่น หาโดยใช้ปูนปลาสเตอร์ถอดพิมพ์ และหาโดยเลื่อยหุ่นต้นแบบออกเป็นวง รูปตัด

      สำหรับการปั้นขยายพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ใช้วิธีปั้นด้วยเส้นรูปตัดขยาย วิธิหาเส้นรูปตัดผิวหุ่นใช้หาด้วยเครื่องหารูปตัดหุ่น ซึ่งนายชวลิต หัศพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญกองงานเฉพาะกิจพุทธมณฑล ได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างใช้กับงานปั้นขยายพระพุทธ¬รูปพระประธานพุทธมณฑลโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่, นอกจากนี้หาโดยใช้ปูนปลาสเตอร์ถอดพิมพ์

การหาเส้นรูปตัดผิวหุ่นโดยใช้ปูนปลาสเตอร์ถอดพิมพ์

      การทำงานของเครื่องหารูปตัดหุ่นมีหลักการเดียวกันกับเครื่องแพนโตกราฟ ซึ่งใช้สาหรับลอกรูป หรือบางครั้งก็ออกแบบมาให้ใช้รวมทั้งย่อและขยายในเครื่องเดียวกันได้ด้วย ซึ่งมีใช้กันอยู่ในงานย่อและขยายรูป งานทำแม่พิมพ์เหล็กสำหรับใช้เป็นแบบหล่อด้านอุตสาหกรรมยาง พลาสตด เครื่องแก้ว เหรียญต่างๆ ตุ๊กตาและของเล่นเด็กเป็น ต้น

      เครื่องหารูปตัดหุ่นประกอบด้วยส่วนที่เป็นแขนพับ ซึ่งยืดและหดได้เมื่อบังคับให้ปลายแขนขางหนึ่งเคลื่อนที่แตะไต่ไปตามผิวของรูปหุ่นต้นแบบ เรียกปลายนี้ว่าปลายนำ หรือปลายอ่าน การทำงานของปลายนี้ก็คือหยั่งความหันเหหรือการเปลี่ยนทิศทางของผิวหุ่นรูปต้นแบบ และเขียนออกมาทางปลายอีกข้างหนึ่ง ปลายนำอ่านอย่างไรปลายตามก็จะเขียนออกมาอย่างนั้น สามารถใช้หารูปตัดของหุ่นต้นแบบได้รวดเร็วและสะดวกกว่าการใช้ เลื่อยเลื่อยหุ่นต้นแบบออกเป็นวงๆ หรือใช้ปูนปลาสเตอร์ถอดพิมพ์


การหาเส้นรูปตัดผิวหุ่นโดยใช้เครื่องหารูปตัดหุ่น

      วิธีการตัดหุ่นต้นแบบด้วยระนาบที่สมมติ กระทำได้ ๓ วิธีคือ ทางแนวนอน ทางแนวดิ่งและทางแนวเอียง

      อย่างไรก็ตามหากบริเวณใดมีรายละเอียดที่ซับซ้อนก็ให้หารูปตัดซอยแบ่งให้แคบลงไปอีก ทั้งนี้ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นระนาบทางแนวนอนหรือระนาบทางแนวดิ่ง หรือแนวเอียง

      พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลนี้เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ปริมาตรขององค์พระส่วนใหญ่จะวางตำแหน่งอยู่ในแนวดิ่ง จึงได้สมมติให้ใช้ระนาบทางแนวนอนตัดตามขวางผ่านองค์พระทุกๆ ช่วงความสูง ๔ เซนติเมตรลำหรับรูปต้นแบบ และทุกช่วงความสูง ๓๐ เซนติเมตรสำหรับรูปปั้นขยายปูนปลาสเตอร์ นับจำนวนรูปตัดบนระนาบแนวนอน เหล่านี้ได้ ๕๓ วงรูปตัด รูปตัดที่หาออกมาจะมขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ซึ่งถ้าใช้ระนาบทางแนวดิ่งตัดผ่านตามความสูงขององค์พระ รูปตัดที่ได้ออกมาจะยาวเกินไป ใช้ทำงานไม่ สะดวก แต่ก็เหมาะสำหรับใช้กับรูปปริมาตรทรงยาวที่วางอยู่ตามแนวนอน

      สำหรับวิธีการขยายรูปตัดหุ่น อาจทำได้โดยใช้แขนขยายแพนโตกราฟ โดยใช้รูปขยายจากเครื่องฉายภาพนิ่ง หรือโดยเขียนเส้นตารางสี่เหลี่ยมลงบนวงรูปตัด

      ในการปั้นขยายพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ได้ใช้วิธีหารูปขยายของรูปตัดหุ่นต้นแบบด้วยแขนขยายรูปตัดแพนโตกราฟ ซึ่งได้ออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานนี้เช่นเดียวกัน โดยใช้สำหรับขยายวงรูปตัดรูปต้นแบบที่ฉลุด้วยแผ่นพลาสติคลงบน แผ่นไม้อัดให้มีอัตราขยายเป็น ๗.๕ เท่าของรูปต้นแบบ นำไม้อัดที่เขียนเส้นขยายรูปตัดแล้ว ไปฉลุเอากรอบนอกออก ไส้ในของแผ่นที่ฉลุแล้วนี้คือวงรูปตัดขยาย ซึ่งจะต้องนำไปประกอบเข้ากับโครงสร้าง สำหรับใช้เป็นตัวกำหนดผิวของรูปปูนปลาสเตอร์ที่จะทำการปั้น ขยายต่อไป

แบบแสดงเครื่องขยายรูปตัดหุ่นขนาด 7.5 เท่า
ของรูปต้นแบบ
แบบแสดงตำแหน่งรูปตัดองค์พระพุทธรูปทุกระดับช่วงความสูง 30 เซนติเมตร และการแบ่งชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำหรับงานปั้นขยาย

แบบแสดงตำแหน่งความสูง ณ ระดับช่วงความสูงต่างๆ
ของรูปปั้นขยายปูนปลาสเตอร์ รูปจัดสร้างสำริด รูปต้นแบบ
และความยาวบนพื้นระดับตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
ทิศเหนือ-ใต้ จากเส้นดิ่งศูนย์กวางวงกลมฐานบัวถึงผิวสำริด
แบบแสดงตำแหน่งของวงสำริด
และระยะห่างจากแนวดิ่ง



แบบแสดงจำนวนชิ้นโลหะ น้ำหนัก และพื้นที่ผิวขององค์พระพุทธรูป


เครื่องหารูปตัดหุ่นขณะบันทึกเส้นรูปตัดลงบนกระดาศไข ขยายเส้นรูปตัดที่ได้ลงบนแผ่นไม้อัด
วงรูปตัดขยายที่ฉลุแล้ว ประกอบเป็นโครงสำหรับปั้น
การปั้นต้นแบบและการทำพิมพ์

      ในงานนี้ได้แบ่งการปั้นแบบออกเป็นสองลักษณะคือ ส่วนพระเศียรปั้นด้วยดินเหนียว ส่วนองค์พระคือส่วนที่เป็นพื้นผิวจีวรเป็นส่วนใหญ่ นับตั้งแต่พระอุระลงมถึงพระบาท ปั้นด้วยปูนปลาสเตอร์

      ส่วนพระเศียร เฉพาะในส่วนนี้ปั้นด้วยดินเหนียว เนื่องจากเป็นส่วนที่มีรายละเอียดมาก การปั้นด้วยดินเหนียวจะสามารถลด เพิ่ม หรือแก้ใขส่วนต่างๆ ได้ง่ายกว่าปูนปลาสเตอร์ การปั้นเริ่มด้วยการขึ้นโครงเป็นแกนเหล็กเพื่อรับนํ้าหนัก บุภายในด้วยไม้เป็นชั้นๆ ลักษณะคล้ายรูปกล่องเพื่อรองรับ Contour วาง Contour ลงเป็นช่วงๆ ห่างกันช่วงละ ๓๐ เซนติเมตร ผูก Cross (ไม้กากบาท) ภายในเพื่อช่วยยึดดิน ใส่กระถางดินเผาเสริมลงไป เพื่อช่วยให้รูปดินมีนํ้าหนักเบาและไม่เปลืองดิน จากนั้นจึงอัดดินเหนียวที่ได้ทำการนวดแล้ว อย่างดีลงให้เต็มรอบ Contour ปั้นและตกแต่งรูปดินให้มีลักษณะเหมือนรูปต้นแบบจนเสร็จ เรียบรัอยเพื่อใช้ทำพิมพ์ต่อไป

โครงสร้างภายในของพระเศียร

ขึ้นดิน แต่งรูปดิน
ฉีดน้ำรักษารูปดินและคลุมด้วยพลาสติคเมื่อเสร็จงานปั้นในแต่ละวัน
แต่งรูปดินจนมีลักษณะเหมือนรูปต้นแบบ

      การทำพิมพ์ พิจารณากำหนดเส้นแบ่งแนวกึ่งกลางพระเศียรโดยตลอดเพื่อกั้นทำพิมพ์ ๒ ซีกพร้อมกับกำหนดส่วนที่จะเปิดเพื่อควักดินออกภายหลังด้วย โดยทั่วไปจะใช้ด้านทายทอยเป็นส่วนเปิด เนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่มีรายละเอียดและซอกมุมมากเช่นด้าน พระพักตร์ เสียบลังกะสีอย่างบางที่ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ลงตามแนวที่กำหนด แล้วเริ่มทำผิวปูนชั้นแรก โดยละลายสีฝุนเหลืองในนํ้า ดูไให้เข้มจนเกินไป ตักน้ำสีใส่ภาชนะเคลือบ กะปริมาณตามขนาดของงานที่จะทำ แล้วโรยปูนปลาสเตอร์ลงผสม ใช้มือตีคนให้ปูนกับนํ้าสีละลายให้เข้ากันมากที่สุดเพื่อไล่ฟองอากาศออกให้หมด สลัดปูนสีใส่ผิวของรูปดินให้ เคลือบผิวหนาพอประมาณ พอเป็นที่สังเกต สำหรับการยั้งมือเพื่อจะต่อยพิมพ์ออกภายหลัง จากนั้นผสมปูนทับอีกชั้นหนึ่งให้หนาเท่าระดับแนวสังกะสีที่กั้นแบ่งไว้ ตัดเหล็กขนาด ๔-๕ หุน หรือแป๊ปขนาด ๑-๑.๕๐ นิ้ว ให้โค้งตามรูป เสริมยึดปูนให้แข็งแรง จุดที่เหล็กพาดทับกันยึดด้วยใยกากมะพร้าวชุบปูนอีกชั้นหนึ่ง (หากเป็นชิ้นใหญ่ให้ไฟฟ้าเชื่อมเป็นจุดๆ) พร้อมกับใช้แป๊ปทำคํ้ายันกันพิมพ์ล้มเมื่อจะเปิดพิมพ์ภายหลังด้วย เมื่อปูนแข็งตัวแล้ว เปิดพิมพ์ โดยใช้เครื่องมือควักดินออกจนหมด ตัด Cross และเหล็กที่เสริมภายในออก เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการควักดิน

      นำพิมพ์ที่เปิดแล้วมาวางนอน หนุนด้วยอิฐหรือไม้เพื่อกันพิมพ์ล้มหรือแบะออก ทิ้งให้ปูนหมาดประมาณสองวัน แล้วเริ่มทำปูนผิวโดยทานํ้าสบู่ให้พิมพ์อิ่มตัว ใช้เแปรงซับให้แห้ง แล้วทาด้วยสบู่นํ้ามัน (คือสบู่ที่เคี่ยวกับนํ้ามันมะพร้าว) บางๆ ลงในพิมพ์เพื่อเป็นตัวหล่อลื่นกันไม่ให้พิมพ์ติดกันซับให้หมาดแล้วลงปูนผิว การใส่ปูนใส่ให้ทั่วรูปให้มีความหนา เท่าๆ กัน เมื่อครั้งแรกหมาดแล้วใส่ครั้งที่สองทับลงไปอีก โดยตัดกระสอบโปร่งชิ้นสี่เหลี่ยม เล็กๆ กรุทับหลังปูนผิวลงไปด้วยเพื่อช่วยยึดปูน ตัดเหล็กตามรูปภายในใส่ตลอดรูป ไล้ปูนทับพร้อมกับวางใยมะพร้าวช่วยยึดอีกชั้นหนึ่ง เหล็กจะช่วยยึดให้รูปแข็งแรงไม่ทรุดเมื่อเวลาต่อยพิมพ์ออก จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งแล้วยกรูปขึ้นตั้งบนแผ่นไม้เรียบเพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย แล้วจึงเลาะพิมพ์ออก โดยตัดเหล็กที่ยึดแนวรอบนอกออกทั้งหมดให้เหลือแต่ วพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ ใช้ค้อนไม้และสิ่วต่อยพิมพ์ โดยเคาะเปิดในส่วนเล็กๆ ด้านบนสุด ก่อน เพื่อให้เกิดการ crack ตัว ร่อนออกได้ง่าย เมื่อถึงปูนผิวสีเหลืองพิมพ์จะร่อนออกทั้งเปลือก เหลือแต่รูปแบบปูนปลาสเตอร์ภายในเท่ากับรูปจริงที่ปั้นไว้ การทำพิมพ์ในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าพิมพ์ต่อย หรือพิมพ์ทุบ ประติมากรจะตกแต่งอีกครั้งด้วยการเน้น รายละเอียดที่ตองการให้ชัดเจนจนแล้วเสร็จ จากนั้นจึงนำไปทำพิมพ์ชิ้น เพื่อดำเนินการบุขี้ผึ้งต่อไป

เสียบสังกะสีกั้นแบ่งแนวเพื่อทำพิมพ์ สลัดปูนสีใส่ผิวของรูปดิน
หลังลงปูนสีทั่วพระเศียร    
ลงปูนทับและทำค้ำยันกันพิมพ์ล้ม เสริมเหล็กยึดปูนภายนอก
เปิดพิมพ์หลังพระเศียรเพื่อควักดินออก ตัด cross และเหล็กเสริมภายในออก
นำส่วนที่เปิดแล้ววางนอนและลงปูนผิว ยกพิมพ์ขึ้นตั้ง ตัดเหล็กที่ยึดเสริมภายนอก
ต่อยพิมพ์ภายนอกออกให้เหลือแต่รูปปูนภายใน ต่อยพิมพ์ส่วนพระเมาลี
รูปปูนปลาสเตอร์ภายใน รูปปูนปลาสเตอร์ภายในหลังการตกแต่งแล้ว


การทำพิมพ์ชิ้น

      การทำพิมพ์ชิ้นขึ้นอยู่กับส่วนที่มีรายละเอียดในพื้นผิวของงาน เช่นมีซอกเล็กซอกน้อย หรือแง่มุมมาก ได้แก่ส่วนพระพักตร์และส่วนพื้นผิวจีวรบางส่วน หากทำพิมพ์ชิ้นเดียว จะถอดพิมพ์ไม่สะดวกหรือถอดไม่ออก จำเป็นต้องแบ่งพิมพ์ใหญ่ออกเป็นส่วนย่อยๆหลายชิ้นเพื่อที่จะะคงรายละเอียดของรูปต้นแบบไว้ไห้ได้มากที่สุด นอกจากนี้พิมพ์ชิ้นยังมีประโยชน์ใช้สำหรับหล่อได้หลายครั้ง ผิดกับพิมพ์ต่อยหรือพิมพ์ทุบที่ใช้หล่อได้เพิยงครั้งเดียว

      วิธีทำ นำรูปต้นแบบมาวางนอน หากเป็นส่วนพระพักตร์ให้วางหงายขึ้น ขีดเส้นแบ่งครึ่งส่วนขอบของรูปโดยตลอด ก่อพื้นสูงขึ้นมากั้นเป็นขอบตามเส้นที่ขีดแบ่งไว้ พอกปูนตามเส้นขอบโดยรอบแล้วปาดให้เรียบเพื่อใช้เป็นฐานรองรับชิ้นพิมพ์และครอบพิมพ์ที่จะทำขึ้นภายหลัง กำหนดขนาดชิ้นพิมพ์ที่จะทำให้มีขนาดและนํ้าหนักพอเหมาะที่จะทำได้โดยถนัดมือ ทาสบู่นํ้ามันแล้วใส่ปูนลงเฉพาะส่วนทึ่จะทำพิมพ์ชิ้น ใส่ห่วงเหล็กสำหรับช่วยดึงชิ้นพิมพ์ลงไปด้วย เมื่อปูนแข็งตัว ดึงพิมพ์ชิ้นมาปาดปูนเฉือนผิวบนและรอยต่อ ระหว่างพิมพ์ให้เรียบ แล้ววางพิมพ์เข้าที่เดิม ทำแบบนี้เรื่อยไปทีละชิ้นจนครบส่วนที่แบ่งไว้ จึงเริ่มทำครอบพิมพ์ชิ้น โดยทาสบู่นํ้ามันบนพิมพ์ชิ้นแล้วจึงผสมปูนเททับพิมพ์ชิ้นทั้งหมด ตัดเหล็กให้เข้ารูปกับครอบพิมพ์ ยึดด้วยใยมะพราวชุบปูนเช่นเดิมเพื่อช่วยให้ครอบแข็งแรง เมื่อแห้งแล้วพลิกกลับอีกด้านหนึ่งเพื่อทำพิมพ์เช่นวิธีเดิม แห้งแล้วแกะครอบออกจะได้พิมพ์ชิ้นที่มีลักษณะตามต้องการ แล้ววางครอบพิมพ์หงายขึ้น ลำเลียงชิ้นพิมพ์บรรจุลงในครอบเพื่อตรวจสอบว่าพิมพ์แต่ละชิ้นเมื่อวางต่อกันแล้ว จะลงล็อคประสานกันสนิท หรือไม่ จากนั้นผึ่งให้หมาด แช่นํ้าสบู่ให้ผิวพิมพ์สะอาด เช็ดนํ้าสบู่ออกแล้วทาสบู่นํ้ามันเพื่อ รอบุขี้ผึ้งต่อไป

      การเข้าขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งที่จะนำมาเข้าหรือบุผิวรูปปั้น เป็นขี้ผึ้งผสมสีฝุ่นดินแดง นำมาตั้งไฟเคี่ยวให้ละลายตัว หลังจากทาสบู่นํ้ามันลงในพิมพ์แล้วใช้แปรงจุ่มขี้ผึ้งทาลงในแม่พิมพ์ ทั้งลองซีก ทาครั้งแรกให้ทั่วเสมอและหนาพอประมาณ ครั้งที่สองใช้ขี้ผึ้งชันที่เคี่ยวละลายแล้วทับลง แลวทับด้วยเทือกอีกครั้งให้ทั่วทั้งรูป (เทือกคือนำมันยางผสมกับผงชัน มี ลักษณะเหนียวนิ่มคล้ายกาว) จากนั้นจึงนำขี้ผึ้งชนิดที่ตีเป็นแผ่นอังไฟให้นิ่มตัว บุลงในพิมพ์ ใช้มือกดให้แนบตามความโค้งของพิมพ์ การใช้มือจะช่วยไล่ลมและสัมผัสความลึกของพิมพ์ใด้ดีกว่าเครื่องมือ ระหว่างรอยต่อตะเข็บใช้เกรียงหรือหัวแร้งเผาไฟจี้ให้ขี้ผึ้งเยิ้มติดประสานเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อบุขี้ผึ้งแล้วทั้งสองซีกก ประกบพิมพ์ให้แนบเข้ากันสนิท มัดให้แน่นด้วยลวด แล้วยกขึ้นตั้งบนแผ่นวัสดุเรียบ เพื่อเตรียมกรอกดินในขั้นต่อใป

      การเข้าดิน หลังจากบุขี้ผึ้งแล้วจะกรอกดินในลงเพื่อใช้เป็นแกนให้รูปขี้ผึ้งทรงตัวอยู่ ดินในที่ใช้เป็นส่วนผสมของปูนปลาสเตอร์ยิบซับกับอิฐทนไฟ ในอัตราส่วน ๓ ต่อ ๑ ผสมให้เข้ากันโดยใช้เครื่อง แล้วละลายกับนํ้าให้มีความเหนียวข้น กรอกเป็นแกนใน ทิ้งไว้ข้ามวันเพื่อให้แห้ง เมื่อปูนแข็งตัวดีแล้วจึงถอดพิมพ์ปั้นออกจะได้รูปหุ่นขี้ผึ้ง ประติมากรจะตกแต่งรูปขี้ผึ้งในส่วนที่ชำรุดเช่นผิวที่เป็นตามดหรือส่วนที่เกิดฟองอากาศภายในให้สวยงามเรียบร้อยเช่นรูปต้นแบบ โดยเน้นความคมชัดเป็นสำคัญ จากนั้นจึงดำเนินการ ตอกตะปูทอย

      จุดประสงค์ของการตอกทอยก็เพื่อให้เหล็กตะปูยึดดินในกับดินนอกที่จะนำมาหุ้ม ในชั้นต่อไปไม่ให้เคลื่อนที่ และยังเป็นเครื่องช่วยให้ความหนาของทอง (โลหะ) ที่จะเทลงอยู่คงที่ด้วย เมื่อตอกทอยทั่วหุ่นขี้ผึ้งแล้วจึงลงมือทามูลโค ส่วนผสมของมูลโค นำมูลโค ธรรมดามาคั้นกับนํ้าให้เป็นเมือกแล้วผสมกับดินนวลเล็กน้อย(ดินนวลคือดินที่มีเนื้อซุย ละเอียดที่ได้จากแม่น้ำ) เมื่อผสมได้ที่แล้วทาขยี้ให้ทั่วหุ่น ปล่อยทิ้งไว้จนแห้งแล้วทาทับสลับ กันประมาณ ๕-๗ ครั้ง ประโยชน์ของมูลโคคือช่วยรักษาความชัดเจนของรูปทรงและรายละเอียดของหุ่นไว้ให้คงรูป ทั่งยังช่วยให้หุ่นแข็งแรงทนความร้อนได้ดี จากนั้นควั่น ขี้ผึ้งชนวนเพื่อติดต่อชนวนบนผิวหุ่นสำหรับเป็นทางระบายขี้ผึ้งออก และเป็นทางที่เทนํ้าทองเข้า โดยติดเฉลี่ยให้ทั่วเนื้อที่ที่จะระบายทองรอบพระเศียร แล้วจึงเริ่มเข้าดินอ่อน หรือที่ เรียกว่า การเข้าดินไทย โดยมีอัตราส่วน ทรายแร่งร่อนละเอียด ๓ ส่วนต่อดินนวล ๑ ส่วน ขยำให้เข้ากัน ก่อนที่จะเข้าดินชั้นแรกใช้แปรงเล็กๆ ชุบนํ้ามูลโคทาตรงบริเวณที่จะเข้าดินให้เปียกทั่วกัน จากที่ทามูลโคแห้งไว้ แล้วจึงเข้าดินทับ ณ บริเวณที่เปียกชื้นเพื่อดินจะได้ประสานเนื้อกับมูลโคที่ทาทิ้งไว้ก่อนหน้านั้น การเข้าดินอ่อนนื้ถือเป็นการเข้าดินชั้นแรก จึงไม่โปะให้หนานัก เข้าดินให้เสมอกันแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จุดประสงค์ของการเข้าดินอ่อนก็เพื่อว่า เมื่อเวลาเททอง ดินอ่อนที่สุกเป็นกระเบี้องจะมีความแข็งยึดผิวมูลโคไว้รองรับนํ้าทองที่มีความร้อนสูงให้ทรงตัวอยู่ได้ เมื่อแห้งแล้วเข้าดินทับอีกครั้งในอัตราส่วน ทรายแร่งร่อนละเอียด ๔ ส่วนต่อดินนวล ๑ ส่วน เรียกว่าดินแก่ โดยนวดให้เข้ากัน เข้าทับไปเรื่อยๆ จนดินปริ่มถึงหัวตะปูทอยที่ตอกไว้และใกล้ถึงตอชนวน จากนั้นเดินสายชนวน ไปตามตอชนวน แล้วผสมดินแก่จับทับเข้าไปอีกจนหุ้มสายตอชนวนทั้งหมด หากดินแห้งใช้นํ้าประสานแตะให้ติดกัน จากนั้นเข้าเหล็กรัดรูป

      การเข้าเหล็กรัดรูป จะเข้าเป็นตาสี่เหลี่ยมโดยวางเหล็กพาดทับกันในแนวยืนและแนวนอน ส่วนที่เหล็กทับกันผูกด้วยลวดผูกเหล็กให้แน่นตลอดรูป แล้วจึงเข้าดินทับเหล็กอีก ครั้งหนึ่งโดยใช้ดินแก่ ส่วนผสมเดิม พอกทับให้มิดเหล็ก ทิ้งไว้ให้แห้ง รอเวลาขึ้นทนเททอง

กั้นของพระพักตร์เพื่อเตรียมทำพิมพ์ชิ้น การทำพิมพ์ชิ้นส่วนพระพักตร์
การทำครอบพิมพ์พระเศียร พลิกครอบพิมพ์เพื่อทำพิมพ์ชิ้นซีกตรงข้าม
ตรวจสอบพิมพ์แต่ละชิ้นว่าประสานกันติดหรือไม่ นวดขี้ผึ้งให้ได้ความหนาตามความต้องการ
บุขี้ผึ้งส่วนพระเมาลี บุขี้ผึ้งพระเกตุมาลา
เตรียมประกบดินพระเศียร เพื่อกรอกดินใน การกรอกดินในในส่วนพระเศียร
กรอกดินในในส่วนพระเกตุมาลา การถอดครอบพิมพ์พระเศียร
ถอดพิมพ์ชิ้นพระเศียรออกจะได้รูปขี้ผึ้งภายใน แต่งรูปขี้ผึ้งพระเศียร
แต่งรูปขี้ผึ้งพระหัตถ์ ทามูลโคทับ ดอกทอย และติดตอชนวน
การเข้าดินอ่อนและดินแก่ทับทั่วพระเศียร เข้าดินและเดินสายชนวนรูปพระเกตุมาลา
   เดินสายชนวนรูปพระเศียร   
ส่วนพระเศียรขณะเข้าเหล็กรัดรูป เข้าดินแก่ทับให้มิดเหล็กรัดรูป

การขึ้นทน ก่อเตาสุมหุ่น

      ทนคือ อิฐทนไฟหรืออิฐมอญที่ได้ขนาดนำมาก่อเรียงเป็นฐานเพื่อรองรับหุ่น (คอพิมพ์หรือชิ้นงาน) โดยก่อเรียงขึ้นไปประมาณ ๑๑-๑๒ ชั้นอิฐ ยาประสานระหว่างชั้น ด้วยดินเหนียวผสมทรายเพื่อช่วยยึดให้แข็งแรงเมื่อถูกความร้อนจากเตา กลับหุ่นเศียรพระ ขึ้นตั้งบนทน เจาะรูชนวนสำหรับเป็นทางให้ขึ้ผึ้งไหลออกแล้วเริ่มก่อเตาเพื่อสุมหุ่น

      การก่อเตาใช้อิฐมอญก่อขึ้นเป็นแนวเตาตามรูปทรงของหุ่น ให้สูงมิดหุ่นและให้มี ระยะห่างจากหุ่นพอสมควร การก่อเตานี้สำคัญมาก ต้องก่อให้มีความโค้งเว้าตามรูปทรงของหุ่น เปลวไฟจึงจะขึ้นดี ได้ความร้อนทั่ว เปิดประตูเตาไว้ ๒ ด้านหรือมากกว่านั้น เพื่อสุมฟืน ปิดส่วนบนของเตาด้วยแผ่นลังกะสีหรือแผ่นเหล็ก เพื่อบังคับไฟ ภาษาช่าง เรียกว่า ปิดกบาล ก่อนปิดกบาลจะต้องตรวจตราดูจุดที่จะเทนํ้าทองลงซึ่งเรียกว่าปากจอกให้เรียบร้อย ต่อท่อแป๊ปที่ปากจอกเพื่อใช้สำหรับดูควันไฟ จากนั้นจึงสุมไฟละลายขี้ผึ้ง ครั้งแรกให้ไฟรุมอ่อนแล้วค่อยโหมให้แรงขึ้น ฟืนที่ใช้สุมหุ่นนิยมใช้ไม้แสมหรือไม้ตะบูน เนื่องจากให้ความร้อนสูง การสำรอกขี้ผึ้งหรือละลายขี้ผึ้งออกจากหุ่นนี้ ผู้ควบคุมงานการสุมเผาหุ่นจะต้องมีความรู้พอในการดูเปลวไฟและดูว่าขี้ผึ้งไหลออกหมดหรือไม่ ขี้ผึ้งทั้งหมดที่ละลายจะไหลลงอ่างที่เตรียมรองไว้ซึ่งจะนำกลับไปใช้ประโยขน์ได้อีก นำขี้ผึ้งที่ละลายแล้วนี้ไปชั่งเพื่อตรวจสอบนํ้าหนักโลหะที่จะใช้หลอมได้โดยประมาณในอัตราส่วนขี้ผึ้ง ๑ กิโลกรัมต่อโลหะ ๑๐-๑๒ กิโลกรัม จะทราบได้ว่างานชิ้นนี้ใช้โลหะทั้งสิ้นกี่กิโลกรัม
เตาสุมหุ่น


เมื่อสำรอกขี้ผึ้งออกหมดแล้วโหมไฟให้หุ่นสุก หากยังมีเปลวไฟแลบออกทางปากจอกอีก แสดงว่าขี้ผึ้งยังเหลือติดหุ่นอยู่ จะต้องสุมไฟต่อไปจนกว่าไฟที่ปากปล่องจะดับ ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง เมื่อหมดควัน ราไฟลงและสางถ่านออก หากยังมีเขม่าอีกต้องสุม ต่อจนหมดเขม่าซึ่งจะสังเกตได้จากปากปล่องที่สะอาดไม่มีเขม่าจับเป็นคราบดำ จึงจะแสดง ว่าหุ่นสุกได้ที่ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ในเตาให้อุณหภูมิลดลง รอเวลาให้นํ้าโลหะมีอุณหภูมิร้อนได้ที่พร้อมจะเท จึงรื้อเตาสุมหุ่นออก

ช่างขณะก่อเตาสุมหุ่นพระเศียร

เตาสุมหุ่นพระเศียรที่ก่อเรียบร้อยแล้ว


เตาสุมหุ่นสำหรับชิ้นองค์พระ

สุมหุ่นพระเศียรทั้งกลางวันและกลางคืน


ขณะสุมหุ่นชิ้นองค์พระ


การหล่อหลอมโลหะ

      ขณะที่ข่างหล่อเตรียมสุมหุ่นอยู่นั้นช่างทานํ้าทองก็จะทำการก่อเตาหลอมไปพร้อมกัน สำหรับการหล่อพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลครั้งนี้ ใช้โลหะสำริด (Bronze) ทั้งองค์แทนทองเหลือง (Brass) นํ้าหนักของโลหะที่ใช้หลอมกำหนดได้จากนํ้าหนักของขี้ผึ้งที่ละลายออกดังได้กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ ถ้าใช้ขี้ผึ้งได้ 90 กิโลกรัม นํ้าหนักของโลหะจะประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ส่วนผสมของโลหะที่ใช้ในการหลอมครั้งนี้มีดังนี้คือ ทองแดง ๔๐ เปอร์เซนต์ ดีบุก 90 เปอร์เซนต์ สังกะสี ๗ เปอร์เซนต์ ตะกั่วนิ่ม ๓ เปอร์เซนต์ โลหะ แต่ละชนิดมีดวามบริสุทธิถึง ๙๙.๕ เปอร์เซนต์ขึ้นไป ตัดโลหะนํ้าหนักตามส่วนผสมบรรจุ ลงในเบ้า ใช้ถ่านไม้เนื้อแกร่งเป็นเชื้อเพลงหลอมละลายโลหะ สุมถ่านให้เต็ม ปิดข้างบนด้วยแผ่นเหล็กเพื่อบังคับไฟ เปิดโบลเวอร์ (พัดลมหอยโข่ง) เป่าให้ถ่านติดไฟคุแรง เติมถ่านไป เรื่อยจนโลหะละลายตัวในอุณหภูมิ ๑,๓๐๐-๑,๔00 องศาเซลเซยส ตรวจดูนํ้าโลหะในแต่ละเบ้าให้อุณหภูมไล่เลี่ยเสมอกันจึงจะใช้ได้ จากนั้นเปิดแผ่นเหล็กที่ปิดข้างบนไว้ คนเบาไล่ผง และตักคราบผงขี้เถ้าออกเพื่อให้นํ้าโลหะสะอาด ใช้คีมถอนเบาจากเตาหลอมไปใส่ในคีมเท ลักษณะเป็นคีมสองทาง แล้วลำเลียงนํ้าโลหะขึ้นเทโดยกำหนดคนขึ้นเทไม่ให้ขาดสายและต้องเทต่อเนื่องกันจนเต็มรูป จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นลง ใช้เวลาประมาณ ๒ วันเนื่องจากเป็นชิ้นงาน ทีมีขนาดใหญ่ แล้วทุบดินที่เข้าไว้ออกพรัอมทั้งตัดเหล็ก ตัดชนวน ถอนตะปูทอยออก แต่งผิวโลหะให้เรียบร้อยแล้วตะแคงรูปลง กระทุ้งดินในออกจนเหลือแต่ชิ้นโลหะ แล้วจึงตกแต่งผิวโลหะด้วยเครื่องมือข่างจนเรียบร้อย ทำความสะอาดโลหะด้วยกรดดินประสิว จากนั้นจึงล้างด้วยทรายผสมมะขามเปียก อีกครั้งเพื่อฆ่าฤทธิ์กรด แล้วเตรียมนำขึ้นประกอบ โครงเหล็กติดตั้งและปรับแต่งต่อไป
การหาพื้นที่ผิวรูปเพื่อใช้คำนวณโลหะ

ช่างขณะก่อเตาหลอมโลหะ

โลหะขณะหลอมละลาย

ใช้คีมถอนเบ้าจากเตาหลอมไปใส่คีมเท

การเทโลหะส่วนพระเศียร


การเทโลหะส่วนชิ้นพระองค์

รูปพระส่วนที่หล่อสำริดแล้ว

แต่งผิวโลหะที่ชำรุด

ชิ้นสำริดพระหัตถ์หลังแต่งผิวแล้ว

การสุกรดฐานบัว



การปั้นต้นแบบ ทำพิมพ์และหล่อส่วนองค์พระ

      ได้แก่ส่วนตั้งแต่ชิ้นพระอุระลงมาถึงพระบาท เป็นการทำต้นแบบด้วยปูนปลาสเตอร์ โดยแบ่งการทำเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนเริ่มจากการขึ้นโครงเสาภายใน ประกอบไม้เคร่ากับเสา เพื่อรองรับชิ้น Contour ห่างกัน 4วงละประมาณ ๓๐ เซนติเมตร วาง Contour ที่ขยายแล้วลงเป็นชั้นๆ จากนั้นตีไม้ระแนง บุลวดตาข่ายโดยรอบ แล้วจึงใส่ปูนปลาสเตอร์ลงใน ช่อง Contour แต่ละชั้น โดยใช้ขอบของ Contour เป็นตัวกำหนดผิวขอบปูน เมื่อได้โครงรูปคร่าวๆ แล้วปรับแต่งผิวปูนและเก็บรายละเอียดของรูปให้เรียบร้อย งานในขั้นนี้ต้องใช้ความสามารถและความประณีตของช่างมาก เพื่อให้ได้รายละเอียดและให้ได้ความรู้สึกเช่นเดียวกับรูปต้นแบบ แล้วจึงดำเนินการทำพิมพ์ต่อไป

การทำพิมพ์ ตีเล้นแบ่งผิวรูปเป็นชั้นๆ กำหนดความกว้างยาวชิ้นละประมาณ ๑.๐๐-๑.๒๐ เมตร เจาะรูผิวรูป ใส่พุกประมาณขึ้นละ ๖ ตัว แล้วสวมตะปูเกลียวลงในพุก อีกชั้นหนึ่งให้หัวตะปูโผล่จากผิวรูปประมาณ ๑.๕๐ นิ้ว พุกจะเป็นตัวช่วยยึดผิวปูนในและปูนนอกที่ทาสบู่นํ้ามันไว้ไม่ให้หลุดจากกันได้ง่ายก่อนการทำพิมพ์เลร็จ และจะดึงออกภายหลังเมื่อวางเหล็กยึดแล้ว จากนั้นทาสบู่นํ้ามันบนผิวรูปให้ทั่วเฉพาะชิ้นที่จะทำพิมพ์ แล้วลงปูนผิวชั้นแรกที่จะใช้เป็นพิมพ์ต่อไป แห้งแล้วทาสบู่นํ้ามัน และใส่ปูนครั้งที่สองพร้อมกับใส่เหล็กและกาบมะพร้าวช่วยยึด วางแป๊ปเสริมภายนอกเพื่อข่วยยึดปูนให้คงที่ แห้งแล้วดึงปูนชั้นนอกออก จะได้ชิ้นพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ภายในที่ต้องการ ทำเช่นนี้ไปจนครบทุกชิ้น หากเป็นชิ้นที่พื้นผิวมีรายละเอียดมีแง่มุมมาก ต้องทำพิมพ์ชิ้นย่อยเพิ่มดังที่กล่าวแล้ว เพื่อข่วยให้ถอดพิมพ์ได้ง่าย จากนั้นจึงนำพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ใปบุขี้ผึ้งเตรียมหล่อโลหะ
  
วาง contour ที่ขยายแล้วลงเป็นชั้นๆ

ประกอบโครงเป็นส่วนต่างๆขององค์พระ


บุลวดตาข่ายเพื่อเตรียมลงปูนผิว แต่งปูนผิวส่วนพระอุระ
แต่งปูนผิวส่วนพระนาภี ทดลองประกอบส่วนพระเศียร
ประกอบพระเศียรกับท่อนพระอุระ พระหัตถ์ที่ตกแต่งแล้วและเตรียมยกชิ้นประกอบ
ยกพระหัตถ์ประกอบกับท่อนพระนาภี ประกอบฐานบัวเข้ากับส่วนพระบาท
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ (ขวามือ)
ให้คำแนะนำการปั้นแก้ไขส่วนชายจีวร
พิจารณาแนวปั้นชายจีวร
การปั้นแก้ไขชายจีวร ตีเส้นแบ่งผิวรูปองค์พระเพื่อกำหนดการทำพิมพ์ทีละชิ้น
ลงปูนผิวขึ้นพิมพ์ครั้งแรก เสริมเหล็กยึดชิ้นพิมพ์
บุขี้ผึ้งชิ้นพิมพ์เพื่อเตรียมหล่อโลหะ หุ่นขี้ผึ้งส่วนชิ้นพิมพ์องค์พระ
ตอกตะปูทอยสายติดขนวนเพื่อเตีรยมการเข้าดิน การเข้าดินฝรั่งซึ่งต่างจากการเข้าดินไทยในส่วนพระเศียร
   


การหล่อโลหะแบบเข้ากล่องอัดดิน
      การหล่อ เมื่อได้หุ่นขี้ผึ้งที่ถอดจากพิมพ์แล้ว ประติมากรจะตกแต่งผิวขี้ผึ้งจนเรียบร้อยสมบูรณ์ตามรูปปูนต้นแบบ แล้วส่งไห้งานช่างหล่อเพื่อดำเนินการตอกตะปูทอย ติดสายชนวน เข้าดิน การเข้าดินของส่วนองค์พระนี้ต่างกับการเข้าดินส่วนพระเศียร ที่ใช้ดินอ่อนหรือดินไทย ดังได้กล่าวแล้ว การเข้าดินครื้งนี้เรียกว่า การเข้าดินฝรั่ง ส่วนผสมคือ ผงอิฐอย่างละเอียด ๓ ส่วน ต่อปูนปลาสเตอร์ 9 ส่วน เคล้ากันแห้งๆ ก่อนผสมน้ำ ให้มีความเหนียวพอสมควรแล้วทาหุ่น โดยใช้แปรงขยี้ทาจนทั่ว ให้หนาประมาณ 9 นิ้ว แล้วทับครั้งที่สองดัวยผงอิฐอย่างหยาบผสมปูนปลาสเตอร์ในอัตราส่วนเท่าเดิม ให้หนาประมาณ ๑ นิ้ว โดยไม่ต้องใช้เหล็กช่วยเสริมยึดปูน เช่นการเข้าดินพระเศียร ทิ้งไว้ไห้แห้งแล้วพลิกกลับทำอีกด้านด้วยวิธีเดียวกัน จากนั้นนำขึ้นทนก่อเตาสุมหุ่นเพื่อสำรอกขี้ผึ้งออกดวยวิธีเดียวกับการขึ้นทนพระเศียร เมื่อหุ่นสุกได้ที่ ทิ้งไว้ในเตาให้อุณหภูมิลดลงจึงค่อยรื้อเตาออก เพื่อประกอบแบบเหล็กปะกับอัดดิน

      การประกอบแบบเหล็กปะกับอัดดิน เมื่อหุ่นเย็นลงและรื้อเตาสุมหุ่นออกแล้ว เริ่มประกอบแบบเหล็กอัดดิน โดยวางเหล็กปะกับบนพื้นล่างรอบทนทั้ง ๔ ด้าน ให้มีความสูงเท่ากับรูปหุ่นและให้ห่างจากหุ่นประมาณ ๔ นิ้ว แล้วโรยดินร่วนสีดำซึ่งนวดกับนํ้าจนมีความร่วนขนาดพอเหมาะลงในช่องระหว่างหุ่นกับเหล็กปะกับ อัดดินลงไปเรื่อยๆ ให้แน่น และให้สูงเท่าหุ่นโดยใช้ไม้กระทุงช่วยอัด การไช้เหล็กปะกับ อัดดินนี้จะช่วยไม่ให้หุ่นเกิดการเบ่งตัวแตกเมื่อโดนความร้อนจากโลหะที่เทลงไป เนื่องจากเป็นหุ่นขนิดที่ไม่มีการใช้เหล็กช่วยยึดเช่นหุ่นส่วนพระเศียร และจะรื้อเหล็กปะกับนี้ออกเมื่อเททอง (โลหะ) เรียบร้อย แล้ว ขั้นตอนต่างๆ จากนี้ไปเช่นเดียวกับการเทในส่วนพระเศียรดังกล่าวแล้ว
การหล่อโลหะแบบเข้ากล่องอัดดิน


การประกอบแบบเหล็กปะกับอัดดิน

ชิ้นสำริดองค์พระที่หล่อแล้ว


การติดตั้งและปรับแต่ง

      ก่อนการนำชิ้นโลหะสำริดขึ้นติดตั้งอย่างถาวรนั้น ได้ทดลองประกอบกับโครงเหล็กดูก่อนในขั้นแรก เพื่อตรวจดูปัญหาข้อผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นเพื่อที่จะได้ดำเนินการ แก้ไขก่อนการติดตั้งจริง

      การติดตั้ง ใช้กว้านยกแผ่นสำริดขึ้นติดตั้งบนโครงสร้างเหล็กคอร์เทน ก่อนประกอบเข้ากับตัวกล่องเหล็กต้องหาพิกัดตำแหน่งของแผ่นสำริดก่อน โดยดูจากรูปปั้นขยายปูนปลาสเตอร์แล้วหาจุดศูนย์กลางตั้งแต่ยอดลงไปถึงฐานบัว เพื่อไช้ในการประกอบแผ่นสำริดเข้ากับโครงเหล็ก เจาะร้อยแผ่นสำริดด้วยสกรูสแตนเลสหัวจมขนาด ๑๒ มิลลิเมตร และใช้เหล็กปะกับ ยึดระหว่างรอยต่อของชิ้นสำริดแต่ละชิ้น ทั้งด้านในและด้านนอกให้เข้าที่ หากมีช่องห่างจะใช้ตัวเร่งซึ่งมีลักษณะเป็นเหล็ก ๒ แท่ง มีเกลียวตรงกลางขั้นสำริดให้ประชิดกัน เป็นการบังคับปรับแต่งชิ้นงานให้อยู่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ แล้วจึงเชื่อมแผ่นสำริดติดกับโครงเหล็กคอร์เทนให้สนิท

การเชื่อม

      โดยปกติแล้ว การเชื่อมกระทำภายในโรงปฏิบัติงาน และใช้เชื่อมด้วยแกสเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับองค์พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลนี้ประดิษฐานอยู่สูงเด่นกลางที่โล่งและลมแรง ในการเชื่อมครั้งนี้จึงต้องใช้ไฟฟ้ามาร่วมด้วย เพราะการใช้แกสในอากาศกลางแจ้ง ความร้อนจะไม่คงที่เหมือนเช่นการใช้ในโรงงาน และจะเกิดอันตรายได้

      การเชื่อมชิ้นสำริดขององค์พระประธาน ได้ใช้วิธีเชื่อม ๓ วิธีผสมผสานกันโดยพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละชิ้นงาน ได้แก่วิธี Arc Welding และ Gas Tung-stene Arc Welding ซึ่งเป็นการเชื่อมด้วยไฟฟ้าเชื่อมยึดแนวตะเข็บทั้งแนวตั้งและแนวนอน และวิธี Oxy-Acetylene Welding เป็นการเชื่อมด้วยแกสในส่วนที่เนี้อโลหะหนา รับนํ้าหนักมาก ได้แก่ส่วนฐานบัว และเชื่อมตกแต่งผิวซึ่งเป็นรอยชำรุดเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเชื่อมทุกชิ้น เสร็จสมบูรณ์เป็นรูปองค์พระแล้ว ตกแต่งรอยต่อต่างๆ ให้ดูเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงทำ ความสะอาดด้วยกรดสุทองก่อนการรมดำ

การรมดำ

      นำนํ้ายาโปตัสเซียมซัลไฟด์ และนํ้ายาเฟอร์ริกคลอไรด์ไส่ภาชนะเคลือบแยกกันต่างหาก ละลายกับนํ้าอุ่นอัตราส่วนยา ๑ ช้อนต่อน้ำประมาณ ๑ ลิตร หากต้องการให้สีโลหะอ่อนหรือแก่ก็เพิ่มหรือลดปริมาณนํ้าลงตามความเหมาะสม ใช้แปรงสะอาดทานํ้ายาโปตัสเซียมซัลไฟด์ เป็นพื้นจนทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ไห้แห้งแล้วทา สลับด้วยเฟอร์ริกคลอไรด์ โดยใช้แปรงแยกเฉพาะน้ำยาแต่ละชนิด จากนั้นตรวจดูว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่ เช่น นํ้าหนักของสีไม่เท่ากัน ผิวเป็นคราบสกปรก หากยังไม่เรียบร้อยใช้ผ้าสะอาดเช็ดและทาใหม่ จนได้นํ้าหนักของสีที่ด้องการ และสีเสมอกันโดยตลอด แล้วใช้แปรงหรือผ้าสะอาดชุบแว็กซ์ขัดเคลือบผิวมันตามต้องการ
ทดลองประกอบชิ้นสำริดส่วนพระชงฆ์ก่อนนำชิ้นขึ้นติดตั้งกับโครงสร้าง

ทดลองประกอบชิ้นสำริดส่วนพระบาทก่อนนำชิ้นขึ้นติดตั้งกับโครงสร้าง

ใช้เหล็กปะกับยึดชิ้นสำริด

แต่งผิวโลหะด้วยเครื่องมือ


กว้านยกชิ้นสำริดประกอบกับโครงสร้าง

เตรียมชักรอกชิ้นสำริดประกอบกับโครงสร้าง

เหล็กโครงสร้างองค์พระประธาน

เครื่องหมายบ่งตำแหน่งชิ้นสำริด

ประกอบชิ้นสำริดเข้ากับเหล็กโครงสร้าง

นาย เดโช สวนานนนท์ อธิบดี กรมศิลปากร ในขณะนั้น เชื่อมโลหะเป็นชิ้นแรก
ในการติดตั้งประกอบโลหะเข้ากับโครงสร้าง

การติดตั้งฐานบัว

องค์พระประธานก่อนการตกแต่งและรมดำ



ส่วนหนึ่งของประติมากรผู้ช่วยงานปั้นพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘