นักธรรมเอก วิชาพุทธานุพุทธประวัติ

นักธรรมเอก  วิชาพุทธานุพุทธประวัติ 
                พุ ทธานุพุทธประวัติ เป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระองค์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุพุทธประวัติ เป็นการรวบรวมเอาประวัติที่นักศึกษาได้เคยเรียนกันมาแล้วในธรรมศึกษาชั้นตรี และธรรมศึกษาชั้นโท มารวมไว้ในธรรมศึกษาชั้นเอกนี้ เพื่อจะได้ศึกษาในรายละเอียดขึ้นไปอีกให้แจ่มแจ้ง การจะเรียนให้เข้าใจได้ดีนั้น นักศึกษาควรจะดู ในหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรีและธรรมศึกษาชั้นโทประกอบด้วย
สร้างกรุงกบิลพัสดุ์
                ประเทศอินเดียนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่มีความเป็นมาน่าศึกษามาก ประเทศต่างๆในแถบเอเชียหรือในยุโรปเอง ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมไปจากอินเดียเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ภาษา หรือศิลปกรรมต่างๆ อย่างเช่นในประเทศไทยเรา ก็เอาภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้มากมาย รวมทั้งพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ด้วย นอกจากนี้ พิธีกรรมต่างๆ ที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่ทั้งพิธีราษฎร์ และพิธีหลวง ก็มีพิธีกรรมของอินเดียปะปนอยู่แทบทั้งนั้น ดังนั้นอินเดียจึงเป็นอู่อารยธรรมที่ทรงอิทธิพลต่อโลกอยู่มาก โดยเฉพาะในเอเชียด้วยกัน แม้แต่ประเทศจีนยังสู้ไม่ได้
                อู่อารยธรรมของโลก ที่มีการพัฒนามาเป็นเวลานานนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๕ แห่ง คือ
                . อู่อารยธรรมอียิปต์  มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์
                . อู่อารยธรรมบาบิโลน  มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริซและยูเฟรตีส
                . อู่อารยธรรมอินเดีย   มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่บริเวณแม่น้ำสินธุ และแม่น้ำคงคา
                . อู่อารยธรรมจีน   มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่บริเวณแม่น้ำหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง)
                อู่อารยธรรมต่างๆในสมัยโบราณนั้น มีแหล่งกำเนิดตามลุ่มแม่น้ำเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า มนุษย์ต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกทำการเกษตรและการบริโภคใช้สอย ดังนั้น สถานที่ใดที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มนุษย์ก็จะตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่ตามที่นั้นๆ นานๆเข้าก็กลายเป็นการสร้างอารยธรรมพัฒนาเจริญขึ้นมาเป็นลำดับ
                ประเทศอินเดียนั้น แต่เดิมมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อนทำการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์กันมานาน ชนพวกนี้มีชื่อเรียกว่า มิลักขะ หรือ ดราวิเดียน เป็นชนผิวดำคล้ำ ต่อมาได้มีชนเผ่าอื่นซึ่งเป็นพวกผิวขาวเหลือง ได้อพยพเข้ามาอยู่ในอินเดีย โดยเข้าทางด้านภาคเหนือผ่านภูเข้าหิมาลัยลงมา ชนพวกนี้มีชื่อเรียกว่า ชาวอริยกะ หรือ อารยัน พวกอริยกะนี้ ได้ต่อสู้กับพวกพื้นเมืองแล้วก็เอาชนะได้ จึงได้จัดการปกครองบ้านเมืองขึ้นด้วยกฎระเบียบที่พวกตนสร้างขึ้น และก็ได้มีการแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อสะดวกต่อการปกครอง
                ในกลุ่มชนชาวอริยกะหรืออารยันนั้น มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อว่าโอกากราช ปกครองเมืองหนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อ) พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับน้องสาวของตนเอง(ภคินี) (ไม่ปรากฏชื่อ) มีพระราชบุตรและพระราชธิดา ๙ พระองค์ คือ บุตร ๔ และธิดา ๕ ต่อมาเมื่อพระมเหสีสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระมเหสีองค์ใหม่ (ไม่ปรากฏชื่อ) ครั้นต่อมาพระนางก็ได้มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง พระเจ้าโอกากราชทรงพอพระทัย พลั้งพระโอษฐ์พระราชทานพรแก่พระนางว่า ถ้าหากพระนางต้องการอะไรก็จะให้ทั้งสิ้น พระนางจึงทูลขอพระราชสมบัติให้กับบุตรของตนเอง พระเจ้าโอกากราช ก็จำต้องยอมให้เพื่อเป็นการไม่เสียสัตย์ ดังนั้น พระองค์จึงมีรับสั่งให้บุตรทั้ง ๙ ออกไปสร้างพระนครแห่งอื่นอยู่ใหม่ พระราชบุตรทั้ง ๔ จึงได้พาภคินีทั้ง๕ พร้อมทั้งบริวารออกไปตั้งพระนครอยู่ใหม่ โดยได้ไปตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาหิมาลัย ซึ่งสถานที่นั้นได้มีดาบสตนหนึ่งชื่อว่า กบิลมาอาศัยอยู่ก่อน เมื่อสร้างพระนครเสร็จแล้ว พระนครนั้นจึงได้ตั้งตามนามของดาบสนั้นว่า กบิลพัสดุ์ หลังจากนั้นพระราชบุตรทั้ง ๔ พระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกับด้วยน้องสาวของตน ๔ นาง ยกเว้นแต่พี่สาวคนโต (เชษฐภคินี) แต่ภายหลังต่อมาพระนางก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งกรุงเทวทหะ
                พระราชบุตรทั้ง ๔ พระองค์ที่ได้อภิเษกสมรสกับน้องสาวทั้ง ๔ นั้น ได้ปกครองเมือง ตั้งพระราชวงศ์ศากยะสืบมา ส่วนพี่สาว(เชษฐภคินี) ที่ทรงได้อภิเษกสมรสกับเจ้ากรุงเทวทหะนั้น ได้ตั้งราชวงศ์โกลิยะสืบมา ต่อมากษัตริย์ทั้ง ๒ วงศ์นี้ ก็ได้มีการเกี่ยวพันธ์กันมาเป็นลำดับ
                กษัตริย์ใน ศากยวงศ์ ได้มีกษัตริย์ปกครองกันมาหลายพระองค์ จนมาถึงสมัยของพระเจ้าชยเสนะ พระองค์ได้มีบุตร ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายสีหนุ และพระราชธิดายโสธรา หลังจากที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว เจ้าชายสีหนุก็ได้เป็นกษัตริย์ต่อมา และก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนา ซึ่งเป็นน้องสาว(กนิษฐภคินี) ของพระเจ้าอัญชนะแห่งกรุงเทวทหะ พระองค์ได้มีบุตรธิดา ๗ พระองค์ เป็นบุตร ๕ พระองค์ เป็นบุตรี ๒ พระองค์ คือ
                ) สุทโธทนะ
                ) สุกโกทนะ
                ) อมิโตทนะ
                ) โธโตทนะ
                ) ฆนิโตทนะ
                ) พระนางปมิตา
                ) พระนางอมิตา
                เมื่อพระเจ้าสีหนุได้สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกษัตริย์ปกครองสืบมา
                ส่วนทางด้านกรุงเทวทหะนั้น ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวพันธ์กันมาแต่ในอดีต จนถึงพระเจ้าอัญชนะ ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยเสนะ ซึ่งก็เป็นน้องสาวของพระเจ้าสีหนุนั่นเอง พระองค์ได้มีบุตรธิดา ๔ พระองค์ คือ
                ) สุปปพุทธะ
                ) ทัณฑปาณิ
                ) พระนางมายา
                ) พระนางปชาบดี(โคตมี)
พระศาสดาประสูติ
ปัญจมหาบริจาค
นับถอยหลังจากภัทรกัลป์นี้ไป ๔ อสงขัย ๑ แสนกัลป์ พระบรมโพธิสัตว์บังเกิดเป็นสุเมธดาบส ได้พบพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ได้กระทำความปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว
ทรงบำเพ็ญเบญจมหาบปริจาค ๕ ประการ คือ
                ) บริจาคทรัพย์เป็นทาน                                                  ) บริจาคอวัยวะเป็นทาน
                ) บริจาคบุตรเป็นทาน                                                     ) บริจาคภรรยาให้เป็นทาน
                ) บริจาคชีวิตให้เป็นทาน                                              
และบำเพ็ญบารมี ๓๐ ประการ คือ
                ) ทศบารมี ๑๐ ประการ                                                    ) ทศอุปบารมี ๑๐ ประการ
                ) ทศปรมัตถบารมี ๑๐ ประการ
บารมี ๓๐ ประการ
                ) ทานบารมี  ทรงบำเพ็ญทาน                                       ) สีลบารมี  ทรงบำเพ็ญศีล           
                ) เนกขัมมบารมี  ทรงบำเพ็ญการบรรพชา                ) ปัญญาบารมี   ทรงบำเพ็ญปรีชาญาณ
                ) วิริยบารมี  ทรงบำเพ็ญความเพียร                             ) ขันติบารมี  ทรงบำเพ็ญขันติธรรม
                ) สัจจบารมี  ทรงบำเพ็ญความสัตย์                              ) อธิษฐานบารมี  ทรงบำเพ็ญการกระทำอธิษฐาน
                ) เมตตาบารมี    ทรงบำเพ็ญการเจริญเมตตา               ๑๐) อุเบกขาบารมี  ทรงบำเพ็ญการวางเฉย
สุทธาวาส ๕ 
                พระบรมโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญสมติงสะบารมีทั้ง ๓๐ ประการบริบูรณ์ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร ครั้นทิวงคตแล้ว ได้อุบัติเป็นสันดุสิตเทวราช เสวยทรัพย์สมบัติอยู่ในดุสิตเทวโลก บรรลุถึงกาลแก่กล้าแห่งพระโพธิญาณแล้ว เทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาให้จุติลงสู่พระครรภ์ ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก ท้าวมหาพรหมทั้งหลายในชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐกาพรหม ลงมาเที่ยวโฆษณาทั่วหมื่นโลกธาตุ อันเป็นธาตุแห่งพุทธโกลาหลว่า ต่อไปนี้อีกแสนปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลก ถ้าผู้ใดใคร่จะพบเห็น จงบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และบำเพ็ญกุศลต่างๆ
ปัญจโกลาหล
                เหตุที่ทำให้ท้าวมหาพรหมเกิดโกลาหลนั้น มี ๕ ประการ คือ
                . พุทธโกลาหล                  ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
                . กัปปโกลาหล                 ก่อนกัลป์จะพินาศ ๑๐,๐๐๐ ปี
                . จักกวัติโกลาหล             ก่อนพระเจ้าจักรพรรดิจะอุบัติ ๑๐๐ ปี
                . มังคลโกลาหล               ก่อนพระพุทธองค์จะแสดงมงคล ๑๒ ปี
                . โมเนยยโกลาหล           ก่อนที่จะมีคนทูลถามถึงโมเนยยปฏิบัติ ๗ ปี
ปัญจบุพพนิมิต
                ครั้นกาล ๑๐๐,๐๐๐ ปีลุล่วงไป ปัญจบุพพนิมิต ๕ ประการ ก็ปรากฏมีแก่พระบรมโพธิสัตว์ คือ
                . ทิพยบุปผาที่ประดับพระวรกายเหี่ยวแห้ง
                . ทิพยภูษาที่ทรงเศร้าหมอง
                . พระเสโท(เหงื่อ) บังเกิดไหลออกทางช่องพระกัจฉะ(รักแร้)
                . พระสรีระกายมีอาการปรากฏ
                . มีพระทัยกระสันเป็นทุกข์เบื่อหน่ายเทวโลก
                เมื่อปัญจบุพพนิมิตปรากฏดังนี้ เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้ประจักษ์ว่า สันดุสิตเทวราชองค์นี้ คือองค์พระสัพพัญุโพธิสัตว์ จึงพากันกราบทูลอาราธนา เพื่อให้จุติลงมาเกิดในมนุษยโลก
ปัญจมหาวิโลกนะ 
                ลำดับนั้น พระบรมโพธสัตว์ยังมิได้รับอาราธนา ทรงพิจารณาดูปัญจมหาวิโลกนะ ๕ ประการ คือ
                . กาล   พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก เฉพาะในกาลที่มนุษย์มีอายุ ระหว่าง ๑๐ ปี ถึง
๑๐๐,๐๐๐ ปี
                . ทวีป  ในทวีปทั้ง ๔ จะอุบัติขึ้นเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น
                . ประเทศ  จะอุบัติขึ้นเฉพาะในมัชฌิมประเทศเท่านั้น
                . สกุล  ในระหว่างสกุลกษัตริย์ กับสกุลพราหมณ์ ในกาลใดชาวโลกยกย่องสกุลใดว่าสูงสุด จะอุบัติขึ้นในสกุลนั้น
                . มารดา  ธรรมดาสตรีที่จะเป็นพุทธมารดานั้น ต้องไม่เป็นสตรีที่มีสันดานต่ำช้าโลเลต่างๆ มีเป็นนักเลงสุราเป็นต้น ตั้งแต่เกิดมารักษาเบญจศีลเป็นประจำ และบำเพ็ญบารมีมาถึงแสนกัลป์
                ครั้นทรงพิจารณาเห็นบริบูรณ์ จึงรับอาราธนา แล้วจุติในทิพยอุทยาน ลงมาปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระนางเจ้าสิริมหามายา อัครมเหสีแห่งพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ณ กรุงกบิลพัสดุ์มหานคร
สุบินนิมิต
                จำเดิมแต่ก่อนอาสาฬหปุณณมี ๗ วัน มหาชนชาวกบิลพัสดุ์ชวนกันเล่นนักขัตฤกษ์เอิกเกริกไปทั่วพระนคร พระนางเจ้าสิริมหามายาเทวี ก็ทรงสุคนธวิเลปนะลูบไล้ด้วยของหอม ทรงเล่นนักขัตฤกษ์เช่นกัน เมื่อครบ ๗ วัน อันเป็นอาสาฬหปุณณมี เวลาทรงโสรจสรงน้ำหอม ๑๑ กระออม ทรงบริจาคมหาทานด้วยทรัพย์ ๔ แสนกหาปณะ  เสวยโภชนาหารอันประณีต แล้วทรงอธิษฐานสมาทานอุโบสถศีล เข้าสู่ห้องบรรทมอันเป็นมงคลสิริ ไสยาสน์เหนือพระแท่น เข้าสู่นิทรารมย์ ในเพลาราตรีในสมัยใกล้รุ่ง ทรงพระสุบินว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มายกพระองค์ไปพร้อมพระแท่นบรรทม นำไปยังป่าหิมพานต์ ประดิษฐานไว้บนแผ่นมโนศิลา ภายใต้ต้นรัง และมีเทพธิดามาเชิญเสด็จไปสรงในสระอโนดาดแล้วฉลองพระองค์ด้วยทิพยภูษาลูบไล้ด้วยของหอม ประดับด้วยบุปผชาติอันเป็นทิพย์ แล้วเชิญเสด็จขึ้นบรรทมที่วิมานทองบนยอดเขาเงิน ณ ที่ใกล้นั้น มีสุวรรณคีรีลูกหนึ่ง มีพญาช้างเผือกท่องเที่ยวอยู่ ลงจากภูเขาได้แล้ว ได้ขึ้นมายังหิรัญคีรี ชูงวงซึ่งถือดอกบัวขาว มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบเข้ามาภายในกนกวิมาน กระทำประทักษิณพระนางราชเทวีสิ้น ๓ รอบแล้ว เหมือนหนึ่งเข้าไปสู่อุทรประเทศ พอตื่นพระบรรทม และขณะเมื่อทรงพระสุบินนั้น พระบรมโพธิสัตว์เสด็จจุติลงปฏิสนธิในครรโภทร หมื่นโลกธาตุก็กัมปนาทหวั่นไหว
ทำนายสุบินนิมิต
                ครั้นเวลารุ่งเช้า พระราชเทวีจึงกราบทูลพระสุบินนิมิตให้พระราชสามีทรงทราบ พระเจ้าสุทโธทนะจึงตรัสให้หาพราหมณาปาโมกข์มาทำนาย พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลพยากรณ์ว่า พระราชโอรสในพระครรภ์นั้นจะเป็นอัครบุรุษ มีอานุภาพมาก ถ้าสถิตอยู่ในฆราวาสวิสัยจะเป็นพระบรมจักรพรรดิ ถ้าออกบรรพชาจะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้
                เมื่อพระนางเจ้าทรงครรภ์ครบถ้วนทสมาส (๑๐ เดือน) มีพระทัยปรารถนาจะเสด็จกรุงเทวทหะ จึงกราบทูลขอพระราชานุญาต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว เวลาเช้าในวันวิสาขปุณณมี เสด็จโดยพระเสลี่ยงทองแวดล้อมด้วยบริวารออกจากพระนคร ลุถึงลุมพินีวันอันตั้งอยู่ระหว่างพระนครทั้งสอง เป็นรมณียสถาน บริบูรณ์ไปด้วยรุกขชาติปุปผชาติและผลาผล พระนางปรารถนาจะเสด็จประพาส อมาตย์ทั้งหลายก็เชิญเสด็จแวะ พร้อมด้วยนารีราชบริวาร เสด็จไปยังต้นรัง ทรงจับกิ่งรัง พอพระหัตถ์ถึงกิ่งรัง พระนางทรงประทับยืนหันพระปฤษฎางค์อิงกับต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งรังผันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพาประสูติพระราชโอรส
เสียงท้าวมหาพรหม
                พระโพธิสัตว์เมื่อประสูติแล้ว ทรงทอดพระเนตรทิศทั้ง ๑๐ มิทรงเห็นผู้ใดจะเสมอเหมือนพระองค์ จึงบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว แล้วเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะดุจท้าวมหาพรหม ซึ่งประกอบได้ด้วย
องค์ ๘ ประการ คือ


) แจ่มใส
                                ) ชัดถ้อยชัดคำ
                                ) หวานกล่อมใจ
                                ) เสนาะโสต
                                ) หยดย้อย
                                ) ไม่เครือ ไม่พร่า ไม่แหบ
                                ) ซึ้ง
                                ) มีกังวาน


อาสภิวาจา 
ดำรัสอาสภิวาจาอย่างอาจหาญว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกขณะนั้น ทั้งหมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว เกิดโอภาสแสงสว่างไปทั่วโลกทั้งปวง
ตรัสได้ ๓ ชาติ 
พระชาติที่พระบรมโพธิสัตว์ พอประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดาแล้ว เปล่งสีหนาทเจรจาได้ มีอยู่ ๓ ชาติ คือ ๑. ชาติที่เป็นพระมโหสถ  ๒. ชาติที่เป็นพระเวสสันดร  ๓. ชาติสุดท้ายที่เป็นสิทธัตถกุมารนี้
สหชาติ  อนึ่ง ในวันที่พระบรมโพธิสัตว์ประสูติ มีสหชาติที่บังเกิดขึ้นในวันเดียวกันนั้น ๗ คือ ๑. พิมพา 
. พระอานนท์  ๓. กาฬุทายีอำมาตย์  ๔. ฉันนะอำมาตย์ ๕ ม้ากัณฐกะ  ๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ๗.ขุมทองทั้ง ๔ มุมเมือง
ทำนายลักษณะ
                ลำดับนั้น ท่านกาฬเทวิลดาบส (หรืออสิตดาบส) ผู้ได้สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ มีฤทธิ์มาก เป็นผู้คุ้นเคยกับศากยสกุล ได้สดับข่าวแล้วได้มาเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะ จึงให้เชิญพระราชโอรสมาเพื่อนมัสการพระดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระบรมโพธิสัตว์กลับขึ้นไปปรากฏบนศีรษะของพระดาบสเป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ จึงก้มลงกราบที่พระบาททั้งสองของพระโพธิสัตว์ พระเจ้า  สุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงยกหัตถ์ขึ้นอภิวันทนาการด้วยสำคัญพระโอรสว่า เป็นดุจท้าวมหาพรหม พระดาบสก็พิจารณาเห็นพระลักษณะแห่งพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ก็ทราบได้ว่า พระราชกุมารองค์นี้ จะตรัสรู้เป็นสัพพัญญูโดยแน่นอน จึงทูลให้พระเจ้าสุทโธทนะทราบ แล้วทูลลากลับ และดำริว่าตัวเรามีชีวิตอยู่ไม่ทันที่จะได้เห็นพระราชกุมารตรัสรู้เป็นพระสัพพัญูเจ้าแน่ นาลกะผู้เป็นหลานจะได้ทันเห็น จึงตรงไปยังบ้านน้องสาวตนเอง แล้วเรียกนาลกะผู้เป็นหลานมา บอกเนื้อความให้ฟังทุกประการ แล้วแนะนำให้บวชอยู่คอยท่าตั้งแต่วันนั้น ฝ่ายนาลกะ ผู้ได้สั่งสมบารมีมาเป็นอันมากก็เชื่อคำของลุง ปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชาว่า ท่านผู้ใดเป็นอุดมบุคคลในโลก ข้าพเจ้าขอบรรพชาเฉพาะสำนักท่านผู้นั้นแล้วบ่ายหน้าไปยังทิศอันเป็นที่สถิตแห่งพระบรมโพธิสัตว์ ถวายนมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วสะพายบาตร ออกจากเคหสถาน ไปเจริญสมณธรรมยังป่าหิมพานต์
                เมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชรรษาได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนมหาราช รับสั่งให้เชิญพราหมณาจารย์ ๑๐๘ คนที่สำเร็จไตรเพท คือ ฤชุเวท สามเวท และยชุรเวท  มาบริโภคโภชนาหารแล้ว ให้เลือกสรรพราหมณ์ที่มีความรู้เกี่ยวทำนายลักษณะ ๘ คน คือ  ๑. รามพราหมณ์  ๒. ลักษณพราหมณ์  ๓. ยัญญ พราหมณ์  ๔. ธุรพราหมณ์  ๕. โภชนพราหมณ์  ๖. สุทัตตพราหมณ์  ๗. สยามพราหมณ์  ๘. โกณฑัญญพราหมณ์  ได้ทำนายพระสุบินนิมิตของพระเทวีแต่วันแรกปฏิสนธิ และได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ กับอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการของพระโพธิสัตว์แล้ว เว้นโกณฑัญญพราหมณ์ผู้เดียว ได้ยกนิ้วมือขึ้นสองนิ้ว ทูลทำนายว่า พระราชกุมารนี้ มีคติเป็น ๒ คือ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกผนวช จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์ มีอายุน้อยกว่าพราหมณ์ทั้งหมด เมื่อพิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้ว จึงยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียว โดยทำนายว่า พระราชกุมาร จะสถิตอยู่ในฆราวาสวิสัยหามิได้ จะทรงออกบรรพชา ตรัสเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแน่แท้
ราชาภิเษก
ถวายพระนาม   พระบรมโพธิสัตว์ มีพระรัศมีโอภาสจากพระสรีรกาย เหตุนั้น พราหมณ์ทั้งหลายจึงถวายพระนามว่า อังคีรสราชกุมาร”  อีกประการหนึ่งบรมราชโอรสราชจะทรงปรารถนาสิ่งใด สิ่งนั้นจะสำเร็จตามปรารถนาทุกประการ เหตุนั้น พราหมณ์ทั้งหลายจึงถวายพระนามว่า สิทธัตถราชกุมาร
พระราชชนนีทิวงคต 
ฝ่ายพระนางเจ้าสิริมหามายาราชเทวี ครั้นประสูติโอรสได้ ๗ วัน ก็ทิวงคต ขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวเทวโลก ตามประเพณีพุทธมารดา พระเจ้าสุทโธทนะ จึงจัดสรรพี่เลี้ยงนางนมมาให้คอยอภิบาลบำรุงรักษาและมอบให้อยู่ในความดูแลของพระนางเจ้ามหาปชาบดีพระราชเทวี อีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางเจ้าสิริมหามายาเทวี
สำเร็จปฐมฌาน 
สมัยหนึ่ง ถึงวันวัปปมงคลการแรกนาขวัญของบรมกษัตริย์ ตรัสให้ประดับตกแต่งพระนคร พระองค์แวดล้อมด้วยหมู่อมาตย์พราหมณ์คฤหบดี เสด็จสู่สถานที่กระทำการแรกนาขวัญ ตรัสให้เชิญพระโพธิสัตว์เสด็จไป ณ ที่นั้นด้วย และให้ประทับอยู่ภายใต้ต้นหว้าต้นหนึ่ง ส่วนพระองค์พร้อมด้วยมุขมนตรี ทรงแรกนาขวัญด้วยพระองค์เอง ขณะนั้น พวกพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลาย ละทิ้งพระโพธิสัตว์ไว้แต่พระองค์เดียว ชวนกันมาดูการแรกนาขวัญ พระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นนั่งสมาธิ ขัดบัลลังก์เจริญอานาปานสติกรรมฐาน ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาร่มไม้ทั้งหลายก็ชายไปตามตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาเที่ยงวัน พี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายกลับมาเห็นปรากฏการณ์เช่นนั้น จึงไปกราบทูลพระบรมกษัตริย์ให้ทรงทราบ พระองค์ก็รีบเสด็จมา ทอดพระเนตรเห็นความมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ยกหัตถ์นมัสการ และดำรัสว่า กาลเมื่อประสูติใหม่ๆ ใคร่จะให้ถวายนมัสการพระดาบส กลับกระทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนอยู่บนชฎา พ่อเองก็ประณตไหว้เป็นครั้งแรก และครั้งนี้ก็ทำอัญชลีเป็นคำรบสองแล้วให้เชิญเสด็จกลับพระนคร
                เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาตรัสให้สร้างปราสาท ๙ ชั้นขึ้น ๓ หลัง เพื่อให้เป็นที่ประทับอยู่ตามฤดูกาลทั้ง ๓ คือ ๑. รมยปราสาท  ๒. สุรมยปราสาท  ๓. สุขปราสาท  พระโพธิสัตว์ทรงแสดงศิลปะให้ปรากฏแก่หมู่พระญาติวงศ์ ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาเทวี เสวยสุขสโมสรโดยมีสตรีล้วนๆ ขับกล่อมประโคมดนตรี ตลอดทั้งกลางคืน กลางวัน ดุจเสวยทิพยสมบัติสืบต่อมา
บรรพชา
เทวทูต ๔  สมัยพระมหาบุรุษเสด็จประพาสพระราชอุทยานถึง ๓ วาระ ได้พบคนแก่ชรา คนเจ็บป่วย และคนตาย ซึ่งเทพยดาเนรมิตในระหว่างทาง ก็เกิดความสังเวชสลดใจว่า ตัวเรานี้ก็ไม่สามารถจะพ้นเสียจากสภาพเหล่านี้ไปได้ก็เสด็จกลับพระราชวัง ยังมิทันถึงพระราชยุทยาน ในวาระที่ ๔ ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิต ทรงดำริว่า การประพฤติเป็นสมณเพศ เป็นบุญพิธีอันประเสริฐ ควรที่เราจะถือเอาอุดมเพศเห็นปานนี้ก็มีพระทัยพอใจในบรรพชาในเวลานั้น เสด็จออกไปถึงพระอุทยานทรงสำราญอยู่ตลอดทั้งวัน พอตะวันเย็นก็เสด็จกลับ
ราหุลประสูติ 
ในขณะนั้น ราชบุตรได้นำข่าวสาส์นไปจากพระราชวัง กราบทูลว่า บัดนี้พระนางพิมพาเทวีได้ประสูติพระโอรสแล้วพระมหาบุรุษได้ทรงทราบจึงออกพระโอษฐ์ตรัสว่า บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เครื่องพันธนาการเกิดขึ้นแล้วแกเราจำเดิมแต่นั้น พระกุมารจึงได้พระนามว่า ราหุล และพระองค์เสด็จถึงพระราชนิเวศน์
กีสาโคตมีชมโฉม  ในกาลนั้น นางขัตติยกัญญาองค์หนึ่ง พระนามว่า กีสาโคตมี เสด็จเยี่ยมสีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาบุรุษ ก็ทรงปีติโสมนัส จึงตรัสชมว่า พระราชกุมารนี้ เป็นบุตรของพระราชมารดาบิดาองค์ใด พระราชมารดาบิดาพระองค์นั้น ก็อาจดับเสียได้ซึ่งหฤทัยอันเป็นทุกข์ อนึ่ง ผิว่าเป็นภัสดา(สามี) ของนารีใด นารีนั้นก็อาจดับเสียได้ซึ่งหฤทัยทุกข์พระโพธิสัตว์ทรงสดับถึงความดับทุกข์ ทรงพอพระทัยในการที่จะแสวงหาความดับทุกข์ จึงเปลื้องสร้อยพระศออันประดับด้วยแก้วมุกดาหารมีราคาถึงแสนกหาปณะ ส่งให้ราชบุรุษนำไปถวาย เพื่อบูชาจริยคุณแก่พระนาง พระนางกีสาโคตมีสำคัญว่า พระสิทธัตถกุมาร มีพระทัยปฏิพัทธ์เสน่หา จึงได้มอบสร้อยพระศอให้ ก็เกิดโสมนัสยินดีเป็นอย่างยิ่ง
เสด็จห้องพิมพา
วันนั้น พระบรมโพธิสัตว์มีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชา ปราศจากอาลัยในเบญจกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มิได้ยินดีในการฟ้อนรำขับประโคมแห่งนางบำเรอทั้งหลาย ก็หยั่งลงสู่ความหลับประมาณครู่หนึ่ง เมื่อตื่นบรรทมขึ้นมา ได้ทอดพระเนตรอาการวิปริตแห่งนางบำเรอทั้งหลายขณะหลับ มีพระทัยสังเวชยิ่งนัก เช่นเดียวกับเห็นซากศพเกลื่อนกลาดในป่าช้า ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ปรากฏดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ จึงตรัสแก่นายฉันนะว่า นี่แน่ะฉันนะ เราจะออกบรรพชาคืนนี้ เจ้าจงไปผูกม้ามาให้เราตัวหนึ่งโดยเร็วแล้วจึงเสด็จไปยังห้องพิมพาราชเทวีด้วยพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระพักตร์ของพระราชกุมาร แต่พระนางพิมพาทอดพระกายเหนือพระเศียรพระโอรส โดยมิรู้พระองค์ ทรงประทับยืนเหยียบบนธรณีพระทวาร ดำริว่า ถ้าเราจะยกพระหัตถ์พิมพา อุ้มองค์โอรส พระนางก็จะตื่น ก็จะเป็นอันตรายต่อบรรพชา อย่าเลย ต่อเมื่อได้สำเร็จพระสรรเพชฌดาญาณแล้ว จึงจะกลับมาทัศนาจึงเสด็จลงจากปรางค์ปราสาท เสด็จขึ้นม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะตามเสด็จออกจากพระนคร
ถึงอโนมานที
ในกาลนั้น เป็นวันอาสาฬหปุณณมีเพ็ญเดือน ๘  ขณะนั้น พญาวัสสวดีมาร เห็นพระโพธิสัตว์ จึงดำริว่า  สิทธัตถกุมารปรารถนาจะหนีออกจากวิสัยของเรา ควรเราจะกระทำอันตรายต่อบรรพชา จึงร้องห้ามว่า ดูก่อนกุมาร ท่านอย่าออกบรรพชาเลย อีก ๗ วัน จักรรัตนะอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่ท่าน ท่านจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า ท่านจงไปเสียเถิด เราไม่ปรารถนาจักรพรรดิสมบัติ เราปรารถนาที่จะยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ในกาลได้พุทธรัตนสมบัติแล้วเสด็จผ่าน กรุงกบิลพัสดุ์ เมืองสาวัตถี และเมืองเวสาลีสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ณ พรหมแดนพระนครทั้ง ๓ ในเวลาใกล้รุ่ง เสด็จทรงม้าข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ทรงลงจากหลังม้าประทับนั่งบนกองทราย ทรงเปลื้องพระภูษาอาภรณ์ห่อส่งให้นายฉันนะ ตรัสว่า เจ้าจงนำเครื่องประดับกับม้ากัณฐกะกลับพระนคร เราจะบรรพชา ณ ที่นี้ทรงตัดพระเกศโมฬีด้วยพระขรรค์ พระเกศาที่เหลือ ปรากฏประมาณ ๒ องคุลีม้วนกลมเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้นทั่วทั้งพระอุตตมังคศิโรตม์ ตั้งอยู่ตราบเท่าปรินิพพาน พระมัสสุโลมาก็ปรากฏพอควรแก่พระเกศา แล้วทรงจับพระโมฬีนี้ขว้างขึ้นไปบนอากาศทรงอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ ขอจุฬาโมฬีนี้จงลอยอยู่ในอากาศ อย่าได้ตกลงมา ปรากฏว่าจุฬาโมฬีและผ้าโพกพระเศียรก็ลอยอยู่ในอากาศ สมเด็จอมรินทราธิราชจึงนำผอบแก้วมารองรับและนำไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก
                ในกาลนั้น ท้าวมหาพรหมนามว่า ฆฏิกาพรหม เคยเป็นสหายพระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นำเครื่องอัฏฐบริขารมาถวาย พระโพธิสัตว์จึงทรงไตรจีวรกาสาวพัสตร์อธิษฐานเพศบรรพชา และมอบพระภูษาผ้าทรงทั้งคู่แต่ยังเป็นคฤหัสถ์เพศให้แก่ท้าวฆฏิกาพรหม ท้าวเธอได้นำพระภูษาทั้งคู่ไปบรรจุไว้ในทุสสเจดีย์ ในพรหมโลก
บำเพ็ญเพียร
                กาลเมื่อพระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว จึงดำรัสให้นายฉันนะนำม้ากัณฐกะกับเครื่องอาภรณ์ และนำข่าวกลับไปบอกยังกรุงกบิลพัสดุ์ นายฉันนะมีความอาลัย ไม่อยากจะจากพระองค์ไป ส่วนม้ากัณฐกะพอพ้นทัศนวิสัยก็ทำกาลกิริยาในระหว่างทาง ด้วยอานุภาพความสวามิภักดิ์ จึงไปอุบัติในดาวดึงส์เทวโลก ได้นามว่า กัณฐกเทพบุตร
                พระโพธิสัตว์เมื่อส่งนายฉันนะแล้ว ประทับอยู่พระองค์เดียว ณ บริเวณนั้นอันได้นามอนุปิยอัมพวัน เว้นจากการเสวยพระกระยาหารตลอด ๗ วัน อิ่มไปด้วยบรรพชาสุข ครั้นวันที่ ๘ เสด็จออกจากไพรสณฑ์นั้น จาริกไปโดยลำดับสิ้นทาง ๓๐ โยชน์ ก็บรรลุถึงกรุงราชคฤห์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ประชาชนทั้งเมืองเห็นเข้า ต่างแตกตื่นโกลาหล คิดกันไปต่างๆ นานา ราชบุรุษทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนี้แก่พระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงรับสั่งให้ติดตามดู เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากเมืองไปประทับเสวยพระกระยาหารที่เชิงเขาบัณฑวะ จึงกราบทูลให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ พระองค์จึงเสด็จไปสอบถาม ทราบว่าเคยเป็นพระสหายที่ไม่เคยพบเห็นหน้ากัน จึงเชื้อเชิญให้พระโพธิสัตว์อยู่ โดยจะแบ่งสมบัติให้ครองครึ่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์ตรัสขอบพระทัย และตรัสบอกความประสงค์ว่า ปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณจึงออกบรรพชา พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุโมทนา และตรัสว่า ถ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วขอให้กลับมาโปรดโยมบ้าง แล้วทูลลากลับ พระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่สำนักแห่งอาฬารดาบส กาลามโคตร ศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๗ จนหมดความรู้ของอาจารย์ จึงลาไปสู่สำนักอุทกดาบส รามบุตร ศึกษาจนสำเร็จสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเรียนถามธรรมพิเศษที่ยิ่งๆขึ้นไป พระดาบสบอกไม่รู้แล้วตั้งพระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์เสมอตน พระองค์ทรงดำริว่า ทางปฏิบัตินี้หาใช่ทางโพธิญาณไม่ มีพระประสงค์ประกอบความเพียรด้วยพระองค์เอง จึงลาออกสำนัก จาริกไปสู่อุรุเวลาประเทศ พิจารณาเห็นเป็นสถานที่รื่นรมย์เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จึงยับยั้งอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น
                ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ ได้สดับข่าวพระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา จึงไปหาบุตรพราหมณ์ทั้ง ๗ คนซึ่งทำนายลักษณะด้วยกันกล่าวว่า บัดนี้ สิทธัตถกุมารเสด็จออกบรรพชาแล้ว พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านมีชีวิตอยู่จะออกบวชด้วยกัน ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงมาบวชตามพร้อมกันเถิด บุตรพราหมณ์ทั้ง ๗ คน ยอมรับจะบวชเพียง ๔ คน โกณฑัญญะจึงพามาณพทั้ง ๔ คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ออกบรรพชาเป็น ๕ คนด้วยกัน จึงมีนามบัญญัติว่า ปัญจวัคคีย์ ชวนกันสืบเสาะติดตามพระมหาบุรุษในคามนิคมต่างๆ มาพบพระองค์ ณ อุรุเวลาประเทศ ได้เห็นพระองค์กำลังกระทำความเพียรอยู่ดำริว่า คงจะได้ตรัสรู้แน่ จึงพากันทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากต่างๆ
ทุกกรกิริยา
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำริว่า เราจะกระทำความเพียรทุกกรกิริยาให้ถึงที่สุดแห่งความเพียรอย่างอุกฤษฏ์จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาต แล้วทรงปริวิตกว่า เรายังกังวลอยู่กับการแสวงหาอาหารมิสมควร จำเดิมแต่นั้น ไปประทับใต้ต้นไม้ใด ก็เสวยผลที่หล่นจากต้นไม้นั้น ภายหลังไปบิณฑบาต ได้อาหารมาก็ผ่อนเสวยให้ลดน้อยลง จนกระทั่งไม่เสวยเลย จำเดิมแต่ตัดอาหารเสียทั้งสิ้น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการก็อันตรธานไปสิ้น พระมังสะ(เนื้อ) พระโลหิต(เลือด) ก็เหือดแห้งซูบผอมยิ่งนัก ยังแต่พระตจะ(หนัง) หุ้มพระอัฐิ(กระดูก)
                อยู่มาวันหนึ่ง ทรงพระประชวร บังเกิดพระกายอ่อนเพลียอิดโรยหิวโหย จนกระทั่งทรงวิสัญญีภาพ(สลบ) ล้มลงไป เมื่อทรงได้สัญญาฟื้นคืนสติ ทรงดำริว่า ตัวเรายังประกอบด้วยลมหายใจ นับว่ายังเป็นความพยายามที่หยาบอยู่ จึงทรงกลั้นลมหายใจ เมื่อลมหายใจมิอาจออกทางช่องนาสิก(จมูก) และพระโอษฐ์(ปาก)ได้ ก็ดั้นด้นไปจะออกทางโสตทวาร(หู) เมื่อมิอาจออกได้ก็ตลบขึ้นไปบนพระเศียร บังเกิดเวทนาอย่างแรงกล้าทำให้ปวดพระเศียร เมื่อไม่มีทางออกจึงหวนลงกลับสู่อุทรประเทศ(ท้อง) ทำให้เสียดพระอุทรอย่างแสนสาหัส ก็ไม่สามารถจะบรรลุคุณธรรมพิเศษ จึงดำริว่า บุคคลใดในโลกที่จะทำทุกกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์ ก็เพียงแค่นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ การปฏิบัติเช่นนี้เห็นจะมิใช่ทางพระโพธิญาณ ในขณะนั้น สมเด็จพระอมรินทราชทรงพิณ ๓ สายมาดีดถวาย พระโพธิสัตว์สดับแล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า มัชฌิมาปฏิปทาเป็นหนทางแห่งโพธิญาณ แต่ร่างกายที่ทุรพลเช่นนี้มิอาจจะเจริญสมาธิได้ ควรจะเสวยอาหารบำรุงร่างกายเสียก่อน จึงทรงถือบาตรเสด็จบิณฑบาตเสวยต่อไป ฝ่ายปัญจวัคคีย์เห็นเช่นนั้นจึงปรึกษากันว่า พระสิทธัตถกุมารทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ก็มิอาจจะตรัสรู้ได้ เดี๋ยวนี้มาละความเพียรเสียแล้ว มาเสวยพระกระยาหารใหม่อีก ที่ไหนเลยจะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณได้ เราทั้งหลายจะมาเฝ้าอุปัฏฐากเพื่อประโยชน์อันใด จึงพากันละทิ้งพระโพธิสัตว์ เดินทางไปสิ้นหนทาง ๑๕ โยชน์ ลุถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี
สุชาดาบวงสรวง
ความปรารถนาของสุชาดา
กุลธิดาผู้หนึ่งนามว่า สุชาดา เป็นธิดาของเสนกุฎุมพี อยู่บ้านเสนานิคมแห่งอุรุเวลาประเทศ เมื่อเจริญวัยนางได้กระทำการบนบานต่อเทพยดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งใกล้บ้านว่า ถ้าข้าพเจ้าแต่งงานตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่นสาวกับชายที่ทรัพย์สมบัติ มีชาติสกุลเสมอกัน ๑ และมีบุตรคนแรกเป็นชาย ๑ ข้าพเจ้าจะทำการบวงสรวงแก้บนแก่พระองค์ด้วยสิ่งของมีค่าหนึ่งแสนกหาปณะ
วิธีทำข้าวมธุปายาส 
ต่อมา นางได้สำเร็จสมความปรารถนาทุกอย่าง จึงปรารถนาที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงเทพยดา จึงให้ทาสกรรมกรของนาง นำแม่วัวนมประมาณ ๑,๐๐๐ ตัวไปเลี้ยงที่ป่าชะเอม ให้กินเครือเถาชะเอม เพื่อหวังจะให้น้ำนมที่หวาน แล้วให้แบ่งแม่วัวออกเป็น ๒ พวก พวกละ ๕๐๐ ตัว จึงให้รีดเอาน้ำนมแห่งวัวนม ๕๐๐ ฝ่ายหนึ่งไปให้แม่วัวนม ๕๐๐ อีกฝ่ายหนึ่งดื่มกิน แล้วให้แม่วัวที่ดื่มน้ำนมนั้นไปเลี้ยงในป่าชะเอม แล้วแบ่งออกเป็น ๒ พวก รีดน้ำนมจากพวกหนึ่งไปให้อีกพวกหนึ่งดื่มกิน ทำอยู่โดยทำนองนี้ จนกระทั่งเหลือแม่วัวนมอยู่ ๘ ตัว ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ในเวลาใกล้รุ่ง นางให้คนไปจับแม่วัวนมทั้ง ๘ ผูกไว้แล้วรีดน้ำนมใส่กะทะบนเตาไฟหุงข้าวมธุปายาส
สุบินนิมิต  ในคืนวันนั้น พระบรมโพธิสัตว์บรรทมหลับไป
ทรงสุบินนิมิต ๕ ประการ คือ
                . พระองค์ทรงบรรทมหงายบนพื้นดิน มีภูเขาหิมวันต์เป็นเขนย พระพาหาซ้ายหยั่งลงไปในมหาสมุทรทิศบูรพา พระพาหาขวาหยั่งลงไปในมหาสมุทรทิศปัศจิม พระบาททั้งคู่ลงไปในมหาสมุทรทิศทักษิณ
                . หญ้าแพรกงอกขึ้นแต่พระนาภี(สะดือ) สูงขึ้นไปถึงห้องฟ้า
                . หมู่หนอนล้วนมีตัวขาว หัวดำ ไต่ขึ้นมาจากพระบาทจนถึงพระชาณุ(เข่า)
                . นก ๔ จำพวก คือ สีเหลือง สีเขียว สีแดง และสีดำ บินมาจากทิศทั้ง ๔ มาจับฟุบลงแทบพระบาท แล้วกลับกลายเป็นสีขาวไปทั้งสิ้น
                . พระองค์เสด็จขึ้นไปจงกรมบนยอดเขาที่เปรอะเปื้อนไปด้วยมูตรคูถ แต่พระบาทของพระองค์มิได้เปรอะเปื้อน
                พระองค์ทรงทำนายด้วยพระองค์เองว่า
                ข้อ ๑ เป็นนิมิตที่จะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
                ข้อ ๒ เป็นนิมิตที่จะเทศนาอริยมรรค ๘ ประการแก่ เทวดา  และมนุษย์ทั้งหลาย
                ข้อ ๓ เป็นนิมิตที่หมู่คฤหัสถ์จะมาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก และบรรลุไตรสรณคมน์
                ข้อ ๔ เป็นนิมิตว่า วรรณะทั้ง ๔ จะมาบรรพชาในพระธรรมวินัย และตรัสรู้วิมุตติธรรม
                ข้อ ๕ เป็นนิมิตว่า พระองค์จะได้ปัจจัย ๔ แต่ไม่ติดอยู่ในปัจจัยเหล่านั้น
ถวายข้าวมธุปายาส 
พอราตรีสว่างขึ้น ๑๕ ค่ำ แห่งวิสาขปุณณมี พระบรมโพธิสัตว์ทรงชำระสรีรกาย แล้วประทับนั่งที่โคนต้นไทร ฝ่ายนางสุชาดาใช้ให้นางปุณณทาสีไปกวาดภายใต้ต้นไทร นางไปพบพระโพธิสัตว์เข้าใจว่า เป็นเทวดานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงรีบกลับมาบอกนางสุชาดา นางสุชาดาพร้อมด้วยบริวารนำข้าวมธุปายาสไปยังต้นไทร เห็นพระมหาสัตว์ก็เกิดโสมนัสยินดี จึงนำข้าวมธุปายาสเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองประณตไว้แล้วกล่าวว่า มโนรถของข้าสำเร็จ ฉันใด ขอสิ่งที่พระองค์ประสงค์ จงสำเร็จ ฉันนั้น แล้วทูลลากลับ
ทรงลอยถาด 
พระโพธิสัตว์ทรงถือถาดข้าวมธุปายาส เสด็จมายังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จสรงชำระพระวรกายให้สะอาดแล้วขึ้นมาประทับนั่ง ปั้นข้าวมธุปายาสได้ ๔๙ ปั้น ทรงเสวยจนหมดแล้วถือถาดทองพลางอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมโลกนารถ ขอให้ถาดนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปจึงลอยถาดในแม่น้ำ ขณะนั้น ถาดทองได้ลอยทวนกระแสน้ำไปไกลประมาณ ๘๐ ศอกแล้วก็จมลง พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นนิมิตดังนั้น ก็ทรงโสมนัสเสด็จกลับสาลวัน(ป่ารัง)
เสด็จสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 
พอสายัณห์ตะวันบ่าย ก็เสด็จจากป่ารัง ทรงรับหญ้าคา ๘ กำมือทีโสตถิย พราหมณ์ถวายในระหว่างทาง เสด็จไปไกล้โพธิมณฑล แล้วทรงปูลาดหญ้าคาอธิษฐานเป็นรัตนบัลลังก์ ประทับนั่งผินพระพักตร์สู่ทิศบูรพา พระปฤษฎางค์สู่ลำต้นมหาโพธิ์ ขัดสมาธิตั้งพระกายตรง ดำรงสติมั่น เจริญอานาปานสติภาวนาแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้ากมลสันดานยังไม่พ้นอาสวะกิเลสตราบใด แม้พระมังสะ(เนื้อ) พระโลหิต(เลือด) จะเหือดแห้งไป เหลือแต่พระตจะ(หนัง) นหารุ(เอ็น) และพระอัฐิ(กระดูก) ก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้
ผจญมาร
ทรงสู้ด้วยพระบารมี  ในกาลนั้น พระญาวัสสวดีมารผู้มีใจบาป ติดตามพระมหาบุรุษอยู่ทุกเมื่อ จึงดำริว่า พระสิทธัตถกุมารปรารถนาจะพ้นวิสัยแห่งเรา เราควรจะทำอันตราย อย่าให้พ้นวิสัยเราไปได้แล้วประกาศให้พลเสนามารมาประชุมพร้อมกัน ให้เนรมิตกายมีประการต่างๆ ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพญามาร ทรงช้างคิรีเมขละพร้อมด้วยพลเสนามารเป็นจำนวนมากมีอาวุธครบมือ ทรงรำพึงในพระทัยว่า  ข้าศึกเป็นจำนวนมาก จะกระทำการย่ำยีเราเพียงผู้เดียว ในที่นี้พระประยูรญาติพระราชบิดา และพี่น้องญาติมิตรผู้จะเป็นที่พึ่งพำนัก และช่วยรบปัจจามิตรก็ไม่มี เว้นเสียแต่พระบารมีเท่านั้นดังนั้น พระองค์จึงทรงใช้บารมี ๓๐ ประการและบุรุษโยธา ๗ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หิริ และโอตตัปปะ เข้าต่อสู้กับพญามาร จนพญามารพ่ายแพ้ ยกหัตถ์ขึ้นนมัสการกล่าวสรรเสริญแล้วกลับไป องค์พระบรมโพธิสัตว์ขจัดมารเสียได้ก่อนที่พระอาทิตย์จะอัสดงคต
ตรัสรู้
ปฐมยาม 
ครั้นล่วงเข้าราตรีปฐมยาม พระมหาบุรุษทรงเจริญสมาธิภาวนา ยังสมาบัติ ๘ ประการให้บังเกิดขึ้น แล้วทรงบรรลุญาณอันเป็นปัญญาที่ ๑ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ระลึกชาติหนหลังของตนเองได้ ทรงระลึกด้วยกำลังอภิญญา โดยปฏิโลมถอยหลังไปตั้งแต่บัลลังก์อาสน์ หนึ่งชาติ สองชาติจนกระทั่งหาประมาณมิได้
มัชฌิมยาม 
พอล่วงเข้ามัชฌิมยาม ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ หรือทิพพจักขุญาณ  พระองค์ทรงมีทิพพจักษุ ล่วงจักษุมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ที่จุติและบังเกิดในที่ต่ำช้าและประณีต มีผิวพรรณทรามและดีในทุคติและสุคติ ตามสมควรแก่อกุศลและกุศลที่ตนได้กระทำไว้ เหมือนบุรุษที่อยู่ในที่สูงใกล้ทาง ๔ แพร่ง สามารถเห็นเหล่าชนที่สัญจรไปมาจากที่นี้สู่ที่โน้นได้
ปัจฉิมยาม 
เมื่อล่วงปัจฉิมยามสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งพระญาณลงพิจารณาปัจจยาการในปฏิจจสมุปบาทธรรม คืออวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารเป็นต้น อันเป็นปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นเป็นลำดับ นับว่าเป็นที่เกิดแห่งกองทุกข์ทั้งปวง แล้วพิจารณาถึงการดับกองทุกข์ทั้งมวลว่า เมื่ออวิชชาดับ สังขารก็พลอยดับตามไปด้วยเป็นต้น ทรงพิจารณาทั้งโดยส่วนอนุโลมและปฏิโลม
                ในขณะนั้น ก็พอเป็นเวลาที่แสงทองแห่งอรุณทอแสงขึ้นจับขอบฟ้า พระบรมโพธิสัตว์ก็ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ดับสูญสิ้นกิเลสวะเป็นสมุจเฉทปหาน พร้อมด้วยความมหัศจรรย์ หมื่นโลกธาตุบันลือลั่นด้วยการหวั่นไหวแห่งปฐพีดล พระทศพลจึงเปล่งสีหนาทเป็นปฐมอุทานเยาะเย้ยตัณหาด้วยพระคาถาว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้น
สัตตมหาสถาน
                . ต้นพระศรีมหาโพธิ์  สมเด็จพระสัพพัญญู เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็ทรงประทับนั่งโดยเอกบัลลังก์เข้าสู่สมาบัตินวานุปุพพวิหาร คือรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ และทรงพิจารณาปฏิจจ- สมุปบาทตลอด ๓ ยามแห่งราตรี แล้วเปล่งอุทาน ดังนี้
อุทานในยามต้นว่า เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่า เกิดแต่เหตุ
อุทานในยามท่ามกลางว่า เมื่อใด…….ฯลฯ เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย (ว่าเป็นเหตุสิ้นไปแห่งผลทั้งหลายด้วย)
อุทานในยามสุดท้ายว่า  เมื่อใด…….ฯลฯ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจอาทิตย์อุทัย กำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น
                . อนิมิสสเจดีย์  ครั้นล่วง ๗ วัน เสด็จออกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไปทางทิศอีสานประทับยืนทอดพระเนตร บูชาพระศรีมหาโพธิ์ตลอดเจ็ดวัน โดยมิได้กระพริบพระเนตร เหตุนั้นสถานที่นั้นจึงได้นามว่า อนิมิสสเจดีย์
                . รัตนจงกรมเจดีย์  พอล่วงไปได้ ๗ วัน เสด็จจากที่นั้นกลับมาหยุด ณ ระหว่างกลางแห่งพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสสเจดีย์ อธิษฐานที่จงกรม ทรงจงกรมกลับไปกลับมาตลอด๗ วัน สถานที่นั้นจึงได้นามว่า รัตน-จงกรมเจดีย์
                . รัตนฆรเจดีย์  ในสัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปสู่รัตนฆรเจดีย์ ซึ่งเทวดาเนรมิตขึ้นในทิศพายัพแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงพิจารณาพระไตรปิฎก อันประกอบด้วย อาคม ๔  นิกาย ๕ องค์ ๙ และพระธรรมขันธ์ ๘,๔๐๐๐ เมื่อพระองค์พิจารณาถึงมหาปัฏฐาน ซึ่งมีปัจจัย ๒๔ พระฉัพพรรณรังสี คือรัศมี ๖ ประการ มีโอภาส แผ่ซ่านออกจากพระสรีรกายแวดล้อมไปโดยรอบประมาณ ๑๒ ศอก
                . อชปาลนิโครธ  เมื่อหนึ่งสัปดาห์ล่วงแล้ว ก็เสด็จไปยังต้นไทร  ซึ่งเป็นที่พักร่มแห่งคนเลี้ยงแพะอันได้ชื่อว่า อชปาลนิโครธ  ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งมักตวาดผู้อื่นว่า หึง หึง หรือ หุง หุง ทูลถามถึงพราหมณ์และธรรมที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์และนางมารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางราคา และนางหรดี รับอาสาบิดามาเพื่อจะทำให้พระพุทธะตกอยู่ในอำนาจ
                . มุจจลินท์  ในสัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปยังต้นจิก ซึ่งอยู่ทางทิศอาคเนย์แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ สัปดาห์นั้น มีฝนอันเจือลมหนาวตกพรำตลอด ๗ วัน พญานาคตนหนึ่งชื่อ มุจจลินท์ บังเกิดอยู่ในสระโบกขรณีมีอยู่ใกล้ต้นจิกนั้น เข้ามาวงขนดกาย ๗ รอบ วงรอบพระวรกายพระพุทธองค์ และแผ่พังพานป้องกันฝนมิให้ถูกพระวรกาย เมื่อฝนหายไปแล้ว จึงจำแลงเพศเป็นมาณพ ยืนถวายนมัสการเฉพาะพระพักตร์แล้วหลีกไป พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า ความสงัดเป็นความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันตนสดับแล้ว ยินดีในความวิเวกเป็นต้นเหตุนั้น สถานที่นั้นจึงได้นามว่า มุจจลินท์
                . ราชายตนะ  จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปยังต้นเกด อันได้นามว่า ราชายตนะ ซึ่งมีอยู่ทางทิศทักษิณแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ ที่นี้ ๑ สัปดาห์อันเป็นกาลสุดท้าย ในกาลนั้น มีพาณิชสองพี่น้อง ชื่อตปุสสะ กับภัลลิกะ นำข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผงมาถวาย ขณะนั้นบาตรของพระองค์ไม่มี ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้นำเอาบาตรศิลามาถวาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จ พานิช ๒ พี่น้องแสดงตนเป็นอุบาสก โดยถึงพระพุทธกับพระธรรมเป็นสรณะที่พึ่ง ประเภทเทววาจิกอุบาสก นับว่าเป็นอุบาสกคนแรกในโลก แล้วทูลขอสิ่งของที่ระลึก พระองค์ทรงประทานพระเกสา ๘ เส้น
พรหมอาราธนา
                พอสัปดาห์ที่ ๗ ผ่านไป พระพุทธองค์เสด็จจากร่มไม้ราชายตนะ กลับไปยังอชปาลนิโครธ ทรงปริวิตกว่า ธรรมดาบุคคลไม่มีสิ่งที่ตนจะพึงเคารพสักการะ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ตถาคตจะพึงยึดผู้ใดเป็นที่เคารพสักการะในบัดนี้เมื่อทรงตรวจดูแล้วไม่เห็นมีใครที่จะเหมาะสมนอกจากพระโลกุตตรธรรมและทรงดำริต่อไปว่า พระธรรมที่ตถาคตตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่เหล่าสัตว์จะรู้ตามได้ ดังนั้น พระองค์จึงมีความขวนขวายน้อย เกิดความท้อถอยในการที่แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์
ดอกบัว ๔ เหล่า 
ในกาลนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพุทธปริวิตก จึงดำริว่า โลกทั้งปวงจะถึงความพินาศครั้งนี้ เหตุที่พระชินสีห์ไม่ปรารถนาจะแสดงธรรมโปรดสัตว์ จึงพร้อมด้วยทวยเทพทั้งหลาย ลงมาจากพรหมโลกกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ผู้ทรงมหากรุณา โปรดประทานพระสัทธรรมเทศนา สัตว์ทั้งหลายมีสันดานเบาบางจากกิเลสก็มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก เมื่อมิได้สดับพระธรรมเทศนา จักเสื่อมสูญจากมรรคผลนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงพระพุทธองค์เมื่อได้ทรงสดับอาราธนา มีพระหฤทัยกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงพิจารณาก็ทราบชัดว่า หมู่สัตว์มี ๔ จำพวก เปรียบได้กับบัว ๔ เหล่า คือ
                . อุคฆฏิตัญญู  บุคคลที่มีปัญญาดี และมีกิเลสเบาบาง สามารถจะรู้ได้เร็วพลัน เหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำ พอต้องแสงอาทิตย์ก็บานทันที
                . วิปจิตัญญู  บุคคลผู้มีปัญญาปานกลาง และมีกิเลสปานกลาง เมื่อได้ฟังซ้ำ ก็อาจบรรลุได้ เหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ จะบานในวันพรุ่งนี้
                . เนยยะ  บุคคลที่มีปัญญาอ่อน และมีกิเลสหนาแน่น เมื่อได้ฟังอยู่บ่อยๆ พยายามทำความเพียรไม่ขาดระยะ ก็สามารถจะบรรลุได้ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำมีโอกาสที่จะบานในวันต่อไป
                . ปทปรมะ  บุคคลที่ปราศจากปัญญา หนาแน่นไปด้วยกิเลส ไม่รู้จักเหตุและผล เป็นบุคคลที่ไม่ควรจะตรัสรู้ แต่เพื่อเป็นนิสัยวาสนาในกาลต่อไป เปรียบได้เช่นกับดอกบัวที่งอกขึ้นใหม่ อยู่ใต้น้ำลึกยากที่จะพ้นจากการเป็นอาหารแห่งเต่าและปลา
                เมื่อทรงพิจารณาเห็นดังนี้ จึงทรงรับอาราธนา ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาแล้ว จึงพากันทูลลากลับ
ปฐมเทศนา
                เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้ว ทรงดำริว่า ตถาคตจะไปแสดงธรรมโปรดผู้ใดก่อน ผู้ใดจะตรัสรู้โลกุตตรธรรมได้โดยพลัน ก็ทรงหวนระลึกถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร แต่ก็ทรงทราบด้วยทิพพจักขุญาณว่า พระดาบสสิ้นชีพตักษัยไป ๗ วันแล้ว จึงหวนรำลึกถึงอุทกดาบส รามบุตร ทรงทราบว่าสิ้นชีพไปแล้ว เมื่อเย็นวันวานนี้ ก็ทรงเสียดายว่า พระดาบสทั้งสองเป็นผู้มีปัญญาดี ถ้าอยู่คอยท่าพระองค์ ได้สดับพระธรรมเทศนา ก็จะพลันตรัสรู้
เสด็จเมืองพาราณสี 
ต่อจากนั้น ทรงคำนึงถึงปัญจวัคคีย์ ซึ่งเคยมีอุปการะแก่พระองค์ ก็ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี ดังนั้น ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ตอนเช้าทรงจีวรและบาตร เสด็จเที่ยวโคจรบิณฑบาตในบ้านเสนานิคม กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ กับคยาประเทศ อาชีวกเห็นพระฉัพพรรณรังสี เกิดปีติปราโมทย์ จึงปราศัยว่า ดูก่อนอาวุโส อินทรีย์ของท่านงามยิ่ง ผิวกายก็ผุดผ่อง ท่านมีนามใด บวชในสำนักของผู้ใด ใครเป็นครูของท่าน ท่านได้เล่าเรียนธรรมในสำนักของอาจารย์ผู้ใดพระพุทธองค์ตรัสว่า ดูก่อนอาชีวก เราเป็นพระสยัมภู ตรัสรู้เอง ไม่มีใครเป็นครูอาจารย์ ตถาคตประกอบไปด้วยอรหาทิคุณเป็นต้นอาชีวกฟังแล้วกล่าวว่า อาวุโส ท่านกล่าวปฏิญาณเช่นนั้น ข้าพเจ้าเห็นจริง ควรที่ท่านจะได้นามว่า อนันตชินะกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณแล้วหลีกไป
พบปัญจวัคคีย์ 
ในวันนั้น ตั้งแต่ตอนเช้า ปัญจวัคคีย์ต่างระลึกถึงพระมหาบุรุษนั่งสนทนากันอยู่ พอเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็จำได้ จึงนัดหมายกันว่า พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงลุกขึ้นรับบาตรจีวร แต่พึงจัดอาสนะไว้ เมื่อเธอปรารถนาจะนั่งก็จงนั่งเถิด เมื่อพระองค์เสด็จไปถึงต่างคนต่างลืมสัญญากลับทำการต้อนรับเป็นอย่างดี แต่ยังใช้คำว่า อาวุโส และเรียกพระนามว่า โคดม อันเป็นการไม่เคารพ พระองค์ทรงห้าม แล้วตรัสว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว เธอทั้งหลายคอยฟังเถิด เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอน มิช้าก็จะได้บรรลุอมฤตธรรมนั้นปัญจวัคคีย์คัดค้านถึง ๓ ครั้ง พระองค์ก็ตรัสให้ระลึกย้อนหลังว่า คำนี้พระองค์เคยตรัสหรือเปล่าปัญจวัคคีย์ดำริว่า คำเช่นนี้พระองค์มิเคยตรัสมาก่อน จึงยอมรับฟัง
แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร 
ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ แห่งอาสาฬหมาส (เดือน ๘) พระองค์ตรัสเรียกปัญจวัคคีย์มาแล้ว ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณ โดยการยังวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแก่ชาวโลกทั้งปวง
                ในวาระแรกทรงประกาศทาง ๒ สายที่ไม่ควรดำเนิน คือ
                . กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นหาความสุขอยู่ในกาม
                . อัตตกิลมถานุโยค การกระทำความเพียรโดยการทรมานกายให้ลำบาก
                ในวาระที่ ๒ ทรงประกาศทางสายกลางที่ควรดำเนิน คือ มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ
                . สัมมาทิฏฐิ                      ปัญญาเห็นชอบ
                . สัมมาสังกัปปะ              ความดำริชอบ
                . สัมมาวาจา                      เจรจาชอบ
                . สัมมากัมมันตะ             การงานชอบ
                . สัมมาชีวะ                       เลี้ยงชีวิตชอบ
                . สัมมาวายามะ พยายามชอบ
                . สัมมาสติ                         ความระลึกชอบ
                . สัมมาสมาธิ                    ความตั้งใจมั่นชอบ
ทางสายกลางที่พระองค์ทรงสอนนี้ เป็นทางดำเนินให้บรรลุถึงทางดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง คือเพื่อรู้อริยสัจ
ในวาระที่ ๓ ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคว่า ๑. ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้  ๒. สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรละ  ๓. นิโรธ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง  ๔. มรรค เป็นสิ่งควรทำให้เกิดมีขึ้น
                เมื่อพระองค์ตรัสจบลง  ก็บังเกิดมหัศจรรย์หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดมีแก่พวกพรหม ๑๘ โกฏิ มีโกณฑัญญะเป็นต้น ดังนั้น พระองค์จึงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ เหตุนั้น ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่า  อัญญาโกณฑัญญะ  ตั้งแต่นั้นมา สังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก ลำดับนั้น อัญญาโกณฑัญญะจึงทูลขอบวช พระองค์ทรงประทานให้ด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับว่าสังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก เป็นเหตุให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์
ยสบรรพชา
แสดงอนัตตลักขณสูตร 
ในกาลต่อมา พระพุทธองค์สั่งสอนนักบวชทั้ง ๔ ด้วยปกิณกเทศนา ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วประทานอุปสมบทให้  ในวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๘ ทรงเห็นปัญจวัคคีย์มีอินทรีย์แก่กล้า ควรที่จะได้ฟังธรรมเทศนา เพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูงต่อไป จึงตรัสเรียกมาแล้วตรัสอนัตตลักขณสูตร พระสูตรที่ว่าลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ในพระสูตรนี้ทรงยกเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา  เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ไม่สามารถจะควบคุมได้ ย่อมเป็นไปตามอำนาจและสภาวธรรม ดังนั้น ขันธ์ ๕ นี้ จึงไม่ใช่ตัวเรา ของเขา เมื่อจบพระธรรมเทศนา จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นเพราะอุปาทาน บรรลุอรหัตตผลเป็นอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา ในกาลนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์
                ยังมีกุลบุตรผู้หนึ่ง ชื่อว่ายสมาณพ เป็นบุตรมหาเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีปราสาทสำหรับอยู่ตามฤดูกาลถึง ๓ หลัง มีนางบำเรอเป็นหญิงล้วนๆ บำเรออยู่ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน วันหนึ่ง ยสตื่นมาในยามดึก เห็นอาการวิปริตต่างๆนานาของหญิงบำเรอขณะหลับ ปรากฏดุจซากศพที่เกลื่อนกล่นในป่าช้า จึงสวมรองเท้าเดินลงบันไดออกจากบ้านไป เดินพลางบ่นพลางว่า ที่นี่วุ่นวาย ที่นี่ขัดข้องจนไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบพระพุทธองค์ขณะเสด็จจงกรมตอนใกล้รุ่ง พระองค์ตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จงมาที่นี่เถิดจึงถอดรองเท้าเข้าไป ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควร พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาเพื่อเป็นการฟอกจิตให้อ่อนโยนปราศจากนิวรณธรรมทั้ง ๕ แล้วทรงแสดงสามุกังเทสิกธรรม คือ อริยสัจ ๔ ยังธรรมจักษุ คือ โสดาปัตติผลให้เกิดแก่ยสกุลบุตร
อุบาสกคนแรก 
ฝ่ายมารดายสะตื่นขึ้นในตอนเช้า ขึ้นไปดูไม่พบลูกชายจึงบอกแก่สามี เศรษฐีใช้ให้คนไปตามทั้ง ๔ ทิศ  ส่วนเศรษฐีเดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พบรองเท้าจึงเข้าไปถามถึงลูกชายกับพระพุทธองค์ พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ โปรด พอจบดวงตาเห็นธรรมก็ได้เกิดแก่เศรษฐี ส่วนยสะได้ฟังธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่บิดาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้บรรลุอรหัตตผล เศรษฐีได้แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง  นับว่าเป็นอุบาสกคนแรกประเภท เตวาจิกอุบาสก เศรษฐีเมื่อเห็นลูก จึงขอร้องให้กลับเพื่อเห็นแก่แม่ พระพุทธองค์ตรัสว่า ยสะไม่สมควรจะกลับไปเพราะบรรลุมรรคผลชั้นสูง หมดสิ้นกิเลสาสวะแล้ว เศรษฐีกล่าวว่า นับว่ายสะได้ลาภอันประเสริฐแล้วแล้วจึงนิมนต์พระองค์กับพระยสะเสวยพระกระยาหารเช้าที่บ้าน แล้วทูลลากลับไป
อุบาสิกาคนแรก 
เมื่อเศรษฐีกลับไปแล้ว ยสะจึงทูลขอบวช พระองค์ทรงประทานให้ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับว่าเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๗ พระองค์ทรงจีวรและบาตรมีพระยสะเป็นปัจฉาสมณเสด็จเข้าไปยังบ้านของเศรษฐีนั้น ฝ่ายมารดาและภรรยาเก่าของยสกุลบุตรถวายภิวาทและนั่ง ณ ที่อันสมควร พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ โปรดหญิงทั้ง ๒ ให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ปฏิญาณตนเป็นอุบาสิกาคนแรกในพระพุทธศาสนา ชนทั้ง ๓ ได้ถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีต เมื่อเสร็จภัตกิจทรงโปรดประทานพระธรรมกถายังชนทั้งหลายให้ชื่นชมโสมนัส แล้วเสด็จกลับป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ส่งสาวกประกาศศาสนา 
เพื่อนของพระยสะ ๔ คน คือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ และไม่ปรากฏชื่ออีก ๕๐ คน ทราบว่ายสะออกบวช จึงพากันเข้าไปหา พระยสะได้นำไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วประทานอุปสมบท ภายหลังทรงตรัสสอนจนบรรลุพระอรหัตตผลหมดทุกองค์ นับว่าในกาลนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์
                อยู่มาวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสาวกทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า อนุตตรวิมุตธรรมที่ตถาคตบรรลุแล้ว เธอทั้งหลายก็บรรลุแล้ว บ่วงทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ตถาคตและเธอทั้งหลายก็พ้นแล้ว เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปตามคามนิคมชนบทต่างๆ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก จงแสดงธรรมมีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ แม้เราก็จะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม
โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
พบภัททวัคคีย์ 
เมื่ออกพรรษาปวารณาแล้ว พอวันแรม ๑ ค่ำเดือนกัตติกามาส (เดือน ๑๒) จึงส่งพระสาวก ๖๐ องค์ไปประกาศพระศาสนา ส่วนพระองค์เสด็จสู่อุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางที่ป่าไร่ฝ้าย ได้พบภัททวัคคีย์ ๓๐ องค์เป็นพระราชโอรสแห่งพระยามหาโกศลราช ร่วมบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิโกศลพาภริยามาเที่ยวไร่ฝ้าย องค์หนึ่งไม่มีภรรยา จึงนำนางคณิกามา หญิงนั้นเห็นพระกุมารประมาทเลินเล่อ ถอดเครื่องประดับไว้ จึงลักแล้วหนีไป ฝ่ายกุมารทั้งหลาย เมื่อไม่เห็นเครื่องประดับ ก็ตระหนักว่าหญิงแพศยานั้นลักไปจึงออกติดตาม ไปพบพระพุทธเจ้าก็กราบทูลถาม พระองค์ตรัสถามว่า แสวงหาตนหรือหญิง อันไหนประเสริฐกว่ากันเมื่อพระราชกุมารทั้งหลายยอมรับว่า แสวงหาตนประเสริฐกว่าจึงตรัสอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ โปรด จนกุมารทั้งหมดได้บรรลุอรหัตตผลแล้วประทานอุปสมบทแล้วส่งไปประกาศพระศาสนา
อุรุเวลกัสสปะบวช 
ส่วนพระองค์เสด็จต่อไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ณ ที่นั้น มีชฎิล ๓ พี่น้องตั้งอาศรมอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตามลำดับ พี่ชายใหญ่ชื่ออุรุเวลกัสสปะ มีบรวาร ๕๐๐ น้องกลางชื่อนทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ น้องสุดท้องชื่อคยากัสสปะ มีบริวาร ๒๐๐ พระองค์เสด็จไปยังอาศรมพี่ชายใหญ่ เข้าไปพักอาศัย แล้วทรมานด้วยฤทธิ์ต่างๆถึง ๓,๕๐๐ ประการ ใช้เวลาถึง ๒ เดือน อุรุเวลกัสสปะก็ยังมีทิฏฐิอันแรงกล้า ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่ พระองค์จึงตรัสว่า อุรุเวลกัสสปะ ตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ และการปฏิบัติของท่านก็มิใช่ทางบรรลุมรรคผล เหตุใดท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อุรุเวลกัสสปะสดับพุทโธวาท ก็ซบศีรษะลงแทบพระบาทแล้วกราบทูลขออุปสมบท พระองค์จึงตรัสว่า ตัวเธอเป็นอาจารย์ใหญ่แห่งชฎิลทั้ง ๕๐๐ เธอจงบอกกล่าวให้ยินพร้อมกันเสียก่อน ตถาคตจึงจะบวชให้อุรุเวลกัสสปะก็ทูลลาไปยังอาศรมบอกกล่าวแก่เหล่าศิษย์ พวกชฎิลทั้งหมดก็ยินยอม จึงพากันลอยเครื่องชฎิลบริขาร และบวชในสำนักพระพุทธองค์ทั้งสิ้น
น้องชายทั้งสองบวช 
น้องชายทั้งสองอยู่ใต้น้ำ ได้เห็นบริขารลอยมา ก็คิดว่า คงจะเกิดเหตุร้ายแก่พี่ชายของตน จึงพาบริวารไปยังอาศรมของพี่ชาย เห็นพี่ชายพร้อมทั้งบริวารบวช สอบถามได้ความจึงลอยเครื่องบริขารแล้วบวชด้วยกันหมดทั้งสิ้น ภายหลังเห็นอินทรีย์ทั้ง ๕ ของภิกษุชฏิล ๑,๐๐๓ รูปแก่กล้า จึงพาไปยังคยาสีสะประเทศ แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดจนสำเร็จพระอรหันต์ ในพระสูตรนั้นทรงแสดงถึง อายตนะภายในและภายนอก และชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์  โทมนัส อุปายาส เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ๓ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ
โปรดพระเจ้าพิมพิสาร 
พระองค์ประทับอยู่ที่คยาสีสะประเทศพอสมควรแล้ว ทรงพาภิกษุ ๑,๐๐๓ รูปเสด็จยังกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ที่ลัฏฐิวัน โดยพระประสงค์จะเปลื้องปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดี ๑๒ นหุต เป็นบริวารเสด็จไปเฝ้า พระองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ โปรด เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารกับบริวาร ๑๑ นหุตบรรลุโสดาปัตติผล ส่วนอีก ๑ นหุต เลื่อมใสในพระรัตนตรัย
ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร 
ในกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลความสมหวังที่ได้ปรารถนาไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๕ ข้อว่า
                . ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระราชา
                . ขอให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมายังแว่นแคว้นของข้าพเจ้า
                . ขอให้ข้าพเจ้าได้ไปนั่งใกล้พระอรหันต์พระองค์นั้น
                . ขอให้พระอรหันต์แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
                . ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมนั้น
                แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกกราบทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารในเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วลุกขึ้นกระทำอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วลากลับ
ได้อัครสาวกขวาซ้าย
ทรงรับเวฬุวัน 
รุ่งขึ้นตอนเช้า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเป็นบริวาร เสด็จสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิมสาร พระราชาทรงถวายภัตตาหาร แล้วกราบทูลถวายเวฬุวโนทยานเพื่อเป็นพุทธาวาส ทรงจับพระเต้าทองหลั่งสุคนธวารีให้ตกต้องพระหัตถ์ของพระบรมศาสดา ปรากฏว่า พื้นปฐพีกัมปนาทหวั่นไหว พระพุทธองค์ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเสด็จไปยังเวฬุวันวิหาร
                ไม่ห่างจากรุงราชคฤห์ มีบ้านตำบลหนึ่งชื่อว่า นาลันทา ที่หมู่บ้านพราหมณ์ อุปติสสคาม นายบ้านชื่อว่า วังคันตะ ภรรยาชื่อ สารี มีบุตรชื่อว่าอุปติสสมาณพ และทีหมู่บ้านโกลิตคาม นายบ้านมีภรรยาชื่อ โมคคัลลี มีบุตรชื่อว่า โกลิตมาณพ ตระกูลทั้งสองเป็นมิตรสหายกันมาแล้ว ๗ ชั่วคน มาณพทั้ง ๒ เมื่อเจริญวัย ก็เรียนอยู่ในศิลปศาสตร์ทั้งปวงมีบริวารคนละ ๒๕๐ คน เมื่อไปดูการละเล่นก็ไปด้วยกัน นั่งร่วมกัน จะสังเวชหรือชื่นชม ก็สังเวชชื่นชม ในกาลครั้งหนึ่งไปดูมหรสพ มิได้มีความยินดีเหมือนครั้งก่อนๆ เหตุบารมีญาณแก่กล้า จึงดำริกันว่า ไม่มีประโยชน์อันใดในการดูมหรสพนี้ อายุของคนเราไม่ถึง ๑๐๐ ปีก็แตกทำลาย หาบัญญัติมิได้ ควรที่เราจะแสวงหาโมกขธรรม เมื่อดำริเช่นนี้ จึงชักชวนบริวารรวมเป็น ๕๐๐ คน บวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่อาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง เมื่อบวชแล้วไม่นานก็เรียนจบลัทธิของอาจารย์ แต่ยังไม่พอใจโดยเห็นว่า ลัทธิของสัญชัยอาจารย์นี้ ไม่อาจยังโมกขธรรมให้เกิดขึ้นได้ จำเดิมแต่นั้น ปริพาชกทั้ง ๒ ได้สดับข่าวสมณพราหมณาจารย์ที่เป็นปราชญ์มีอยู่ในที่ใดๆ ก็ไปสู่ที่นั้นแล้วกล่าวถามปัญหา โดยทำนองนี้ได้เที่ยวไปทั่วชมพูทวีปทุกแห่งก็หาไม่พบนักปราชญ์ที่สามมารถแก้ปัญหาโมกขธรรมได้ ก็พากันกลับสำนักอาจารย์แล้วทำกติกากันว่า เราทั้ง ๒ นี้ ถ้าผู้ใดได้อมตธรรมก่อน ก็จงบอกอีกผู้หนึ่ง
บรรลุอมตธรรม 
ต่อมากาลครั้งหนึ่ง อุปติสสปริพาชกได้พบท่านพระอัสสชิเถระกำลังบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีกิริยามารยาทเรียบร้อย เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงติดตามไปข้างหลัง เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วจึงเรียนถามว่า อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณก็ขาวบริสุทธิ์ ท่านบรรพชาในสำนักท่านผู้ใดใครเป็นครูอาจารย์ของท่าน อาจารย์ของท่านกล่าวสอนเช่นไรท่านพระอัสสชิเถระ จึงกล่าวตอบว่า อาวุโส อาตมาบวชใหม่ยังไม่นาน ไม่อาจจะแสดงธรรมให้พิสดารได้ จะขอแสดงแต่โดยย่อและกล่าวว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ธรรมเหล่านั้น เมื่อเหตุนั้นดับก็ดับสูญไป พระมหาสมณะตรัสดังนี้อุปติสสปริพาชกพอได้สดับพระคาถา ๒ บทต้น ก็บรรลุโสดาปัตติผล จึงถามว่า พระบรมครูของเราประทับอยู่ ณ ที่ใดเมื่อทราบว่า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร จึงกล่าวว่าขอพระผู้เป็นเจ้าจงไปก่อน ข้าพเจ้ายังมีสหายอีกคนหนึ่งทำสัญญากันไว้ ข้าพเจ้าจะกลับไปเปลื้องปฏิญญาเสียก่อน แล้วจะพาสหายไปสู่สำนักของพระบรมครูแล้วกราบลาพระมหาเถระกลับไปยังปริพาชการาม
โกลิตบรรลุธรรม 
ฝ่ายโกลิตปริพาชกเห็นอุปติสสะเดินมาแต่ไกล คิดว่า วันนี้ หน้าตาสหายเราผ่องใสยิ่งนัก ชะรอยจะได้อมตธรรมเป็นแน่ครั้นถึงจึงไต่ถามอุปติสสะ และอุปติสสะได้บอกเรื่องราวให้ฟังแล้ว กล่าวคาถานั้น พอจบโกลิตะก็บรรลุโสดาปัตติผล ทั้งสองจึงพากันไปชวนอาจารย์สัญชัย แต่อาจารย์ไม่ไป จึงลาอาจารย์ แล้วชักชวนบริวารได้ ๒๕๐ คน พากันไปเฝ้าพระบรมศาสดาพระพุทธองค์ทรงเทศนาโปรด พอจบลงปริพาชกที่เป็นบริวารทั้งหมดได้บรรลุอรหัตตผล เว้นแต่ ๒ สหาย พระองค์ทรงเหยียดพระหัตถ์ ประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น
ได้ตำแหน่งอัครสาวก 
จำเดิมแต่อุปสมบทแล้วได้ ๗ วัน โกลิตภิกษุอันสพรหมจารีเรียกท่านโมคคัลลานะ เหตุเป็นบุตรแห่งนางโมคคัลลี ไปเจริญสมณธรรมที่บ้านกัลลวาลมุตคาม ถูกถีนมิทธะครอบงำนั่งโงกง่วงอยู่ พระพุทธองค์เสด็จไปทรงบรรเทาแล้วประทานพุทธโอวาทในธาตุกัมมัฏฐานภาวนา ก็ได้บรรลุอรหัตตผล ฝ่ายอุปติสสภิกษุ ที่สหธรรมิกเรียกกันว่าสารีบุตร เพราะเป็นบุตรแห่งนางสารีได้ตามเสด็จไปยังถ้ำสุกรขาตา ได้สดับเวทนาปริคคหสูตรที่ทรงแสดงแก่ฑีฆนขปริพาชกซึ่งเป็นหลานของท่านก็ได้บรรลุอรหัตต ผล หลังจากที่อุปสมบทได้ ๑๕ วัน ในวันนั้นเอง อันเป็นวันเพ็ญแห่งเดือนมาฆ(เดือน๓) เป็นวัน จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และทรงประทานตำแหน่งอัครสาวกฝ่ายขวาแด่ท่านพระสารีบุตรเถระ ฝ่ายซ้ายแด่ท่านพระโมคคัลลานะ ณ ท่ามกลางพระอรหันตขีณาสพทั้งปวง
โปรดพุทธบิดา
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ 
พระเจ้าสุทโธทนมหาราชพุทธบิดา ได้สดับข่าวว่า พระราชโอรสได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เที่ยวประกาศศาสนา ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ปรารถนาจะทัศนาพระพุทธองค์ จึงตรัสให้อำมาตย์พร้อมกับบริวารหนึ่งพันไปเชิญเสด็จ แต่อำมาตย์และบริวารได้ฟังเทศน์ ก็บรรลุพระอรหันต์และทูลขอบวช และมิได้ทูลเชิญเสด็จ พระพุทธบิดาเห็นหายไปจึงส่งไปใหม่ โดยทำนองนี้ถึง ๙ ครั้ง ครั้งสุดท้านตรัสใช้ให้กาฬุทายีอำมาตย์พร้อมกับบริวารหนึ่งพันไป กาฬุทายีทูลลาบวชด้วยก็ทรงอนุญาต กาฬุทายีพร้อมด้วยบริวารเดินทางถึงกรุงราชคฤห์ เข้าไปสู่พระเวฬุวันได้ฟังเทศน์จากพระพุทธองค์ พอจบก็บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งหมดแล้วทูลขอบรรพชา พอบวชแล้วได้ ๗ วัน ก็กราบทูลเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ พระพุทธองค์ทรงรับ แล้วพร้อมด้วยภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร เสด็จคมนาการวันละหนึ่งโยชน์สิ้นเวลา ๖๐ วัน จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนท่านพระกาฬุทายีได้ล่วงหน้าไปแจ้งเหตุการณ์เสด็จถวายแด่พระเจ้าสุทโธทนะทุกวัน
ฝนโบกขรพรรษตก 
เมื่อ พระพุทธองค์เสด็จถึง ก็ได้ไปประทับที่นิโครธาราม ซึ่งพระประยูรญาติให้สร้างรับเสด็จ พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระประยูรญาติทั้งหลายก็มาเฝ้า แต่พระประยูรญาติที่เป็นผู้ใหญ่ ไม่ยอมที่จะนมัสการ โดยถือว่าพระพุทธองค์เป็นเด็กคราวน้อง คราวลูกหลาน พระพุทธองค์ก็ทรงทรมานด้วยอภินิหาร จนกระทั่งพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติยกหัตถ์นมัสการด้วยความชื่นชม โสมนัส  ลำดับนั้น เมฆฝนโบกขรพรรษก็ตั้งขึ้น หลั่งหยาดน้ำฝนมีสีแดงให้ตกลงในหมู่พระประยูรญาติวงศ์ น่าอัศจรรย์ ภิกษุทั้งหลายก็พิศวง เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษ ตกในกาลนี้เท่านั้นหามิได้ อดีตกาลก็เคยตกมาแล้วเช่นกันจึงตรัสเทศนาเวสสันดรชาดก เมื่อจบลงพระประยูรญาติก็ทูลลากลับ ไม่มีผู้ใดจะทูลอาราธนาเพื่อเสวยโภชนาหารในวันรุ่งขึ้นแม้แต่พระองค์เดียว ดังนั้นในเช้าวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๒ หมื่น เสด็จโคจรบิณฑบาตตามลำดับตรอก ตามพุทธประเพณี ยังความโกลาหลให้เกิดแก่ชาวเมืองเป็นอันมาก
โปรดพิมพาเทวี
พุทธบิดาบรรลุโสดาปัตติผล 
ในกาลนั้นพระนางพิมพาเทวี มารดาแห่งราหุลกุมาร สดับเสียงโกลาหลของประชาชน จึงตรัสถามนางกำนัล ทรงทราบว่า พระสวามีทรงบาตร เสด็จเที่ยวภิกขาจาร จึงชวนราหุล กุมารไปยังสีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นพระบรมศาสดาจารย์ รุ่งเรืองไปด้วยพระรัศมี ๖ ประการ จึงตรัสสรรเสริญด้วยนรสีหคาถา ๘ คาถา แล้วกราบทูลให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทรงสดับทรงสังเวชสลดพระทัย เสด็จลงจากพระราชนิเวศน์โดยด่วน ไปประทับยืนอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วตรัสถามว่า ข้าแต่องค์พระผู้มีพระภาค ไฉนพระองค์จึงมาทำให้โยมได้รับความอัปยศ มาเที่ยวบิณฑบาต ดังนี้หรือเข้าพระทัยว่า โยมไม่สามารถที่จะจัดภัตตาหารแด่ภิกษุมีประมาณเท่านี้ได้พระพุทธองค์ตรัสว่า มหาบพิตร วัตรนี้เป็นจารีตตามวงศ์ประเพณีของตถาคต คือพุทธวงศ์เสด็จประทับอยู่ในระหว่างวิถีนั่นเอง ตรัสเทศนาโปรดพุทธบิดาด้วยสารคาถาว่า อุตฺติฏเฐ นปฺปมชฺเชยฺย เป็นต้น ความว่า บุคคลใดไม่ประมาทในบิณฑบาตอันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับ มีอุตสาหะ ประพฤติสุจริตธรรม บุคคลนั้นพึงอยู่เป็นสุขสำราญทั้งในโลกนี้ โลกหน้า พอจบพระคาถาพระบรมกษัตริย์ก็บรรลุโสดาปัตติผล จึงทรงรับบาตร แล้วทูลอาราธนาพระบรมศาสดา พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ขึ้นสู่ปราสาท อังคาสด้วยโภชนาหารอันประณีต
โปรดพระนางมหาปชาบดี 
ครั้น รุ่งขึ้น เป็นวันที่เสด็จพุทธดำเนินไปทรงรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว จึงตรัสเทศนาโปรดพระนางมหาปชาบดีด้วยสาระพระคาถาว่า ธมฺมญฺจเร สุจริตํ  เป็นอาทิ ความว่า บุคคลผู้ใดประพฤติสุจริตธรรม ไม่ประกอบทุจริต บุคคลนั้นย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า พอจบพระธรรมเทศนาพระนางมหาปชาบดีราชเทวี ก็บรรลุโสดาปัตติผล และพระเจ้า  สุทโธทนะก็บรรลุสกิทาคามิผล
พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุอนาคามิผล 
ในวันที่ ๓ ก็เสด็จไปเสวยโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ขณะเวลาเสวยอยู่ พระเจ้าสุทโธทนะตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กาลเมื่อพระองค์กระทำทุกกรกิริยา มีเทพยดาองค์หนึ่งมาบอกว่า พระองค์มิได้เสวยพระกระยาหาร บัดนี้ทำลายพระชนม์ชีพแล้ว ข้าพระองค์ไม่เชื่อจึงมีพุทธฎีกาว่า มหาบพิตร ในอดีตกาล เมื่อตถาคตเป็นโพธิสัตว์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์นำเอากระดูกแพะแสดงแก่พระองค์ และบอกว่าบุตรของท่านตายเสียแล้ว พระองค์ยังไม่เชื่อครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว ทรงตรัสเทศนามหาธรรมปาลชาดก พอจบลงพระบรมกษัตริย์ก็บรรลุอนาคามิผล
เสด็จปราสาทพระนางยโสธรา 
สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์เป็นเวลาถึง ๓ วันแล้ว แต่พระนางยโสธราราชเทวี หาได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ไม่ พระเจ้าสุทโธทนะจึงตรัสให้นางสนมผู้หนึ่งไปเชิญเสด็จ แต่พระนางหามาไม่ จึงกลับมากราบทูลให้ทรงทราบ สมเด็จพุทธบิดาจึงทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จเยือนพิมพาเทวี พระองค์ทรงรับ พร้อมอัครสาวกทั้ง ๒ และพุทธบิดา เสด็จสู่ห้องพิมพาเทวี ยโสธราราชกัญญาทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จ จึงจูงพระราหุลกุมารเสด็จถึงครรภทวาร พอเห็นพระพักตร์พระพุทธองค์ น้ำพระเนตรก็หลั่งนองพระพักตร์ จึงคลานเข้าไปซบพระเศียรที่หลังพระบาท กอดข้อพระบาทแล้วทรงพระกรรแสงเกลือกกลิ้งไปมา พระพุทธบิดาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูเจ้า จะหาหญิงใดที่ซื่อสัตย์เหมือนพิมพาไม่มี จำเดิมแต่พระองค์เสด็จออกบรรพชา จะนั่งนอนยืนเดินก็ไม่เป็นสุข มีแต่ทุกข์โศกเศร้าทุกเช้าเย็น แม้ขัตติยประยูรญาติจะรับไปเลี้ยงบำรุงรักษาก็ไม่ปรารถนา ตั้งใจสวามิภักดิ์ ซื่อสัตย์ เสน่หาเฉพาะพระองค์เดียวพระบรมศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ยโสธราจะมีจิตเสน่หาสวามิภักดิ์ตถาคตในกาลบัดนี้หามิได้ แม้ในอดีตกาล บังเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ก็มิยินดีในถ้อยคำแห่งพระเจ้าพาราณสีที่มาวิงวอนประเล้าประโลม ถวายชีวิตเป็นทานแก่ตถาคตน่ามหัศจรรย์ชนทั้งปวงจึงทูลอาราธนาให้ตรัสถึงอดีตภพ พระองค์ทรงเทศนาจันทกินนรชาดกโดยพิสดาร เพื่อละความเศร้าโศกแห่งพิมพาราชเทวี พระนางยโสธราทัศนาพระพักตร์ไปพลาง สดับพระธรรมเทศนาที่ตรัสด้วยสุรเสียงไพเราะไปพลาง ยังปสาทและปีติให้เกิดขึ้นในกมลว่า ตัวเรานี้ได้ประสาทชีวิตแห่งถตาคตให้คืนคงในอดีตภพ ก็ระงับเสียได้ซึ่งความเศร้าโศกด้วยปีติปราโมทย์ บรรลุพระโสดาปัตติผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
ศากยบรรชา
นันทบรรพชา 
ในวันอันเป็นคำรบ ๕ พระผู้มีพระภาคเสด็จไปรับอาหารบิณฑบาตในนิวาสสถานแห่งนันทราชกุมารพุทธอนุชา เนื่องในวันวิวาหมงคลของนันทะกับนางชนบทกัลยาณี ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว ประทานบาตรให้นันทะ แล้วจึงตรัสมงคลกถา เสร็จแล้วเสด็จลงจากนิเวศน์มิได้ทรงรับบาตร นันทกุมารก็มิอาจทูลเตือน ยังทรงถือบาตรเสด็จตาม นางสนมเห็นเช่นนั้นจึงไปทูลนางชนบทกัลยาณี พระนางตกพระทัย จึงติดตามมาโดยเร็วแล้วร้องทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์จงเสด็จกลับมาโดยด่วนเมื่อถึงนิโครธารามมหาวิหาร พระพุทธเจ้าตรัสว่า นันทะ เธอจะบรรพชาไหมนันทะมิอาจขัดพุทธดำรัสได้โดยความเคารพยิ่งในพระพุทธองค์ จึงทูลว่า จะบวช
ราหุลบรรชา 
ในวันที่ ๗ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งพระราชกุมารแล้วส่งไปหาพระผู้มีพระภาคซึ่งเสด็จมารับบิณฑบาตตรัสสั่งว่า พระสมณะองค์นั้น คือพระพุทธบิดาของลูก พระองค์มีสุวรรณนิธิมากมาย ลูกจงไปขอขุมทองอันเป็นสมบัติของบิดาของลูกพระราหุลรับสั่งแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายนมัสการพลางดูพระสัพพัญญู ก็เกิดความรักในพุทธบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัส ตรัสชมว่า สมณะฉายานี้ สุขสบายดียิ่งนักและตรัสอย่างอื่นอีก โดยมิได้ขอขุมทรัพย์แต่ประการใด  เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำพุทธกิจเสร็จ ตรัสภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จกลับ พระราหุลก็วิ่งตามทูลขอขุมทอง จนถึงพระอาราม พระพุทธองค์ทรงดำริว่า ราหุลปรารถนาทรัพย์สมบัติ ก็ขุมทองเป็นของอันจะเวียนไปในสังสารวัฏ ฉะนั้น ถตาคตจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ อันจะทำให้กุมารเป็นเจ้าของโลกุตตรทรัพย์จึงตรัสแก่พระธรรมเสนาบดีว่า เธอจงให้บรรพชาแก่ราหุลพระสารีบุตรรับพุทธโองการแล้วก็ให้ราหุลบรรพชาในเวลานั้น
พุทธบิดาขอพร 
พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงทราบก็ทรงโทมนัสเป็นกำลัง มิอาจจะยับยั้งความโทมนัสไว้ได้ ก็เสด็จออกไปนิโครธาราม กราบทูลขอพระพุทธานุญาตว่า จำเดิมแต่นี้ไป กุลบุตรผู้ใคร่จะบวช ถ้าบิดามารดาไม่ยินยอมอนุญาตให้บวช ขอจงทรงงดอย่าทำการอุปสมบทให้กุลบุตรนั้นพระพุทธองค์ทรงโปรดประทานพร พระพุทธบิดาถวายพระพรลา พาพระนันทะและสามเณรราหุล ตลอดสังฆบริษัทเสด็จกลับสู่กรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่สีตวัน ป่าไม้สีเสียด
อนาถปิณฑิกสร้างวัดถวาย 
ในกาลนั้น อนาถปิณฑิกเศรษฐีมายังเมืองราชคฤห์ ได้สดับพระธรรมเทศนาก็บรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลนิมนต์ให้เสด็จพระนครสาวัตถี แล้วตนเองรีบกลับไปก่อน จัดแจงสร้างเชตวันมหาวิหารไว้ถวาย เมื่อพระองค์เสด็จเมืองสาวัตถีก็ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ส่วนพระนันทะมีจิตกระสันอยากจะสึก ไม่ยินดีในการบรรพชา พระองค์ต้องใช้อุบายทำให้พระนันทะได้สำเร็จพระอรหันต์
๖ กษัตริย์บรรพชา 
ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปสู่มหาชนบท ประทับอาศัยอยู่ที่อนุปิยอัมพวันใกล้บ้านอนุปิยมัลลนิคม ในกาลนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ ประองค์ คือ พระภัททิยะ๑ พระอนุรุทธะ๑ พระอานนท์๑ พระภัคคุ๑ พระกิมพิละ๑ พระเทวทัต๑ เป็น ๗ ทั้งนายช่างกัลบก คืออุบาลี พร้อมใจกันจะออกบรรพชา จึงพากันออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จสู่แคว้นมัลลรัฐชนบทไปยังอนุปิยอัมพวัน กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นกษัตริย์ มีขัตติยมานะแรงกล้า ก็แหละผู้นี้คือ อุบาลี เป็นคนใช้มานาน ขอพระองค์ทรงประทานการอุปสมบทแก่อุบาลีก่อน เพื่อที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจะได้กราบไหว้โดยเป็นผู้ใหญ่กว่า จะได้ข่มเสียซึ่งขัตติยมานะให้ปราศจากสันดานพระบรมศาสดาจึงประทานตามพระประสงค์
พระเทวทัตทำอนันตริยกรรม 
เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจาริก ประทับอยู่ ณ เมืองโกสัมพี มีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก ชนทั้งหลายถือปัจจัยสี่เข้ามาสู่พระวิหาร และถามถึงแต่อัครสาวกทั้ง ๒ และมหาสาวกองค์อื่นๆ แต่ไม่มีใครถามถึงพระเทวทัต พระเทวทัตเกิดน้อยใจว่า เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน ทำไมไม่มีใครถามหา จึงดำริว่า เราจะให้ผู้ใดเลื่อมใส จึงจะบังเกิดลาภสักการะ ก็พิจารณาเห็นอชาตศัตรูกุมาร จึงเนรมิตกายเป็นกุมาร เอาอสรพิษ ๗ ตัวพันกายแล้วเหาะไปยังกรุงราชคฤห์ แสดงตนให้ปรากฏแก่พระราชกุมาร อชาตศัตรูตกพระทัยกลัว จึงปลอบโยนว่า อาตมาคือพระเทวทัต แล้วแสดงกายเป็นสมณ- เพศตามปกติ อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสถวายลาภสักการะเป็นอันมาก ภายหลังเกิดอกุศลจิต คิดจะครอบครองภิกษุสงฆ์ทั้งปวง พอดำริเช่นนั้นโกลิยฤทธิ์ก็เสื่อมสูญไป จึงไปยังพระเวฬุวัน กราบทูลในท่ามกลางบริษัทว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว ขอจงทรงพระสำราญด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหารเถิด ข้าพระองค์จะรับภาระช่วยว่ากล่าวครอบครองพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง ขอพระองค์ทรงมอบพระภิกษุสงฆ์สาวกแก่ข้าพระองค์เถิดพระองค์ไม่ทรงอนุญาต พระเทวทัตเสียใจไม่สมหวัง จึงผูกอาฆาตในพระบรมศาสดาเป็นครั้งแรก แล้วออกจากสำนัก ดำริว่า เราจะกระทำอันตราบพระสมณโคดมให้พินาศ จึงเข้าไปหาอชาตศัตรู และแนะนำให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้บิดาตั้งตนเป็นกษัตริย์ ส่วนตนเองจะปลงพระชนม์พระบรมศาสดาแล้วเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง เมื่ออชาตศัตรูเชื่อกระทำปิตุฆาต ยกตนขึ้นเป็นพระราชาสมปรารถนา จึงร่วมกันคิดใช้นายขมังธนูไปปลงพระชนม์พระพุทธองค์ แต่กลับได้บรรลุโสดาปัตติผลทั้งสิ้น ตนเองจึงขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาลงหวังจะให้ทับพระพุทธองค์ แต่สะเก็ดหินกระทบนิ้วพระบาทเพียงห้อพระโลหิต ภายหลังจึงคบคิดปล่อยช้างนาฬาคีรี ในครั้งนั้น พระอานนท์สละชีวิตเข้าขวางหน้าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงทรมานช้างจนหายพยศแล้วเสด็จกลับเวฬุวัน
                ครั้งนั้น ความชั่วแต่หนหลังของพระเทวทัตก็ปรากฏแก่มหาชนทั้งสิ้นว่า พระเทวทัตชักชวนพระเจ้าอชาต ศัตรูให้ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและปลงพระชนม์บิดาตน กระทำกรรมชั่วช้าลามกถึงเพียงนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูได้สดับคดีทรงละอายพระทัย จึงสั่งเลิกสำรับเสียและไม่ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเทวทัตอีกเลย พระเทวทัตเสื่อมจากลาภอันยิ่งใหญ่ แม้ประชาชนก็ไม่ใส่บาตรให้ฉัน จึงคิดที่จะเลี้ยงชีพโดยการหลอกลวงต่อไป จึงเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาทูลขอวัตถุ ๕ ประการ คือ ๑. อยู่ป่าเป็นวัตร ๒. อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๓. นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๔. บิณฑบาตเป็นวัตร ๕. เว้นการบริโภคเนื้อและปลา ถ้าภิกษุรูปใดจะถือข้อใด ก็ต้องถือตลอดชีวิต จะละการปฏิบัติไม่ได้ พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต มีพุทธฎีกาว่า ตามแต่จะปฏิบิโดยศรัทธา พระเทวทัตก็กล่าวยกโทษพระพุทธองค์ว่า ค่าของใครจะประเสริฐกว่ากัน ผู้ใดใคร่พ้นทุกข์จงมาไปกับเราแล้วพาภิกษุที่บวชใหม่มีปัญญาน้อย ที่เชื่อฟังคำของตนประมาณ ๕๐๐ รูปไป พยายามจะทำสังฆเภท พระพุทธองค์รู้เหตุจึงตรัสเตือนก็ไม่เอื้อเฟื้อ พบพระอานนท์กล่าวว่า อานนท์ จำเดิมแต่วันนี้ เราเว้นจากพระบรมครูและหมู่สงฆ์ทั้งหมด จะทำอุโบสถสังฆกรรมเฉพาะพวกของเราเท่านั้นพอถึงวันอุโบสถจึงให้ภิกษุเหล่านั้นจับสลากปฏิบัติตามวัตถุ ๕ ประการ แล้วทำลายสงฆ์พาหมู่ภิกษุไปยังคยาสีส ประเทศ พระพุทธองค์ตรัสให้พระอัครสาวกทั้ง ๒ ไปนำกลับมา
แผ่นดินสูบพระเทวทัต 
ฝ่ายพระโกกาลิก เห็นเช่นนั้นจึงต่อว่าพระเทวทัตแล้วยกเข่าขึ้นกระทุ้งยอดอก  จนพระเทวทัตอาเจียนเป็นโลหิต เกิดอาพาธหนัก พระเทวทัตอาพาธอยู่ถึง ๙ เดือน เห็นชีวิตตนคงจะไม่รอด ใคร่จะขอขมาพระพุทธองค์จึงขอร้องให้ศิษย์นำไปเฝ้า แต่พอไปถึงสระโบกขรณีนอกพระเชตวัน ใคร่จะลงสรงน้ำ พอห้อยเท้าลงที่พื้นดิน แผ่นดินก็แยกสูบจมลงไปจนกระทั่งกระดูกคางจรดพื้นดินจึงกล่าวขึ้นว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายกระดูกคางนี้บูชาพระสัพพัญญูผู้เป็นอัครบรมครูเป็นต้น อานิสงส์อันนี้เป็นปัจจัยให้พระเทวทัตจะได้เป็นพระปัจเจกโพธิในอนาคตที่สุดแสนกัลป์ เมื่อพระเทวทัตกล่าวจบ ก็จมลงไปเกิดในอเวจีมหานรก
เมตไตยพยากรณ์
เมตไตยโพธิสัตว์อุบัติ 
เมตไตยโพธิสัตว์อุบัติในพุทธกาลแห่งพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานั้น พระเมตไตยโพธิสัตว์ได้ปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งพระนางกาญจนาเทวีอัครมเหสีพระเจ้าอชาตศัตรูราชา ครั้นถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์ ได้นามบัญญัติว่า อชิตราชกุมารครั้นเจริญวัย ได้เห็นและสดับพระธรรมเทศนาแห่งพระบรมศาสดา ก็มีพระทัยศรัทธาโสมนัส ดำริว่า พุทธานุภาพนี้อัศจรรย์ยิ่งนัก ผู้ใดมิได้บำเพ็ญทาน รักษาศีลและบำเพ็ญบารมีต่างๆ ก็มิอาจจะตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณได้ ฉะนั้น เราจะตัดบ่วงแห่งฆราวาสออกบรรพชาในพระพุทธศาสนาจึงทูลลาพระราชบิดาบวช แล้วได้เล่าเรียนพุทธวจนะเป็นอันมาก ได้สอนธรรมบอกกล่าวพระไตรปิฎกแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งปวง
รับผ้าคู่ของพระนางโคตมี 
สมัยหนึ่ง พระบรมครูเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นวาระที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมีพระน้านางทรงจินตนาว่า จำเดิมแต่พระลูกเจ้ามาสู่พระนครนี้ เรามิได้ถวายสิ่งใดเลย ฉะนั้น เราจะถวายจีวรสาฎกเถิด แล้วจึงทรงเพาะเมล็ดฝ้ายในอ่างทอง เมื่อต้นฝ้ายออกปอย ทรงเก็บใส่ลงในผอบทอง ทรงเลือกหีบดีดปั่นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เส้นด้ายละเอียดยิ่งนัก มีสีเหลืองดุจทองให้หาช่างหูกฝีมือเยี่ยมมา เสด็จทอดพระเนตรการทอผ้านั้นเป็นนิตย์ทุกวัน เมื่อสำเร็จได้ผ้า ๒ ผืน ผืนละ ๑๔ ศอก โดยความยาว เป็นพระภูษาที่คำนวณค่ามิได้ จึงพับใส่ผอบแก้วยกขึ้นทูลเหนือเศียรเกล้า พร้อมกับบริวารนำไปถวายพระบรมศาสดาที่นิโครธาราม ถวายนมัสการแล้วทรงจับผ้าทั้งคู่น้อมเข้าไปถวายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ภูษาทั้งคู่นี้ข้าพระองค์กระทำด้วยมือตนเอง ขอทรงพระมหากรุณานุเคราะห์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนานเถิดพระพุทธองค์ตรัสว่า โคตมี เธอจงถวายแก่สงฆ์เถิด จะมีผลานิสงส์มาก และได้ชื่อว่าบูชาตถาคตและสงฆ์ทั้งปวงพระนางปชาบดีทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง เมื่อพระองค์ไม่รับ ก็เสียพระทัยโทมนัสอาดูร จึงเข้าไปหาพระอานนท์เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พระอานนท์จึงเข้าไปทูลวิงวอนให้พระองค์ทรงรับ พระองค์จึงตรัสเทศนาทักขิณาวิภังคสูตร จำแนกทักษิณาทานที่เป็นปาฏิปุคคลิกทาน ๑๔ ประการ สังฆทาน ๗ ประการ แล้วทักษิณาทานอันบริสุทธิ์อีก ๔ ประการ พระนางโคตมีได้สดับพระธรรมเทศนาก็บังเกิดปรีดาปราโมทย์ จึงน้อมนำผ้าเข้าไปถวายพระธรรมเสนาบดี พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่รับ จึงถวายแด่พระโมคคัลลานะ พระอสีติมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ พระคุณเจ้าทั้งหมดก็มิยอมรับ จนกระทั่งถึงพระอชิตภิกษุ ซึ่งเป็นพวกภิกษุนั่งอยู่ท้ายสงฆ์ทั้งปวง พระผู้เป็นเจ้าก็รับ พระนางทรงโทมนัสจนน้ำพระเนตรนองพักตร์ ด้วยคิดว่า ตัวเรานี้บุญน้อย อุตส่าห์ทำผ้าคู่นี้ตั้งจิตว่าจะถวายพระชินสีห์ ทั้งพระองค์อัครสาวก และพระมหาเถระ ก็มิยอมรับ บัดนี้ ภิกษุหนุ่มเป็นนวกะมารับผ้าของเราพระพุทธองค์ทรงเห็นเช่นนั้น จึงทรงพุทธดำริว่า  ตถาคตจะทำให้พระนางโคตมีบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานจึงตรัสให้พระอานนท์ไปนำบาตรของพระองค์มา แล้วทรงทำอธิษฐานว่า ขอพระสาวกทั้งปวงจงอย่าหาบาตรนี้เห็น เว้นเสียอชิตหนุ่มผู้เดียว แล้วทรงโยนบาตรไปในอากาศ บาตรนั้นก็ลอยหายลับเข้ากลีบเมฆไป พระธรรมเสนาบดีก็กราบทูลว่า จะนำบาตรกลับมาถวายแล้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศ เที่ยวค้นหาก็มิได้พบ จึงกลับลงกราบทูล พระมหาสาวกทั้งหลาย ล้วนเป็นเอตทัคคะต่างๆ ก็มิสามารถจะค้นหาได้พบ พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งว่า อชิตะ เธอจงไปค้นหาบาตรตถาคตพระผู้เป็นเจ้าดำริว่า น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไฉนพระมหาเถระทั้งหลายมีอานุภาพมากจึงมิอาจหาบาตรได้พบ ส่วนตัวเรานี้ยังมีจิตอันกิเลสมลทินครอบงำอยู่ พระสัพพัญญูตรัสสั่งให้ไปหาบาตร คงจะมีเหตุใดเหตุหนึ่งอย่างแน่นอน ฉะนั้น  เราจะเที่ยวค้นหาบาตร บังเกิดปีติปราโมทย์จึงเข้าไปกราบทูลรับอาสา แล้วออกมายืนในที่สุดบริษัท มองดูนภากาศแล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า เราบรรพชาในพระพุทธศาสนาด้วยปรารถนาปัจจัยลาภ และมิอาจจะเลี้ยงชีพในฆราวาสได้ก็หาไม่ เราตั้งใจจะประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อหมายมั่นที่จะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ผิว่าศีลของเรามิขาดมิทำลายบริสุทธิ์เป็นอันดี ขอให้บาตรแห่งองค์พระชินสีห์ จงมาประดิษฐานในมือแห่งเราที่เหยียดออกไปโดยพลัน พอเสร็จคำอธิษฐาน บาตรก็พลันตกลงมาจากอากาศ ประดิษฐานอยู่ในหัตถ์แห่งอชิตภิกษุเป็นที่น่าอัศจรรย์ พระนางปชาบดีได้ทอดพระเนตร ดังนั้น ก็เกิดปีติโสมนัสเป็นกำลังเกิดศรัทธาปสาทอย่างแรงกล้าจนน้ำพระเนตรหลั่งไหล ยอหัตถ์นมัสการพระบรมศาสดาจารย์แล้วๆ เล่าๆ ก็เสด็จคืนพระราชนิเวศน์
ทรงแย้มพระโอษฐ์ 
ส่วนพระอชิตภิกษุ จินตนาการว่า ประโยชน์อันใดแก่เราด้วยผ้าที่เลิศคู่นี้ด้วยจะปิดกายก็มิสมควร เราจะนำผ้าคู่นี้ไปกระทำบูชาพระพุทธชินสีห์ จะเป็นการสมควรยิ่ง เมื่อดำริเช่นนั้นก็ถือผ้าผืนหนึ่งเข้าไปคาดเป็นเพดานเบื้องบนพระคันธกุฎี อีกผืนหนึ่งฉีกเป็น ๔ ชิ้น ทำเป็นม่านห้อยลงทั้ง ๔ มุมแห่งเพดาน แล้วจึงเปล่งวาจาว่า วัตถุบูชานี้เจริญจิตยิ่งนัก ด้วยอานิสงส์วัตถุนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสิ่งอื่นนอกเสียจากพระโพธิญาณสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทอดพระเนตรเห็นการกระทำของอชิตภิกษุนั้น ก็กระทำพระอาการแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์กราบทูลถามเหตุผลแห่งการแย้มให้ปรากฏ พระบรมสุคตจึงตรัสว่า อานนท์ อชิตภิกษุนี้จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระชินสีห์ ทรงพระนามว่า เมตไตยในอนาคตในมหากัปนี้
                ในกาลนั้น พระเมตไตยบรมโพธิสัตว์ จะปฏิสนธิในครรภ์แห่งสุพรหมวดีพราหมณี ภรรยาแห่งสุพรหมพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตาจารย์แห่งพระเจ้าสังขบรมจักรพรรดิ เมื่อครบทศมาสก็ประสูติ ณ ทีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองเกตุมวดี เมื่อเจริญวัย บริโภคสมบัติอยู่ในปราสาททั้ง ๓ หลัง มีจันทรมุขีพราหมณีเป็นอัครภรรยา ครอบครองสมบัติอยู่ในเพศฆราวาส ๗ หมื่นปี ได้ทัศนาเทวทูตทั้ง ๔ เมื่อนางจันทรมุขี คลอดบุตรนามว่า พรหมวัฒนกุมาร จึงดำริในการจะออกบรรพชา ขณะนั้น ปราสาทจะเลื่อนลอยขึ้นบนอากาศ ลงมาประดิษฐาน ณ ปฐพีใกล้พระศรีมหาโพธิ์ คือต้นกากทิง พระโพธิสัตว์จะลงจากปราสาท ถือเอาผ้าทิพยกาสาวพัสตร์แล้วทรงบรรพชา บุรุษที่เป็นบริวารจะบรรพชาตามทั้งหมด พระองค์จะบำเพ็ญทุกกรกิริยา ๗ วัน พอถึงวันวิสาขบุรณมี จะเสวยข้าวมธุปายาสแห่งนางสุนันทาพราหมณี ครั้นเวลาเย็นทรงรับหญ้าคาจากโสตถิยพราหมณ์ ๘ กำมือ อธิษฐานเป็นรัตนบัลลังก์สูง ๑๕ ศอก สถิตบนบัลลังก์ พิจารณาปัจจยาการก็สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนั้นเอง.
สุทโธทนราชานิพพาน
พุทธบิดาทรงประชวร 
ครั้นใกล้วัสสกาลเป็นคำรบ ๕ พระผู้มีพระภาคเสด็จจากกรุงราชคฤห์พร้อมกับด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ ไปยังเมืองเวสาลี ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เพื่ออนุเคราะห์เวไนยสัตว์ และเสด็จจำพรรษาที่ ๕ ที่นั้น ในปีนั้นพระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดาทรงประชวรหนัก เสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ทรงระลึกถึงองค์พระศาสดาโดยปริวิตกว่า ผิว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่ทรงปรามาสศีรษะ พระนันทะลูบกายข้างซ้าย พระอานนท์ลูบกายเบื้องขวา และพระราหุลลูบกายเบื้องหลังของอาตมา ทุกขเวทนา โรคาพยาธิจักบรรเทาโดยแน่แท้
พุทธบิดาบรรลุอรหัต 
ในยามใกล้รุ่งแห่งราตรีวันนั้น พระบรมศาสดาเข้าสู่พระมหากรุณาสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้น ทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ ทอดพระเนตรในพระญาณเห็นพุทธบิดากำลังประชวรหนัก ทรงพุทธดำริว่า พระบิดาแห่งตถาคตมีพระโรคาพาธอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะเห็นตถาคตในวันนี้ กาลนี้ควรที่ตถาคตจะไปเยี่ยมเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ตรัสชวนพระอานนท์ และให้บอกกล่าวภิกษุทั้งหลายบรรดาที่เป็นพระขีณาสพ เมื่อพระขีณาสพทั้งหลายมีอัครสาวกเป็นต้นมาประชุมพร้อมกันแล้ว จึงมีพุทธดำรัสว่า เธอทั้งหลาย จงไปทัศนาพุทธบิดากับตถาคต อันเป็นปัจฉิมทัศนาครั้งสุดท้ายในวาระนี้พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ องค์ ไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยทางอากาศ ครั้นถึงก็ลงที่พระราชมณเฑียรประทับเหนือพระยี่ภู่ เล็งดูพระพุทธบิดาแล้วตรัสถามว่า ทุกขเวทนาพอที่จะอดทนหรือพ้นพระกำลังประการใดพระบรมกษัตริย์ทรงสดับก็สะท้อนพระทัยพระชลนัยน์หลั่งไหลกราบทูลว่า ทุกขเวทนาแห่งข้าพระพุทธเจ้านี้ เหลือกำลังที่จะอดทน พ้นที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้จึงตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงพระปริวิตกนักแล้วทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา กระทำสัตยาธิษฐานและลูบที่พระเศียรแห่งพระบรมกษัตริย์ ขณะนั้น พระอานนท์พุทธอนุชาก็ลูบพระกรเบื้องขวา พระนันทเถระก็ลูบพระพาหาเบื้องซ้าย พระราหุลพุทธชิโนรสก็ลูบพระปฤษฎางค์ อันว่าทุกขเวทนาอันแรงกล้าก็เหือดหายระงับไป พระเจ้าสุทโธทนะก็เสด็จลุกจากพระแท่นบรรทม ถวายบังคมพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาพระชนมายุสังขารว่ามีปริมาณน้อยนัก จะดำรงอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น และทรงทราบอุปนิสัยแห่งอรหัตตผล ก็โปรดประทานพระธรรมเทศนาทั้งกลางวันกลางคืน ด้วยอนิจจาทิปฏิสังยุตและอริยสัจ ๔ ประการ ในวันครบที่ ๗
ถวายพระเพลิงพระบรมศพ 
ในกาลนั้น พระบรมกษัตริย์จึงทูลว่า ข้าแต่พระบรมศาสดาจารย์ ข้าพระองค์นี้พ้นจากบ่วงแห่งสงสาร เห็นนิพพานสัจโดยประจักษ์จิต อนึ่ง ชีวิตยังเหลืออยู่น้อยนักจักขอทูลลานิพพาน อนึ่งนั้นสิ่งอื่นใดที่ข้าพระองค์ประมาทด้วยกายวจีจิตในพระสุคต ขอจงพระกรุณาอดโทษานุโทษทั้งปวงแก่ข้าพระบาท ขอจงทรงอนุญาตแก่ข้าพระพุทธเจ้าอันจะทูลลาสู่ปรินิพพาน ณ กาลบัดนี้แล้วเอนองค์ลงเหนือพระยี่ภู่นั้น เข้าสู่ปรินิพพาน ในขณะนั้น พระนางปชาบดีและพระนางยโสธรา หมู่สนมนางในกับทั้งเหล่าศากยวงศ์ก็ทรงโศกาอาดูรพิไรรำพัน  พระพุทธองค์ก็ทรงระงับเสียด้วยอนิจจตาปฏิสังยุต แล้วมีพระพุทธดำรัสตรัสสั่งให้พระมหากัสสปะเถระไปดูสถานที่จะทำฌาปนกิจ เมื่อพระมหาเถระกระทำเสร็จกลับมากราบทูล พระองค์ทรงยกพระเศียรพุทธบิดา ทรงสรงพระบรมศพด้วยสุคนธวารี ทรงลูบพระเศียรและตรัสแด่พระธรรมเสนาบดีว่า บุคคลใดประพฤติกุศลธรรมสุจริต และมีจิตปรารถนาโพธิภูมิบารมีใดๆ นั้นจงอุตส่าห์อภิบาลบำรุงเลี้ยงบิดามารดา จะสำเร็จตามปรารถนาทุกประการแล้วทรงยกพระศพใส่หีบแก้วอันเชิญไปสู่ฌาปนสถาน บกขึ้นสุ่เชิงตะกอน แล้วเสด็จกลับไปประทับที่นิโครธาราม
นางปชาบดีบรรพชา  ในลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีเสด็จไปสู่สำนักถวายนมัสการและกราบทูลว่า ข้าแต่พระบรมศาสดา สตรีนี้จะบวชในพระพุทธศาสนาได้หรือไม่ประการใดจึงพุทธฎีกาตรัสว่า เธอจงอย่าได้ชอบในบรรพชาเลย มาตุคามจะบวชไม่ควรถึงแม้พระนางจะกราบทูลถึง ๓ ครั้ง ก็ตรัสห้ามมิทรงอนุญาต พระน้านางทรงโทมนัสถวายอภิวาทเสด็จกลับไป พระพุทธเจ้าทรงประทับ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พุทธอัธยาศัย ก็เสด็จกลับสู่เมืองเวสาลี ส่วนพระนางโคตมี มีพระกมลสันดานยินดีในบรรพชา จึงปลงพระเกศานุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พร้อมกับนางกษัตริย์ศากยวงศ์เป็นจำนวนมาก เสด็จบทจรตามพระโลกนารถถึงเมืองเวสาลี เสด็จสู่กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน มีพระบาทบอบช้ำ พระวรกายหมองคล้ำไปด้วยธุลี ก็พระชลนัยน์นองเนตรเสด็จไปยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ขณะนั้น พระอานนท์เห็นเข้าจึงออกไปไตร่ถามทราบความจึงไปกราบทูลอ้อนวอน พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตด้วยการให้ครุธรรม ๘ ประการ ครั้นออกพรรษาก็เสด็จไปสู่เมืองสาวัตถี
พระนางพิมพาออกผนวช 
ฝ่ายในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระนางมหาปชาบดีทรงผนวชแล้ว ชนทั้งหลายมีอำมาตย์และปุโรหิตเป็นต้น ประชุมปรึกษากัน พร้อมใจกันยกพระมหานามะโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ทำพิธีราชาภิเษกครอบครองราชสมบัติแห่งกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อ ส่วนพระนางยโสธราราชเทวี ทรงจินตนาว่า ราชสมบัติไม่แน่นอน เป็นทายัชชะแห่งพระสวามีของเรา เมื่อเรายังดำรงชีวิตอยู่ยังตกไปเป็นของผู้อื่น พระสวามีก็มิทรงอาลัยจึงเสด็จออกบรรพชา จะมีประโยชน์อะไรแก่เราในเพศฆราวาส เราควรสละสมบัติแล้วบรรพชาโดยเสด็จพระภัสดา ณ กาลบัดนี้ จึงไปทูลลาพระมหานามราชา พร้อมด้วยนางสนมกำนัลประมาณ ๕๐๐ คน เสด็จไปพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ถวายอัญชลีแล้วทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้ด้วยครุธรรม ๘ ประการ พระนางเล่าเรียนกรรมฐาน ณ สำนักพระบรมศาสดา เจริญวิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
แสดงยมกปาฏิหาริย์
เศรษฐีอยากรู้จักพระอรหันต์ 
สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร มีเศรษฐีผู้หนึ่งอยู่ในกรุงราชคฤห์ ใคร่จะเล่นในแม่น้ำคงคา จึงให้ขึงข่ายเป็นรั้วล้อมที่ท่าที่ตนอาบเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์น้ำ มีไม้จันทน์แดงท่อนหนึ่งลอยมาติดข่าย เศรษฐีคิดว่าเราจะทำอะไรดี จึงดำริต่อไปว่า ชนทั้งหลายต่างกล่าวอวดตนว่าข้าเป็นพระอรหันต์ เรามิรู้ได้ว่า ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ เราควรให้กลึงปุ่มจันทน์แดงทำเป็นบาตร แล้วแขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ ต่อกันให้สูง ๑๐ ศอก ถ้าผู้ใดเหาะมาเอาบาตรไปได้ จะเชื่อถือว่า ผู้นั้นเป็นองค์พระอรหันต์ เราและบุตรภรรยาจะถึงผู้นั้นเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิตเมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว ก็ให้ทำตามที่ตนดำริ แล้วให้ร้องป่าวประกาศว่า แม้ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ในโลกนี้ ผู้นั้นจงเหาะมาถือบาตรนี้ไป เราให้เป็นสิทธิ
นิครนถนาฏบุตรแสดงท่าเหาะ 
ครั้งนั้น ครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น จึงพูดแก่เศรษฐีว่า บาตรนี้สมควรแก่เรา ท่านจงให้แก่เราเถิดเศรษฐีไม่ยอมให้ กล่าวเหมือนดังที่ได้ประกาศไว้ ครั้นถึงวันที่ ๖ นิครนถนาฏบุตร ใช้ให้ศิษย์บอกกล่าวแก่เศรษฐีว่า บาตรนี้สมควรแก่อาจารย์ของเราท่านอย่าต้องให้ทำฤทธิ์เหาะมา เพราะเหตุเพียงบาตรซึ่งเป็นวัตถุเล็กน้อยนี้เลย จงมอบให้อาจารย์ของเราโดยเคารพเถิดเศรษฐีก็คงยืนคำพูดเหมือนก่อน นิครนถ์จึงไปด้วยตนเอง โดยสั่งศิษย์ว่า ถ้าเรายกมือเท้าทำท่าจะเหาะ พวกเจ้าจงเข้าหยุดมือเท้าเราไว้ แล้วพึงกล่าวห้ามว่า ไฉนท่านอาจารย์จึงทำดังนี้ อย่าแสดงอรหันตคุณที่ปกปิดไว้ เพราะเหตุเพียงบาตรใบนี้ มิบังควรเมื่อสั่งแล้วจึงพูดขอบาตร เศรษฐีไม่ยอมให้ พูดเหมือนดังก่อน นิครนถ์จึงยกมือยกเท้าทำท่าจะเหาะพวกศิษย์ก็หยุดเข้าไว้ แล้วห้ามดุจสัญญากันไว้ นิครนถ์จึงกล่าวแก่เศรษฐีว่า เราจะเหาะขึ้นไปเอาบาตรแต่ศิษย์ห้ามไว้ ท่านจงให้บาตรแก่เราเถิดเศรษฐีก็ไม่ยอมให้
พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะ 
พระโมคคัลลานะกับพระปิณโฑลภารทวาชเถระเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ยืนห่มจีวรอยู่ที่บนหลังแผ่นศิลาใหญ่แห่งหนึ่ง ได้ยินนักเลงทั้งหลายกล่าวว่า ครูทั้ง ๖ กล่าวอวดว่า ตนเป็นพระอรหันต์ จนถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว ใครสักคนจะเหาะมาก็ไม่มี พวกเรารู้กันวันนี้เองว่า พระอรหันต์ไม่มีในโลกพระโมคคัลลานเถระจึงกล่าวว่า ภารทวาชะ ท่านได้ยินคำที่นักเลงพูดดูหมิ่นพุทธศาสนาหรือไม่ ท่านจงเหาะไปนำเอาบาตรมาให้ได้พระผู้เป็นเจ้าจึงเข้าจตุตถฌานสมาบัติอันเป็นฐานแห่งอภิญญากระทำอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปในอากาศ พร้อมทั้งแผ่นดินศิลาที่ยืน เหาะเวียนรอบกรุงราชคฤห์ แล้วเหาะลอยมาอยู่ตรงหลังคาเรือนของเศรษฐี เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงหมอบลงจนแผ่นอกจรดพื้นดินแล้วร้องอาราธนาว่า พระผู้เป็นเจ้าจงลงมาเถิดเมื่อพระมหาเถระลงมาแล้ว จึงนิมนต์ให้นั่งและให้นำบาตรลงมา บรรจุด้วยอาหารอันประณีตจนเต็มถวาย พระมหาเถระรับแล้วก็บ่ายหน้ากลับพระเวฬุวัน พระบรมศาสดาทรงทราบ ทรงติเตียน แล้วทรงให้ทำลายบาตรไม้จันทน์บดให้เป็นผง ทำเป็นยาใส่ตา และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์ต่อไป
เดียรถีย์แข่งฤทธิ์ 
พวกเดียรถีย์ทราบความ จึงประกาศกับประชาชนว่า จะทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระพุทธองค์ พระเจ้าอชาตศัตรูสดับเหตุ จึงไปสู่สำนักกราบทูลว่า ได้ยินว่า พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบทห้ามมิให้พระสาวกกระทำปาฏิหาริย์ แต่บัดนี้พวกเดียรถีย์จะทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระองค์ พระองค์จะทำฉันใดทรงตรัสตอบว่า มหาบพิตร ตถาคตบัญญัติห้ามแต่สาวก แต่จะบัญญัติห้ามตนเองหามิได้พระราชาทรงทูลถามว่า พระองค์จะกระทำเมื่อใด ที่ไหน ทรงตรัสตอบว่า มหาบพิตร แต่นี้ไปอีก ๕ เดือน ถึงวันอาสาฬหปุณณมีเพ็ญเดือน ๘ ตถาคตจะกระทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้เมืองสาวัตถี
                พระบรมศาสดาเสด็จไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์ไปสู่เมืองสาวัตถีโดยลำดับ พวกเดียรถีย์ก็ติดตามเรื่อยมา พอถึงเมืองสาวัตถี พวกเดียรถีย์ชักชวนอุปัฏฐากของตนเรี่ยรายทรัพย์ได้ถึงแสนกหาปณะ จึงให้สร้างมณฑปและบอกกับมหาชนว่า จะทำปาฏิหาริย์ในมณฑปนี้ลำดับนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงทราบจึงจะสร้างมณฑปถวาย พระพุทธองค์ทรงห้าม พระราชาทูลถามว่า พระองค์จะทรงกระทำที่ไหนตรัสตอบว่า จะกระทำใกล้ต้นมะม่วงพวกเดียรถีย์ทราบความจึงสั่งให้ศิษย์ของตนตัดต้นมะม่วงทั้งหลายภายในบริเวณ ๑ โยชน์มิให้เหลือ
แสดงยมกปาฏิหาริย์บนต้นมะม่วง 
ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๘ ตอนเช้า กำลังเสด็จเข้าไปยังพระนคร นายคัณฑะคนเฝ้าพระอุทยาน เห็นมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่ง จึงสอยเอาหวังจะเอาไปถวายพระราชา มาพบพระพุทธเจ้าเข้า จึงนำเข้าไปถวาย พระองค์ทรงรับแล้วประทับนั่ง พระอานนท์จึงทำเป็นน้ำอัฏฐปานะถวายทรงเสวยแล้ว ทรงสั่งให้นายคัณฑะคุ้ยดิน แล้วเอาเมล็ดเพาะ นายคัณฑะทำตาม ทรงล้างพระหัตถ์รดลงไป ในขณะนั้นก็เกิดต้นมะม่วงสูง ๕๐ ศอก มีกิ่งแตกออกไป ๔ ทิศ และเบื้องบน ได้นามว่า คัณฑามพฤกษ์พอเพลาตะวันบ่าย พระพุทธองค์ทรงดำริว่า เวลานี้สมควรที่จะกระทำปาฏิหาริย์ได้แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎีประทับอยู่ที่หน้ามุข ขณะนั้น นางฆรณีนันทะมารดา เป็นพระอนาคามี จุลอนาถปิณฑิกคหบดีเป็นพระอนาคามี จิรสามเณรี อายุ ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์ จุนทสามเณรอายุ ๗ ขวบ เป็นพระอรหันต์ อุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกาเบื้องซ้าย พระโมคัลลานเถระ และพระอสีติมหาสาวก ได้เข้ามารับอาสาจะทำปาฏิหาริย์แข่งกับพวกเดียรถีย์ พระองค์ทรงห้ามและตรัสว่า มิใช่วิสัยของสาวก แล้วพระพุทธองค์ทรงเข้าสู่จตุตถฌานสมาบัติ อันเป็นที่ตั้งแห่งอภิญญา เหาะขึ้นไปในอากาศ เสด็จจงกรมไปมาด้วยปฐวีกสิณบริกรรมทรงเนรมิตพระพุทธนิมิต พระองค์เสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตแสดงอาการไสยาสน์ พระมุนีนารถตรัสถามปัญหา พระพุทธนิมิต วิสัชนา เป็นต้น แล้วเสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่งที่รัตนบัลลังก์อันปรากฏบนยอดมะม่วงท่ามกลางบริษัททั้ง ๔ ทิศ โปรดประทานพระธรรมเทศนาโดยสมควรแก่อัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา การบรรลุมรรคผลได้เกิดแก่เหล่าสัตว์ประมาณ ๘๔ โกฏิ ณ กาลนั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย อันมีครูทั้ง ๖ เป็นหัวหน้าที่หลีกหนีไป ด้วยกลัวพุทธานุภาพ
โปรดพุทธมารดา
เสด็จพิภพดาวดึงส์ 
ลำดับนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงพุทธดำริว่า พุทธประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตกาล เมื่อทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จจำพรรษา ณ ที่ใดทรงพิจารณาด้วยอตีตังสญาณก็เห็นแจ้งประจักษ์ว่า เสด็จจำพรรษาในดาวดึงสพิภพ แล้วตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ ปกรณ์ ถวายในไตรมาส เพื่อกระทำการสนองพระคุณพุทธมารดา อีกประการหนึ่ง ความปรารถนาอันใดที่พระชนนีตั้งไว้แทบบาทมูลพระพุทธวิปัสสีสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอให้นางได้เป็นมารดาพระบรมครูเห็นปานดังพระพุทธองค์ความปรารถนาอันนั้นก็สำเร็จสมประสงค์ และพระชนนีมีพระคุณแก่ตถาคตเป็นอันมาก ยากที่จะได้ตอบสนองพระคุณมารดาทรงจินตนาการดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากรัตนบัลลังก์ขึ้นสู่ดาวดึงสพิภพ ประทับนั่งเหนือกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ปาริฉัตตรุกขชาติ อันเป็นธงแห่งดาวดึงส์เทวโลก
ทรงแสดงอภิธรรมปิฎก 
ในกาลนั้น ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช เมื่อทอดพระเนตรเห็น จึงประกาศให้เหล่าทวยเทพได้ทราบทั่วกัน เทพเจ้าทั้งหลายตลอดหมื่นจักรวาลถือทิพยมาลาสักการะมาสโมสรสันนิบาต ถวายนมัสการแล้วประทับนั่งอยู่โดยรอบพระพุทธองค์ เมื่อไม่ทรงเห็นพุทธมารดา จึงตรัสถามท้าวสักกรินทร์เทวราช เทวราชจึงเสด็จไปตามพระสิริมหามายาเทวบุตร ณ ดุสิตพิภพ พระพุทธมารดาได้สดับทรงพระปีติปราโมทย์ เสด็จมายังดาวดึงส์พิภพ สู่สำนักพระบรมครู ถวายนมัสการประทับนั่งอยู่เบื้องขวาแห่งพระผู้มีพระภาค พลางดำริว่า เรานี้มีบุญยิ่งนัก มิเสียทีที่เราอุ้มท้องมา ได้พระโอรสอันประเสร็จเห็นปานนี้ส่วนสมเด็จพระชินสีห์มีพระทัยปรารถนาจะสนองคุณพระมารดาจึงดำริว่า พระคุณแห่งมารดาที่ทำไว้แก่ตถาคตนี้ยิ่งใหญ่นัก สุดที่จะคณานับได้ว่า กว้างหนาและลึกซึ้งปานใด และธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณได้ พระวินัยปิฎก และพระสุตตันตปิฎก ก็ยังน้อยนัก มิเท่าคุณแห่งพระมารดา เห็นควรแต่พระอภิธรรมปิฎกที่จะพอยกขึ้นชั่งเท่ากันได้ดำริดังนี้แล้ว กวักพระหัตถ์เรียกพระพุทธมารดาว่า ดูกรชนนี มานี้เถิด ตถาคตจะใช้ค่าน้ำนมป้อนข้าวของมารดา อันเลี้ยงตถาคตนี้มาแต่อเนกชาติในอดีตภพแล้วกระทำพุทธมารดาเป็นประธาน ตรัสอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ ให้สมควรแก่ปัญญาบารมี มีสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน กาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรมเทศนาจบลง องค์พระสิริมหามายาเทวบุตรพุทธมารดา ก็บรรลุโสดาปัตติผล ประกอบด้วยนัย ๑ พันบริบูรณ์
เสด็จลงจากดาวดึงส์
พระมหาโมคคัลลานะทูลถามการเสด็จลง
กาลเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำปาฏิหาริย์แล้วขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ครั้งนั้น มหาชนทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นและดูพุทธสรีรกายหายไปในเทวโลก ก็เศร้าโศกปริเทวนาการว่า พระบรมครูขึ้นไปสู่ภูเขาจิตรกูฏหรือไกรลาส หรือคันธมาสประการใด เราทั้งหลายมิได้เห็นพระองค์ในกาลบัดนี้แล้วเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระบรมครูแห่งเราเสด็จไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใดพระมหาเถระจึงกล่าวว่า พวกท่านจงถามท่านอนุรุทธะก็จะทราบมหาชนก็ไปถามพระอนุรุทธเถระ ท่านก็บอกว่า พระพุทธองค์ เสด็จขึ้นไปจำพรรษที่ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดาข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เมื่อใดเล่าจะกลับมาสู่มนุษยโลก ดูกรท่านทั้งปวง พระบรมครูตรัสเทศนาพระอภิธรรมปิฎกถ้วนไตรมาสแล้ว พอถึงวันปวารณาจึงจะกลับมายังมนุษยโลกนี้ชนทั้งหลายจึงกล่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะว่า ถ้ามิได้เห็นองค์พระสัพพัญญู ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะไม่ไปจากที่นี่แล้วชวนกันพักแรม ตั้งทับและชมรมพักอาศัยมิได้มีหลังคา
พระมหาโมคคัลลานะขึ้นไปเฝ้า
 เมื่อเวลาเหลือเหลืออยู่อีก ๗ วันจะออกพรรษา ประชาชนเข้าไปหาพระโมคคัลลานะและกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ควรที่จะรู้วันที่พระสัพพัญญูจะเสด็จลงจากเทวโลกให้แน่นอน และพวกข้าพเจ้ามิได้เห็นพระบรมครูแล้วจะไม่ไปจากที่นี้พระมหาเถระจึงสำแดงฤทธิ์ขึ้นไปยังชั้นดาวดึงส์ กระทำอัญชลีแล้วทูลว่า พระพุทธองค์จะเสด็จลงจากเทวโลกในกาลเมื่อใดจึงมีพระดำรัสว่า โมคคัลลานะ แต่นี้ไปอีก ๗ วัน จะถึงวันมหาปวารณา ตถาคตจะลงจากเทวโลก ณ ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร ในวันนั้น ถ้ามหาชนใคร่จะได้เห็นตถาคต จงไปที่นั่น เธอจงไปแจ้งแก่มหาชนตามคำตถาคตสั่งนี้พระมหาเถระก็กลับมาแจ้งแก่ประชาชนทุกประการ
                ครั้นถึงวันอัสสยุชปุณณมีเพ็ญเดือน ๑๑ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาพรรษาแล้ว จึงตรัสบอกแก่สมเด็จอมรินทราธิราชว่า ดูกรท้าวเทวราชตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในเวลาวันพรุ่งนี้ ท้าวโกสีย์จึงเนรมิตบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือบันไดทองอยู่เบื้องขวา บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย บันไดแก้วอยู่ท่ามกลางเชิงบันไดทั้ง ๓ จรดพื้นภูมิภาค ณ ที่ใกล้เมืองสังกัสสนคร หัวบันไดเบื้องบนจรดยอดเขาสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งดาวดึงสพิภพ บันไดทองเป็นที่ลงแห่งหมู่เทวดา บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม ส่วนบันไดแก้วนั้น เป็นที่เสด็จลงแห่งพระบรมศาสดา
                สมเด็จพระบรมครู เสด็จสถิตเหนือยอดเขาสิเนรุ ทอดพระเนตรเห็นเครื่องสักการบูชาแห่งเทวดาทั้งหลายหมื่นโลกธาตุ ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ซ้ำอีก และทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิปหาริย์บันดาลเปิดโลก ยังสวรรค์มนุษย์และนรก ทั้งหมื่นโลกธาตุให้แลเห็นกันปรากฏทั่วทั้งสิ้น อันเป็นมหาอัศจรรย์ เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลก็มาประชุมพร้อมกัน พระองค์ก็เสด็จลงจากเทวโลก พร้อมด้วยทวยเทพตามส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นสรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ สัตว์ตนใดแม้สักตนหนึ่ง ที่ไม่ปรารถนาพุทธภูมิไม่มี เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ เสด็จลงจากเทวโลกถึงเชิงบันไดแล้วประทับยืนอยู่ พระธรรมเสนาบดีก็ถวายอัญชลีพระโลกนารถ แล้วประกาศความยินดี
                พระพุทธองค์ประทานพระธรรมเทศนา เมื่อแสดงพระสัทธรรมเทศนาจบ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกแห่งพระสารีบุตรก็บรรลุพระอรหัตตผล ประชาชนก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก
อัครสาวกนิพพาน
ลำดับพรรษายุกาล 
จำเดิมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คำนวนพระชนมมายุกาลได้ ๓ พระวัสสาแล้วก็เริ่มบำเพ็ญปรหิตประโยชน์โปรดเวไนยสัตว์
ในพรรษาที่ ๑  เสด็จจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
ในพรรษาที่ ๒,,๔  เสด็จจำพรรษาที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ณ กรุงราชคฤห์มหานคร
ในพรรษาที่ ๕  เสด็จจำพรรษที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ในพรรษาที่ ๖  เสด็จจำพรรษาที่มกุฏบรรพต ทรงทรมานอสูร เทวดา และมนุษย์
ในพรรษาที่ ๗  เสด็จจำพรรษาที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ร่มไม้ปาริชาตดาวดึงส์
ในพรรษาที่ ๘  เสด็จจำพรรษาที่เภสกลาวัน ป่าไม้สีเสียดใกล้กรุงสุงสุมารคีรีภัคครัฐ
ในพรรษาที่ ๙  เสด็จจำพรรษาที่โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี
ในพรรษาที่ ๑๐  เสด็จจำพรรษที่ปาลิไลยวันสถาน อาศัยช้างชื่อปาลิไลยหัตถีทำวัตรปฏิบัติ
ในพรรษาที่ ๑๑  เสด็จจำพรรษาที่บ้านนาลายพราหมณ์
ในพรรษาที่ ๑๒  เสด็จจำพรรษาที่ภายใต้ร่มไม้ปุจิมันฑพฤกษ์(ไม้สะเดา) ใกล้เมืองเวรัญชา
ในพรรษาที่ ๑๓  เสด็จจำพรรษาที่ปาลิยบรรพต
ในพรรษาที่ ๑๔  เสด็จจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหาร ณ พระนครสาวัตถี
ในพรรษาที่ ๑๕  เสด็จจำพรรษาที่นิโครธารามมหาวิหาร ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
ในพรรษาที่ ๑๖  เสด็จจำพรรษาที่อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้กรุงอาฬวี และทรมานอาฬวกยักษ์
ในพรรษาที่ ๑๗, ๑๘, ๑๙  เสด็จจำพรรษาที่เวฬุวันมหาวิหาร
ในพรรษาที่ ๒๐ ถึง ๔๔  เสด็จจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหารและบุพพารามสลับกัน คือทรงจำพรรษาที่พระเชตวัน ที่อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙ พรรษา ที่บุพพารามที่นางวิสาขาสร้างถวาย ๖ พรรษา ครั้นในพรรษาที่ ๔๕ ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายทรงจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ภายในพรรษาทรงประชวรอาพาธหนักครั้งหนึ่ง ทรงเยียวยาบำบัดให้ระงับไปด้วยโอสถคือสมาบัติ ครั้นออกพรรษาแล้ว ได้รับสั่งแก่พระสารีบุตรว่า ไม่ช้าแล้วตถาคตจะปรินิพพาน สารีบุตร ตถาคตจะไปพระนครสาวัตถีพระเถระรับพระบัญชาแล้ออกมาสั่งพระสาวกให้เตรียมการตามเสด็จ พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
พระธรรมเสนาบดีนิพพาน
ฝ่ายท่านพระสารีบุตรเถระถวายวัตรแด่พระบรมศาสดาแล้ว ถวายบังคมลากลับที่พัก ขึ้นบัลลังก์สมาธิ เข้าสมาบัตินั้นแล้วพิจารณาดูอายุสังขารแห่งตนก็ทราบชัดว่า จะดำรงอยู่ได้อีก ๗ วันเท่านั้น จึงดำริต่อไปว่าเราจะนิพพานในสถานที่ใด พระราหุลเถระก็ไปนิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ พระอัญญาโกณฑัญญะก็ไปนิพพานที่ฉัททันต์สระในหิมวันตประเทศ ต่อนั้นจึงปรารภถึงมารดาว่า มารดาของเรานี้ ได้เป็นมารดาพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย อุปนิสัยในมรรคผลจะพึงมีแก่มารดาของเราบ้างหรือไม่หนอครั้นพิจารณาไปก็ทราบชัดว่า มารดานั้นมีอุปนิสัยแห่งพระโสดาบัน ควรอาตมาจะไปนิพพานที่เรือนมารดาเถิด เธอจงไปบอกภิกษุทั้ง ๕๐๐ ว่า เรามีความประสงค์จะไปนาลันทา พระจุนทเถระรับเถรบัญชาออกไปแจ้งแก่พระสงฆ์ทั้งปวง
                เมื่อพระสงฆ์ทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว พระสารีบุตรก็พาพระสงฆ์เหล่านั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ ชีวิตของข้าพระองค์เหลือ ๗ วัน เท่านั้น ข้าพระองค์ถวายบังคมลานิพพานพระพุทธองค์ตรัสถามว่า สารีบุตร เธอจะไปนิพพานที่ไหนพระเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์จะไปนิพพาน ณ ห้องที่ข้าพระองค์เกิดในเรือนมารดา พระเจ้าข้า สารีบุตร เธอจงกำหนดกาลนั้นโดยควรเถิด สารีบุตร บรรดาภิกษุทั้งหลายชั้นน้องๆของเธอจะเห็นพี่อย่างเธอหาได้ยาก ฉะนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่น้องๆของเธอ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงสำหรับครั้งนี้ก่อนเถิด
                พระเถระได้รับพุทธประทานโอกาสเช่นนั้น จึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ ท่ามกลางอากาศ แล้วลงจากอากาศถวายบังคมลา คลานถอยออกจากพระคันธกุฎี
                ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาธิคุณ เสด็จลุกออกมาส่งถึงหน้าพระคันธกุฎี พระธรรมเสนาบดี กระทำประทักษิณเวียนรอบ ประคองอัญชลีกราบทูลว่า ในที่สุดอสงไขยแสนกัลป์ล่วงมาแล้ว ข้าพระองค์ได้หมอบลงแทบบาทมูลพระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งปณิธานปรารถนาพบพระองค์ และแล้วมโนรถของข้าพระองค์ก็สำเร็จสมประสงค์ ตั้งแต่ได้เห็นพระองค์เป็นปฐมทัศน์ บัดนี้เป็นปัจฉิมทัศนะแห่งการได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนาถะของข้าพระพุทธเจ้าทูลเพียงเท่านี้แล้วถวายบังคมลาออกไปพอควรแล้ว ก็กราบนมัสการลงที่พื้นพสุธา บ่ายหน้าออกไปจากพระเชตวนาราม พร้อมด้วยภิกษุบริวาร ๕๐๐ องค์ พระเถระเดินทางไป ๗ วัน ก็ถึงบ้านนาลันทา มารดาพอได้ทราบข่าวก็ดีใจ จึงสั่งให้คนใช้รีบจัดแจงห้องพักสำหรับพระเถระและพระภิกษุสงฆ์นั้นให้อุปเรวัตมาณพหลายชายไปนิมนต์ให้เข้ามาในบ้าน พระเถระจึงพาภิกษุสงฆ์ขึ้นเรือนมารดาแล้วจัดให้พักภายนอก ส่วนตนเองเข้าพักห้องที่ตนเกิด พอเวลาค่ำโรคาพาธกล้า ได้เกิดแก่มหาเถระ จึงอาเจียนเป็นโลหิตมารดาเกิดทุกข์ใจเป็นอย่างมาก
                ในค่ำคืนวันนั้น เทพยดาทั้งหลายได้พากันมาเยี่ยมพระเถระเป็นจำนวนมาก เริ่มต้นตั้งแต่ท้าวจาตุมหาราช ท้าวโลกีย์ ท้าวสยาม ท้าวสันดุสิต ตลอดถึงท้าวมหาพรหม มารดาได้เห็นเข้าเกิดความสงสัย เมื่อเห็นว่างคนแล้ว จึงเข้าไปและไต่ถาม พระเถระก็บอกกล่าวโดยละเอียด และกล่าวว่า ท้าวมหาพรหมองค์นี้แหละแม่ ในวันที่พระบรมครูของลูกประสูติ ได้เอาตาข่ายมารองรับ ถวายการบำรุงรักษาอยู่เป็นนิตย์ ในวันที่เสด็จลงจากเทวโลกยังกั้นฉัตรถวาย นางสารีผู้มารดาได้ฟัง เห็นคุณอันมหาศาล อานุภาพของบุตรเรายังปรากฏถึงเพียงนี้ อานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นครูของบุตรเรา คงจะสูงกว่านี้เป็นแน่ ก็เกิดปีติเบิกบานใจ
                ต่อแต่นั้น  พระมหาเถระก็แสดงธรรมโปรดมารดา พรรณนาพระพุทธคุณแก่นางสารีพราหมณีมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา สมดังความปรารถนาที่อุตสาหะมาสนองพระคุณมารดาแล้วก็เชิญมารดาออกไปพัก เมื่อมารดาออกไปแล้ว พระเถระจึงถามพระจุนทเถระว่า เวลาเท่าไร เมื่อรับคำตอบว่า ใกล้รุ่งจึงสั่งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเข้ามาประชุมพร้อมกัน ให้พระจุนทะขึ้นนั่งแล้วแล้วกล่าวว่า อาวุโส ตลอดเวลา ๔๔ พรรษาที่ท่านทั้งหลายติดตามมา กรรมอันใดที่มิชอบใจท่านทั้งหลายจะพึงมี ท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิดพอเวลาอรุณปรากฏ พระธรรมเสนาบดีก็ดับขันธปรินิพพานในวันปุรณมีแห่งกัตติกามาส เพ็ญเดือน ๑๒ พอวันรุ่งขึ้น พระจุนทะก็ได้จัดแจงฌาปนกิจศพของพระมหาเถระแล้วห่อเอาอิฐนำไปถวายพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสให้สร้างเจดีย์ แล้วบรรจุอัฐิธาตุพระเถระไว้ที่ซุ้มประตูพระเชตวันเมืองสาวัตถี แล้วเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร
พระมหาโมคคัลลานะถูกโจรทุบ 
ในกาลที่พระมหาโมคคัลลานะ พักอาศัยอยู่ที่กาฬศิลา ในมคธชนบท หมู่เดียรถีย์เห็นร่วมกันว่า พระมหาโมคคัลลานะ มีอานุภาพมากสามารถไปสวรรค์ได้ไปนรกได้ ไปแล้วก็นำเอาข่าวสาส์นมาจากสวรรค์ จากนรกมาบอกแก่ญาติมิตรในเมืองมนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายก็เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พวกเราทั้งหลายต้องเสื่อมคลายความนับถือจากมหาชน ดังนั้นเราควรฆ่าพระเถระเสียเถิด ครั้นแล้วจึงเรี่ยไรทรัพย์จากอุปัฏฐาก จ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ พวกโจรพากันไปล้อมจับพระเถระ พระเถระก็ทำปาฏิหาริย์หนีไปได้ทุกครั้ง  พอโจรพยายามล้อมจับอยู่ ๒ เดือน ครั้นเมือเดือนที่ ๓ พระเถระพิจารณาเห็นกรรมที่ท่านทำไว้ในชาติก่อนติดตามมา เห็นควรระงับกรรม จึงยอมให้โจรจับ โจรเมื่อจับได้จึงทุบตีพระเถระจนกระดูกแหลกไม่มีชิ้นดี ครั้นแน่ใจว่าตายแน่ จึงนำเอาร่างของท่านไปทิ้งในป่า
พระมหาเถระทูลลานิพพาน 
พระมหาเถระดำริว่า เราควรจะไปทูลลาพระบรมศาสดาเสียก่อนจึงนิพพาน ดำริดังนี้แล้วก็เยียวยาเรียงลำดับสรีรกาย ผูกเข้าให้มั่นด้วยกำลังฌาน เหาะมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลลานิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า โมคคัลลานะ เธอจะนิพพานเมื่อไร ที่ไหน” “ข้าพระองค์จะนิพพานวันนี้ที่กาฬศิลา พระเจ้าข้าพระเถระตอบ ถ้าเช่นนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน ด้วยการเห็นพระสาวกเช่นเธอจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว
                พระมหาเถระรับพระพุทธบัญชา ได้ทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงธรรม เมื่อจบพระธรรมเทศนาก็ลงจากอากาศ ถวายอภิวาท ทูลลาไปยังกาฬศิลาประเทศ นิพพานในที่นั้นในวันสิ้นเดือน ๑๒ หลังจากพระสารีบุตร ๑๕ วัน
                พระผู้มีพระภาคทรงเป็นประธานเสด็จพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย จุดเพลิงทำฌาปนกิจ ขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบมหาชนประชุมสักการะอัฐิธาตุตลอด ๗ วัน พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูเวฬุวันมหาวิหารเมืองราชคฤห์
พุทธปรินิพพาน
ทรงปรารภธรรม 
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ริมพระวิหาร พระอานนท์เข้าเฝ้าถวายนมัสการกราบทูลถึงความที่ตนหนักใจในพระอาการประชวรของพระพุทธองค์ในระหว่างพรรษา แต่ก็ดีใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระองค์ยังไม่ปรารภภิกษุสงฆ์ตรัสพุทธวจนะอันใดอันหนึ่งแล้ว ยังจักไม่ปรินิพพานก่อน พระองค์ก็ตรัสว่า ภิกษุยังจะมาหวังอะไรในพระองค์อีก ธรรมทุกอย่างพระองค์ก็แสดงเปิดเผยไม่มีข้อลี้ลับ หรือจะเก็บไว้เพื่อภิกษุบางพวกก็ไม่มี ความอาลัยในภิกษุก็ไม่มี เดี๋ยวนี้อายุตถาคต ๘๐ ปีแล้ว เหมือนเกวียนเก่าที่ชำรุด เขาดามไว้ด้วยไม้ไผ่ ล่วงเข้าสู่วัยชรา อาศัยสมาธิภาวนาก็พอพยุงไปได้ เธอจงอาศัยตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเถิด
                ครั้นวันรุ่งขึ้น เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี เมื่อเสด็จกลับทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปเมืองเวสาลี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน พวกกษัตริย์ลิจฉวีสดับข่าวมีความยินดีนำสักการะมาถวาย สดับพระธรรมเทศนา ทูลอาราธนา รับอาหารบิณฑบาตในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น
                พอรุ่งเช้า เสด็จไปบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงทำภัตกิจเสร็จ ทรงอนุโมทนาเสด็จออกจากพระนคร หันพระกายกลับมองดูกรุงเวสาลีเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
ทรงทำนิมิตโอภาส  ครั้นถึงจึงรับสั่งให้พระอานนท์ถือผ้านิสีทนะตามไปยังปาวาลเจดีย์ประทับนั่งแล้วทรงตรัสว่า อานนท์ ถ้าบุคคลใดเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ปรารถนาจะดำรงอยู่ประมาณกัปหนึ่ง หรือมากกว่านั้นก็สามารถจะอยู่ได้ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์ก็ไม่สามารถจะรู้ทันจึงทรงขับไล่ไปเสีย
ปลงอายุสังขาร 
เมื่อพระอานนท์หลีกไป มารได้เข้ามาเฝ้าทูลอาราธนาให้ปรินิพพาน พระองค์ทรงรับและตรัสว่า ต่อไปนี้อีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน พอมารไปแล้ว พระองค์ทรงปลงอายุสังขาร จึงเกิดแผ่นดินไหว พระอานนท์เกิดความสงสัยเข้าไปทูลถาม พระองค์ตรัสตอบว่า เหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวมี ๖  ประการ บัดนี้ตถาคตปลงอายุสังขารอีก ๓ เดือนจะปรินิพพาน แผ่นดินจึงได้ไหวพระอานนท์ทูลวิงวอนขอให้พระองค์ดำรงอยู่ต่อไปอีก พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย และตรัสว่า พระองค์ทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ถึง ๑๖ ตำบลในกรุงราชคฤห์ ๑๐ ตำบล ในกรุงเวสาลี ๖ ตำบลแต่พระอานนท์รู้ไม่ทัน จึงเป็นความเขลาของพระอานนท์
บิณฑบาตครั้งสุดท้าย 
ต่อ แต่นั้น ตรัสสั่งให้พระอานนท์บอกแก่ภิกษุสงฆ์เตรียมตัวเดินทาง เมื่อพร้อมกันแล้ว ก็เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม หัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม โภคนคร ปาวานคร โดยลำดับ ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะทราบข่าวมีความยินดีออกไปเฝ้า ได้สดับพระธรรมเทศนาก็สำเร็จโสดาปัตติผลแล้วทูลนิมนต์ให้เข้าไปรับอาหาร บิณฑบาตในบ้านวันรุ่งขึ้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ในคืนวันนั้น นายจุนทะได้ตระเตรียมโภชนาหารอันประณีตพร้อมทั้งสุกรมัททวะ ประกอบด้วนรสอันโอชา
                วันรุ่งขึ้น เสด็จไปบ้านนายจุนทะ ประทับนั่งแล้วตรัสให้นายจุนทะนำเอาสุกรมัททวะอังคาสแก่พระองค์แต่ผู้เดียว ที่เหลือให้ขุดหลุมฝังเสีย และให้อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยโภชนะอย่างอื่น ครั้นกระทำภัตกิจเสร็จ ตรัสอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับ
                ในวันนั้นเองทรงประชวรด้วยพระโรคโลหิตปักขันทิกาพาธมีกำลังกล้า ลงพระโลหิต เสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ได้แสดงบุรพกรรมที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อนของพระองค์และตรัสว่า อานนท์เรามาไปเมืองกุสินารากันเถิด
รับผ้าสิงควรรณ 
ในระหว่างทาง พระพุทธองค์ทรงกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงเสด็จแวะยังร่มไม้ริมทางพลางตรัสให้พระอานนท์นำน้ำมาให้เสวย ในขณะนั้น ปุกกุสบุตรมัลลกษัตริย์ เดินทางมาจากเมืองกุสินารา เพื่อจะไปเมืองปาวาโดยทางนั้นได้เห็นพระองค์จึงเข้าไปเฝ้า ได้สดับสันติวิหารธรรมเกิดความเลื่อมใส ได้น้อมผ้าคู่สิงควรรณมีค่ามากถวาย พระองค์ตรัสให้ถวายพระองค์ผืนหนึ่งแล้วแสดงธรรมีกถา ปุกุสะรื่นเริงในกุศลจริยาแล้วทูลลาจากไป
ผลแห่งบิณฑบาตทาน  เมื่อปุกกุสะหลีกไป พระอานนท์ได้นำผ้าสิงควรรณผืนหนึ่งเข้าไปถวายพระองค์ทรงนุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ปรากฏผิวกายของพระองค์งามยิ่งนัก พระอานนท์ออกปากชม พระองค์ตรัสว่า ผิวกายของพระองค์งามบริสุทธิ์ ๒ คราว คือในคืนวันตรัสรู้และในคืนที่จะปรินิพพาน แล้วได้เสด็จดำเนินต่อไปยังแม่น้ำกกุธานที เสด็จลงเสวย และสรงสนานสำราญพระกายตามพุทธอัธยาศัย แล้วเสด็จประทับยังร่มไม้ ตรัสสั่งให้พระจุนทะปูลาดสังฆาฏิถวาย ทรงบรรทมเพื่อระงับความลำบากพระวรกาย เมื่อหายเหน็ดเหนื่อยแล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ อาจจะมีคนทำความร้อนใจให้กับจุนทะว่า เพราะบิณฑบาตที่เขาถวาย พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญว่า บิณฑบาตที่ท่านถวายพระตถาคต ๒ ครั้งมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือครั้งที่ตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้ และครั้งที่ตถาคตเสวยแล้วนิพพาน
ทรงปรารภสักการบูชา 
ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญญวดีไปเมืองกุสินารา เสด็จเข้าไปยังสาลวโนทยานแห่งมัลลกษัตริย์ โปรดให้พระอานนท์ปูลาดเตียงบรรทม ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ แล้วเสด็จบรรทมสีหไสยาสน์โดยมิได้คิดที่จะลุกขึ้นอีก ครั้งนั้น นางรังทั้งคู่ผลิดอกบานเต็มต้นหล่นลงมายังพุทธสรีระ แม้ดอกมณฑารพในสวรรค์ตลอดทิพยสุคนธชาติ ก็ตกลงมาจากอากาศเป็นมหัศจรรย์ พระองค์จึงแสดงแก่พระอานนท์ว่า การบูชาตถาคตด้วยด้วยอามิสบูชา แม้มากมายเห็นปานนี้ ก็ไม่เชื่อว่าบูชาตถาคต อานนท์ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่งในธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคต ในขณะพระองค์ทรงขับพระอุปวาณะที่ยืนถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์ให้หลีกไป พระอานนท์ทูลถาม พระองค์ตรัสว่า เทวดาทุกห้องชั้นฟ้าได้มาประชุมเพื่อดูตถาคตเป็นครั้งสุดท้าย แต่อุปวายืนบังเสีย จึงพากันยกโทษ เพราะไม่สนใจที่จะตั้งใจมาดูตถาคต
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล พระอานนท์กราบทูลว่า ครั้งก่อน พุทธบริษัททั้งหลายย่อมเดินทางมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้สนทนาปราศัยแล้วได้โอกาสอันดีเช่นนั้น ตรัสว่า อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ๑ สถานที่ตรัสรู้ ๑ สถานที่แสดงปฐมเทศนา ๑ สถานที่ตถาคตปรินิพพาน ๑ ควรที่พุทธบริษัทควรจะไปดูไปเห็น และควรให้เกิดสังเวชทัวกัน
                พระอานนท์ทูลถามเกี่ยวกับการปฏิบัติในพุทธสรีระ พระองค์ตรัสให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิ และตรัสถูปารหบุคคล คือ บุคคลผู้ควรแก่การประดิษฐานในสถูป ๔ ประเภท คือ ๑.พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒.พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓.พระอรหันตสาวก ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ แล้วตรัสเรื่องเมืองกุสินารา พระอานนท์กราบทูลให้เสด็จไปปรินิพพานในเมือง ใหญ่ๆ เช่น พระนครราชคฤห์เป็นต้น ไม่ควรปฏินิพพานที่เมืองกุสินารา เพราะเป็นเมืองเล็กเมืองดอน พระพุทธองค์ทรงรับสั่งว่า กุสินารานี้แต่ปางก่อนเคยเป็นมหานครราชธานีนามว่ากุสาวดี พระเจ้ามหาสุทัศน์จักรพรรดิราชทรงครอบครอง มีประชาชนหนาแน่น สงบสุขสมบูรณ์ด้วยสรรพสิ่งทั้งปวง ไม่เคยขาดเสียง ๑๐ ประการ มีเสียงช้างเป็นต้น ทั้งกลางวันกลางคืน
                ครั้นแล้ว ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เข้าไปบอกพวกมัลลกษัตริย์ให้ทราบว่า ตถาคตเจ้าจักปรินิพพาน ยามที่สุดแห่งราตรีในวันนี้ เมื่อพวกมัลละทราบ ได้พากันมาเฝ้า พระอานนท์ก็จัดให้เข้าเฝ้าเป็นสกุลๆคณะๆ เสร็จเรียบร้อยภายในปฐมยามนั้นเอง
โปรดสุภัททปริพาชก 
สมัยนั้น สุภัททปริพาชกได้ไปพบพระอานนท์เพื่อขอโอกาสเข้าเฝ้า ถูกพระอานนท์ทัดทานอยู่ ๒-๓ ครั้ง พระพุทธองค์ทรงสดับจึงตรัสแก่พระอานนท์ให้สุภัททะเข้าเฝ้า สุภัททะถามถึงครูทั้ง ๖ เป็นพระอรหันต์จริงหรือไม่ พระองค์ตรัสว่า อริยมรรค ๘ ประการ เป็นมรรคอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ สมณะ คือ ท่านผู้สงบระงับกิเลสได้ก็มีอยู่เฉพาะในธรรมวินัยนี้หากภิกษุทั้งหลายจะพึงปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในธรรมวินัยนี้ไซร้ โลกนี้จะไม่ถึงความว่างเปล่าจากพระอรหันต์ สุภัททะเลื่อมใสทูลขอบวช เมื่อบวชแล้วหลีกออกจากหมู่บำเพ็ญสมณธรรม ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในราตรวันนั้น ได้เป็นอรหันตปัจฉิมสาวก
โปรดให้ลงพรหมทัณฑ์ 
พระอานนท์ทูลถามถึงพระฉันนะว่า เป็นคนถือตัวว่า เป็นข้าเก่าเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ไม่ยอมรับโอวาทใคร เมื่อพระองค์ปรินิพานแล้วจะเป็นผู้ว่ายากหนักขึ้น ด้วยหาคนยำเกรงมิได้ พวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติเช่นไร พระองค์แนะนำให้ลงพรหมทัณฑ์ คือ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าวไม่พึงโอวาทไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงเจรจาคำใดๆด้วยทั้งสิ้น เว้นแต่คำอันเป็นกิจธุระโดยเฉพาะ ต่อแต่นั้นทรงประทานโอวาทว่า เมื่อตถาคตทรงปรินิพพานแล้ว เธอทั้งหลายไม่ควรดำริว่า บัดนี้ ศาสดาของเราไม่มีแท้ จริง วินัยที่เราบัญญัติแก่เธอทั้งหลายก็ดี ธรรมที่เราแสดงแก่เธอทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไปแล้วธรรมและวินัยนั้นแลจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย
ปัจฉิมโอวาท 
ลำดับนั้น พระองค์ตรัสเตือนว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมความสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์โดยความไม่ประมาทเถิดเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระโอวาทเป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้ว ก็มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานกรรม ด้วยอนุปุพพวิหารธรรมทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลมเป็นลำดับ เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปุรณมีเพ็ญเดือน ๖ ขณะนั้นหมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว ด้วยกัมปนาทแห่งพื้นปฐพี
แจกพระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมศพไม่เคลื่อนที่ 
ขณะนั้น บรรดาพุทธบริษัททั้งปวง ต่างก็เศร้าโศก ร่ำไรรำพันมีประการต่างๆ เป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก มหาชนเป็นอันมากแม้จะอยู่ห่างไกลพอได้ทราบข่าวต่างก็ถือดอกไม้ของหอมนานาชนิด พากันมาบูชาพระบรมศพไม่ขาดสายตลอด ๖ วัน
                ครั้นในวันที่ ๗ มัลลกษัตริย์ได้ปรึกษาพร้อมใจกัน ในการที่จะอัญเชิญพระบรมศพไปโดยทิศทักษิณแห่งพระนคร เพื่อถวายพระเพลิงภายนอกพระนคร แต่ก็ไม่สามารถจะอัญเชิญไปได้ แม้แต่จะให้เขยื้อนให้เคลื่อนที่สักน้อยหนึ่งก็ไม่ได้ จึงได้เรียนถามท่านพระอนุรุทธะ พระเถระตอบว่า เพราะไม่ต้องประสงค์ของเทวดา เทวดาทุกองค์ ประสงค์จะให้อัญเชิญพระพุทธสรีระเข้าพระนครก่อน โดยทางทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทางประตูทิศบุรพา แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานถวายพระเพลิงที่มกุฏพันธนเจดีย์ พวกมัลละได้ทราบเถราธิบายเช่นนั้นก็ผ่อนตาม อัญเชิญพระบรมศพจากสถานที่นั้นไปได้อย่างง่ายดาย ประชาชนทั่วหน้าพากันสักการบูชาทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระบรมศพผ่านไป
มัลลิกาถวายสักการะ 
ขณะนั้น นางมัลลิกาทราบว่า ขบวนพระศพจะผ่านมาก็ดีใจ ดำริขึ้นว่า นับตั้งแต่พันธุละล่วงไปแล้ว เครื่องประดับอันมีชื่อว่า มหาลดาประสาธ์เราก็มิได้แต่งมิได้ประดับ คงเก็บรักษาไว้อย่างดี ควรจะถวายเป็นอาภรณ์ประดับพุทธสรีระพระชินสีห์ในอวสานกาลบัดนี้เถิดครั้นเมื่อขบวนพระศพผ่านมา นางจึงแจ้งความประสงค์ให้ทราบ เมื่อเขาวางเตียงประดิษฐานพระบรมศพลง นางก็ถวายอภิวาทแล้วเชิญเครื่องมหาลดาประสาธน์คลุมพระบรมศพเป็นเครื่องบูชาปรากฏว่า พระพุทธสรีระงามเจริญตาเจริญใจยิ่งนัก
ถวายพระเพลิงไม่ติด 
ครั้นมหาชนอัญเชิญพระบรมศพไปทั่วพระนครแล้ว ก็อัญเชิญออกจากพระนครโดยทางประตูบูรพาไปสู่มกุฏพันธนเจดีย์ซึ่งเป็นที่จิตกาธาร อันสำเร็จด้วยไม่จันทร์หอม งามวิจิตร ที่ได้จัดทำไว้แล้ว ก็จัดการห่อพระศพด้วยทุกุลพัสตร์ ๕๐๐ ขึ้นแล้วอัญเชิญประดิษฐานในหีบทองซึ่งเต็มไปด้วยน้ำมันหอม ตามคำที่พระอานนทเถระแจ้งทุกประการ ครั้นเรียบร้อยแล้วก็อัญเชิญหีบทองนั้นขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธาร ทำด้วยสักการบูชา แล้วกษัตริย์มัลละทั้ง ๘ พระองค์ ก็นำเอาเพลิงจุดเพื่อถวายพระเพลิง พระเพลิงก็ไม่ติดตามประสงค์จึงได้เรียนถามพระอนุรุทธเถรเจ้า พระเถระกล่าวว่า เทวดาต้องการให้คอยท่านพระมหากัสสปเถระ มัลลกษัตริย์ก็อนุวัตรตาม
ดอกมณฑารพตก 
เวลานั้น พระมหากัสสปเถระพาภิกษุสงฆ์เดินทางจากปาวามายังเมืองกุสินาราเพื่อเฝ้าพระผุ้มีพระภาค แต่ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวัน แสงแดดกล้า พระเถระจึงพาภิกษุสงฆ์เข้าหยุดพักร่มไม้ริมทาง พอพระเถระพักอยู่สักครู่หนึ่ง ก็เห็นอาชีวกผู้หนึ่งเดินถือดอกมณฑารพกั้นศีรษะมาตามทาง ก็ยิ่งฉงนใจ ด้วยดอกมณฑารพนี้ หามีในมนุษยโลกไม่ เป็นของทิพย์ในเทวโลก จะตกมาในเฉพาะเวลาอันสำคัญๆเท่านั้น หรือว่าพระบรมศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว นึกสงสัยจึงลุกขึ้นเดินเข้าไปใกล้อาชีวกผู้นั้นแล้วจึงถามดู ก็ได้ทราบว่าพระบรมครูปรินิพพานเสียแล้วได้ ๗ วัน ถึงวันนี้ พวกภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชน ได้ฟังแล้วก็โทมนัส เศร้าโศก ปริเทวนาการ ส่วนที่เป็นพระขีณาสพก็เกิดสังเวชสลดจิต
                ในที่นั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง บวชเมื่อภายแก่ชื่อว่า สุภัททะ ลุกขึ้นกล่าวห้ามภิกษุว่า  ท่านทั้งหลายอย่าร้องไห้ไปเลย บัดนี้เราสบายแล้ว เมื่อพระองค์อยู่ย่อมจู้จี้ เบียดเบียน บังคับห้ามปรามพวกเราต่างๆนานาว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร บัดนี้ พระองค์ปรินิพพานเสียแล้ว เราปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็ทำได้ตามใจชอบ พระมหากัสสปเถระ ได้ฟังก็สลดใจยิ่งนักว่า ดูเถิด พระพุทธองค์ปรินิพพานเพียง ๗ วันเท่านั้น ก็เกิดอลัชชีคิดลามกถึงปานนี้ ต่อไปเบื้องหน้าจะหาผู้คารวะในธรรมวินัยไม่ได้ เราควรจะทำสังคายนา พระเถระทำไว้ในใจแล้วกล่าวเล้าโลมภิกษุให้หายเศร้าโศกแล้วรีบเดินทางตรงไปมกุฏพันธนเจดีย์
เตโชธาตุโพลงขึ้นเอง 
ครั้นถึงจึงทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ เข้าสู่เบื้องยุคลบาท น้อมนมัสการพระยุคลบาท กราบขอขมาโทษต่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค เมื่อพระมหาเถระพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กราบนมัสการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตโชธาตุก็บรรดาล เกิดจิตกาธารขึ้นเอง ด้วยอานุภาพของเทวดา เพลิงได้ลุกพวยพุ่งเผาพระสรีระ พร้อมทั้งคู่ผ้า ๕๐๐ ชิ้น กับหีบทองจิตกาธารหมดสิ้น ยังมีสิ่งที่พระเพลิงมิได้เผาให้ย่อยยับ ด้วยอานุภาพพุทธอธิษฐาน คือ
                . ผ้าห่มหุ้มพระบรมศพชั้นใน ๑ ผืน ชิ้นนอก ๑ ผืน
                . พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔
                . พระรากขวัญทั้ง ๒
                . พระอุณหิส ๑ รวมเป็นพระบรมธาตุ ๗ องค์นี้ ยังคงอยู่เป็นปกติดีไม่กระจัดกระจาย
โทณพราหมณ์ห้ามทัพ 
ครั้นเสร็จการถวายพระเพลิงแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้นำถาดทองซึ่งเต็มไปด้วยสุคันธวารี มาโสรสสรงลงที่จิตกาธารแล้วเก็บพระบรมสารีริกธาตุใส่ไว้ในพระหีบทองน้อย อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ เบื้องบนรัตนบัลลังก์ ภายใต้เศวตฉัตร  ณ พระโรงราชสัณฐาคาร จัดตั้งจาตุรงคเสนาโยธาหาญพร้อมสรรพศัตราวุธ ป้องกันพระบรมสารีริกธาตุอย่างมั่นคง ทั้งภายในภายนอกพระนคร และจัดให้มีการสมโภชบูชาด้วยดุริยางค์ดนตรี ฟ้อนรำ ขับร้อง ทั้งกีฬา นักษัตรนานาประการอย่างมโหฬารตลอด ๗ วัน
                ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ครองนครราชคฤห์ ๑ พระเจ้าลิจฉวีแห่งเวสาลี ๑ พระมหานามราชแห่ง บิลพัสดุ์ ๑ พระเจ้ากุสิยราชแห่งอัลลกัปปนคร ๑ พระเจ้าโกลิยะแห่งรามคาม ๑ พระเจ้ามัลลราชแห่งปาวานคร ๑ พระมหาพราหมณ์แห่งเวฏฐทีปกนคร ๑ รวมเป็น ๗ ด้วยกัน ได้แต่งราชทูตและกองทัพไปขอส่วนแบ่งพระสารีริกธาตุ เพื่อมาบรรจุไว้บูชาที่พระนครแห่งตน มัลลกษัตริย์แห่งกุสินาราไม่ยอมให้ กองทัพทั้ง ๗ พระนครก็ประชิดติดเมืองกุสินารา
                ฝ่ายโทณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต เป็นอาจารย์สอนไตรเทพแก่กษัตริย์ทั้งหลายเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงได้เกลี้ยกล่อมกษัตริย์ทั้งหลายเลิกการประหัตประหารกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นต้นเหตุ ขอให้มีความสามัคคีกัน ขอให้ทุกพระองค์มีส่วนได้พระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญไปสักการะทั่วกัน ขอพระบรมสารีริกธาตุแพร่ออกไปยังพระนครต่างๆ เพื่อเป็นที่สักการบูชาเคารพของมหาชนทั่วไปเถิด
                กษัตริย์ทั้งหลายได้สดับคำ แห่งพราหมณ์ ก็พอพระทัย จึงพร้อมกันขอให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุ พราหมณ์ได้สดับคำยินยอมเช่นนั้น ก็ให้เปิดประตูเมือง เชิญเสด็จกษัตริย์และเจ้านครทุกพระองค์เข้าไปในเมือง และให้เปิดพระหีบทองน้อย กษัตริย์ทุกประองค์นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อพวกกษัตริย์เหล่านั้นมัวโศกเศร้ารันทดอยู่ จึงได้หยิบพระเขี้ยวแก้วข้างขวาเบื้องบนซ่อนไว้ในมวยผม แล้วจักการตวงพระบรมสารีริกธาตุด้วยทะนานทอง ถวายกษัตริย์ ๗ พระนคร ได้พระนครละ ๒ ทะนาน เท่าๆกันพอดี
พระเขี้ยวแก้วประดิษฐานอยู่เทวโลก 
ขณะที่โทณพราหมณ์กำลังตวงพระบรมสารีริกธาตุอยู่นั้น ท้าวสักกเทวราชทราบด้วยทิพยจักษุว่า โทณพราหมณ์ลอบหยิบพระเขี้ยวแก้ว ซ่อนไว้ในมวยผม ทรงดำริว่า กำลังโทณพราหมณ์ไม่สามารถจะทำที่สักการบูชาพระเขี้ยวแก้วให้สมพระเกียรติอันสูงได้ สมควรจะเอาไปประดิษฐานบูชาเชิดชูพระเขี้ยวแก้วให้สมพระเกียรติ สมควรเอาไปประดิษฐานไว้ยังเทวโลกให้เทวดาและพรหมทั้งหลายบูชาเถิด ครั้นดำริแล้วก็แฝงพระกายลงมาหยิบเอาพระเขี้ยวแก้วเชิญลงพระโกศทองน้อย อัญเชิญไปบรรจุที่จุฬามณี ณ ดาวดึงสพิภพ
                ฝ่ายโทณพราหมณ์เมื่อแบ่งปันพระสารีริกธาตุเสร็จแล้ว ค้นหาพระเขี้ยวแก้วที่มวยผม ไม่พบก็เสียใจ จะถามหาใครก็ไม่ได้ ก็จะเสื่อมเสียเกียรติของตน จึงกล่าวขอทะนานทองที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุแก่กษัตริย์ทั้งปวงแล้วนำไปสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุไว้เพื่อสักการบูชาของตนต่อไป
                ภายหลังกษัตริย์แห่งโมรีนครได้ทราบข่าว จึงได้ส่งทูตและกองทัพมาทูลขอส่วนแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ กษัตริย์กุสินาราจึงแจ้งให้ทราบว่า แบ่งปันไปหมดแล้ว ยังอยู่แต่พระอังคาร(เถ้าถ่าน) ดังนั้น ทูตโมรีนครจึงได้อัญเชิญพระอังคารกลับไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้เพื่อสักการบูชายังพระนครของตน
ทรมานพญาวัสสวดีมาร
                ครั้นจำเนียรกาลนานมา จนพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒๑๘ ปี อโศกราชกุมารได้ผ่านพิราพมไหศ วรรคราชสมบัติ  ณ กรุงปาตลีบุตรมหานคร ทรงพระนามว่าพระเจ้าธรรมาโศกราช พระองค์อาศัยนิโครธสามเณร จึงได้มีพระทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงสถาปนาในการสร้างพระวิหารและพระสถูปถึง ๘ หมื่น ๔ พันแห่ง ทั่วพระนครในชมพูทวีป และได้ทรงขุดค้นรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อจะนำไปบรรจุพระสถูปทุกแห่ง เมื่อรวบรวมขุดค้นจากสถานที่ต่างๆ ได้หมดแล้วก็อัญเชิญสุ่ปาตลีบุตรนคร กระทำการสักการสัมมานะโดยอเนกประการ และแจกพระบรมสารีริกธาตุให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้ง ๘ หมื่น ๔ พันแห่ง  ภายหลังจึงให้สร้างพระมหาสถูปใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่งสูงประมาณกึ่งโยชน์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคามหานที ใกล้กรุงปาตลีบุตร เสร็จแล้วให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่เหลืออยู่ส่วนหนึ่ง บรรจุไว้ในพระสถูปองค์นั้น
ฉลองพระสถูป 
ในลำดับนั้น พระเจ้าธรรมาโศกราช มีพระทัยปรารถนาจะทำการฉลองพระสถูปทั้ง ๘ หมื่น ๔ พัน องค์ทุกๆพระนครในชมพูทวีป พร้อมทั้งมหาสถูปองค์ใหญ่นี้ ทรงพระดำริว่า อาตมาจะทำการฉลองพระสถูปทั้งหลาย จะกระทำมหาสักการบูชาให้ถ้วน ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงจะสมควรแก่ศรัทธาของอาตมา ทำไฉนหนอจะไม่ให้มาอันตรายในการกุศลขอให้พระสงฆ์จัดหาภิกษุที่มีอิทธิฤทธิ์ให้ช่วยป้องกันอันตราย ไม่สามารถจะหาใครได้  ถามภิกษุทุกๆองค์ก็ไม่มีใครรับ จึงขอร้องสามเณรรูปหนึ่ง อายุ ๗ ขวบ เห็นมีฤทธิ์สามารถป้องกันมิให้ครุฑจับนาคกินได้ สามเณรก็ตอบว่า ตนเองมีอานุภาพน้อย ไม่สามารถจะป้องกันอันตรายได้ จึงแนะนำให้ไปหาท่านพระอุปคุตเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่กลางทะเล พระสงฆ์จึงให้ภิกษุ ๒ รูป ซึ่งได้อภิญญาสมบัติไปนิมนต์พระอุปคุตเถระมา เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามาด้วยความเคารพในสงฆ์แล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงจึงแจ้งให้ทราบ แล้วมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ป้องกันพญามาร มิให้มาทำอันตรายในการบำเพ็ญกุศลของพระธรรมราชา
                ครั้นเพลารุ่งขึ้น พระเจ้าธรรมาโศกราชเสด็จไปยังวิหาร ถวายนมัสการแล้วจึงถามถึงพระสงฆ์ และพระสงฆ์ได้แนะนำท่านพระอุปคุตเถระ ผู้ซึ่งจะรับหน้าที่ป้องกันพญามาร พระมหากษัตริย์เสด็จทอดพระเนตร เห็นพระคุณเจ้ามีร่างกายผอม จึงดำริอยู่ในใจว่า พระผู้เป็นเจ้าจะมีอานุภาพสามารถหรือมิสามารถหนอ แล้วเสด็จกลับพระราชนิเวศน์
ทดลองฤทธิ์ 
รุ่งขึ้น พระมหาเถระได้เข้าไปบิณฑบาตในราชสกุล พระราชาทอดพระเนตร จึงสั่งให้ปล่อยช้างซับมันเพื่อที่จะทดลองอานุภาพของพระมหาเถระ พระมหาเถระหันมาพบเข้าก็ทราบทันทีว่า พระราชาต้องการจะทดลอง จึงอธิษฐานว่า ขอให้คชาธารจงปรากฏดุจรูปช้าง ศิลาหยุดอยู่ในที่นี้ ช้างก็หยุดอยู่เหมือนช้างศิลา ด้วยอานุภาพของพระมหาเถระ พระราชาทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น จึงเสด็จไปขอขมาโทษ พระมหาเถระก็ถวายพระพรว่า ขอบรมบพิตรจงเป็นสุขเถิด ขอพญาช้างกุญชรจงกลับที่อยู่ของตน พอพระมหาเถระกล่าวจบ ช้างก็เดินไปยังที่อยู่ของตน
เอาหมาเน่าผูกคอพญามาร 
พระเจ้าธรรมาโศกราช ตรัสให้ทำบริเวณรอบพระมหาสถูปเจดีย์ ให้โชตนาการด้วยประทีปประมาณกึ่งโยชน์ ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคา พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายก็มาประชุมกันเพื่อนมัสการมหาเจดีย์สถาน ในขณะนั้น พญามารลงมาจากปรนิมมิตสวดีเทวโลก เพื่อจะทำลายการกระทำสักการบูชา ด้วยอิทธิฤทธิ์นานาประการ พระอุปคุตมหาเถระจึงเนรมิตรูปหมาเน่าที่เต็มไปด้วยหมู่หนอน เอาผูกคอพญาวัสสวดีมาร แล้วประกาศว่า บุคคลใดก็ตามถึงมาตรว่าจะเป็นเทพยดาหรือมหาพรหมก็ดี ก็อย่าแก้ออกได้ แน่ะมาร เจ้าจงไปจากที่นี้ พญามารมีซากสุนัขเน่า ผูกคอตนเองก็แก้ไม่ออก ไปให้เทพยดา และท้าวมหาพรหมแก้ก็แก้ไม่ออก มีจิตอัปยศเป็นที่สุด เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ได้ จึงกลับมาหาพระมหาเถระต่อไป พระมหาเถระจึงกล่าวว่า ท่านจงไปยังภูเขานั้น มารก็รีบไปโดยพลัน พระมหาเถระก็แก้สุนัขเน่าออก แล้วอธิษฐานประคดเอว พันคอพญามารติดกับภูเขาให้มั่นคง แล้วกล่าวว่า จงยืนอยู่ที่พื้นจนกว่าพระมหาธรรมาโศกราช จะกระทำมหกรรมสักการะพระมหาเจดีย์ถ้วน ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน
พญามารปรารถนาพุทธภูมิ 
เมื่อการบูชาสักการะพระมหาเจดีย์ครบกำหนดแล้ว พระมหาเถระจึงเข้าไปใกล้พญามาร แต่กำบังกายเสียมิให้เห็น ส่วนพญามาราธิราชสิ้นพยศร้าย ระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วกล่าวว่า สมเด็จพระชินสีห์พระองค์ใด ทรงพระมหากรุณาบำเพ็ญสิ่งอันเป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่พึ่งพำนักแก่เหล่าสัตว์ทั้งหลายในกาลทุกเมื่อพระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐ หาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำร้ายพระองค์มีประการต่างๆ แต่พระองค์ก็มิได้ทำโทษตอบข้าพเจ้าเลย บัดนี้พระสาวกของพระองค์กระไรเลยช่างไม่มีความกรุณา กระทำโทษข้าพเจ้า ให้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส ผิข้าพเจ้ามีกุศลสมภารได้สะสมไว้ขอจงได้เป็นพระสัพพัญญูในอนาคตกาลด้วยเถิด
                เมื่อพญามารออกวาจาปรารถนาพุทธภูมิด้วยประการฉะนี้ พระมหาเถระก็สำแดงกายให้ปรากฏเข้ามาแก้มัดโดยพลัน แล้วกล่าวขอให้มารนั้นยกโทษให้ และขอร้องให้มารนั้นเนรมิตพระรูปพระสัพพัญญูและเหล่าพระมหาสาวกให้ดู พญามารขอสัญญาว่า เมื่อตนแปลงร่างให้ดูแล้วขออย่าได้นมัสการกราบไหว้ แต่เมื่อพญามารเนรมิตให้ดูแล้ว พระมหาเถระเกิดศรัทธาปสาทะลืมสัญญา จึงนมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์ มหาชนและพระเจ้าธรรมาโศกราชก็ทรงกระทำเช่นนั้น พญามารจึงคลายฤทธิ์เป็นพญามารตามเดิมและต่อว่า และพระมหาเถระก็กล่าวว่า ข้าพเจ้านมัสการพระบรมศาสดาและพระมหาสาวก มิได้ไหว้ท่าน
                เมื่อพระเจ้าธรรมาโศกมหาราชทรงกระทำสักการบูชาสิ้นสุดลงแล้ว จึงตรัสถามพระสงฆ์ว่า โยมได้สละทรัพย์ทำบุญถึงเพียงนี้ ได้ชื่อว่าเป็นญาติในพระศาสนาหรือยัง พระโมคคัลลีบุตรติสสมหาเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร ยังไม่ชื่อว่าเป็นญาติพระพุทธศาสนา ได้ชื่อเพียงว่าผู้ถวายปัจจัยไทยทานเท่านั้น บุคคลใดบวชบุตรธิดาในพระธรรมวินัยนั้นแหละ บุคคลนั้นจึงจะได้ชื่อว่าเป็นญาติในพระพุทธศาสนาพระเจ้าธรรมาโศกราช (ซึ่งบางแห่งเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช) ได้สดับดังนั้น ก็ทรงปีติโสมนัส ยังมหินทกุมารให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ และพระนางสังฆมิตตาราชกุมารีเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ทั้งสองพระองค์ทรงไว้ซึ่งอภิญญา ๖ และแตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ เป็นพระขีณาสพ
อันตรธาน ๕
                แท้จริงอันตรธาน มี ๕ ประการ คือ
                . ปริยัติอันตรธาน             การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
                . ปฏิปัตติอันตรธาน        การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
                . ปฏิเวธอันตรธาน          การเสื่อมสูญแห่งการตรัสรู้
                . ลิงคอันตรธาน               การเสื่อสูญแห่งสมณเพศ
                . ธาตุอันตรธาน               การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ
                ในบรรดาอันตรธาน ๕ นั้น ปริยัติอันตรธานก่อน ต่อไปการปฏิบัติอันตรธาน เมื่อการปฏิบัติไม่มี การบรรลุธรรมก็ไม่มี เมื่อการบรรลุธรรมไม่มี ต่อนานๆไป เพศสมณะก็ผันแปร และในการสิ้นสุดแห่งพระพุทธศาสนา พระบรมสารีริกธาตุก็อันตรธานไปจากโลก ดังนี้แล.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘