นักธรรมเอก วินัยมุขเล่ม ๓

นักธรรมเอก    วินัยมุขเล่ม ๓                                                                                   
กัณฑ์ที่  ๒๓
สังฆกรรม
                     มูลเหตุที่ให้เกิดสังฆกรรมมี  ๒  คือ :-
๑.  ภิกษุบริษัทมากขึ้น.
๒.  มีพระพุทธประสงค์จะให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารคณะ.
                  คำสวดในสังฆกรรมที่ต้องใช้  มี  ๒  คือ :-
๑.  ญัตติ  คำเผดียงสงฆ์.
๒.  อนุสาวนา  คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์.
                       สังฆกรรมแยกออกเป็น  ๔ คือ :-
๑.  อปโลกนกัมม์  กรรมที่ทำเพียงบอกกันในชุมนุมสงฆ์  ไม่มีญัตติ    และอนุสาวนา.
๒.  ญัตติกัมม์  กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติ  ไม่มีอนุสาวนา.
๓.  ญัตติทุติยกัมม์  กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติและสวดอนุสาวนาหนเดียว.
๔.  ญัตติจตุตถกัมม์  กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติและสวดอนุสาวนา  ๓ หน.
                       (๑)  อปโลกนกัมม์  มี  ๕  คือ :-
๑.  นิสสารณา  คือนาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า.
๒.  โอสารณา  คือรับสามเณรรูปนั้นผู้ประพฤติเรียบร้อยแล้วเข้าหมู่.
๓.  ภัณฑูกัมม์  บอกขออนุญาตปลงผมคนจะบวชที่ภิกษุจะทำเอง.
๔.  พรหมทัณฑ์  คือประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก.
๕.  กัมมลักขณะ  เช่นอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉันเป็นต้น.
                           (๒)  ญัตติกัมม์  มี  ๙ คือ :-
๑.  โอสารณา  คือเรียกอุปสัมปทาเปกขะที่ถามอันตรายิกธรรมแล้ว เข้าไปในสงฆ์.
๒.  นิสสารณา  คือประกาศถอนพระธรรมกถึก  ฯ ล ฯ
๓.  อุโบสถ.
๔.  ปวารณา.
๕.  สมมติต่างเรื่อง  เช่นสมมติตนเป็นผู้ถามอันตรายิกธรรมเป็นต้น.
๖.  ให้คืนจีวรและบาตรเป็นต้น  ที่เป็นนิสสัคคีย์  ฯ ล ฯ
๗.  รับอาบัติอันภิกษุแสดงในสงฆ์.
๘.  ประกาศเลื่อนปวารณา.
๙.  กัมมลักขณะ  คือประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติฯวัตถารกวินัย.
                              (๓)  ญัตติทุติยกัมม์  มี  ๗  คือ :-
๑.  นิสสารณา  คือคว่ำบาตร.
๒.  โอสารณา  คือหงายบาตร.
๓.  สมมติต่างเรื่อง  เช่นสมมติสีมาเป็นต้น.
๔.  ให้ต่างอย่าง  เช่นให้ผ้ากฐินเป็นต้น.
๕.  ประกาศถอนหรือเลิกอานิสงส์กฐินเป็นต้น.
๖.  แสดงที่สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุ.
๗.  กัมมลักขณะ  คือญัตติทุติยกัมม์ที่สวดในลำดับไปในการระงับ อธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย.
                   (๔)  ญัตติจตุตถกัมม์  มี  ๗  คือ :-
๑.  นิสสารณา  คือสงฆ์ทำกรรม  ๗ อย่าง  มีตัชชนียกัมม์เป็นต้น.ฅ
๒.  โอสารณา  คือสงฆ์ระงับกรรม  ๗ อย่างนั้น.
๓.  สมมติ  คือสมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุณี.
๔.  ให้  คือให้ปริวาสและมานัตแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕.  นิคคหะ  คือปรับภิกษุผู้ประพฤติปริวาสหรือมานัตอยู่  ต้องอาบัติสังฆาทิเสสซ้ำเข้าอีก  ให้ตั้งต้นประพฤติใหม่.
๖.  สมนุภาสนา  คือสวดห้ามภิกษุไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ.
๗.  กัมมลักขณะ  ได้แก่อุปสมบทและอัพภาน.
             จำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรม  ๔  ประเภทนี้  มี  ๔  คือ :-
๑.  จตุรวรรค  สงฆ์มีจำนวน  ๔ รูป.
๒.  ปัญจวรรค    "    "          ๕  "
๓.  ทสวรรค       "    "         ๑๐ "
๔.  วีสติวรรค     "     "         ๒๐ "
           สังฆกรรม  ๔ ประเภทนั้น  มีกำหนดจำนวนสงฆ์อย่างต่ำ
สำหรับทำกรรมนั้น ๆ  ดังนี้  คือ :-
        ๑.  สงฆ์จตุรวรรค  ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างเว้นแต่ปวารณา ให้ผ้า  กฐิน  อุปสมบท  และอัพภาน.
        ๒.  สงฆ์ปัญจวรรค  ทำปวารณา  ให้ผ้ากฐิน  อุปสมบทในปัจจันต-ชนบท.
        ๓.  สงฆ์ทสวรรค  ให้อุปสมบทในมัธยมชนบท.
        ๔.  สงฆ์วีสติวรรค  ทำอัพภาน.
            กรรมที่สงฆ์มีจำนวนน้อยกว่าทำได้  สงฆ์มีจำนวนมากกว่าทำได้โดยแท้.
       ภิกษุผู้ควรเข้ากรรมได้ต้องประกอบด้วยองค์  ๓  คือ :-
        ๑.  เป็นภิกษุปกติ.
        ๒.  มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์.
        ๓.  เป็นสมานสังวาสของกันและกัน.
         กรรมย่อมวิบัติโดยเหตุ  ๔  ประการ  คือ :-
        ๑.  วิบัติโดยวัตถุ.
        ๒.     "   สีมา.
        ๓.     "   ปริสะ.
        ๔.     "   กรรมวาจา.
                (๑)  กรรมวิบัติโดยวัตถุ  เพราะเหตุ  ๔  คือ :-
๑.  อุปสมบทคนที่มีอายุหย่อนกว่า  ๒๐  ปี.
๒.        "       คนที่เป็นอภัพพบุคคล.
๓.  สมมติสีมาคาบเกี่ยวหรือทับสีมาอื่น.
๔.  ทำผิดระเบียบ.
               (๒)  กรรมวิบัติโดยสีมาเพราะเหตุเหล่านี้เป็นต้น  คือ :-
๑.   สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด.
๒.  สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด.
๓.  สมมติสีมามีนิมิตขาด.
๔.  สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต.
๕.  สมมติสีมาไม่มีนิมิต.
                 (๓)  กรรมวิบัติโดยปริสะ  เพราะเหตุ  ๓  คือ :-
๑.  ภิกษุผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์ไม่ครบกำหนดตามหน้าที่สังฆกรรม.
๒.  สงฆ์ครบกำหนดแล้ว  แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรนำมา.
๓.  มีผู้คัดค้านกรรมอันสงฆ์กระทำ.
               (๔)  กรรมวิบัติโดยกรรมวาจานั้น  เพราะเหตุ  ๗  คือ :-
๑.  ไม่ระบุวัตถุ.
๒.     "    สงฆ์.
๓.     "    บุคคล.
๔.  ไม่ตั้งญัตติ.
๕.  ตั้งญัตติต่อภายหลัง.
๖.  ทิ้งอนุสาวนาในกรรมวาจาที่มีอนุสาวนา.
๗.  สวดในกาลที่ไม่ควร.
                           ไม่ระบุวัตถุแยกเป็น  ๓  คือ :-
๑.  ไม่ระบุคน.  เช่นผู้อุปสมบท  ในการอุปสมบท.
๒.  ไม่ระบุของ.  เช่นผ้ากฐิน  ในการให้ผ้ากฐิน.
๓.  ไม่ระบุการที่ปรารภ.  เช่นการสมมติสีมา.
                         ไม่ระบุบุคคลแยกเป็น  ๒  คือ :-
๑.  ไม่ระบุชื่ออุปัชฌาย์  ในการอุปสมบท.
๒.  ไม่ระบุชื่อภิกษุผู้รับ  ในการให้ผ้ากฐิน.
                ในคำว่าทิ้งอนุสาวนามีเกณฑ์อยู่  ๓  คือ :-
๑.  สวดอนุสาวนาไม่ครบกำหนด.
๒.  สวดให้ตกหล่น.
๓.  สวดผิด.
           (ข้อ ๒-๓  ถ้ามีในญัตติด้วย  เข้าใจว่าเสียเหมือนกัน)
      ผู้สวดกรรมวาจาต้องสนใจในประเภทพยัญชนะ  ๑๐  คือ :-
๑.  สิถิล  พยัญชนะออกเสียงเพลา  ได้แก่พยัญชนะที่ ๑  ที่ ๓  ใน วรรคทั้ง ๕.
๒.  ธนิต  พยัญชนะออกเสียงแข็ง  ได้แก่พยัญชนะที่ ๒  ที่ ๔  ในวรรคทั้ง ๕.
๓.  ทิฆะ  สระที่ออกเสียงยาว.
๔.  รัสสะ  สระที่ออกเสียงสั้น.
๕.  ครุ  สระที่มีพยัญชนะสังโยค.
๖.  ลหุ  สระที่ไม่มีพยัญชนะสังโยค.
๗.  นิคคหิต  อักขระที่ว่ากดเสียง.
๘.  วิมุต  อักขระที่ว่าปล่อยเสียง.
๙.  สัมพันธ์  บทเข้าสนธิเชื่อมกับบทอื่น.
๑๐. ววัตถิตะ  บทแยกกัน.
     กรรมย่อมเสียเพราะว่าผิดพลาดในประเภทพยัญชนะ  ๔  คือ :-
๑.  ว่าสิถิลเป็นธนิต  เช่นว่า  " สุณาตุ  เม "  เป็น  " สุณาถุ  เม."
๒.  ว่าธนิตเป็นสิถิล  เช่นว่า  " ภนฺเต  สงฺโฆ "  เป็น  "พนฺเต  สงฺโค."
๓.  ว่าวิมุตเป็นนิคคหิต  เช่นว่า  " เอสาตฺติ "  เป็น  " เอส  ตฺติ."
๔.  ว่านิคคหิตเป็นวิมุต  เช่นว่า  " ปตฺตกลฺล "  เป็น  " ปตฺตกลฺลา."
(ส่วนอีก  ๖ สถานนั้น  ว่ากลับกันหรือแยกกัน  กรรมวาจาไม่เสีย  แต่ควรว่าให้ถูกและดี)
                                          กัณฑ์ที่  ๒๔
                                                สีมา
                     คำว่า  สีมา  แปลว่าเขตหรือแดน  มี  ๒  คือ :-
๑.  พัทธสีมา  แดนที่ผูก  ได้แก่เขตที่สงฆ์กำหนดเอาเอง.
๒.  อพัทธสีมา  แดนที่ไม่ได้ผูก  ได้แก่เขตที่เขากำหนดไว้โดยปกติ ของบ้านเมือง  หรือมีอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด.
                           พัทธสีมา  มีขนาด  ๒  อย่าง  คือ :-
๑.  สีมาเล็กพอจุภิกษุ  ๒๑ รูปได้นั่งหัตถบาสกัน.
๒.  สีมาใหญ่ไม่เกินกว่า  ๓ โยชน์.
                            วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี  ๘  คือ :-


๑.  ภูเขา.
๒.  ศิลา.
๓.  ป่าไม้.
๔.  ต้นไม้.
๕.  จอมปลวก.
๖.  หนทาง.
๗.  แม่น้ำ.
๘.  น้ำ.


          (๑)  ภูเขาที่ใช้ได้มี  ๓  คือ :-
๑.  ภูเขาดินล้วน.                                                                ๒.  ภูเขาศิลาล้วน.
๓.  ภูเขาศิลาปนดิน.
            (๒)  ศิลาที่ใช้ได้ประกอบด้วยองค์  ๔  คือ :-
๑.  ศิลาแท้หรือศิลาเจือแร่.                                ๒.  สัณฐานโตไม่ถึงช้าง  เท่าศีรษะโคหรือกระบือเขื่อง ๆ.
๓.  เป็นศิลาแท่งเดียว.                                       ๔.  อย่างเล็กเท่าก้อนน้ำอ้อย  หนัก  ๓๒ ปะละ.
              (๓)  ศิลาอีก  ๓ ชนิดก็ใช้ได้  คือ :-
๑.  ศิลาดาด.                         ๒.  ศิลาเทือก.                      ๓.  ศิลาดวด.
        (๔)  ป่าไม้ที่ใช้ได้ประกอบด้วยองค์  ๒  คือ :-
๑.  หมู่ไม้มีแก่นหรือหมู่ไม้ชนิดเดียวกับไม้มีแก่น.
๒.  ขึ้นเป็นหมู่กันอย่างต่ำเพียง  ๔-๕ ต้น.
      หัวข้อแห่งการผูกพัทธสีมาในบัดนี้  มีดังนี้  คือ :-
๑.  พื้นที่อันจะสมมติเป็นสีมาต้องได้รับอนุญาตจากบ้านเมืองก่อน.
๒.  ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ในเขตสีมาหรือนำฉันทะของเธอมา.
๓.  สวดถอน.
๔.  เตรียมนิมิตไว้ตามทิศ.
๕.  เมื่อสมมติสีมา  ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ในภายในนิมิต.
๖.  ทักนิมิต.
๗.  สวดสมมติสีมา.
                  การทักนิมิตสีมาสองชั้นมี  ๒  วิธี  คือ :-
๑.  ทักสลับกัน.                   ๒.  ทักข้ามลูก.
           ประโยชน์ของการสมมติสีมาสองชั้น  มี  ๓  คือ :-
๑.  เขตนิสัย  เขตลาภ  แผ่ไปทั่วถึง.
๒.  ของสงฆ์อาจรวมเป็นเจ้าของเดียวกัน.
๓.  สังฆกรรรรมทำได้สะดวก.
                      พัทธสีมาในบัดนี้  มี  ๓  คือ :-
๑.  ขัณฑสีมา.
๒.  มหาสีมา  (สีมาผูกทั่ววัด).
๓.  สีมาสองชั้น.
                           อพัทธสีมา  มี  ๓  คือ :-
๑.  คามสีมาหรือนิคมสีมา.
๒.  สัตตัพภันตรสีมา.
๓.  อุทกุกเขป.
            (นับวิสุงคามสีมาตามอรรถกถาเข้าด้วยเป็น  ๔)
             น่านน้ำที่สงฆ์จะกำหนดเป็นอุทกุกเขปได้  มี  ๓  คือ
๑.  นที  แม่น้ำ.
๒.  สมุทร ทะเล.
๓.  ชาตสระ  ที่ขังน้ำอันเป็นเอง.
            แม่น้ำที่จะใช้เป็นแดนอุทกุกเขปได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์  ๒  คือ :-
๑.  แม่น้ำมีกระแสน้ำ  มีน้ำไม่ขาดแห้งตลอดฤดูฝน.
๒.  มีน้ำลึกพออันจะเปียกอันตรวาสก  ของภิกษุณีผู้ครองเป็นปริมณฑล เดินข้ามอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง.
            ลำคลองที่จะถือเป็นแม่น้ำได้  ต้องประกอบด้วยลักษณะเช่นนี้  คือ :-
๑.  คลองนั้นมีกระแสน้ำเซาะกว้างออกไปแล้ว  พ้นจากความเป็นของ  คนขุด  (เช่นลำน้ำในระหว่าปากเกร็ด).
๒.  คลองนั้นเป็นทางแม่น้ำเก่า  (เช่นคลองบางใหญ่).
                                  ชาตสระนั้น  มี  ๓  คือ :-
๑.  บึง.
๒.  หนอง.
๓.  ทะเลสาบ.
                สถานที่ ๆ จะทำสังฆกรรมในน่านน้ำ  ๓ ชนิด  คือ :-
๑.  จะทำบนเรือ.
๒.  จะทำบนแพ.
๓.  จะทำบนร้านที่ปลูกขึ้นในน้ำ  (ย่อมทำได้ทั้งนั้น).
       หาดที่จะกำหนดเอาโดยฐานเป็นอุทกุกเขปได้นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์  ๒  คือ :-
๑.  หาดนั้นน้ำยังท่วมถึง  แม้เฉพาะในฤดูน้ำ.
๒.  ยังเป็นที่สาธารณะ  ไม่เปิดให้จับจอง.
                                        สีมาสังกระ  ๔
๑.  สมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน.
๒.  วัตถุพาดพิงถึงกันในระหว่างสีมาทั้งสอง.
๓.  สงฆ์สองหมู่จะทำสังฆกรรมเวลาเดียวกัน  ไม่เว้นระหว่างแนว สงฆ์ให้ห่างกันพอได้ตามกำหนด.
๔.  ทำสังฆกรรมในเรือหรือแพที่ผูกกับหลักปักไว้บนตลิ่ง  หรือทำในที่ไม่ได้กำหนดจามอุทกุกเขป.
                                       กัณฑ์ที่  ๒๕
                           สมมติเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์
            ภิกษุผู้ควรเลือกเป็นเจ้าหน้าที่นั้น  ต้องประกอบด้วยองค์  ๕  คือ :-
๑.  ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒.         "                   "            เกลียดชัง                ๔  นี้เป็นองค์สรรพ-
๓.         "                   "            งมงาย                          สาธารณะ
๔.         "                   "            กลัว
๕.  เข้าใจการทำหน้าที่อย่างนั้น  (นี้องคฺเฉพาะ).
                        เจ้าหน้าที่อันสงฆ์พึงสมมติ  มี  ๕  คือ :-
๑.  เจ้าอธิการแห่งจีวร.
๒.  เจ้าอธิการแห่งอาหาร.
๓.  เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ.
๔.  เจ้าอธิการแห่งอาราม.
๕.  เจ้าอธิการแห่งคลัง.
                 (๑)  หน้าที่เจ้าอธิการแห่งจีวรแบ่งออกเป็น  ๓  คือ :-
๑.  จีวรปฏิคคาหกะ  เป็นผู้รับจีวร.
๒.  จีวรนิทหกะ  เป็นผู้เก็บจีวร.
๓.  จีวรภาชกะ  เป็นผู้แจกจีวร.
                    (๑)  ข้อที่จีวรปฏิคคาหกภิกษุพึงรู้ดังนี้  คือ  :-
๑.  จีวรที่เขาถวายแก่สงฆ์  ที่ตนมีหน้าที่อุปัฏฐาก  ควรรับ.
๒.  จีวรที่เขาถวายแก่สงฆ์  ที่ตนไม่มีหน้าที่อุปัฏฐาก  และที่เขาถวายเป็น
    ปาฏิบุคคล  ไม่ควรรับ.
๓.  จีวรประเภทไร  มีจำนวนเท่าไร รับไว้หรือมิได้รับไว้  ควรรู้ด้วย.
           จีวรที่เขาถวายแก่สงฆ์มีเกณฑ์แห่งคำถวาย  ดังนี้  คือ :-
๑. ข้าพเจ้าถวายในสีมาหรือแก่สีมา.
๒.  ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์.
๓.  ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์.
๔.  ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว.
            จีวรที่เขาถวายเป็นปาฏิบุคลิกมีเกณฑ์  ดังนี้  คือ :-
๑.  จีวรที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้ได้รับภัตตาหารของเขา.
๒.  จีวรที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะของเขา.
๓.  จีวรที่เขาแก่ภิกษุผู้ได้รับอุปัฏฐากอย่างอื่นของเขา.
๔.  จีวรที่เขาถวายแก่ภิกษุเฉพาะรูป.
              (๒)  ข้อที่จีวรนิทหกภิกษุพึงรู้ดังนี้  คือ :-
๑.  ผ้าอัจเจกจีวรที่เขาถวาย  ควรเก็บไว้จนกว่าจะออกพรรษา  แล้ว  จึงแจกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา.
๒.  จีวรที่เขาถวายไม่พอแจก  ควรเก็บไว้จนกว่าจะได้มาพอแจกกัน.
๓.  จีวรที่เขาถวายพอแจกทั่วกัน  มิใช่อัจเจกจีวร  ไม่ควรเก็บ.
๔.  จีวรมีจำนวนเท่าไร  เก็บไว้หรือมิได้เก็บไว้  ควรรู้ด้วย.
                      (๓)  ข้อที่จีวรภาชกภิกษุพึงรู้ดังนี้  คือ :-
๑.  จีวรที่เขาถวายไม่นิยมเป็นพิเศษ  พอแจกทั่วกัน  ควรแจก.
๒.  จีวรที่เขาถวายเป็นผ้ากฐิน  หรือเป็นมูลแห่งเสนาสนปัจจัย  ไม่  ควรแจก.
๓.  จีวรมีจำนวนเท่าไร  แจกไปหรือไม่ได้แจก  ควรรู้ด้วย.
             จีวรภาชกภิกษุควรทำความกำหนด  ๕  อย่าง  คือ :-
๑.  พึงกำหนดเขต.
๒.   "          "   กาล.
๓.   "          "   วัตถุ  คือจีวร.
๔.   "          "   บุคคล  คือสหธรรมิกผู้รับแจก.
๕.   "          "   นิยมต่าง.
           (๑)  การกำหนดเขตนั้น  มีข้อกำหนดอยู่  ๒  คือ :-
๑.  กำหนดอาวาสทั้งมวล.
๒.  กำหนดอาวาสทั้งหลาย  ซึ่งอยู่ในเขตกติกาที่ได้ทำกันไว้.
              (๒)  กำหนดกาลนั้น  มีข้อกำหนดอยู่  ๓  คือ :-
๑.  กำหนดจีวรกาลโดยปกติ.
๒.  กำหนดจีวรที่ขยายไปตลอดเหมันตฤดู  เพราะได้กรานกฐิน.
๓.  กำหนดกาลที่พ้นจีวรกาลไปแล้ว.
              (๓)  การกำหนดวัตถุนั้น  มีข้อกำหนด  ๖  คือ :-
๑.  เป็นของเหมือนกันหรือแผกกัน.
๒.  ที่แผกกันเป็นผ้าชนิดไร.
๓.  ดีเลวอย่างไร.
๔.  ราคาถูกแพงเป็นอย่างไร.
๕.  เป็นจีวรชนิดไรบ้าง.
๖.  ไตรจีวรอย่างไหน  มีจำนวนเท่าไร.
         (๔)  การกำหนดบุคคลนั้น  มีข้อกำหนดอยู่  ๒ คือ :-
๑.  เป็นภิกษุ.
๒.  เป็นสามเณร.
       (๕)  การกำหนดนิยมต่างกัน  มีข้อกำหนดอยู่  ๓  คือ :-
๑.  ผ้าที่เขาถวายเป็นผ้ากฐิน.
๒.  ผ้าที่เป็นบริวารของผ้ากฐิน.
๓.  ผ้าไตรจีวรของภิกษุที่มรณะแล้ว.
       (๒)  หน้าที่เจ้าอธิการแห่งอาหารแบ่งออกเป็น  ๔  คือ :-
๑.  ภัตตุทเทสกะ  เป็นผู้แจกภัต.
๒.  ยาคูภาชกะ  เป็นผู้แจกยาคู.
๓.  ผลภาชกะ  เป็นผู้แจกผลไม้.
๔.  ขัชชภาชกะ  เป็นผู้แจกของเคี้ยว.
                   ข้อที่ภัตตุทเทสกภิกษุพึงรู้  ดังนี้
๑.  ภัตไม่ได้นิยมต่าง  เป็นของควรแจก.
๒.  ภัตมีนิยมต่าง  เป็นของไม่ควรแจก.
๓.  ภัตที่แจกไม่ทั่วกัน  แจกไปแล้วเพียงลำดับแค่ไหน  ควรจำไว้.
  (ภัตเป็นของควรแจก  หรือไม่ควรแจกนั้น  หมายเอาแจกทั่วไป).
        ภัตมีนิยมต่างนั้น  ในบาลี  มี  ๔  เพิ่มตามอรรถกถาอีก  ๑เป็น  ๕  คือ :-
๑.  อาคันตุกภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ.
๒.  คมิยภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะไปอยู่ที่อื่น.
๓.  คิลานภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุไข้.
๔.  คิลานุปัฏฐากภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้.
๕.  กุฏิภัต  อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฏีที่เขาสร้าง  (ข้อนี้มีในอรรถกถา).
                          การแจกภัต  มี  ๒  อย่าง  คือ :-
๑.  แจกอาหารอันเขานำมามอบถวาย.
๒.  รับนิมนต์ไว้แล้ว  ส่งพระไปรับที่บ้านเรือนของเขา.
                     ภัตที่ออกชื่อในบาลี  มี  ๗  อย่าง  คือ :-
๑.  สังฆภัต  อาหารที่ถวายสงฆ์.
๒.  อุทเทสภัต  อาหารอุทิศสงฆ์.
๓.  นิมันตนะ  การนิมนต์หรืออาหารที่ได้ในที่นิมนต์.
๔.  สลากภัต  อาหารถวายตามสลาก.
๕.  ปักขิกภัต  อาหารถวายปักษ์ละ  ๑ ครั้ง.
๖.  อุโปสถถิกภัต  อาหารถวายในวันอุโบสถ.
๗.  ปาฏิปทิกภัต  อาหารถวายในวันปาฏิบท.
          สังฆภัตนั้น  เขาถวายสงฆ์พอแจกทั่วกันในอาราม  มีวิธีถวาย ๒  คือ :-
๑.  เขานำมาถวายเอง.
๒.  เขาส่งมาถวายเอง.
         อุทเทสภัตนั้น  เขาถวายสงฆ์ไม่พอแจกทั่วกันในอาราม  มีวิธีถวาย  ๓  คือ :-
๑.  เขานำมาถวายเอง.
๒.  เขาส่งมาถวาย.
๓.  เขาขอสงฆ์ไปรับมาจากบ้านของเขา.
                         อานิสงส์แห่งข้าวยาคู  มี  ๕  คือ :-


๑.  แก้หิว.
๒.  ระงับระหาย.
๓.  ยังลมให้เดินคล่อง.
๔.  ชำระทางปัสสาวะ.
๕.  ละลายอาหารดิบ.


                               ทางได้ผลไม้  มี  ๔  คือ :-
๑.  ผลไม้ที่เกิดขึ้นในสวนวัดที่ไวยาวัจกรจัดทำ.
๒.  ผลไม้ที่ผู้เช่าสวนวัดจัดทำ  เขาถวายตามส่วน.
๓.  ผลไม้ที่ทายกส่งมาถวาย.
๔.  ผลไม้ที่เขาอนุญาตให้ไปเก็บเอาเองได้.
            (๓)  หน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ  มี  ๒  คือ :-
๑.  เสนาสนคาหาปกะ  มีหน้าที่แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ.
๒.  เสนาสนปัญญาปกะ  มีหน้าที่แต่งตั้งเสนาสนะ.
                 เสนาสนะที่จะพึงแจกให้ถือนั้น  มี  ๒  คือ :-
๑.  แจกกุฎีให้ถือเป็นหลัง ๆ  หรือเป็นห้อง ๆ.
๒.  แจกเตียงนอนให้ถือเป็นที่ ๆ.
           การให้ถือเสนาสนะเนื่องด้วยสมัยในบาลี  มี  ๓  คือ :-
๑.  ปุริมิโก  การให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษา.
๒.  ปจฺฉิมิโก       "            "   พรรษาหลัง.
๓.  อนฺตรามุตฺตโก  การให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น.
                  การให้ถือเสนาสนะตามพระมติ  มี  ๒  คือ :-
๑.  วสฺสูปนายิโก  การให้ถือในวันเข้าพรรษา.
๒.  ตพฺพิรินิมุตฺโต  การให้ถือในคราวพ้นจากนั้น.
        ภิกษุที่ไม่ควรย้ายเสนาสนะในเวลานอกพรรษา  มี  ๓  คือ :-
๑.  ภิกษุผู้ทำอุปการะแก่สงฆ์.
๒.  ภิกษุที่ได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ  สงฆ์ขออนุญาตให้อยู่มีกำหนด.
๓.  ภิกษุผู้เป็นภัณฑาคาริก.
      การแจกเสนาสนะ  พึงกำหนดเสนาสนะและฐานะของผู้ถือเสนาสนะด้วย  คือ :-
๑.  ถ้ากุฎีพอ  พึงแจกให้ถือเป็นหลัง ๆ  หรือแม้ทั้งบริเวณ  มีไม่พอ     พึงผ่อนให้ถือเป็นห้อง ๆ  ถ้ากุฎีโถง  พึงผ่อนให้ถือชั่วเตียงนอน ชั่วที่นอนเป็นที่ ๆ.
๒.  ฐานะของผู้ถือเสนาสนะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย  เป็นผู้ทำอุปการะแก่ สงฆ์หรือหามิได้  เป็นผู้เล่าเรียนหรือประกอบกิจในทางไร  เป็นผู้ อาศัยหรือเป็นที่อาศัยของใครเป็นต้น.
     (๔)  หน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งอารามแบ่งออกเป็น  ๒  คือ :-
๑.  การรักษาอาราม.
๒.  การดูนวกรรม.
                 หน้าที่ของภิกษุผู้ดูนวกรรม  มี  ๒  คือ :-
๑.  เป็นผู้ดูการปลูกสร้างที่มีทายกเป็นเจ้าของ.
๒.  เป็นผู้ดูการปฏิสังขรณ์สิ่งหักพังชำรุดในอาราม.
       (๕)  หน้าที่ของเจ้าอธิการแห่งคลังแบ่งออกเป็น  ๒  คือ :-
๑.  ภัณฑาคริก  มีหน้าที่รักษาคลังเก็บพัสดุของสงฆ์.
๒.  อัปปมัตตกวิสัชชกะ  มีหน้าที่จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุ.
                  ข้อที่ภัณฑาคาริกภิกษุพึงรู้ดังนี้  คือ :-
๑.  ของที่เป็นครุภัณฑ์ควรเก็บ.
๒.  ของที่เป็นลหุภัณฑ์ไม่ควรเก็บ.
                       ในเสนาสนขันธ์มีสมมติอีก  ๒  คือ :-
๑.  สมมติให้เป็นผู้รับผ้าสาฎก  เรียกสาฎิยคาหาปกะ.
๒.  สมมติให้เป็นผู้รับบาตร  เรียกปัตตคาหาปกะ.
                                       กัณฑ์ที่  ๒๖
                                           กฐิน
         องค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐิน  มี  ๓  คือ :-
๑.  เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด.
๒.  อยู่อาวาสเดียวกัน.
๓.  ภิกษุมีจำนวนแต่  ๕ รูปขึ้นไป.
                  ผ้าอันเป็นวัตถุแห่งกฐิน  มี  ๕  คือ :-


๑.  ผ้าใหม่.
๒.  ผ้าเทียมใหม่.
๓.  ผ้าเก่า.
๔.  ผ้าบังสุกุล.
๕.  ผ้าตกตามร้าน.


   ผ้าอันไม่ควรใช้เป็นวัตถุแห่งกฐิน  มี  ๒  คือ :-
๑.  ผ้าที่ไม่ได้เป็นสิทธิ.
๒.  ผ้าที่ได้มาโดยอาการอันมิชอบ  คือ  ทำนิมิตและพูดเลียบเคียง.
๓.  ผ้าเป็นนิสัคคีย์.
๔.  ผ้าที่เก็บค้างคืนไว้  (หมายเอาผ้ากฐินที่ทำค้างคืนไม่เสร็จในวัน เดียว).
            องค์แห่งภิกษุผู้ควรกรานกฐินตามบาลี  มี  ๘  คือ :-


๑.  รู้จักบุพพกรณ์.
๒.  รู้จักถอนไตรจีวร.
๓.  รู้จักอธิษฐานไตรจีวร.
๔.  รู้จักการกราน.
๕.  รู้จักมาติกา.
๖.  รู้จักปลิโพธิกังวล.
๗.  รู้จักการเดาะกฐิน.
๘.  รู้จักอานิสงส์กฐิน.


บุพพกรณ์  มี  ๗  คือ :-


๑.  ซักผ้า.
๒.  กะผ้า.
๓.  ตัดผ้า.
๔.  เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว.
๕.  เย็บเป็นจีวร.
๖.  ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว.
๗.  ทำกัปปะ  คือ  พินทุ.


         คำว่า  " ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จแล้ว "  มีสันนิษฐานเป็น  ๒  นัย  คือ :-
๑.  หมายเอาผ้าที่เย็บมาเสร็จแล้ว
๒.  หมายว่าภิกษุผู้รับผ้านั้นขวนขวายทำเสร็จเป็นส่วนตน.
                                       คำกรานผ้ากฐิน
        อิมาย  สงฺฆาฏิยา  กิน  อติถรามิ  (สังฆาฏิ).
        อิมินา  อุตฺตราสงฺเคน  กิน  อตฺถรามิ  (อุตตราสงค์).
        อิมินา  อนฺตรวาสเกน  กิน  อตฺถรามิ  (อันตรวาสก).
                      คำบอกของผู้กราน  (คือผู้รับ)  ในสงฆ์
        อตฺถต  ภนฺเต  สงฺฆสฺส  กินธมฺมิโก  กินตฺถาโร  อนุโมทถ.
        (ถ้าผู้กรานแก่กว่าว่า  " อตฺถต  อาวุโส ").
                       คำอนุโมทนากฐินของภิกษุทั้งหลาย
        อตฺถต  อาวุโส  สงฺฆสฺส  กินธมฺมโก  กินตฺถาโร  อนุโมทามิ.
        (ถ้าผู้อนุโมทนาอ่อนกว่าผู้กรานว่า  " อตฺถต  ภนฺเต ").
             ของที่เป็นบริวารแห่งกฐินควรได้แก่ใคร    มติอรรถกถาว่า  ถ้าทายกถวายเฉพาะภิกษุผู้กรานกฐินกล่าวว่า " เยน  อมฺหาก  กิน  คหิตตสฺเสว  เทม "  แปลว่า  " ภิกษุรูปใดได้รับผ้ากฐินของพวกข้าพเจ้า ๆ ถวายแก่ภิกษุรูปนั้น "  เช่นนี้  สงฆ์ไม่เป็นใหญ่  ถ้าเขาไม่ได้จำกัดไว้  ถวายก็แล้วไป  สงฆ์เป็นใหญ่.
                    อานิสงส์แห่งการกรานกฐิน  ๕  คือ :-
๑.  เที่ยวไปไม่ต้องบอกลาตามสิกขาบทที่  ๖  แห่งอเจลกวรรค.
๒.  เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ  (เพียง  ๒  ผืน).
๓.  ฉันคณโภชน์ได้  (และฉันปรัมปรโภชน์ได้).
๔.  เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.
๕.  จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ.
        (ทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลให้ยาวออกไปตลอด  ๔ เดือนฤดูเหมันต์ด้วย).
          อานิสงส์กฐินและการขยายเขตจีวรกาล  ทรงอยู่ได้  เพราะมีปลิโพธ  ๒  คือ :-
๑.  อาวาสปลิโพธ  กังวลในอาวาส.
๒.  จีวรปลิโพธ  กังวลในจีวร.
    (ปลิโพธทั้ง  ๒  นี้  แม้ยังเหลืออยู่เพียงอย่างเดียว  ก็ยังรักษาอยู่ก่อน).
      การกำหนดความมีและความสิ้นแห่งปลิโพธทั้ง  ๒ นั้น  ดังนี้ :-
๑.  ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น  หรือหลีกไป  ผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา  ชื่อว่ายังมีอาวาสปลิโพธ.
๒.  เธอหลีกไปจากอาวาสนั้นด้วยทอดธุระว่าจักไม่กลับ  ชื่อว่าสิ้น  อาวาสปลิโพธ.
๓.  ภิกษุยังไม่ได้ทำจีวรเลย  หรือทำค้าง  หรือหายเสียในเวลาทำ  แต่ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรอีก  ชื่อว่ายังมีจีวรปลิโพธ.
๔.  เธอทำจีวรเสร็จแล้วหรือกำลังทำค้างอยู่  ทำเสีย  หายเสีย  ไฟไหม้ เสีย  สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรอีก  ชื่อว่าสิ้นจีวรปลิโพธ.(การเดาะกฐินเรียกเป็นศัพท์ว่า  " กฐินุทฺธาโร "  บ้าง  " กฐินุพฺภาโร "บ้าง  แปลว่า  " รื้อไม้สะดึง ").
                       มาติกา  (หัวข้อเพื่อเดาะกฐิน)  ๘  คือ :-
๑.  เดาะกฐินกำหนดด้วยหลีกไป  (ปกฺกมนฺนติกา).
๒.  การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ  (นิฏฺฐานนฺติกา).
๓.  เดาะกฐินด้วยสันนิษฐาน  (สนฺนิฏฺฐานนฺติกา).
๔.  เดาะกฐินกำหนดด้วยความเสียหรือความหาย  (นาสนนฺติกา).
๕.  เดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง  (อาสวจฺเฉทิกา).
๖.  เดาะกฐินกำหนดด้วยได้ยินข่าว  (สวนฺนติกา).
๗.  เดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต  (สีมาติกฺกนฺติกา).
๘.  เดาะกฐินพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย  (สหุพฺภารา).
                                     กัณฑ์ที่  ๒๗
                              บรรพชาและอุปสมบท
                                       บรรพชา
        การบวชด้วยไตรสรณคมน์อาจแยกออกเป็น  ๒  ตอน  คือ :-
๑.  การให้ครองผ้ากาสายะ  (เป็นอันให้บรรพชา).
๒.  การให้สรณคมน์  (เป็นอันให้อุปสมบท).
         การบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแยกได้เป็น  ๒  ตอน  คือ :-
๑.  พระดำรัสว่า  มาเถิดภิกษุหรือเป็นภิกษุมาเถิด  (เป็นอันประทานบรรพชา).
๒.  พระดำรัสว่า  ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด    หรือว่าประพฤติพรหมจรรย์  (เป็นอันประทานอุปสมบท).
  คำบอกภัณฑูกรรมชนิดที่พาบรรพชาเปกขะไปด้วย  บอกว่า :-
๑.  สงฆ  ภนฺเต  อิมสฺส  ทารกสฺส  ภณฺฑูกมฺม  อาปุจฺฉามิ.
๒.  อิมสฺส  สมณกรณ  อาปุจฺฉามิ.
๓.  อย  ปพฺพชิตุกาโม  (บอก  ๓ ครั้ง  ๒ ครั้ง  หรือครั้งเดียวก็ได้).
                                           คำแปล
๑.  ท่านเจ้าข้า  ข้าพเจ้าบอกภัณฑูกรรมแห่งทารกนี้แก่สงฆ์.
๒.  ข้าพเจ้าบอกการทำทารกนี้ให้เป็นสมณะ.
๓.  ทารกผู้นี้ใคร่จะบวช.
        คำบอกภัณฑูกรรมชนิดที่ไม่พาบรรพชาเปกขะไปด้วย  หรือ ชนิดที่ส่งภิกษุหนุ่มหรือสามเณรไปบอกแทน  บอกว่า :-
        เอโก  ภนฺเต  ปพฺพชฺชาเปกฺโข  อตฺถิ  ตสฺส  ภณฺฑูกมฺมอาปุจฺฉามิ.
                                        คำแปล
        ท่านเจ้าข้า  บรรพชาเปกขะมีอยู่ผู้หนึ่ง  ข้าพเจ้าบอกภัณฑูกรรมแห่งเขา.
                                        อุปสมบท
               ผู้ควรได้รับอุปสมบทต้องประกอบด้วยองคคุณ  ๓  คือ :-
๑.  เป็นผู้ชาย.
๒.  มีอายุครบ  ๒๐ ปีบริบูรณ์.
๓.  มิใช่อภัพบุคคลผู้ถูกห้ามโดยเด็ดขาด.
              (เฉพาะบุรุษพิเศษมีอายุ  ๒๐ โดยปี  ท่านอนุญาต).
                      อภัพบุคคลจัดโดยวัตถุ  มี  ๓  พวก  คือ :-
๑.  พวกมีเพศบกพร่อง.
๒.  พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัย.
๓.  พวกประพฤติผิดต่อกำเนิดของตน.
                 (๑)  พวกมีเพศบกพร่องแยกออกเป็น  ๒  คือ :-
๑.  บัณเฑาะก์.
๒.  อุภโตพยัญชนก.
          (๑)  บัณเฑาะก์แยกออกเป็น  ๓  คือ :-
๑.ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและเย้ายวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น.๒.ชายผู้ถูกตอน
๓.  กะเทยโดยกำเนิด.
          (๒)  พวกประพฤติผิดพระธรรมวินัยแยกออกเป็น  ๗  คือ :-


๑.  คนฆ่าพระอรหันต์.
๒.  คนทำร้ายภิกษุณี.
๓.  คนลักเพศ  (เถยยสังวาส).
๔.  ภิกษูไปเข้ารีตเดียรถีย์.
๕.  ภิกษุต้องปาราชิกลักเพศไปแล้ว.
๖.  ภิกษุผู้ทำสังฆเภท.
๗.  คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต.


         (๓)  พวกประพฤติผิดต่อกำเนิดของตนแยกออกเป็น  ๒  คือ :-
๑.  คนฆ่ามารดา.
๒.  คนฆ่าบิดา.
        ประเภทแห่งคนผู้ต้องห้ามบวชโดยอาการไม่สมควรมี  ๒  คือ :-
๑.  บางพวกไม่ให้รับบรรพชา.
๒.  บางพวกห้ามไม่ให้รับอุปสมบท.
               พวกที่ถูกห้ามไม่ให้รับบรรพชา  มี  ๘  พวก  คือ :-
๑.  คนมีโรคอันจะติดต่อกันเป็นต้น  คือโรค  ๕ อย่าง  มีโรคเรื้อน เป็นอาทิ.
๒.  คนมีอวัยวะบกพร่อง  คือมีมือเท้าขาดเป็นต้น.
๓.  คนมีอวัยวะไม่สมประกอบ  คือมีมือเป็นแผ่นเป็นต้น.
๔.  คนพิการ  คือคนตาบอดตาใสเป็นต้น.
๕.  คนทุรพล  คือคนแก่ง่อนแง่นเป็นต้น.
๖.  คนมีเกี่ยวข้อง  คือคนอันมารดาบิดาไม่ได้อนุญาตเป็นต้น.
๗.  คนเคยถูกลงอาญาหลวง  มีหมายปรากฏอยู่  คือคนถูกเฆี่ยน หลังลายเป็นต้น.
๘.  คนประทุษร้ายความสงบ  คือโจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดังเป็นต้น.
                 พวกที่ถูกห้ามไม่ให้อุปสมบท  มี ๑๐  คือ :-


๑.  คนไม่มีอุปัชฌาย์.
๒.  มีคนอื่นจากภิกษุเป็นอุปัชฌาย์.
๓.  ถือสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์.
๔.  ถือคณะเป็นอุปัชฌาย์.
๕.  คนไม่มีบาตร.
๖.  คนไม่มีจีวร.
๗.  คนไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร.
๘.  คนยืมบาตรเขามา.
๙.  คนยืมจีวรเขามา.
๑๐. คนยืมทั้งบาตรทั้งจีวรเขามา.


บุรพกิจแห่งอุปสมบท  มี  ๑๑  คือ :-
๑.  ให้บรรพชา.
๒.  ขอนิสัย.
๓.  ถืออุปัชฌาย์.
๔.  ขนานชื่อมคธแห่งอุปสัมปทาเปกขะ.
๕.  บอกนามอุปัชฌาย์.
๖.  บอกบาตรจีวร.
๗.  สั่งให้อุปสัมปทาเปกขะไปยืนข้างนอก.
๘.  สมมติภิกษุรูปหนึ่ง  เป็นผู้ซักซ้อมอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิก- ธรรม.
๙.  เรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามาในสงฆ์.
๑๐. ให้ขออุปสมบท.
๑๑. สมมติภิกษุรูปหนึ่งสอบถามอุปสัมปทาเปกขะถึงอันตรายิกธรรม ในสงฆ์.
      การจัดภิกษุผู้สวดกรรมวาจาเป็นคู่นั้น  มีทางสันนิษฐาน  ดังนี้ :-
ก.  ธรรมเนียมสวดอย่างอื่นมีสวดภาณวารเป็นต้น  สวดทีละคู่.
ข.  สวดรูปเดียวอาจตกหล่น  สวดคู่คงตกหล่นไม่พร้อมกัน  เป็นอัน ทานกันอยู่ในตัวเอง  รูปหนึ่งพลาดเป็นล่ม.
ค.  เนื่องจากอุปสมบทคราวละคู่  รูปหนึ่งสวดกรรมวาจาสำหรับอุปสัมปทาเปกขะรูปหนึ่ง.
                                  ปัจฉิมกิจ  มี  ๖  คือ :-


๑.  วัดเงาแดดในทันใด.
๒.  บอกประมาณแห่งฤดู.
๓.  บอกส่วนแห่งวัน.
๔.  บอกสังคีติ.
๕.  บอกนิสัย.
๖.  บอกอกรณียกิจ ๔.


                           เงาแดดนั้นปันเป็น  ๒  ภาค  คือ :-
๑.  หายมานจฺฉายา  เวลามีเงาเสื่อม.
๒.  วฑฺฒมานจฺฉายา  เวลามีเงาเจริญ.
                                         กัณฑ์ที่  ๒๘
                                   วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์
                       วิวาทาธิกรณ์ในบาลีแจกไว้  ๙  คู่  คือ :-
๑.  วิวาทกันว่า  นี้เป็นธรรม  นี้ไม่เป็นธรรม.
๒.  นี้เป็นวินัย  นี้ไม่เป็นวินัย.
๓.  นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้  นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัสภาษิตไว้.
๔.  นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา  นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง ประพฤติมา.
๕.  นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้  นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้.
๖.  นี้เป็นอาบัติ  นี้ไม่เป็นอาบัติ.
๗.  นี้เป็นอาบัติเบา  นี้เป็นอาบัติหนัก.
๘.  นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ  นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือไม่ได้.
๙.  นี้เป็นอาบัติหยาบ  นี้ไม่เป็นอาบัติหยาบคาย.
                วิวาทมูลคือรากเง่าแห่งการเถียง  มี  ๒  คือ :-
๑.  ผู้ก่อขึ้นด้วยปรารถนาดี  คือเห็นแก่พระธรรมวินัย  และมีจิต สัมปยุตด้วย  อโลภะ  อโทสะ  อโมหะ.
๒.  ผู้ก่อขึ้นด้วยปรารถนาเลว  คือก่อขึ้นด้วยทิฏฐิมานะ  แม้รู้ว่าผิดก็ขืน ทำ  และประกอบด้วยโทษ  ๖  คู่  คือ :-
        คู่ที่  ๑  เป็นผู้มักโกรธ  เป็นผู้ถือโกรธ.
        คู่ที่  ๒  เป็นผู้ลบหลู่  เป็นผู้ตีเสมอท่าน.
        คู่ที่  ๓  เป็นผู้มีปกติอิสสา  เป็นผู้มีปกติตระหนี่.
        คู่ที่  ๔  เป็นผู้อวดดี  เป็นผู้เจ้ามายา.
        คู่ที่  ๕  เป็นผู้มีปรารถนาลามก  มีความเห็นผิด.
        คู่ที่  ๖  เป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน  ถืออย่างแน่นแฟ้น  รวมเข้าในภาวะเป็นผู้มีจิตสัมปยุตด้วย  โลภะ  โทสะ  โมหะ.
                  วิวาทาธิกรณ์เรื่องใหญ่ ๆ  ท่านนำมากล่าวไว้  ๓  เรื่องคือ :-
๑.   เรื่องพระธรรมกถึกกับพระวินัยธร  เรื่องนี้จัดเข้าในเภทกรวัตถุ
      ที่  ๒  และที่  ๖  ระงับด้วยยอมกันเอง.
๒.  เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตรกล่าววัตถุ  ๑๐  ประการ  เรื่องนี้จัดเข้าใน
      คู่ที่  ๒  สงฆ์ระงับตามลำพังด้วยการชี้ขาด.
๓.  เรื่องเดียรถีย์ปลอมบวชในพระศาสนา  เรื่องนี้จัดเข้าในคู่ที่  ๑    ระงับด้วยอำนาจอาณาจักร.
                       วัตถุ  ๑๐  ประการ  (โดยย่อ)  คือ :-
๑.  เรื่องเกลือในเขนง  (สิงฺคิโลณกปฺป).
๒.  เรื่องสองนิ้ว  (ทฺวงฺคุลิกปฺป).
๓.  เรื่องเข้าละแวกบ้าน  (คามนฺตรกปฺป).
๔.  เรื่องอาวาส  (อาวาสกปฺป).
๕.  เรื่องอนุมัติ  (อนุมติกปฺป).
๖.  เรื่องเคยประพฤติมา  (อาจิณฺณกปฺป).
๗.  เรื่องไม่ได้กวน  (อมถิตกปฺป).
๘.  เรื่องสุราอย่างอ่อน  (กปฺปติ  ชโลคึ  ปาตุ).
๙.  เรื่องผ้านิสีทนะ  (กปฺปติ  อทสก  นิสีทน).
๑๐. เรื่องเงินทอง  (ชาตรูปรชต).
        วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ครั้งที่  ๒  คือประชุมภิกษุชาวปาจีนและชาวปาฐาที่วาลุการาม  เมืองไพศาลี  เลือกภิกษุฝ่ายละ  ๔  รูป  คือ :-
                       ภิกษุฝ่ายปาจีน  ๔  รูป  คือ :-
๑.  พระสัพพกามี.
๒.  พระสาฬหะ.
๓.  พระขุชชโสภิต.
๔.  พระวาสภคามี.
                       ภิกษุฝ่ายปาฐา  ๔  รูป  คือ :-
๑.  พระเรวตะ.
๒.  พระสัมภูตะ  สาณวาสี.
๓.  พระยศ  กากัณฑกบุตร.
๔.  พระสุมนะ.
        ทางป้องกันวิวาทาธิกรณ์ในส่วนธรรมและวินัย  พระศาสดาและพระสาวกได้ทำมา  มี  ๓  ทาง  คือ :-
๑.  ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  อันระบุถึงหัวใจพระศาสนาในที่ประชุมสงฆ์เนือง ๆ.
๒.  ได้ทรงตั้งธรรมเนียมทำสังฆอุโบสถ  ด้วยสวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน.
๓.  พระสาวกได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัย  ตั้งไว้เป็นแบบแผนเป็นคราว ๆ มา.
                            วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์  มี  ๒  คือ :-
๑.  สัมมุขาวินัย  วิธีระงับต่อหน้า.
๒.  เยภุยยสิกา  วิธีระงับเป็นไปตามข้างมาก.
                              สัมมุขาวินัย  มี  ๓  วิธี  คือ :-
๑.  ด้วยการตกลงกันเอง.
๒.  ด้วยการตั้งผู้วินิจฉัย.
๓.  ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์.
           (๑)  วิธีระงับด้วยการตกลงกันเองสงเคราะห์ด้วยองค์  ๔  คือ :-
๑.  สงฺฆสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าสงฆ์.
๒.  ธมฺมสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าธรรม.
๓.  วินยสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าวินัย.
๔.  ปุคฺคลสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าบุคคล.
            (แต่เสด็จ ฯ เข้าพระทัยว่า  สงฺฆสมฺมุขตา  ไม่มีในวินัยนี้).
       ผู้ที่ถูกเลือกให้เป็นผู้วินิจฉัย  เมื่อตนอาจวินิจฉัยควรให้ผู้เลือกปฏิญญา  ๒  ข้อก่อน  คือ :-
๑.  จะแจ้งข้ออธิกรณ์นั้นตามจริง.
๒.  จักยอมรับความวินิจฉัยอันชอบแก่ธรรมวินัยและสัตถุสาสน์.
                        (๒)  วิธีระงับด้วยการตั้งผู้วินิจฉัย
        สงเคราะห์ด้วยองค์  ๓  เว้น  สงฺฆสมฺมุขตา  บ้าง  ด้วยองค์  ๔  บ้าง,(แต่เสด็จ ฯ  ทรงเห็นว่า  สงฺฆสมฺมุขตา  ไม่น่าได้ในอธิการนี้).
                    (๓)  วิธีระงับด้วยอำนาจแห่งสงฆ์  คือ :-
๑.  สงฆ์เห็นภิกษุบางพวกประพฤติผิดแผกออกไป  ไม่เห็นชอบด้วยนเข้าประชุมเป็นสงฆ์วินิจฉัยข้อที่แผกกันนั้นว่าผิด  ด้วยอาณาสงฆ์.
๒.  มีภิกษุเป็นคู่วิวาท  แม้เธอจะไม่มอบให้วินิจฉัย  เห็นแก่พระธรรม วินัย  ชี้ขาดข้อที่ผิดด้วยอาณาสงฆ์ก็ได้.
    สัมมุขาวินัยนี้  สงเคราะห์ด้วยองค์  ๓  เว้น  ปุคฺคลสมฺมขตา  บ้าง ด้วยองค์  ๔  บ้าง.
         ภิกษุผู้ที่สงฆ์ควรมอบอธิกรณ์ให้แยกไปวินิจฉัย  (วิธีนี้เรียกอุพพาหิกา)  ควรประกอบด้วยองค์  ๑๐ คือ :-


๑.  เป็นผู้มีศีล.
๒.  เป็นพหูสูต.
๓.  เป็นผู้ทรงพระปาฏิโมกข์.
๔.  เป็นผู้มั่นในพระวินัย  ไม่คลอนแคลน.
๕.  เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่วิวาทเข้าใจและให้เลื่อมใส.
๖.  เป็นผู้ฉลาดเพื่อยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ.
๗.  รู้เรื่องอธิกรณ์.
๘.  รู้เหตุเกิดอธิกรณ์.
๙.  รู้การตัดอธิกรณ์.
๑๐. รู้ทางตัดอธิกรณ์.


เยภุยยสิกา
        ภิกษุผู้ควรที่จะสมมติให้เป็นผู้จับสลากต้องประกอบด้วยองค์  ๕คือ :-
๑.  ไม่ถึงอคติ  ๔  อย่าง  นับเป็น  ๔  องค์.
ข.  รู้จักสลากที่เป็นอันจับและไม่เป็นอันจับเป็นองค์หนึ่ง.
                       วิธีให้จับสลาก  มี  ๓  คือ :-
๑.  ปกปิด.
๒.  กระซิบบอก.
๓.  เปิดเผย.
               เยภุยยสิกาไม่ควรใช้ในเรื่องเหล่านี้  คือ :-
๑.  ไม่ควรใช้ในเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ไปถึงไหน.
๒.  ไม่ควรใช้เพื่อสนับสนุนมติอันไม่เป็นธรรม.
๓.  ไม่ควรใช้เพื่อแยกสงฆ์ออกเป็นพวก.
     การให้จับสลากแม้ในเรื่องที่สมควร  หากให้จับโดยวิธีมิชอบเหล่านี้ใช้ไม่ได้  คือ :-
๑.  ให้จับด้วยอาการผิดระบอบ  คือเมื่อภิกษุยังไม่พร้อมกัน.
๒.  เธอทั้งหลายไม่ได้จับตามมติ.
                                       กัณฑ์ที่  ๒๙
                                วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์
                              เรื่องที่จัดว่ามีมูล  ๓  คือ :-
๑.  เรื่องที่ได้เห็นเอง.
๒.  เรื่องที่ได้ยินเอง  หรือมีผู้บอกและชื่อว่าเป็นจริง.
๓.  เรื่องที่รังเกียจโดยอาการ.
       ภิกษุผู้จะว่าอรรถคดีในเมื่อเห็นพร้อมด้วยองค์  ๕  จึงควรว่าองค์  ๕  นั้น  คือ :-
๑.  เป็นกาลอันสมควร.
๒.  เป็นเรื่องจริง  (หรือแน่ใจว่าเป็นอย่างนั้น).
๓.  จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นกันผู้เคยพบกันเข้าเป็นฝ่าย  โดยธรรมโดยวินัย.
๕.  ความยุ่งยิ่งตลอดถึงความแตกแห่งสงฆ์  มีการนั้นเป็นเหตุจักไม่มี.
                ภิกษุผู้จะเป็นโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม  ๕  คือ :-
๑.  จักพูดโดยกาละ  จักไม่พูดโดยอกาละ.
๒.  จักพูดด้วยคำจริง  จักไม่พูดด้วยคำเท็จ.
๓.  จักพูดด้วยคำสุภาพ  จักไม่พูดคำหยาบ.
๔.  จักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์  จักไม่พูดด้วยคำไร้ประโยชน์.
๕.  จักมีเมตตาจิตพูด  จักไม่เพ่งโทษพูด.
                   อีกประการหนึ่ง  พึงทำไว้ในใจซึ่งธรรม  ๕  คือ :-


๑.  ความการุญ.
๒.  ความหวังประโยชน์.
๓.  ความเอ็นดู.
๔.  ความออกจากอาบัติ.
๕.  ความทำวินัยเป็นเบื้องต้น.


การโจท  มี  ๒  คือ :-
๑.  โจทด้วยกาย.
๒.  โจทด้วยวาจา.
                       ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์  มีรวม  ๓  คือ :-
๑.  สงฆ์  (สำหรับเรื่องสลักสำคัญ).
๒.  คณะ  (สำหรับเรื่องไม่สำคัญนัก).
๓.  บุคคล  (สำหรับเรื่องเล็กน้อย).
                ภิกษุผู้จะเข้าสู่วินิจฉัย  ควรประพฤติ  ดังนี้ :-
๑.  พึงเป็นผู้เจียมตน.
๒.  พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง  (ไม่เบียดพระเถระ  ไม่กีดภิกษุผู้อ่อนกว่า).
๓.  พึงนั่งอาสนะอันสมควร.
๔.  ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ.
๕.  พึงรักษาดุษณีภาพ.
                   คำขอโอกาสของโจทก์ต่อจำเลย
        " กโรตุ  เม  อายสฺมา  โอกาส  อหนฺต  วตฺตุกาโม "
      ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ๆ  ใคร่จะกล่าวกะท่าน.
                               คำให้โอกาสต่อโจทก์
                           " กโรมิ  อายสฺมโต  โกาส "
                            ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน.
       ภิกษุผู้พร้อมด้วยองค์  ๕  ขอให้ทำโอกาส  ไม่ควรทำ  องค์  ๕นั้น  คือ :-
๑.  เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์.
๒.  เป็นผู้ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์.
๓.  เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์.
๔.  เป็นผู้เขลาไม่ฉลาด.
๕.  ถูกซักเข้าไม่อาจให้คำตอบข้อที่ถูกซัก.
                       องค์  ๕  อีกประเภทหนึ่ง  คือ :-
๑.  เป็นอลัชชี.
๒.  เป็นผู้พาล.
๓.  เป็นผู้มิใช่ปกตัตตะ.
๔.  เป็นผู้มีปรารถนาในอันกำจัดกล่าว.
๕.  หาใช่ผู้มีปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติกล่าวไม่.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘