ปัญหาวินัยมุข นักธรรมชั้นเอก กัณฑ์ที่ ๓๑ - ๓๓ อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย

ปัญหาวินัยมุข นักธรรมชั นเอก
กัณฑ์ที ๓๑ - ๓๓
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย
**************************
๑. ๑.๑ การคํ าบาตรในทางพระวินัยมีความหมายว่าอย่างไร ? ๒๕๔๓
๑.๒ การคํ าบาตรนี สงฆ์ทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร บอกมา ๓ ข้อ ? ๒๕๔๓
๒. ๒.๑ สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมและตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ประพฤติเช่นไร ? ๒๕๓๕
๒.๒ สงฆ์จะนิคคหะภิกษุก็ดี คฤหัสถ์ก็ดี ด้วยกรรมทั งหลาย หรือด้วยอาณาสงฆ์ท ีเทียบกรรม
เหล่านั น จะพึงตั งอยู่ในธรรมอะไรบ้าง จึงจะไม่เป็นไปเพ ือแตกสามัคคี ? ๒๕๒๔
๓. ๓.๑ อุกเขปนียกรรม คือกรรมเช่นไร สงฆ์ควรทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติอย่างไร ?
๓.๒ และได้ทำแก่ใครเป็นครั งแรก ?
๔. ๔.๑ ปัพพาชนียกรรม แปลว่าอะไร สงฆ์ควรทำแก่ผู้ประพฤติเช่นไร ?
๔.๒ กรรมนี สงฆ์ทำแก่ใครเป็นครั งแรก ?
๕. ๕.๑ ใครเป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน หรือเป็นผู้ขวนขวายเพื อทำลายสงฆ์ได้ ? ๒๕๔๓
๕.๒ เหตุที สงฆ์จะแตกกันมีอะไรบ้าง ? จะป้องกันได้ด้วยวิธีอย่างไร ? ๒๕๔๓
๖. ๖.๑ วัตถุ ๕ อย่าง ที พระเทวทัตทูลขอต่อพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ไม่ทรงอำนวยคืออะไรบ้าง ? ๒๕๒๔
๖.๒ อาการที สงฆ์จะแตกกัน ในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้กี ประการ อะไรบ้าง ?
๗. ๗.๑ การลาสิกขาคืออะไร ? ๒๕๓๘
๗.๒ คำปฏิญญาลาสิกขามีขอบเขตที ควรกล่าวอ้างถึงอย่างไรบ้าง ? ๒๕๓๘
๘. ๘.๑ นาสนา คืออะไร มีกี อย่าง บอกมาให้ครบ ? ๒๕๓๘
๘.๒ ผู้ควรถูกนาสนาคือใครบ้าง ? ๒๕๓๘
๙. ๙.๑ ทัณฑกรรมคืออะไร ผู้ควรได้รับทัณฑกรรมคือใคร ? ๒๕๓๘
๙.๒ ทรงอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ผู้ประกอบด้วยองค์อันเป็นโทษ ๕ ประการ มีอะไรบ้าง ?
๑๐. ๑๐.๑ ทัณฑกรรม กับ พรหมทัณฑ์ ต่างกันอย่างไร ? ๒๕๓๖
๑๐.๒ ประณามแปลว่าอะไร มีวิธีทำอย่างไรบ้าง ? ๒๕๓๘
**************************
เฉลยวินัยมุข นักธรรมชั นเอก
กัณฑ์ที ๓๑ - ๓๓
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย
**************************
๑. ๑.๑ มีความหมายว่าไม่ให้คบค้าสมาคมด้วยลักษณะ ๓ ประการคือ
๑. ไม่รับบิณฑบาตของเขา ๒. ไม่รับนิมนต์ของเขา
๓. ไม่รับไทยธรรมของเขา ฯ
๑.๒ ทำแก่คฤหัสถ์ (เลือกตอบเพียง ๓ ข้อ )
๑. ขวนขวายเพ ือไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั งหลาย
๒. ขวนขวายเพ ือไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั งหลาย
๓. ขวนขวายเพ ืออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั งหลาย ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั งหลายให้แตกกัน ๖. กล่าวติเตียนพระพุทธ
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม ๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๒. ๒.๑ ตัชชนียกรรม สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้โจทจงใจหาความเท็จใส่ภิกษุอ ืนได้ช ือว่าก่ออธิกรณ์ขึ นใน
สงฆ์ ตัสสปาปิยสิกากรรม สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยผู้ปกปิดความประพฤติเสียหายของ
ตนด้วยให้การเท็จ
๒.๒ สงฆ์จะทำนิคคหะภิกษุก็ดี คฤหัสถ์ก็ดี ด้วยกรรมหรือด้วยอาณาสงฆ์ท ีเทียบกรรมนั น พึงตั ง
อยู่ในธรรมคือ มัตตัญBุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญBุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล
ปุคคลัญBุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล ดำริโดยรอบคอบแล้วจึงทำจึงจะไม่เป็นไปเพื อแตก
สามัคคี
๓. ๓.๑ อุกเขปนียกรรม คือ กรรมที สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึงวิธีการลงโทษที สงฆ์พึง
กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ย่อมรับว่าตนต้องอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ และมีความ
คิดเห็นอย่างชัว สงฆ์ตักเตือนก็ไม่ยอมสละความคิดเห็นนั น ทำโดยการตัดสิทธิชัว คราวไม่ให้ฉัน
ร่วมและอยู่ร่วมกับคณะสงฆ์
๓.๒ สงฆ์ทำครั งแรกแก่พระฉันนะ โทษฐานเพราะไม่เห็นอาบัติ และไม่ทำคืนอาบัติ และทำแก่พระ
อริฏฐะ โทษฐานไม่สละความคิดเห็นอันชัว
๔. ๔.๑ ปัพพาชนียกรรม แปลว่ากรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงไล่ออกไปเสียจากอาวาส สงฆ์ควรทำ
ปัพพาชนียกรรมนี แก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล และประพฤติทรามจนตกเป็นข่าวเซ็งแซ่ หรือข่าวลือ
๔.๒ กรรมนี สงฆ์ได้ทำแก่พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะเป็นครั งแรก
๕. ๕.๑ ภิกษุผู้ปกตัตตะเป็นสมานสังวาส อยู่ในสีมาเดียวกันเท่านั น ย่อมอาจทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
เป็นก๊กเป็นพวกได้ นางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา หาอาจ
ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ไม่ เป็นได้เพียงขวนขวายเพ ือทำลายสงฆ์เท่านั น ฯ
๕.๒ มี ๒ อย่างคือ
๑. มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยแตกต่างกันจนเกิดเป็นอธิกรณ์
๒. ความประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน ยิง หย่อนกว่ากันแล้วเกิดความรังเกียจกันขึ น
จะป้องกันได้ด้วย ๒ วิธี คือ
๑. ต้องส่งเสริมและกวดขันการศึกษาพระธรรมวินัย ให้มีความเห็นชอบเหมือนกัน
๒. ต้องส่งเเสริมและกวดขันความประพฤติของภิกษุทั งหลายให้เสมอกันไม่ให้เป็นทางรัง
เกียจกัน ฯ
๖. ๖.๑ วัตถุ ๕ อย่าง ท ีพระเทวทัตทูลขอ แต่พระองค์ไม่ทรงอำนวยนั น คือ
๑. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ า จงถือให้ตลอดชีวิต เข้าบ้านมีโทษ
๒. ภิกษุผู้ถือบิณฑบาต จงถือให้ตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ
๓. ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุล จงถือให้ตลอดชีวิต รับคฤหบดีจีวรมีโทษ
๔. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนต้นไม้ จงถือให้ตลอดชีวิต เข้าท ีมุงมีโทษ
๕. ภิกษุจงอย่าฉันปลาฉันเนื อ ตลอดชีวิต ฉันมีโทษ ฯ
๖.๒ อาการที สงฆ์จะแตกกันในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้ ๕ ประการ คือ
๑. ด้วยกรรม ได้แก่ทำสังฆกรรม
๒. ด้วยอุทเทส ได้แก่สวดประปาฏิโมกข์
๓. ด้วยโวหาร ได้แก่ตั งญัตติ
๔. ด้วยอนุสาวนา ได้แก่ประกาศด้วยกรรมวาจา
๕. ด้วยการให้จับสลาก ได้แก่ให้ลงคะแนนชี ขาด
๗. ๗.๑ การลาสิกขา คือการปฏิญญาตนเป็นผู้อื นจากภิกษุ ต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วสละเพศภิกษุ
เสียและถือเอาเพศท ีตนปฏิญญานั น ท่านอนุญาตให้ปฏิญญาต่อหน้าคนอ ืนท ีมิใช่ภิกษุได้ด้วย
๗.๒ คำปฏิญญาลาสิกขา มีขอบเขตท ีควรกล่าวอ้างถึง ดังนี
๑. ลาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา วินัย ปาติโมกข์ อุทเทศ อุปัชฌายะ อาจารย์
ลัทธิวิหาริก อันเตวาสิก สมานุปัชฌายะ (ผู้ร่วมอุปัชฌาย์) สมานาจริยกะ (ผู้ร่วม
อาจารย์) สพรหมจารี ทั งนี การบอกลาสิกขา วินัย ปาติโมกข์ อุทเทส ย่อมสำเร็จ
ความเข้าใจว่าลาจากความเป็นภิกษุ นอกนั นถือเป็นส่วนประกอบได้
๒. ปฏิญญาตนเป็นคฤหัสถ์ อุบาสก อารามิก สามเณร เดียรถีย์ หรือสาวกเดียรถีย์
อย่างใดอย่างหนึ ง
๓. ปฏิเสธความเป็นสมณะสักยปุตติยะ
๔. แสดงความไม่ต้องการหรือไม่เกี ยวข้องด้วยวัตถุที เป็นขอบเขตลา (ที กล่าวในข้อ ๑)
อย่างใดอย่างหนึ ง ฯ
๘. ๘.๑ นาสนา แปลว่า ทำให้ฉิบหายเสีย หมายถึงการบังคับผู้ไม่ควรถือเพศให้ละเพศเสีย
นาสนามี ๓ จำพวก คือ ๑. ลิงคนาสนา ให้ฉิบหายจากเพศ
๒. สัมโภคนาสนา ให้ฉิบหายจากการกินร่วม
๓. สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส (คือการอยู่ร่วมกัน)
๘.๒ ผู้ควรถูกนาสนามี ๓ จำพวก คือ
๑. ภิกษุต้องอันติมวัตถุแล้ว ยังปฏิญญาตนเป็นภิกษุอยู่
๒. บุคคลท ีอุปสมบทไม่ขึ น แต่ได้รับการอุปสมบทจากสงฆ์
๓. สามเณรผู้ประพฤติผิดมีองค์ ๑๐ ฯ
๙. ๙.๑ ทัณฑกรรม คือ การลงโทษสามเณรท ีมีความผิดอย่างเบาไม่ถึงขั นนาสนา เช่น การกักบริเวณ
(ห้ามเข้า หรือห้ามอออกบริเวณท ีกำหนด) หรือให้ทำงาน มีตักน ำขนฟืน ขนทราย เป็นต้น
เพื อให้เข็ดหลาบ
๙.๒ ทรงอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์อันเป็นโทษ ๕ ประการ คือ
๑. ขวนขวายเพ ือไม่ใช่ลาภแห่งภิกษุทั งหลาย ๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั งหลาย
๒. ขวนขวายเพ ือไม่ใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั งหลาย ๕. ยุยงภิกษุทั งหลายให้แตกกัน
๓. ขวนขวายเพ ืออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั งหลาย
๑๐. ๑๐.๑ ทัณฑกรรมได้แก่การลงโทษสามเณรที มีความผิดชนิดเบา เช่น กักบริเวณ ให้กวาดลานวัด
เป็นต้น เพื อให้เข็ดหลาบ พรหมทัณฑ์ได้แก่การลงโทษอย่างสูง เช่นอปโลกน์สงฆ์ไม่ให้ว่า
กล่าวตักเรือน ปล่อยให้ปรากฏด้วยกรรมของตนเอง
๑๐.๒ ประณาม แปลว่าการผลักออก ได้แก่ การตัดผู้ประพฤติมิชอบ ไม่คบหาสมาคมด้วย มีวิธีทำ
คือ การประณามนั นทรงอนุญาตให้ทำแก่สหธรรมิกก็มี แก่คฤหัสถ์ก็มี ให้ทำเป็นการสงฆ์ก็มี
กล่าวคือ การลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุเพราะไม่เห็นอาบัติ เพราะไม่ละทิฏฐิบาป หรือการลง
พรหมทัณฑ์ด้วยอปโลกนกรรม ถือว่าเป็นการประณามภิกษุเป็นการสงฆ์ การควำ บาตรแก่
อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์โทษ ๘ อย่าง ถือว่าเป็นการประณามคฤหัสถ์เป็นการสงฆ์
สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยอังค์อันเป็นโทษ ทรงอนุญาตให้อุปัชฌาย์และ
อาจารย์ประณามเป็นการบุคคล ฯ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘