เอาภาษีของตูคืนมาแบบทีละขั้น! ตอน 2

สำคัญมาก! ก่อนอ่านบทความนี้ ต้องอ่าน เอาภาษีของตูคืนมาแบบทีละขั้น! ตอน 1 ก่อนนะครับบ! เพราะบทความนี้จะเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องมาจากบทความที่แล้วครับ (ที่แยกตอนเพราะเดี๋ยวมันจะยาวเกินไปนั่นเอง)

h3
เอาล่ะครับทุกคน หลังจากที่เรากระทำการอันอุกอาจ โดยการบุกเข้าไปในกรมสรรพากรแล้วใช้กำลังขู่กระชากเอาเงินภาษีคืน (ฟังดูเร้าใจเนอะ) ด้วยการเอาเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย ไปฟาดลงในระบบ E-Filing ไปในบทความที่แล้ว
ในครั้งนี้เราจะมาคุกเข่าอ้อนวอนให้กรรมสรรพากรคืนภาษีที่หักไปเกินมาให้หนูเถอะ T-T/ ต่อกันเลยครับ
- ท้าวความซักนิดสำหรับคนยังไม่ได้อ่านบทความนี้ -
ครั้งที่แล้วเราทำการ ยื่นเงินรายการเงินได้ทั้งหมดที่เราได้รับมาในปี 2556 ทั้งหมด ด้วยการเอาข้อมูลในใบ 50 ทวิ ที่เราจะได้รับมาจากการรับเงินเดือน ค่าจ้างฟรีแลนซ์ ดอกเบี้ยธนาคาร เงินปันผล ฯลฯ ทุกสิ่งอย่าง เพื่อแสดงแก้กรมสรรพากรเรียบร้อยที่เว็บไซต์ https://epit.rd.go.th/ ครับ
ขั้นตอนที่ 10 การเลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษี! อันที่จริงหน้าจอนี้แต่ละคนอาจจะมี List รายการไม่เท่ากันนะครับ อยู่ที่เราเลือกติ๊กที่ Checkbox ในขั้นตอนที่ (2)เลือกเงินได้/ลดหย่อน มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในภาพตัวอย่าง ผมขอใช้มาตรฐานของมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ที่โสดสนิท ไม่มีลูก (แหงล่ะ) คุณพ่อคุณแม่ยังอายุไม่เกิน 60 และไม่มีบ้านต้องผ่อนนะครับ

รายละเอียดมีตามนี้เลย


- ผู้มีเงินได้ : เป็นสิทธิลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้ทุกคนครับ สำหรับคนธรรมดาอย่างเราก็จะสามารถหักลดหย่อนได้ทันที 3 หมื่นบาท ส่วนหักลดหย่อน 6 หมื่นนั่นเป็นสิทธิของนิติบุคคลหรือคู่สมรสครับ
- เบี้ยประกันชีวิต : ปีที่แล้วใครหลงคารมเซลล์หล่อๆ ไปซื้อประกันชีวิตไว้ นี่แหละครับผลตอบแทน! เราสามารถเอาเบี้ยประกันประจำปีมาหักลดหย่อนได้ทันที! แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาทนะครับ
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : อันนี้ความหมายตรงตัว ใครทำไว้ก็เอามาหักเถอะนะๆ
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) : นี่ก็ความหมายตรงตัวครับ ใครซื้อ LTF ปีที่แล้วเก็บไว้ ตอนนี้ได้ใช้แล้ว
- เงินสมทบทุนกองทุนประกันสังคม : สำหรับปี 2556 นี้ ใครที่ประกอบอาชีพมนุษย์เงินเดือน สามารถหักได้สูงสุด 7,500.- ครับ
16
หลังจากกรอกทั้งหมดลงไปแล้ว ระบบก็จะคำนวนค่าลดหย่อนออกมาให้เสร็จสรรพ ทั้งเงินได้ทั้งหมด+ภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย – ลบด้วยเงินลดหย่อน คำนวนออกมาว่าเราจะได้เงินที่ “ชำระไว้เกิน” หรือเปล่า ซึ่งจะสรุปออกมาให้ที่ข้อ 24 ครับ
สารภาพว่าพอกดมาถึงหน้านี้นี่ ใจตุ้มๆ ต่อมๆ เลยทีเดียว ว่าจะคำนวนซื้อ LTF ลดหย่อนผิดหรือเปล่าน้า ^^”
แต่ท้ายสุดก็โล่งไป เพราะได้คืนภาษีมาแล้วครับ เย้!
17
ขั้นตอนที่ 11 : เลือกจะรับเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน คืนหรือไม่?
ถ้าใครไม่อยากได้คืน /มีมั้ยแถวนี้? ก็ติ๊กได้ครับว่า “ไม่มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี” หรือหากใครเลิฟๆ พรรคการเมืองไหน จะส่งภาษีที่ชำระไว้เกินเป็นเงินบริจาคเพื่อบำรุงพรรคก็ได้นะครับ :3 หึหึหึ
ขั้นตอนที่ 12 : สุดท้ายแล้ว เย้!
สำหรับใครที่อยากสะดวกๆ ให้กรมสรรพากรแจ้งมาว่าได้ดำเนินการส่งเช็คภาษีคืนเรียบร้อย! ก็ให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ เพื่อขอรับบริการแจ้งเตือนผ่าน SMS ได้เล้ย
18

หลังจากนั้นพอเห็นหน้าสรุปสุดท้าย “ผลการยื่นแบบ” นี้ ก็เท่ากับว่าเพื่อนๆ ทุกคนทำการยื่นภาษีผ่านออนไลน์เรียบร้อยแล้วคร้าบ
ที่เหลือก็แค่นั่งเกาสะดือรอเช็คคืนเงินอยู่กับบ้านก็พอ
ข้อควรระวังปิดท้าย
หากเพื่อนๆ ทำการกรอกเงินได้ไม่ครบหรือกรอกผิด บางครั้งกรมสรรพากรอาจจะออกจดหมายเชิญให้เราไปเยี่ยมพวกเขาที่กรมซักครั้งนะ ครับ ^^” ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ เก็บเอกสาร ทวิ 50 และเอกสารยืนยันสิทธิลดหย่อนต่างๆ อย่างใบยืนยันการถือครองกองทุน LTF สูติบัตรของคุณพ่อคุณแม่ ใบเสร็จชำระเบี้ยประกัน ฯลฯ เอาไว้ให้ดีนะครับ
เราจะได้ไปเชิดหน้ายื่นเอกสารที่กรมสรรพากรได้อย่างภาคภูมิใจ ;)
20
สุดท้ายนี้ ก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคน ได้รับภาษีคืนกันครบถ้วน ได้เงินไปช้อปกันอย่างอิ่มเอมใจทุกคนนะคร้าบ
ปล. อา.. ต้องคำนวนเงินได้ปี 57 เพื่อเตรียมซื้อ LTF อีกแล้วสินะ…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘