พระไตรปิฎกภาษาไทย ภาคเสียงอ่าน ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระไตรปิฎก ภาคเสียงอ่าน ที่สมบูรณ์ที่สุดชุดแรกของประเทศไทย
ติดต่อได้ที่ 089-077-8648
 
ภารกิจ
 
เพื่อให้ศาสนิกชนได้รู้ว่าในพระไตรปิฎกมีอะไรบ้าง เพื่อให้คำสอนที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้าได้เป็นที่รู้กันโดยทั่ว สร้างเสริมศรัทธา และสติปัญญาในผู้ที่สนใจในธรรมะ ให้ได้ฟัง นำไปคิด ลงมือปฏิบัติ และพ้นจากความทุกข์น้อยใหญ่ได้ในที่สุด

ถ้าท่านที่ติดตามงานเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าในหน้านี้อยู่ แล้วประจักษ์กับตนเองว่าเป็นประโยชน์ ควรแก่การรู้ คุ้มค่าเวลาในการติดตาม ก็ขอให้ท่านได้ประกาศออกไปเพื่อให้กัลยาณมิตรที่ยังไม่ทราบได้ทราบทั่วกัน เพื่อช่วยกันรักษาและเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหนึ่งไม่มีสองนี้

ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในกุศลจิต และในความใฝ่ในธรรมของทุกๆท่านมา ณ โอกาสนี้ค่ะ.
 
รายละเอียด
 
พระ ไตรปิฎก ภาคเสียงอ่าน ที่สมบูรณ์ที่สุดชุดแรกของประเทศไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทธรรม อ่านโดย อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง บันทึกเสียงเป็นแผ่นซีดี mp3 จำนวน ๑๓๕ แผ่น รวม ๘๖๒ ชั่วโมง เนื้อหาครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก พร้อมดนตรีประกอบ...


พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม
คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่

พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร ได้แก่ประมวลพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยังที่ต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ

พระอภิธรรมปิฎก หรือ พระอภิธรรม ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ


พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ


***"พระไตรปิฎก ภาคเสียงอ่าน ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทธรรม อ่านโดย อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง" เป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ และได้รับการอนุญาตจาก มจร. อย่างเป็นทางการ.***

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘