ประวัติ ศาสตร์กัวซา (Guasa)


กัวซา (Guasa) มีต้นกำเนิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เคยเป็นที่นิยมแพร่หลายในประวัติศาสตร์จีน ถือว่าเป็นวิธีรักษาแบบธรรมชาติของจีน กัวซาอยู่ในสังคมจีนมากก่าพันปี โดยไม่สูญหาย

ดิฉันได้ค้นพบหนังสือเล่มหนึ่ง แต่งขึ้นโดยแพทย์หญิงจางซิ่งฉิน และรองศาสตราจารย์นายแพทย์ห่าววั่นซาน ทั้งคู่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากจากผู้ป่วยและบรรดาผู้สนใจวิธีรักษาแบบกัวซา หนังสือนี้ได้อธิบายวิธีรักษา แบบกัวซาอย่างเป็นระบบ โดยรวมเอาหลักการรักษาแพทย์แผนจีนที่เน้นเส้นลมปราณ และทฤษฏีพื้นฐานจากการแพทย์ตะวันตก จนพัฒนาวิธีการรักษากัวซาใช้ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ท่านกล่าวไว้ว่าวิธีการรักษาแบบกัวซา เน้นการฝังเข็มที่ไม่จำเป็นต้องทิ่มทะลุผิวหนัง เป็นการถ่ายเลือดโดยไม่มีเลือดไหล เป็นการนวดที่ไม่ต้องใช้มือนวด นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่กัวซาสามารถอยู่คู่กับคนจีนจนทุกวันนี้

ดิฉันเองได้ศึกษาวิธีการรักษาแบบล้านนาเรียกว่า แหกพิษ (ขูดพิษ) ซึ่งตรงกับการรักษาแบบกัวซาของจีน ซึ่งเป็นการรักษาแบบหมอพื้นบ้าน ซึ่งขณะนั้นตัวดิฉันเองกำลังป่วยหนัก หาสาเหตุของโรคไม่พบ แต่เรารู้ตัวดีว่าเราป่วยมาก แบบหมดกำลงเนื้อตัวบวม ความจำเสื่อม นึกอะไรไม่ออก มึนศีรษะ ตาพร่ามัว หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด บ่าคอไหล่แข็ง ปวดหลัง ปวดเอว หงุดหงิด กล้ามเนื้อเขม่น ชักกระตุกทั้งตัว บางวันเดินไม่ไหว จนได้พบหมอสมใจ เรือนแก้ว รักษาแบบล้านนาอยู่ที่สมาคมแพทย์แผนไทยอยู่ ประกอบกับขณะนั้นดิฉันเรียนแพทย์แผนไทยจบพอดี ก็เลยได้นำเอาหลักการแพทย์แผนไทยมาประกอบยุกต์กับแพทย์แผนจีน คือ กัวซา ซึ่งเป็นจุดของการนวดไทย รวมเข้ากับจุดการนวดกัวซาของจีน มาผสมผสานเข้าด้วยกัน และยังได้นำตำรายาไทย ซึ่งมียาประจุครอบโรคทั้งปวง ให้คนไข้ได้กินล้างสารพิษภายใน และให้ยาไทยซึ่งได้จตกทอดมาจากบรรพบุรุษให้คนไข้ได้กินรักษาโรคได้สารพัดโรค ซึ่งในตำรายาไทย กล่าวไว้ว่าแก้สรรพโรค 500 จำพวกในบรรดา เกิด แก่ ชาย หญิง กินหาย เป็ยาช่วยปรับธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ คู่กับการขูดพิษ หรือการทำกัวซา ของจีน ซึ่งได้ผลดีมาก

ดิฉันได้นำตำรากัวซาของจีนที่บอกจุดโรคที่ละเอียดมาก ร้อยกว่าโรค มาผสมผสานกับตำรานวดไทย จึงได้ผลดีมาก ซึ่งบางโรคหมอแผนปัจจุบันไม่สามารถให้คำตอบกับคุณได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘