อนุมูลอิสระและสารแอนตีออกซิแดนท์


อนุมูล อิสระเป็นผลที่เกิดจาก การทำปฏิกิริยากับออกซิเจน หรือที่เรียกว่าการออกซิไดซ์หรือออกซิเดชั่น เมื่อเหล็กทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นคือ สนิมเหล็ก เมื่อน้ำมันทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นคือการ เหม็นหืน เมื่อเนื้อเยื่อของเส้นเลือดหัวใจทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอนุมูลอิสระที่เกิด ขึ้นคือการ อุดตันของเส้นเลือด
 
อนุมูล อิสระนั้นมีผลร้าย ถ้าถูกปล่อยไว้โดยไม่มีการตรวจสอบมันอาจทำอันตรายต่อทุกๆเซลล์ของร่างกาย โชคดีที่ร่างกายของเรามีระบบป้องกันตนเอง ร่างกายของเราสามารถผลิตเอนไซม์ที่เป็นสารยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ของอนุมูลอิสระที่เรียกว่า สารแอนตีออกซิแดนท์ ปริมาณของสารแอนตีออกซิแดนท์และปริมาณของอนุมูลอิสระในร่างกายของเรา จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของเราและชนิดของอาหาร ที่เรารับประทาน ถ้าเราอาศัยอยู่ในถิ่นที่สภาพแวดล้อมมีมลภาวะ และรับประทานอาหารที่ขาดสารแอนตีออกซิแดนท์ อนุมูลอิสระย่อมเกิดขึ้นได้มาก ทำให้เรา แก่ก่อนวัย และมีอาการเรื้อรังของโรคร้ายต่างๆตามมา

อนุมูลอิสระถูกชี้ว่าเป็นสาเหตุ หรืออย่างน้อยเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่างๆกว่า 60 ชนิด อนุมูลอิสระไม่จำเป็นต้องเป็นสาเหตุหลักแต่อย่างน้อยมันเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด เป็นที่น่าสังเกตุว่าความเสียหายที่เกิดจากปัญหาสุขภาพต่างๆเหล่านี้ จริงๆแล้ว ไม่ได้มาจากตัวโรคเอง แต่มาจากผลของอนุมูลอิสระ

อาการต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวพันกับอนุมูลอิสระมากที่สุดได้แก่ โรคหัวใจ, หืด, หลอดเลือดแข็ง, ภูมิแพ้, มะเร็ง, แพ้อาหาร, เส้นโลหิตในสมองอุดตัน, หลอดเลือดอักเสบ, เบาหวาน, แผลในกระเพาะ, สะเก็ดเงิน, ต้อกระจก, เรื้อนกวาง, ลำไส้ใหญ่บวม, สิว, ท้องผูก, ข้ออักเสบ, มีก้อนที่หน้าอก, อาการบวมน้ำ, กล้ามเนื้อเสื่อมโทรม, อ่อนเพลียเรื้อรัง, อัลไซเมอร์, เส้นเลือดโป่ง, พาร์กินสัน, ริดสีดวงทวาร, ความจำถดถอย, ลมชัก, โรคชรา, ต่อมลูกหมาก, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต, เก๊าท์, เส้นโลหิตตีบ, ซึมเศร้า, ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน, นอนไม่หลับ, ปวดประจำเดือน, และโรคผิวหนังบางชนิด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘