อนุมูลอิสระคืออะไร

อะไร คือสิ่งที่โรคต่อไปนี้มีเหมือนๆกัน โรคหัวใจ, มะเร็ง, ความดันสูง, รอยเหี่ยวย่น, กระ, ข้ออักเสบ, ต้อกระจก, และความจำเสื่อม? คุณอาจตอบว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการมีอายุ แต่อายุไม่ใช่สาเหตุ เพราะจริงๆแล้วคนหนุ่มสาวก็ยังทนทุกข์กับอาการเหล่านี้เป็นบางอาการ สิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอาการเหล่านี้หรือกับโรคร้ายอื่นๆอีกหลายโรคคือ อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระคือ โมเลกุลทรยศ ที่คอยทำความเสียหายให้กับเราได้ทั่วทั้งร่างกาย มันเป็นโมเลกุลไม่เสถียรที่ขาดอิเล็คตรอนอยู่หนึ่งตัว จึงมีความไวมากต่อการเกิดปฏิกิริยา เพื่อรักษาตัวเองให้เสถียร มันขโมยอิเล็คตรอนจากโมเลกุลเพื่อนบ้าน ด้วยกระบวนการนี้บรรดาโมเลกุลทั้งหลายที่ถูกขโมยอิเล็คตรอนไปจึงกลายเป็น อนุมูลอิสระ และคอยขโมยอิเล็คตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงต่อไปอีก ปฏิกิริยาลูกโซ่ จึงเกิดขึ้นเมื่อจำนวนเป็นร้อยเป็นพันของโมเลกุลได้รับผลกระทบ

ทันทีที่โมเลกุลกลายเป็นอนุมูลอิสระ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของมันจะเปลี่ยนแปลงไป การทำงานปกติของเซลล์เหล่านั้นจะ ถูกทำลายอย่างถาวร กระทบกระเทือนถึงทุกๆเซลล์ในส่วนที่มันอยู่ เซลล์มีชีวิตของเราที่ถูกโจมตีจากอนุมูลอิสระจะเสื่อมลงและไม่สามารถทำงาน ได้ อนุมูลอิสระสามารถโจมตีเซลล์ของเราโดยทำลายส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อป้องกัน ส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์อย่างนิวเคลียสและดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์อาจถูกทำลาย ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์และตาย

ความเสียหายจากอนุมูลอิสระนำมาซึ่งความเสียหายของเนื้อเยื่อและของร่าง กาย ขณะที่เซลล์ถูกกระหน่ำด้วยอนุมูลอิสระเนื้อเยื่อจะเสียหายไปเรื่อยๆ ความเสียหายที่สะสมกันเป็นปีทำให้เกิดอาการของความแก่ ปัจจุบันนักวิจัยเชื่อว่าอนุมูลอิสระเป็น สาเหตุหลักของความชรา

จากทฤษฎีนี้ หากเราป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระเกิดขึ้นภายในร่างกาย เราก็จะไม่แก่ อย่างไรก็ดีการหยุดปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การเกิดอนุมูลอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตและการหายใจของเซลล์ ของเสียในสิ่งแวดล้อมและสารพิษต่างๆมีส่วนช่วยให้เกิดอนุมูลอิสระ อาหารที่เรารับประทานก็มีส่วนช่วยให้เกิดอนุมูลอิสระ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘