สุดยอดอาหารต้านโรค น้ำมันมะพร้าว+กระเทียม


คือการนำน้ำมันมะพร้าวแบบสกัดเย็น (COLD PRESS) มาทานรวมกับกระเทียม จะเป็นกระเทียมสดหรือกระเทียมแคปซูลก็ได้

ประโยชน์                                                              
 - กระตุ้นและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย หยุดยั้งไวรัสและแบคทีเรียต่างๆได้ เช่น หวัด โรคกระเพาะ อาหารเป็นพิษ
 - ช่วยเลือดไหลเวียนดี ละลายลิ่มเลือด ลดความดัน
 - บำรุงตับ สามารถรักษาโรคตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ A,B,C และลดความเป็นพิษต่อตับของเห็ดมีพิษได้
 - ป้องกันและบรรเทาปัญหาแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
 - ป้องกันโรคต้อกระจก และโรคตาต่างๆ
 - ป้องกันโรคหัวใจ
 - โรคเส้นโลหิตในสมองแตก
 - เพิ่มการทำงานของวิตามิน C และ E, กลูตาไธโอนและ Q10 และสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก  
 - สามารถปิดสวิทซ์ของรหัสพันธุกรรมที่เร่งขบวนการชราภาพและปิดสวิทซ์การเกิดโรคมะเร็งได้
 - ล้างและกำจัดสารพิษในร่างกายได้ดี
 - ลดความอ้วน
 
ชาว เอเชียรวมทั้งรุ่นปู่ย่าของเราล้วนใช้กันมานานแล้ว และ 40 ปีที่แล้ว นักวิจัยชาวเยอรมันได้แยกส่วนสำคัญ 2 อย่างออกมา ตั้งชื่อสารอาหารนี้ใหม่ว่ากรดอัลฟ่าไลโปอิก (ALPHA LIPOIC) เป็น SUPER ANTIOXIDANT หรือ UNIVERSAL ANTIOXIDANT คือสารต่อต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาลเพื่อใช้รักษาโรคปลายประสาทอักเสบจาก เบาหวาน อาหารไม่ย่อย และให้เป็นอาหารสำหรับเด็กทารกที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อย
ปัจจุบันมีการค้นคว้าเพิ่มเติมมากมายของคุณสมบัติสุดยอดสาร ANTIOXIDANT ที่มีสรรพคุณดังนี้ 
 
สาระ สำคัญ 2 อย่างที่ว่ามี กรดไขมันขนาดกลาง C8 กรดคาปริลิก (CAPRILIC ACID ) และกำมะถัน (SULFUR) 2 โมเลกุล ปัจจุบันทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งว่าสกัดมาจาก บล็อกโคลี, ผักโขม, เนื้อวัว

 -  แต่น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลกที่มีกรดไขมันขนาดกลางสูงสุดถึง 63% ประกอบด้วย C8 กรดคาปริลิก,C10 กรดคาปริก, C12 กรดลอริก กรดไขมันทั้ง 3 ตัวทำงานคล้ายกันและส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน เราจึงนำมาใช้งานร่วมกันได้ ไม่ต้องแยกใช้

 -  กระเทียมมีสารประกอบกำมะถันสูงมาก และยังมีสารสำคัญอีก 30 กว่าชนิด

ถ้าเรานำน้ำมันมะพร้าว + กระเทียม สิ่งที่เราได้จากธรรมชาติ ไม่ต้องหาซื้ออาหารเสริมอย่างกรดอัลฟ่าไลโปอิก (1 ขวดมี 60 เม็ด ราคา 2,000 กว่าบาท) โดยนำน้ำมันมะพร้าวและกระเทียมทานเป็นประจำเหมือนรุ่นปู่ย่าเราในสมัยก่อน ช่วยทำให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้นอีกมาก และหาได้ง่ายๆในสังคมของเรา ไม่ต้องหาซื้อจากต่างประเทศ ต้องขอบคุณนักค้นคว้าที่ได้และวิจัยถึง คุณสมบัติอันสุดยอดของสารอาหารนี้ ทำให้เราตระหนักและได้นำความเป็นธรรมชาติที่มีอยู่นำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
 
วิธีใช้
   1.น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นไม่ผ่านความร้อน(ปราศจากการแต่งกลิ่นสังเคราะห์) 1 ช้อนโต๊ะ      
   2.กระเทียมสด 3-5 กลีบเล็ก หรือ กระเทียมแคปซูล 2-3 แคปซูล
       
 - ทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมงช่วยลดความอ้วน หรือ 
 - ทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ 
 - ทาน 2-3 มื้อ
 
อัลฟ่าไลโปอิคแอซิด : แอนติออกซิแดนท์ทุกเหตุการณ์ โดย : Sherry  A.Rogers,M.D.
 
มนุษย์ มีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยปฏิกิริยาเคมีต่างๆหลายพันชนิดที่เกิดขึ้นในแต่ละ วินาทีในปฏิกิริยาเหล่านี้ เราได้ยักย้ายถ่ายเทอีเลคตรอนไปมาเพื่อเปลี่ยนแปลงอาหารให้กลายเป็นพลังงาน สำหรับระบบร่างกาย ขับของเสีย และขจัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมีที่รับประทานหรือหายใจเข้าไป  การถ่ายเทอีเลคตรอนมีลักษณะเหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรี คือมักจะมีอีเล็คตรอน เหลือตกค้างที่ไม่มีที่อยู่ในโมเลกุลใดๆอยู่ด้วย
 
อีเล คตรอนโดดเดี่ยว (orphan electrons) เหล่านี้มีชื่อเรียกว่าฟรีแร็คดิคัล จะทำทุกอย่างเพื่อหาที่อยู่ของตัวเองให้ได้ มันจะทะลวงเข้าไปที่เยื่อบุเซลหรือเอนไซม์เพื่อที่จะเข้าไปอยู่ใน โมเลกุล และนั่นก็ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับเนื้อเยื่อและเอนไซม์ การที่ อีเลคตรอนไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่นของไขมัน เนื่องจากเนื้อเยื่อประกอบขึ้นจากไขมัน ทำให้เกิดรูในส่วนที่ถูกออกซิได ซ์ แล้วทำให้การทำงานของเนื้อเยื่อลดลงทำให้เซลตายเร็วกว่าเวลาอันควรทำให้ ขาดสารอาหาร และไปทำให้เกิดความเครียดต่อระบบร่างกายได้หลายๆทาง
ฟรีแร็ค ดิคูลหรืออนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของการเป็นโรคหลายอย่างและชราภาพ ดังนั้น เราจะได้เปรียบขึ้นหากพยามทำให้เกิดน้อยที่สุด มีฟรีแร็ดดิคัลอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกันและต้องใช้สารแอนติ ออกซิแดนท์ที่ต่างกันออกไปเพื่อขจัดพิษและควบคุมมัน เช่น

  - แร็ดดิคัลเดี่ยวของออกซิเจนเป็นฟรี แร็ดดิคัลที่สามารถจัดการได้ด้วย บีท่าแคโรทีน
  - แร็ดดิคัลของเปอร์ออกซิล (peroxyl radical) สามารถจัดการได้ด้วย วิตามิน อี
  - แร็ดดิคัลของไฮดร็อกซิล (hydroxyl radical) กำจัดได้ด้วยกลูตาไธโอน
  - ออกซิลแร็ดดิคัล (oxyl radical) ด้วยโคคิว 10

สารแอนติออกซิแดนท์อื่นๆอย่างเช่นไวตามินซี สามารถขับไล่พิษจากโลหะหนักซึ่งจะไปทำให้เกิดฟรีแร็ดดิคัลในภายหลังได้ ไวตามิน ซี ยังสามารถทำให้ไวตามีน อี นำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งเมื่อไวตามิน อี ทำการกำจัดเปอร์ออกซิลแร็คดิคัล ตัวมันเองก็จะสูญเสียอีเลคตรอนและไม่สามารถกำจัดฟรีแร็ดดิคัลได้อีกต่อไป ไวตามีน ซี จะเป็นตัวให้อีเลคตรอนที่ขาดนี้และทำให้ไวตามิน อี สามารถกลับมาทำงานได้อีก

แต่ถ้ามีสารแอนติออกซิแดนท์ชนิดหนึ่งซึ่งสามารถจัดการกับฟรีแร็ดดิคัลใน รูปแบบต่างๆได้จะเกิดอะไรขึ้น สารอาหารอย่างเดียวอาจทำงานทั้งหมดนี้ได้และยังอาจทำงานบางอย่างที่สารแอนติ ออกซิแดนท์ตัวอื่นๆไม่สามารถทำได้อีกด้วย นั้นคือทำให้สารอาหารที่สำคัญๆกลับคืนสภาพมาใช้งานกำจัดพิษได้ใหม่อีก ครั้ง แล้วสารนี้เรียกว่าไลโปอิคแอซิด จากงานวิจัยระบุว่ามันอาจจะไม่เพียง แต่ยังช่วยทำให้ไวตามินอี กลับมาใช้งานได้ใหม่เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง กลูตาไธโอน,ไวตามินซี,โคคิว10, และเอนไซม์สำหรับกระบวนการเมตาโบลิซึ่มอื่นๆ ด้วย
 
ร่างกายเราใช้ไลโปอิคแอซิดสำหรับเมตาโบลิซึ่มในเซล เนื่องจากเป็น กรดไขมันที่มีความยาวขนาดกลาง (medium-Chain fatty acid) ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย เมื่ออยู่ในเซลไลโปอิคแอซิดจะถูก reduce (ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีชนิดหนึ่ง ที่สามารถถ่ายทอดพลังแก่คนอื่น) ทำให้เป็นไดโฮโดรไลไปอิคแอซิด ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ทรงประสิทธิภาพ ในการทำลายพวกซุปเปอร์ออกไซด์ไฮโดรเปอร์ออกซิล และไฮดร็อกซิลแร็ดดิคัลทั้ง หลาย เมื่อตัวมันให้อีเลคตรอนเพื่อไปทำให้แอนติออกซิแดนท์อื่นๆใช้การได้อีก ครั้ง ตัวเองก็ยิ่งกลับทรงพลังมากยิ่งขึ้นไปอีกโดยยังไปสามารถกำจัดฟรีแร็ค ดิคัลได้อีกทั้งๆที่ตัวเองอยู่ในรูป reduced form (คือให้อีเลคตรอนแก่คนอื่นไปแล้ว-ผู้แปล) แล้วซึ่งเป็นสิ่งที่สารอื่นทำไม่ได้
 
ร่างกาย สร้างไลไปอิคแอซิดขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่ได้ใกล้เคียงกับปริมาณที่เราจะเอาไปใช้ ได้เลยเมื่อคิดถึงว่าในร่างกายมีปฏิกิริยาเคมีอยู่มากมายเท่าใดที่ต้อง จัดการนอกเหนือไปจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์สารพัดประโยชน์และช่วยทำให้สาร แอนติออกซิแดนท์อื่นกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง แล้วไลโปอิคแอซิดยังเป็นตัวต่อต้านการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอชไอวี  และยังช่วยเพิ่มแอนติบอดี้เพื่อต่อต้านกับไวรัสเอชไอวีอีกด้วย
 
ไลโปอิค แอซิดยังช่วยลดความเสียหายซึ่งทำให้เกิดโรค arteriosclerosis (ผนังหลอดเลือดแดงหนาและสูญเสียความยืดหยุ่น ) ซึ่งกระบวนการที่ชื่อว่า กลัยโคซิเลชั่น (glycosylation) โดยไลโปอิคแอซิด ช่วยให้ปฏิกิริยานี้เกิดสภาพเป็นกลาง ทำให้การเกิดผนังหลอดเลือดหนาและแข็งนี้เกิดช้าลง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงอาการข้างเคียงอื่นที่เกิดจากผนังหลอดเลือดหนาแข็งในผู้ ป่วยเบาหวาน ซึ่งได้แก่โรคหัวใจ, อาการข้างเคียงจากระบบประสาท,ต้อกระจก,เรติน่าอักเสบจากเบาหวาน,และตาบ อด,และอื่นๆอีกมากมาย
 
การ ศึกษาต่างๆยังระบุว่า ไลโปอิคช่วยป้องกันตับจากการทำลายของสารเคมี และจากสารอัลดีไฮด์ ซึ่งอย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อรา Candida ที่ไปทำให้เกิด “หมอกในสมอง” และอาการอื่นๆอีกมากโดยการผลิตอัลดีไฮด์ส่วนเกินออกมา อัลดีไฮด์เป็นสารที่เกิดขึ้นในร่างกายระหว่างการแยกสลายสารแปลกปลอม และตัว เองจะกลายเป็นพิษหากเกิดคอขวดขึ้นโดยเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นสารอื่นไม่ทัน ทำให้เกิดการสะสมขึ้นอัลดีไฮด์ทำให้หลอดเลือดหนาแข็งตัว,แก่ชรา,ผลด้านลบที่ มีต่อพิษสุราเรื้อรัง และโรคทั้งหมดที่เกิดจากเอนไซม์ที่ถูกทำลายกับเนื้อ เยื่อที่ต้องทำงานเกี่ยวข้อง ซึ่งไลโปอิคแอซิดอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่ เกิดจากอัลดีไฮด์เหล่านี้ได้
 
ไลโปอิค แอซิดยังยับยั้งหรือชะลอการเป็นพิษในระบบประสาทหรือความเสียหายของประสาท หรือความเสียหายของประสาทจากสารเคมีที่สูดดมเข้าไป จึงเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับผู้ที่ไวต่อสารเคมีและไม่สามารถจัดการกับสารเคมี เหล่านั้นได้ดีเท่ากับผู้อื่น ไลโปอิคแอซิดยังอาจช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งก่อให้เกิด มะเร็งได้ด้วย
 
แม้ว่า ยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติม แต่การศึกษาเกี่ยวกับไลโปอิคแอซิดในปัจจุบันก็ให้ผลที่น่าเชื่อถือผู้เขียน (Sherry A. Rigers, M.D.) ยังไม่สามารถนึกถึงสารอาหารอื่นที่ให้ผลดีได้เท่านี้และดูเหมือนจะไม่มีผล ข้างเคียงแต่อย่างใด ปริมาณที่แนะนำขึ้นอยู่กับระดับของสารอาหารอื่นและความ ต้องการปริมาณเริ่มต้นที่ดีอยู่ระหว่าง 50 ถึง 100 ม.ก. วันละ 2 ถึง 3 ครั้ง แต่ไลโปอิคแอซิดก็เหมือนกับอาหารเสริมอื่น คือ ควรมีความสมดุลกับโปรแกรมโภชนาการ โดยรวมทั้งหมดโดยขอคำแนะนำได้จากผู้เชี่ยวชาญ
 

    แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง : Lipoic Acid: All-in-One  Antioxidant
     โดย : Sherry A. Rogers, M.D.

    วารสาร : Let’s Live  ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน  1996
พอ.นพ. ดำรง เชี่ยวศิลป์  ที่ปรึกษาอาวุโสสภากาชาดไทย
    ผู้แปล : ฉัตรตระกูล  เจียจันทร์พงษ์, M.P.H. (อาหารและสุขภาพฉบับที่ 97)
 
กรดอัลฟ่าไลโปอิคแอซิดมีโครงสร้างประกอบด้วย
   - กรดไขมันขนาดกลาง  CAPRYLIC:8
   - กำมะถัน
 
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (VIRGIN COCONUT) ประกอบด้วย
   - วิตามินอีโทโคไทรอีนอล (TOCOTRIENOL) ซึ่งมีอนุภาพสูงกว่าวิตามินอีโทโคเฟอร อล (TOCOPHEROL) ถึง 40 – 60 เท่า มีหน้าที่ปกป้องอนุมูลอิสระ
   - กรดไขมันขนาดกลาง (MEDIUMCHAIN FATTY ACID)
        -  CAPROIC   :  6   0.4%
        -  CAPRYLIC : 8   7.3%
        -  CAPRIC : 10   6.6%
        -  LAURIC : 12   48%
 
ประโยชน์กรดไขมันขนาดกลาง 6 -12 โมเลกุล
มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถทำลายเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัวและไวรัส  กรดไขมันขนาดกลางจะช่วยส่งเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน
 
กระเทียม มีสารประกอบกำมะถันมากได้แก่ ALLIN, METHYLCYSTEINE SULFOXIDE และ R-GUUTAMYL-S-TRANS-L-PROPENY CYSTEINNE และมีสารสำคัญอื่นอีก 33 ชนิด
 
ประโยชน์ของกระเทียม
   1.ป้องกันโรคหัวใจ ลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดคอเลสเตอรอล เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
   2.ฟอกเลือดโดยขับสารพิษออกจากเลือด ทำความสะอาด และทำให้เลือดไหลเวียนดี ลดความดันเลือด
   3.ลดความหนืดของหลอดเลือด ละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์และอัมพาตได้
   4.ป้องกันโรคมะเร็งในต่อมลูกหมากถึง 50%, ลดความเสี่ยงจากมะเร็งโรคกระเพาะอาหาร, ลำไส้ใหญ่, เต้านม
   5.เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ไวรัส และเชื้อราอีกด้วย 
   6.มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง และโรคเสื่อมต่างๆ
   7.ปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ลดไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล 
   8.ป้องกันระบบทางเดินหายใจเช่น หวัด น้ำมูกไหล 
   9.เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสุขภาพ
 

ใน สูตรอาหารทั้วโลกเราจะเห็นว่าได้ใช้น้ำมันมะพร้าว (กรดไขมันขนาดกลาง 6 - 12 โมเลกุลและวิตามินอี ) กระเทียม(กำมะถัน) มาประกอบอาหารเป็นเวลาหลายร้อยปี สุขภาพของคนในสมัยก่อนนั้นแข็งแรง ส่วนโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน เช่นโรคมะเร็ง หัวใจ อ้วน เบาหวาน อัลไซเมอร์ โรคต่อมธัยรอยด์ ฯลฯ เป็นกันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน  เพราะการละเลยสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ ไปใช้สารสังเคราะห์ สารเคมี ผ่านกระบวนการต่างๆ  พลังและแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ น้อยลงหรือหมดไป กลับได้สิ่งที่มีพิษเข้าไปแทน
 
ถึงเวลา ที่เราควรกลับมาใช้สารทรงพลังที่อยู่ในธรรมชาติ  เช่นมะพร้าว  กระเทียม ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ ความสมดุล ความแข็งแรง มีอนามัยจะกลับมาสู่เราอีกครั้งด้วยวิธีธรรมชาติ 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘