คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวจากวิธีการผลิตแบบต่างๆ


สืบเนื่องมาจากน้ำมันมะพร้าวได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้บริโภคเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวว่าดีต่อสุขภาพ จึงมีความต้องการในตลาดมากขึ้น ผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวที่มีอยู่หลายวิธีการผลิต มีความต้องการเพิ่มยอดขายของตนเองจึงหันมาลดเครดิตผู้ผลิตรายอื่น ผลสุดท้ายการผลิตด้วยวิธีการหมัก ได้ตกเป็นเป้าโจมตี
บริษัทแนชเจอรัล มายด์ ผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวบีบเย็นตราปาริสุทธิ์ จึงขอชี้แจงความจริงของการผลิตด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าใจและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ผลิตและส่ง ออกน้ำมันมะพร้าวมากเป็นอันดับ1 ของโลกแต่ก่อนผลิตด้วยวิธีดั้งเดิมคือการหมักแบบพื้นบ้านTraditional Fermentation Process โดยตั้งทิ้งไว้ ใช้เวลาประมาณ 48-60 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำมันแยกตัว ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านไม่มีโรงเรือนผลิตที่มิดชิด สถานที่ผลิตไม่ค่อยได้มาตราฐานการผลิตอาหาร ที่สำคัญ ระบบกรองและไล่ความชื้นยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ

เมื่อมีความต้องการ มากขึ้น นักธุรกิจจึงเข้ามาลงทุนสร้างโรงเรือนการผลิต และซื้อเครื่องจักรที่มีกำลังมอร์เตอร์สูงเข้ามาผลิตเพื่อให้ได้การผลิตที่ รวดเร็วจำนวนมากและควบคุมคุณภาพในการผลิตได้ง่ายขึ้น พร้อมกับคำโฆษณาที่ว่า คุณภาพดีกว่าวิธีการหมัก แต่เมื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพ ถึงผลของการรักษาสุขภาพและให้ประโยชน์กับร่างกายแล้ว ปรากฎว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีการหมัก มีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟีโนลิก (Phenolic Compounds) สูงกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่นๆ (ข้อมูลจาก: สารฟินอล-น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างไร โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา - ตุลาคม 2551)


สารที่เป็นประโยชน์สูงที่ได้จากการหมักอีกชนิดหนึ่งคือเอนไซม์ ซึ่งทำหน้าที่

1. ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิต หรือถ้าอันตรายเกิดขึ้นแล้ว ก็ป้องกันไม่ให้อันตรายนั้นลุกลามหรือร้ายแรงยิ่งขึ้น
2. ส่งเสริมหรือบำรุงให้ระบบต่างๆของชีวิต ทำงานได้ดีหรือง่ายขึ้น

น้ำ เอนไซม์ หรือที่จริงแล้วก็คือน้ำหมักชีวภาพนั่นเอง ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และใช้รับประทานเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี (น้ำ NONI ก็เป็นตัวอย่างน้ำหมักชีวภาพเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก)

แต่เอนไซม์จะสูญเสียไปถ้าผ่าน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ได้จากมอเตอร์กำลังสูง ดังนั้นวิธีการผลิตที่ต้องใช้เครื่องจักรกำลังสูงเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นวิธี เหวี่ยงแยก จะมีโอกาสสูญเสียเอนไซม์ได้ง่าย ส่วนวิธีการหมักจะยังคงเอนไซม์ไว้ในน้ำมันได้อย่างครบถ้วน

การทำ ธุรกิจของแนชเจอรัลมายด์ มีพื้นฐานมาจากการเป็นผู้รักสุขภาพและศรัทธาในความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ความเกี่ยวข้องกับน้ำมันมะพร้าวเริ่มจากการซื้อของที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด มารับประทานเพื่อสุขภาพ แต่เมื่อใช้ไปประมาณครึ่งขวดพบกับปัญหาน้ำมันมะพร้าวเหม็นหืนและมีเยื่อ โปรตีนตกตะกอนที่ก้นขวด แสดงให้เห็นว่าคุณภาพการผลิตยังไม่ดีพอ จึงทำให้สนใจหาน้ำมันมะพร้าวคุณภาพดีมารับประทาน และลองซื้อหลายๆ ยี่ห้อมาเปรียบเทียบพร้อมทั้งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากต่างประเทศ
ข้อมูลที่สรุปได้คือ การผลิตโดยวิธีธรรมชาติที่คงคุณค่าและให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ครบถ้วนมาก ที่สุด คือวิธีการหมัก แต่การหมักแบบพื้นบ้านยังมีข้อที่ต้องปรับปรุงอีกหลายอย่าง เราจึงพัฒนาในส่วนด้อยนั้นด้วยวิธี Modified Fermentation หรือการหมักแบบทันสมัย โดยจัดสภาพแวดล้อม(ห้องควบคุมอุณหภูมิ)ให้เหมาะสม ทำให้น้ำมันแยกตัวได้เร็ว จากเดิม 48-60 ชั่วโมง ก็ใช้เวลาเพียง 4-6 ชั่วโมง ขจัดความชื้นด้วยเครื่องสุญญากาศ และกรองสารปนเปื้อนด้วยเครื่องกรองจากประเทศอิตาลี เครื่องกรองชนิดนี้เป็นที่ยอมรับในมาตราฐานอุตสาหกรรมการทำ WINE อุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอางคุณภาพ โดยใช้แผ่นกรอง Fiber ขนาด 3 Micron (สามารถกรองเชื้อโรคได้)
 

เนื่องจาก LAB ในประเทศยังมีข้อจำกัดของการตรวจเช็คน้ำมันอยู่ เราจึงต้องหาวิธีที่สามารถตรวจศักยภาพของธรรมชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเลือกการถ่ายรูปแสง AURA  ที่สถาบันพัฒนาพลังจิตของอาจารย์สถิตฐ์ธรรม เพ็ญสุขษ์  www.powerlifecenter.com
ออร่า (AURA) คือการถ่ายภาพพลังงานที่วัตถุปล่อยออกมาโดยใช้เทคนิคของเกอร์เลี่ยน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพลังของ สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะพลังอำนาจของชีวิตเช่นใช้ในการตรวจโรค หรือคุณสมบัติบางประการของวัตถุหรือสสารโดยวิเคราะห์จากแถบสี (Spectrum) สีออร่าที่แผ่ออกจากวัตถุล้วนมีความหมายทั้งสิ้น เป็นการสื่อว่าวัตถุนั้นๆมีสภาพเป็นอย่างไร
การอ่านภาพแสงออร่าของ น้ำมันมะพร้าวปาริสุทธิ์ ที่ผลิตด้วยวิธีการหมักแบบทันสมัย Modified Fermentation โดยอาจารย์สถิตฐ์ธรรม เพ็ญสุขษ์ ถ่ายเมื่อปี 2549 ใจความว่า  "พลังการบำบัดรักษา นุ่มนวลดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการดูแลสุขภาพร่างกาย" ซึ่งต่างกับภาพถ่ายแสงออร่าของน้ำมัน มะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีอื่น บางชนิดให้พลังงานแข็งเกินไป บางชนิดมีสารโลหะหนักตกค้าง และบางชนิดให้พลังงานไม่สมดุล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘