ตอบปัญหาข้องใจ


โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาศีลและสมาทานพระกรรมฐาน เสร็จแล้ว ต่อแต่นี้ไปเป็นโอกาสที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะเจริญพระกรรมฐานและ วิปัสสนาภาวนา และขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกและคำภานาคู่กันไปนี่เป็นหลักเริ่มต้นของ การปฏิบัติพระกรรมฐาน
การเจริญพระกรรมฐานที่จะให้ดีก็ต้องรู้จัก เอาชนะใจตนเอง ตนเองรู้อยู่ว่าเวลานี้เรามีกิจอะไรจะพึงทำและตั้งใจเฉพาะอยู่ กิจนั้นจึงจะมีผลในการเจริญพระกรรมฐาน นี่เป็นปัญหาเฉพาะวันนี้ที่มีคนมาถามว่าทำอย่างไรจึงจะควบคุมกำลังจิตให้ เป็นสมาธิและทำอย่างไรจึงจะให้ใจเข้าอยู่ถึงฌานสมาบัติ ความจริงการทำจิตให้เป็นสมาธิหรือทำจิตให้เป็นฌานสมาบัติเป็นของไม่ยาก ถ้าเราเป็นคนไม่มีใจโลเลล่อกแล็ก ถ้าหากว่าเป็นคนมีอารมณ์จิตตั้งมั่น รู้จักกิจที่เราจะพึงกระทำ การที่เจริญพระกรรมฐานและเอาดีไม่ได้ เพราะว่าเราไม่รู้กิจไม่รู้หน้าที่ที่จะพึงกระทำ เป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ ไม่รู้จักควบคุมกำลังใจตนเองมันก็เอาดีกันไม่ได้ เราจะดีได้หรือจะชั่วได้อยู่ที่เราคนเดียวเท่านั้น ไม่มีใครที่เขาจะมายกยอปอปั้นให้เราดีหรือเราเลว แม้แต่พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น สำหรับความดีหรือความชั่วที่เราจะได้ก็ต้องเราเป็นผู้ทำเองโดยเฉพาะ
เมื่อ ฟังคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ที่ทำได้ดีก็เพราะท่านนำไปประพฤติปฏิบัติตาม เวลาที่จะฟังก็ใคร่ครวญไปตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงพูด เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพูดเขาก็ใช้ปัญญาคิดตาม
คน ที่จะได้ดีเขาทำกันแบบนี้ ขณะที่ฟังก็ดี ขณะที่ตั้งใจทรงสมาธิจิตก็ดี เขาไม่ให้อารมณ์ส่งไปสู่อารมณ์อื่น รู้จักควบคุมใจของเราให้อยู่เฉพาะกิจที่เราจะพึงทำคือกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ออกและคำภาวนา เมื่อเรารู้กิจอย่างนี้ขณะที่เราทรงสมาธิจิตตั้งใจทรงความดี เราก็บังคับจิตให้รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้านึกว่า พุท ลมหายใจออกนึกว่า โธ นึกอยู่ควบคุมกำลังอยู่เท่านี้ตามเวลาที่เรากำหนดไว้ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์จิตเราเข้าไปสู่อารมณ์อื่นนอกจากลมหายใจเข้าออกหรือว่า คำภาวนาว่า พุทโธ ถ้าเราบังคับจิตของเราให้ได้อย่างนี้ไปทุกคราวทุกครั้งที่เจริญพระกรรมฐาน เราจะใช้เวลามากก็ตามเวลาน้อยก็ตาม หรือว่ายามว่างกิจอื่นนั่งอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ทำการงานอยู่ อารมณ์ว่างจากอารมณ์อื่นที่จะพึงคิด แล้วก็จิตจับลมหายใจเข้าออกและคำว่า พุทโธให้เป็นปกติ จนกระทั่งให้จิตมีอารมณ์ชินอย่างนี้จิตของเราก็เป็นฌาน หรือว่ายามว่างจากกิจอื่นจิตก็จับ คำ พุทโธ เป็นอารมณ์หรือกำหนดจิตรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ท่านเรียกว่าฌาน
แต่ นักปฏิบัติพระกรรมฐานที่เอาดีไม่ได้ก็เพราะปล่อยให้จิตไปคบกับอารมณ์ชั่ว ต่างๆ คือวันทั้งวันไม่ได้น้อมเข้าไปหาความดี ไปมองแต่ความชั่ว อารมณ์ของความชั่วชอบเอาจิตเข้าไปคบ แล้วก็ชอบเอาอารมณ์เข้าไปยุ่งกับกิจของคนอื่น คนนั้นดีแบบนี้คนนี้เลวแบบนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้นคนนี้เป็นอย่างโน้น ไม่ได้มองดูตัวเอง การที่เอาอารมณ์จิตเข้าสู่อารมณ์จิตจริยาของคนอื่น เป็นอารมณ์จิตที่เลว
อารมณ์ จิตที่ดีนั้น จะต้องเป็นอารมณ์จิตที่ควบคุมอารมณ์ของตนเองกำลังจิตของตนเอง ควบคุมความรู้สึกของตนเองเข้าไว้ ว่าเวลานี้อารมณ์จิตของเราเป็นกุศลหรืออกุศล เช่นเราจะนึกจับใจไว้ว่า เราจะจับลมหายใจเข้าออก เราจะกำหนดคำภาวนา พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ เราคุมอยู่อย่างนี้ได้ตลอดวันหรือเปล่า อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์จิตที่เป็นกุศล การควบคุมกำลังใจรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ วันหนึ่งถ้าท่านจะทรงได้ ๒๐ นาที หรือ ๑๐ นาที หรือ ๕ นาที ต่อหนึ่งครั้งหนึ่งคราว เพียงเท่านี้ถ้าทำเป็นปกติทุกวัน
ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ได้
พ้น จากอบายภูมิ นี่เป็นความดีที่เราช่วยตัวเองหรือควรจะระมัดระวัง และก็คนที่ควบคุมกำลังจิตได้แบบนี้ เวลาที่มีชีวิตอยู่อารมณ์จิตเป็นสุข ไม่มีอารมณ์กระวนกระวาย ไม่มีความวุ่นวายของจิต เพราะจิตทรงอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศล นี่เราควรปฏิบัติให้ได้ตามนี้ คือเอาชนะจิต เอาจิตให้ชนะความชั่ว
การที่เราเจริญพระกรรมฐานเรา ทำเพื่อประโยชน์อะไร กรรมฐานมีอยู่ ๒ แบบ คือ สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนาแปลว่าอุบายเป็นเครื่องสงบใจ ทำจิตให้สงบจากอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่ว หมายความว่าป้องกันความชั่วไม่ให้เข้ามาสู่จิต จิตของเราจะไม่ยอมคิดนึกความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันขาด ความชั่วเป็นปัจจัยให้ตกนรก นอกจากตกนรกแล้วก็มาเป็นเปรตอสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นคนก็เอาดีไม่ได้ การที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เราเจริญพระกรรมฐานก็เป็นการให้เราทรงสติ สัมปชัญญะ กำหนดไว้แต่เฉพาะให้ความดีอย่างย่อที่กล่าวมาแล้ว คือคำว่า พุทโธ หรือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ถ้าทรงได้อย่างนี้ตลอดกาลตลอดสมัย อย่างเลวเราก็เป็นเทวดา อย่างดีขึ้นไปกว่านั้นเราก็เกิดเป็นพรหม ดีกว่าเป็นมนุษย์เดินตอกแตกๆ อยู่อย่างในสมัยปัจจุบัน อารมณ์ปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่อารมณ์ใจของเราก็มีความสุข มีความทรงจำดี มีความเฉลียวฉลาด อาจหาญรื่นเริงในการกระทำความดีปราศจากความเศร้าหมองของจิต ทั้งนี้เพราะอาศัยบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์เข้า สู่ประจำจิตของเรา
ว่ากันด้านสมถภาวนาให้ทรงอารมณ์จิตไว้อย่างนี้ โดยเฉพาะ นี่เราจะไปเกณฑ์ ไปถามใครเขาว่าเมื่อไรเราจะได้ดี ขายหน้าชาวบ้านเขา ความดีหรือว่าความชั่ว มันอยู่ที่เราผู้ปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติเอาดีไม่ได้ ก็แสดงว่าเราเลวเกินไป เพราะการเจริญสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาไม่มีการลงทุนอะไร นั่งอยู่เดินอยู่นอนอยู่ทำได้ทั้งนั้นทุกอิริยาบถ ไม่มีการจำกัด เราจะนั่งท่าไหน นอนท่าไหน ยืนท่าไหน เดินแบบไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น เพราะเราควบคุมกำลังใจให้มันทรงอยู่ และอีกประการหนึ่งการเจริญสมถภาวนาเราไม่ต้องการภาพแสงสีใดๆทั้งหมด อาการใดๆจะปรากฏ จะเป็นภาพก็ดีแสงก็ดีเสียงก็ดีที่ปรากฏ เราไม่สนใจ อย่าไปสนใจกับภาพแสงสีหรือเสียงใดๆ ที่ปรากฏ ถ้าหากว่ามีภาพปรากฏเสียงสีหรือแสงปรากฏจะควบคุมอารมณ์ของตนเองไว้โดยเฉพาะ เสียงอะไรก็ช่าง จะมาอย่างไรก็ช่างเสียง
รูปอะไรจะปรากฏก็ช่างรูป เพราะเราต้องการอย่างเดียวคือคำภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเท่านี้เป็น พอ ถ้าท่านทรงอารมณ์จิตอยู่ได้อย่างนี้ถือว่าอารมณ์จิตเป็นฌาน นี่ว่ากันเฉพาะนักปฏิบัติตอนต้น ที่เขาเจริญพระกรรมฐานให้ทรงอารมณ์ไว้ได้เพียงเท่านี้พอแล้ว ให้จิตมีกำลังพอดี แล้วก็พยายามทรงให้ได้ทุกวันอย่าสักแต่ว่าทำ
อย่า สักแต่ว่าศึกษา ศึกษาไว้ไปที่ไหนก็ถาม ไปที่นี่ถามที่นี่ ไปที่โน่นถามที่โน่น ไปที่ไหนก็ถามที่นั่น เป็นอันว่าจิตของเรามีอารมณ์สอดส่ายไม่เฉพาะจุดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็ชื่อว่าเอาดีไม่ได้เพราะอารมณ์ของกรรมฐานที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงสอน มี ๔๐ กองด้วยกัน ผลที่จะพึงถึงก็คือ เอกัคตารมณ์ การมีอารมณ์เป็นฌานเหมือนกันหมด ที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงสอนไว้มาก ก็ให้เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติ
ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธ บริษัทในอันดับแรกขอให้ควบคุมกำลังใจ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ไว้ให้เป็นปกติ ยามว่างมีอารมณ์จิตอย่างนั้นเสมอ ต่อไปพิจารณาดูเวลาว่างจากอารมณ์อื่นอารมณ์จิตก็จับลมหายใจเข้าออกจับคำ ภาวนาขึ้นมาเฉยๆ ขึ้นชื่อว่าอาการชินของจิต อย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีจิตเข้าถึงฌาน เมื่อจิตเข้าถึงฌานได้ท่านจะไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมก็ได้ ที่อื่นก็ได้ตามอัธยาศัย สำหรับบุคคลที่ปฏิบัติมาเก่าเมื่อทำจิตของเราให้ทรงได้ดีแล้ว ก็จงพิจารณาอริยสัจสี่
การที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในด้านวิปัสสนาญาณ เพราะอริยสัจนี้มีเรื่องที่จะศึกษาจริงๆ ก็มี ๒ อย่าง คือ ทุกข์ กับสมุทัย
นี่ พิจารณาว่าการเกิดของเรานี่เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ตรงไหน เกิดมาจากครรภ์มารดากระทบอากาศหนัก อยู่ในครรภ์ของมารดามีแต่ความอบอุ่นความสบาย ออกจากครรภ์มารดาใหม่ๆมากระทบกับความร้อนความหนาว ร่างกายแสบทั้งกาย ก็เกิดการร้องจ้าขึ้นมา นี่แสดงว่าร่างกายเป็นทุกข์ ต่อแต่นั้นมาการหิวอาหารก็เป็นอาการของความทุกข์ การปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นอาการของความทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นอาการของความทุกข์ ความแก่ชราเข้ามาครอบงำเป็นอาการของความทุกข์ ความตายเข้ามาถึงตัว
ทุกขเวทนา หนักเป็นอาการของความทุกข์ ถ้าเรายังไม่สิ้นความทุกข์เมื่อไรเราต้องไปเกิดใหม่พบกับความทุกข์เข้าอีก เป็นอันว่าความเกิดเป็นของไม่ดีเป็นความทุกข์
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้คนเราปฏิบัติตนให้พ้นความเกิด กล่าวคือโมกขธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องพ้น
ก่อน ที่เราจะปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ก็ต้องรู้จักเหตุให้มันเกิดทุกข์เสีย ก่อนว่า ความทุกข์มันมาจากไหน เราต้องทำลายเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงกล่าวว่าเหตุของความทุกข์ได้แก่ ตัณหา คือความทะยานอยาก สิ่งใดที่ยังไม่มี อยากให้มี สิ่งใดที่มีอยู่แล้วอยากให้มันทรงตัว เวลากาลที่มันจะเคลื่อนไปจิตใจก็ไม่อยากให้มันเคลื่อนไปหาทางดึง อย่างนี้เป็นอาการของความทุกข์ สิ่งที่มันไม่มีเราต้องการให้มีขึ้น หมายความว่าเป็นสิ่งที่เราต้องการเกินจากความเป็นจริง ถ้าสิ่งใดที่เป็นไปตามความประสงค์หรือมีความจำเป็นจะต้องกินต้องใช้ ก็แสวงหามาพอกินพอใช้ ไม่ตะเกียกตะกายเกินไป นี่เป็นอาการของความทุกข์เหมือนกัน แต่เป็นความทุกข์ที่อยู่ในขอบเขต
แต่ ทุกข์ของตัณหานี่มันยิ่งไปกว่านั้น มีพอกินพอใช้แล้วมันไม่พอ ตะเกียกตะกายอยากให้มันมีมากไปกว่านั้นขึ้นไปเท่าไรก็ไม่รู้จักจบ นี่เป็นอาการของตัณหา การแสวงหาเลี้ยงชีพตามธรรมดาถือเป็นปกติในการทรงชีพเป็นสัมมาอาชีวะ อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นตัณหาใหญ่ ถ้าจะเป็นก็เป็นตัณหาเล็ก ตัณหาเล็กๆไม่มีโทษมากนัก
ถ้าจะว่าการแสวงหานั้นได้มาจากการ ทุจริตมันก็เป็นภัยใหญ่ องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบอกให้ตัดความอยากเสีย ในเมื่อเรายังทรงชีวิตอยู่การหากินต้องมีเป็นของธรรมดา พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธการหากินหาเลี้ยงครอบครัวและบริวารตามความจำเป็น ถือว่าเป็นหน้าที่ที่เราพึงปฏิบัติ เราจะไม่ติดในมันจนเกินไป เราคิดว่าหามาได้แล้วก็แล้วกันไป มีกินมีใช้ไปวันหนึ่งก็พอ หรือว่ามันจะเหลือกินเหลือใช้ก็ตามที คิดว่านี่เราทำตามหน้าที่เท่านั้น เราจะไม่มีอารมณ์ผูกพันใดๆทั้งหมดและคิดไว้เสมอว่าทรัพย์ที่เราหามาได้ทั้ง หมดเราตายแล้วมันก็เลิกกันไป เราไม่สามารถจะแบกไปโลกอื่นได้
การ จะตัดอำนาจความอยากมันจะตัดได้ในตอนไหน ก็ต้องมาพิจารณาสักกายทิฏฐิ คือพิจารณาร่างกายว่าร่างกายของเรานี่มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ที่จริงร่างกายของเรานี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ๔เข้ามาประชุมกัน คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันทรงตัวอยู่ชั่วคราว ไม่ช้ามันก็จะสลายไป ร่างกายมีอุปมาประดุจหนึ่งดังบ้านเช่า เราอยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้น เช่าอยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อถึงกาล ถึงสมัย หรือเมื่อหมดอายุแห่งการเช่าเราก็ต้องไป เราคือจิตที่มาสถิตอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเหมือนบ้านเช่าชั่วคราว เราจะมาปรารถนาความเกิดเพื่ออะไร ถ้าเราไม่ปรารถนาความเกิดก็แสดงว่า เราไม่ปรารถนาความอยากคือตัณหา ถ้าเราจะเกิดอีกมันก็มีทุกข์อย่างนี้ จะพบกับบ้านเช่าที่ไม่มีการทรงตัว
เรา จะไม่ต้องการความเกิดอีกเราจะทำอย่างไร เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นของจริงหรือของไม่จริง ถ้าจริงเราก็เชื่อพระพุทธเจ้าได้ และคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทานเป็นปัจจัยตัดความโลภ คือสร้างมิตร ศีลเป็นปัจจัยตัดความโกรธ การใช้ปัญญาพิจารณาตัดขันธ์ห้าคือร่างกายที่ผูกพันในการเกิดต่อไป การติดความหลงนี่มันจริงหรือไม่จริง ถ้าเรามีปัญญาพิจารณาเห็นว่าจริงแล้วเราก็เชื่อว่าเรามีความเชื่อมั่นในคุณ พระรัตนตรัย อย่างนี้เป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่จะทำให้เราไม่เกิด
แต่ ว่าเรามาเชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ต้องปฏิบัติตามด้วย วิธีที่จะปฏิบัติตามในขั้นต่อไปก็ต้องมีการรักษาศีลห้าให้เป็นปกติ เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงบุคคลอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีล มีความเมาในร่างกายน้อยลงไป เห็นว่าเราต้องตายเป็นปกติ มีความเคารพในพระรัตนตรัย มีศีลห้าบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ประการนี้ถ้าทรงไว้ให้ได้ตลอดกาลตลอดสมัย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงกล่าวว่าเป็นโสดาปฏิผลหรือว่าสกิทาคามีผล เป็นพระอริยเจ้า อันนี้ก็เป็นของไม่ยาก เมื่อเป็นพระอริยเจ้า พระโสดาและพระสกิทาคาก็ยังต้องมีความเกิด แต่ว่าเกิดน้อยลง เกิดเฉพาะสวรรค์กับมนุษย์หรือว่าพรหมกับมนุษย์ ไม่ต้องลงอบายภูมิ การที่จะมีความเกิดอยู่แบบนี้ มันก็ยังไม่มีความสุข มันก็ยังต้องการตัดทุกข์ให้มันสิ้นไป
ในข้อต่อไปองค์สมเด็จพระบรม ศาสดาทรงแนะนำให้ตัดกามราคะ ความต้องการในเพศเสีย เพราะความต้องการในร่างกายของบุคคลอื่นมีความกำหนัดยินดีในร่างกายบุคคลอื่น นี่เป็นความโง่ของบุคคลที่มีกิเลสเข้าถึงใจ เพราะการมีคู่ครองไม่ใช่ปัจจัยของความสุข ไม่ใช่เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข มันเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ คนเราจะต้องแบกภาระจากคู่ครอง บิดามารดาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของคู่ครองอีกมากมาย สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่จิตใจและร่างกายของเราไม่ให้เป็นอิสรภาพ ต้องอยู่ในขอบเขต การแสวงหาคู่ครองเราก็ดูแล้วดูอีก ว่าเป็นคนที่มีความเมาะสมมีหน้ามีตาทรวดทรงเป็นที่น่ารัก แต่ว่าคู่ครองของเราก็ดีเราเองก็ดี มันไม่ทรงอยู่ตามนั่น ไม่ช้าความเหี่ยวแห้งมันก็ปรากฏ ความทรุดโทรมมันก็ปรากฏ ความทุกข์มันก็แบกหนักเข้ามาเป็นภาระใหญ่
นี่องค์สมเด็จพระจอม ไตรบรมศาสดาทรงแนะนำว่าถ้าเราไม่ต้องการความเกิด ก็ให้ตัดอารมณ์ความกำหนัดยินดีในการมีคู่ครองเสียโดยการพิจารณาร่างกายคือ เรียกว่า
กายคตาสติกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายของเรานี้เป็นชิ้นเป็นท่อนเป็นอันเต็มไปด้วยอาการ ๓๒ มีความสกปรกเป็นปกติ หาความดีอะไรไม่ได้ เมื่อขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ขณะที่ทรงกายอยู่ความสกปรกมันก็ปรากฏ ถ้าเราไม่อาบน้ำสัก ๒-๓ วันร่างกายก็จะเหม็นสาบทนไม่ไหว และทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายที่หลั่งไหลออกมา เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ก็เป็นที่รังเกียจของเราเอง นี่แสดงว่าร่างกายของเราภายในเต็มไปด้วยความสกปรกอย่างยิ่ง
ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง พิจารณาว่าร่างกายของเราเหมือนกับอสุภคือศพ และเหมือนกับศพที่ตายแล้ว คือความจริงมันยังไม่ตาย ร่างกายเหมือนผีเดินได้ เพราะข้างในมันสกปรก น้ำลายเวลาเราอมอยู่ในปาก เรากลืนได้อมได้ แต่ว่าเวลาบ้วนออกมาเราไม่กล้าจะเอามือแตะเพราะรังเกียจน้ำลาย น้ำลายของเรามันอยู่ที่ไหนความจริงมันก็อยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาร่างกายเทียบกับศพที่ตายแล้วหนึ่งวัน สองวัน สามวัน สี่วัน ห้าวัน มันขึ้นอืด ขึ้นมามีน้ำเหลืองไหลและเต็มไปด้วยความน่าเกลียด ความสกปรกทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ได้มีมาใหม่ มันอยู่ในร่างกายของเรา ขณะเมื่อร่างกายมีจิตใจควบคุมมันก็ปกปิดเข้าไว้ ความสกปรกหลั่งไหลมาไม่ได้ทุกอย่าง แต่ว่ามันจะระบายของที่คั่งมาได้เพียงอุจจาระปัสสาวะเท่านั้น มันบังคับไม่ได้หลั่งไหลมาให้เราดู
นี่องค์สมเด็จพระบรมครูให้ พิจารณาร่างกายของเราก็ดีของบุคคลอื่นก็ดีว่าเต็มไปด้วยความสกปรกความโสโครก เป็นของน่าเกลียด ทำจิตใตให้เป็นนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายในร่างกายของเราเองและของบุคคลอื่น จนกระทั่งเรามีความสะอิดสะเอียนเห็นหน้าคนก็เหมือนกับเราเห็นซากศพ จิตใจมีความเบื่อหน่ายไม่มีความผูกพันในร่างกายของเราและบุคคลอื่น
เรา จะเข้าจุดจบของกรรมฐานกองนี้ได้อย่างไร เราจะพิจารณาดูร่างกายของเราว่ากามราคะคืออารมณ์ของเพศจะไม่ปรากฎในจิต เห็นคนก็เหมือนกับเห็นไม้ท่อนวางไว้ในกลางป่าไร้ค่าสำหรับการสัมผัส ความต้องการในเพศไม่มี ถ้าทำถึงแบบนี้ก็เท่ากับท่านก้าวสู่ความเป็นพระอนาคามีอันดับที่ ๑ อันดับที่ ๒ พระพุทธเจ้าทรงให้ระงับโทสะ ความพยาบาทด้วยการเจริญพรหมวิหารสี่มีเมตตาเป็นต้น มีจิตคิดให้อภัยแก่คนและสัตว์ที่กระทำความผิด
คิดเสียว่าคนที่เขา กระทำความชั่วนั่นเป็นเพราะเขาทำด้วยความเข้าใจผิดคิดไม่ถึงว่าการที่ทำ อย่างนั้นมันจะเป็นความชั่ว เข้าใจว่าเป็นความดี มีการให้อภัยเป็นปกติจนกระทั่งอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติ ใครเขาจะด่าจะว่าไม่รู้สึกโกรธไม่รู้สึกเกลียด เห็นว่าเป็นของธรรมดา เมื่อจิตใจของท่านละจากกามคุณและความโกรธเสียได้อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวว่าท่านถึงความเป็นพระอนาคามี
แต่ความ รู้สึกที่จะมีอย่างนี้ได้ก็ต้องอาศัยสักกายทิฏฐิคือนั่งพิจารณาว่าร่างกาย มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเป็นของธรรมดาควบคุมกันอยู่ ร่างกายนี้ความจริงไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ต่างคนต่างถือบ้านเช่าเป็นของตัวชั่วคราว แต่บ้านเช่าหลังนี้เต็มไปด้วยความสกปรก ความโสโครก มีกลิ่น มีไอ มีสาบ มีสาง เหม็นเลอะเทอะ เป็นสิ่งน่าเกลียด เราก็มีความเบื่อหน่ายขึ้นมาเอง ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ แล้วเราก็มีเมตตาบารมี มีจิตสงเคราะห์และสงสารบุคคลอื่นและสัตว์อื่นที่เขาทำความชั่วแทนที่จะทำตัว เป็นศัตรู กลับจะมีจิตคิดสงสารปรารถนาจะสงเคราะห์เขาให้มีความสุขจะแนะนำให้เข้าทางตรง มีจิตประสงค์ในด้านเมตตาบารมีอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าเป็นพระอนาคามี ถ้าท่านทรงความเป็นพระอนาคามีได้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่าตายจากชาตินี้ไปแล้วเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เสวยความสุขในฐานะเป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อถึงกาลเมื่อถึงสมัยก็นิพพานบนนั้น
สำหรับ วันนี้ก็จะขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้เพราะใช้เวลามากเกินไป ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้ มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลาเป็นเวลา อุทิศส่วนกุศล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘