ข้อเท็จจริงและสถานะของน้ำมันมะพร้าวในประเทศไทย

กฎหมายไทยและหมอไทยไม่ยอมรับมะพร้าวเป็นยา


ประเทศ ไทย อาหารประเภทกะทิ และน้ำมันมะพร้าว ถูกตัดสินให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งถูกกำหนดจากหลักเกณฑ์ แนวทางของแพทย์แผนปัจจุบันที่ยึดถือตามแนวทาง และตำราเรียนของแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ขณะนี้ได้มีข้อมูลพลิกผันชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อนักวิทยาศาสตร์และแพทย์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกามีหลักฐานหักล้างมากมาย ตั้งแต่ความเป็นผู้ร้ายของน้ำมันมะพร้าวจากการใช้เงินมหาศาลของสมาคมผู้ค้า ถั่วเหลืองของสหรัฐเมริกา (สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของโลก)

เป็น การ สร้างหลักฐานบิดเบือนและขจัดน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นคู่แข่งที่เอาชนะไม่ได้ ให้ออกไปจากเส้นทางอย่างแนบเนียนและน่าเชื่อถือ ชนิดที่ต้องให้ล้มเลิกธุรกิจ และโจมตีว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จนทุกประเทศทั่วโลกต่างพากันยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งประเทศไทย

ใน ยุคที่ ข้อมูลข่าวสารติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ทำให้เราทราบว่า กระแสการยอมรับคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวที่มาจากไขมันอิ่มตัวสายปานกลาง เป็นผลดีต่อสุขภาพนั้น แพร่ขยายไปใน สหรัฐอเมริกา ยุโรป อย่างตื่นตัว และกำลังเป็นแบบอย่างต่อไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก ทำให้เกิดกระแสความคิดเห็นที่คัดค้านกัน 2 ด้าน ระหว่างเป็นโทษและเป็นประโยชน์พร้อมๆ กันไป

สำหรับ กระแสน้ำมันมะพร้าวในประเทศไทย ก็เช่นเดียวกันที่ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสโลก ผู้ป่วยและผู้รักสุขภาพที่ยอมรับเอาข้อดีของน้ำมันมะพร้าวนำมาบริโภค และเห็นผลได้กับตนเองโดยเฉพาะผู้ป่วยที่รักษาโดยทางธรรมชาติเช่นที่ ดิ อโรคยา คลินิกการแพทย์แผนไทย ของคุณหมอแดง (www.the-arokaya.com) และที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี ของคุณหมอ บรรจบ ชุนหสวัสดิกุล (www.balavi.com) ที่ใช้น้ำมันมะพร้าวกับโรคต่าง ๆ ตั้งแต่โรคอ้วน ความดัน โคเลสเตอรอล เบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ฯลฯ และขณะเดียวกันก็มีแพทย์แผนปัจจุบันบางท่านออกมาแสดงความคิดเห็น ต่อต้านรุนแรงถึงความมีอันตรายของน้ำมันมะพร้าว ต่อโคเลสเตอรอล และโรคหัวใจ

ภาระ ใน การตัดสินใจว่าจะเชื่อถือข้อมูลทางด้านใดนั้น จึงตกอยู่ที่ผู้บริโภคที่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบ บริษัทแนชเจอรัลมายด์ และผู้ผลิตน้ำมันมะพร้าวปาริสุทธิ์ ได้ทำหน้าที่ของตนเองคือเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันมะพร้าวให้ถูกต้องตาม กฎหมาย ทั้งคุณสมบัติและคุณภาพ และคงความมาตรฐานให้ซื่อตรงกับผู้บริโภคตลอดไป และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีกรอบการยอมรับแต่เพียงน้ำมันมะพร้าว อนุญาตให้เป็นเพียงน้ำมันประกอบอาหารเท่านั้น คุณสมบัติอื่นไม่สามารถนำเสนอได้ แม้แต่วิธีการผลิตแบบบีบเย็น ไม่อนุญาตให้ระบุ ให้ระบุได้เพียงน้ำมันมะพร้าวธรรมชาติเท่านั้น ในขณะที่ผู้ผลิตหลายรายไม่ได้ยึดถือแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข จึงอาจทำให้ผู้บริโภคสับสนหรือตีความผิดได้

ยัง มี กระแสสุขภาพอีกเรื่องหนึ่งที่ควรสนใจ นั่นคือเรื่องของกรดไขมันทรานส์ หรือไขมันทรานส์ ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรปให้ความสนใจมาก จนมีกฎหมายควบคุมและแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการบริโภค เนื่องจากเป็นอาหารอันตรายก่อให้เกิดโรคร้ายหลายชนิด แต่สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการเตือนภัย หรือให้ความรู้กับประชาชนแต่อย่างใด

และ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวถูกยอมรับทางกฎหมายให้เป็นเพียงน้ำมันบำรุงผิวหรือ น้ำมันทำอาหารเท่านั้น การให้คำแนะนำหรือความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการรักษาโรค จึงไม่สามารถทำได้ในเว็บไซท์นี้ เพราะจะทำให้ผิดกฎหมาย เนื่องจากอวดอ้างสรรพคุณเป็นยารักษาโรค และผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการโฆษณา




ดังนั้นท่านผู้ที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าดูที่
ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว
แห่งประเทศไทย
เป็น web site ศูนย์กลางข้อมูลการทำวิจัย และข่าวสารต่าง ๆ ของน้ำมันมะพร้าว
web site เกี่ยวกับข้อมูลวิจัยของกรดลอริค
และกรดคาปริค
เป็น web site ที่ให้ความรู้เรื่อง transfats โทษจากอาหาร ข้อกำหนดและกฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับ transfats

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘