พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 691-695

                                                            หน้าที่ ๖๙๑

                                                กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
                [๘๔๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารแลบลิ้น ...
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงแลบลิ้น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารแลบลิ้น
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                                ___________
                                                กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                [๘๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารดังจับๆ ...
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุฉันอาหารไม่พึงฉันทำเสียงดังจับๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหาร
ดังจับๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                                วรรคที่ ๕ จบ.
                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๖๙๒

                                                วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
                [๘๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร
โกสัมพี. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงปานะน้ำนมถวายพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังชูดๆ
ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้อันความเย็นรบกวน
แล้ว. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ...                     ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้พูด
ปรารภพระสงฆ์เล่นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอได้พูดปรารภพระสงฆ์
เล่น จริงหรือ?
                ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้พูดปรารภสงฆ์เล่น
เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใด
ฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ครั้นทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.


                                                            หน้าที่ ๖๙๓

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันดังซูดๆ. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำเสียง
ดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                _______________
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
                [๘๕๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียมือ ...
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียมือ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                _______________
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
                [๘๕๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร ...


                                                            หน้าที่ ๖๙๔

                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันขอดบาตร. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารขอด
บาตร ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ข้าวสุกเหลือน้อยกวาดขอดรวมกันเข้าแล้ว
ฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                                _______________
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
                [๘๕๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ...
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลีย
ริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                                _______________


                                                            หน้าที่ ๖๙๕

                                                สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
                [๘๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์เภสกฬาวัน เขต
พระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคะชนบท. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่
เปื้อนอามิส ในโกกนุทปราสาท. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่
เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้รับประเคนโอน้ำ
ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุรับ
ประเคนโอน้ำด้วยมือที่เปื้อนอามิส จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส
แล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงรับประเคนโอน้ำ ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส. ภิกษุใดอาศัยความ
ไม่เอื้อเฟื้อ รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘