พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 651-655

                                                            หน้าที่ ๖๕๑

ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่า เป็นเสกขะ ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยว
ฉันได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                พระอนุบัญญัติ ๒
                ๑๔๔. ๓. ค. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน มิใช่ผู้อาพาธ รับของ
เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือ
ของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ
ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๙๑] คำว่า ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอันสงฆ์
สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคสมบัติ ได้รับสมมติ
ด้วยญัตติทุติยกรรมว่าเป็นเสกขะ.
                บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า ในตระกูลทั้งหลายที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ได้แก่ตระกูลทั้งหลาย เห็น
ปานนั้น ที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ.
                ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือเขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุ
เดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไป เขาจึงนิมนต์ นี้ชื่อว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้.
                ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้ไว้ ภิกษุมิได้เดินผ่าน
อุปจารเข้าไป เขานิมนต์ นี้ชื่อว่า ได้รับนิมนต์.
                ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถไปบิณฑบาตได้.
                ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้.


                                                            หน้าที่ ๖๕๒

                ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก
นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
                ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะห้า คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑
ปลา ๑ เนื้อ ๑.
                ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวของฉันไว้ด้วยหมายใจว่า จักเคี้ยว
จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.
                                                                บทภาชนีย์
                                                ติกปาฏิเทสนียะ
                [๗๙๒] ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสกขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้ว
เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
                ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ
รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
                ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ
ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี
ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
                                                                ทุกกฏ
                ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อทำเป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ
ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.
                มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสกขะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                มิใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็น
เสกขะ ... ไม่ต้องอาบัติ.


                                                            หน้าที่ ๖๕๓

                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๙๓] ภิกษุได้รับนิมนต์ไว้ ๑ ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุฉันของเป็นเดน  ภิกษุผู้ได้รับ
นิมนต์ไว้หรือผู้อาพาธ ๑ ภิกษุฉันภิกษาที่เขาจัดไว้ในที่นั้นเพื่อภิกษุอื่นๆ ๑ ภิกษุฉันภัตตาหารที่
เขานำออกจากเรือนไปถวาย ๑ ภิกษุฉันนิตยภัต ๑ ภิกษุฉันสลากภัต ๑ ภิกษุฉันปักขิกภัต ๑
ภิกษุฉันอุโปสถิกภัต ๑ ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต ๑ ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก
ที่เขาถวายบอกว่า เมื่อปัจจัยมีก็นิมนต์ฉัน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                                ________________


                                                            หน้าที่ ๖๕๔

                                                ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๔
                                                เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ
                [๗๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนคร
กบิลพัสดุ์สักกะชนบท. ครั้งนั้น พวกบ่าวของเจ้าศากยะทั้งหลายก่อการร้าย นางสากิยานี
ทั้งหลายปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกบ่าวๆ ของเจ้า-
ศากยะได้ทราบข่าวว่า นางสากิยานีทั้งหลาย ปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ใน
เสนาสนะป่า จึงไปซุ่มอยู่ที่หนทาง เหล่านางสากิยานีพากันนำของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต
ไปสู่เสนาสนะป่า พวกบ่าวๆ ได้ออกมาแย่งชิงพวกนางสากิยานีและประทุษร้าย พวกเจ้าศากยะ
ออกไปจับผู้ร้ายพวกนั้นได้พร้อมด้วยของกลาง แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อ
พวกผู้ร้ายอาศัยอยู่ในอารามมี ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่แจ้งความเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
พวกเจ้าศากยะพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ-
สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ ...
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๔๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจ
มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือ
ของตน ในวัดที่อยู่ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรม
ที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.


                                                            หน้าที่ ๖๕๕

                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
                                เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ.
                                                เรื่องพระอาพาธ
                [๗๙๕] โดยสมัยต่อจากนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในเสนาสนะป่า ชาวบ้านได้
พากันนำของเคี้ยวของฉันไปสู่เสนาสนะป่า ครั้นแล้วได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์ฉันเถิด
ขอรับ.
                ภิกษุนั้นไม่รับ รังเกียจอยู่ว่า การรับของเคี้ยวหรือของฉันในเสนาสนะป่า ด้วยมือ
ของตน แล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว ดังนี้ แล้วไม่สามารถไปเที่ยวบิณฑบาต
ได้อดอาหารแล้ว เธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.
                                                พระพุทธานุญาตพิเศษ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับของ
เคี้ยวหรือของฉัน ในเสนาสนะป่า ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉันได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๑๔๕. ๔. ข. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่า เป็นที่มีรังเกียจ
มีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือ
ของตน ในวัดที่อยู่ ไม่ใช่ผู้อาพาธ เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉันแสดงคืน
ธรรมนั้น.
                                                เรื่องพระอาพาธ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘