พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 646-650

                                                            หน้าที่ ๖๔๖

ไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลา
ที่ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็น
ที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
                                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๘๕] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในสกุล ความว่า ที่ชื่อว่าสกุล
ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร์.
                คำว่า รับนิมนต์ฉันอยู่ คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะทั้งห้า อย่างใดอย่างหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์สองฝ่าย.
                ที่ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่ คือ บงการว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้
ดังนี้ ตามความที่เป็นมิตรกัน เป็นเพื่อนร่วมเห็นกัน เป็นเพื่อนร่วมคบกัน เป็นผู้ร่วม
อุปัชฌาย์กัน เป็นผู้ร่วมอาจารย์กัน นี้ชื่อว่า ผู้สั่งเสียอยู่.
                คำว่า อันภิกษุทั้งหลายนั้น ได้แก่ ภิกษุที่ฉันอยู่.
                คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้สั่งเสียนั้น.
                ภิกษุทั้งหลายนั้น พึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปจนกว่าภิกษุทั้งหลาย
จะฉันเสร็จ ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่รุกราน รับด้วยหวังว่าจักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. กลืน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน.
                                                                บทภาชนีย์
                                                ติกปาฏิเทสนียะ
                [๗๘๖] ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีผู้อุปสัมบันไม่ห้ามปราม
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
                ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ.
                ภิกษุณีผู้อุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีอนุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ.


                                                            หน้าที่ ๖๔๗

                                                                ติกทุกกฏ
                สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียวสั่งเสียอยู่ ภิกษุไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุมีความสงสัย ไม่ห้ามปราม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ภิกษุณีผู้เป็นอนุปสัมบันสั่งเสียอยู่ ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุณีผู้อนุปสัมบัน ไม่ห้ามปราม
ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๘๗] ภิกษุณีสั่งให้ถวายภัตตาหารของตน มิได้ถวายเอง ๑ ถวายภัตตาหารของ
ผู้อื่น มิได้สั่งให้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายภัตตาหารที่เขาไม่ได้ถวาย ๑ สั่งให้เขาถวายในภิกษุที่เขา
ไม่ได้ถวาย ๑ สั่งให้ถวายเท่าๆ กันแก่ภิกษุทุกรูป ๑ สิกขมานาสั่งเสีย ๑ สามเณรีสั่งเสีย ๑
เว้นโภชนะห้า อาหารทุกอย่างไม่เป็นอาบัติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
                                                ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                ____________


                                                            หน้าที่ ๖๔๘

                                                ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓
                                                เรื่องตระกูลหนึ่ง
                [๗๘๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ในพระนครสาวัตถี มีตระกูลหนึ่งเป็น
ตระกูลที่เลื่อมใส ทั้งสองสามีภรรยาเจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เขาได้สละของ
เคี้ยวของฉันอันเป็นอาหารมื้อเช้า ซึ่งบังเกิดในตระกูลนั้นทั้งหมด แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บางคราว
ถึงกับอดอาหารอยู่. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ
ศากยบุตรจึงได้รับอาหารไม่รู้จักประมาณ สามีภรรยาคู่นี้ได้ถวายแก่สมณะเหล่านี้แล้ว บางคราว
ถึงกับอดอาหารอยู่ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงได้
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                พระพุทธานุญาตพิเศษ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดเจริญด้วยศรัทธา แต่
หย่อนด้วยโภคทรัพย์ เราอนุญาตให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลเห็นปานนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงให้เสกขะสมมติอย่างนี้.
                                                                เสกขสมมติ
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                                                กรรมวาจาให้เสกขสมมติ
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อน
ด้วยโภคสมบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่
ตระกูลมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.


                                                            หน้าที่ ๖๔๙

                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลมีชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธา แต่หย่อน
ด้วยโภคสมบัติ สงฆ์ให้สมมติว่าเป็นเสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ การให้สมมติว่าเป็น
เสกขะแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                การให้สมมติว่าเป็นเสกขะ สงฆ์ให้แล้วแก่ตระกูลมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๔๔. ๓. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในสกุลที่สงฆ์
สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึง
แสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน ฉัน
แสดงคืนธรรมนั้น.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
                                                เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ.
                                                เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๗๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถีมีงานมหรสพ พวกชาวบ้านนิมนต์
ภิกษุทั้งหลายไปฉัน แม้ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายไปฉัน ภิกษุทั้งหลายไม่รับนิมนต์
รังเกียจอยู่ว่า การรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือของตนแล้วเคี้ยวฉัน
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม
เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์ฉันของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


                                                            หน้าที่ ๖๕๐

                                                พระพุทธานุญาตพิเศษ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อันทายก
นิมนต์แล้ว รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะ ด้วยมือ
ของตนแล้ว เคี้ยวฉันได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                พระอนุบัญญัติ ๑
                ๑๔๔. ๓. ข. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับนิมนต์ก่อน รับของเคี้ยวก็ดี ของ
ฉันก็ดี ในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะเห็นปานนั้น ด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวก็ดี
ฉันก็ดี ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะ
แสดงคืน ฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
                                                เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
                [๗๙๐] โดยสมัยต่อจากนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเป็นกุลุปกะของตระกูลนั้น ครั้นเวลาเช้า
เธอครองอันตรวาสกแล้วถือบาตจีวรเดินผ่านเข้าไปในตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่
เขาจัดถวาย ภิกษุนั้นเกิดอาพาธในทันใด จึงชาวบ้านเหล่านั้นได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นว่า นิมนต์
ฉันเถิดขอรับ ภิกษุนั้นไม่รับนิมนต์ รังเกียจอยู่ว่า ภิกษุผู้อันทายกไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน รับของเคี้ยว
ของฉันในตระกูลที่สงฆ์สมมติว่าเป็นเสกขะด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวฉัน พระผู้มีพระภาคทรง
ห้ามแล้ว ดังนี้แล้วไม่อาจไปบิณฑบาต ได้อดอาหารแล้ว ครั้นหายจากอาพาธแล้ว เธอได้ไปสู่
อารามแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                พระพุทธานุญาตพิเศษ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธรับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘