พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 636-640

                                                            หน้าที่ ๖๓๖

                                                ๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๗๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว
จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่มีประมาณ ปล่อยเลื้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป บรรดาภิกษุ
ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งผ้าอาบน้ำฝน
ไม่มีประมาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้า
อาบน้ำฝนไม่มีประมาณ จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าอาบ
น้ำฝนไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๔๐. ๙. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝน พึงให้ทำให้ได้ประมาณ นี้
ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้
ล่วงประมาณนั้น เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๖๓๗

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๗๓] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ผ้าที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน.
                บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้ประมาณ นี้ประมาณ
ในคำนั้น คือ โดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบสุคต.
                ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์
ด้วยได้ผ้านั้นมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.
                                                                บทภาชนีย์
                                                จตุกกะปาจิตตีย์
                [๗๗๔] ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ผ้าอาบน้ำฝน ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ผ้าอาบน้ำฝน ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๗๕] ทำผ้าอาบน้ำฝนได้ประมาณ ๑ ทำผ้าอาบน้ำฝนหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าอาบ-
น้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดแล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็น
ผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.


                                                            หน้าที่ ๖๓๘

                                                ____________
                                                ๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                                เรื่องพระนันทะ
                [๗๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระนันทะโอรสพระมาตุจฉาของพระผู้มี-
พระภาค เป็นผู้ทรงโฉม เป็นที่ต้องตาต้องใจ ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค ๔ องคุลี ท่านทรงจีวรเท่าจีวร
พระสุคต ภิกษุเถระได้เห็นท่านพระนันทะมาแต่ไกล ครั้นแล้วลุกจากอาสนะสำคัญว่า พระผู้มี-
พระภาคเสด็จมา ท่านพระนันทะเข้ามาใกล้จึงจำได้ แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ท่านพระนันทะจึงได้ทรงจีวรเท่าจีวรของพระสุคตเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระนันทะว่า ดูกรนันทะ ข่าวว่า เธอทรงจีวรเท่าจีวร
สุคต จริงหรือ?
                ท่านพระนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรนันทะ ไฉนเธอจึงได้ทรงจีวรเท่าจีวรของสุคต
เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๔๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็น
ปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว
๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคต.
                                                เรื่องพระนันทะ จบ.


                                                            หน้าที่ ๖๓๙

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มีประมาณเท่าสุคตจีวร คือ โดยยาว ๙ คืบ โดยกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต.
                บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์
ด้วยได้จีวรมา พึงตัดเสีย แล้วจึงแสดงอาบัติตก.
                                                                บทภาชนีย์
                                                จตุกกะปาจิตตีย์
                [๗๗๘] จีวร ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวร ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวร ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวร ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๗๙] ทำจีวรหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาตัดเสียแล้วใช้สอย ๑
ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นผ้าม่านก็ดี ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็น
ปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๙ จบ.


                                                            หน้าที่ ๖๔๐

                                                หัวข้อประจำเรื่อง
                ๑. อันเตปุรสิกขาบท                               ว่าด้วยการเข้าสู่พระราชฐาน
                ๒. รตนสิกขาบท                         ว่าด้วยการเก็บรตนะ
                ๓. วิกาเลคามปเวสนสิกขาบท         ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
                ๔. สูจิฆรสิกขาบท                     ว่าด้วยการทำกล่องเข็ม
                ๕. มัญจสิกขาบท                       ว่าด้วยเตียงตั่งเกินประมาณ
                ๖. ตูโลนัทธสิกขาบท                               ว่าด้วยเตียงตั่งยัดนุ่น
                ๗. นิสีทนสิกขาบท                     ว่าด้วยการทำผ้าสำหรับนั่ง
                ๘. กัณฑุปฏิจฉาทีสิกขาบท             ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
                ๙. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท                       ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
                ๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท                            ว่าด้วยการทำจีวรเท่าสุคตจีวร.
                                                                บทสรุป
                [๗๘๐] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์
แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม
แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วในธรรม คือ
ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                                                ปาจิตติยกัณฑ์ จบ.
                                                                ___________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘