พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 626-630

                                                            หน้าที่ ๖๒๖

                                                                ทุกะทุกกฏ
                ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุได้กล่องเข็มอันคนอื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๕๔] ทำลูกดุม ๑ ทำตะบันไฟ ๑ ทำลูกถวิน ๑ ทำกลักยาตา ๑ ทำไม้ป้ายยาตา ๑
ทำฝักมีด ๑ ทำธมกรก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                                _______________


                                                            หน้าที่ ๖๒๗

                                                ๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
                [๗๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บน
เตียงนอนอันสูง พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่าน
เข้าไปทางที่อยู่ของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้แลเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเสด็จมาแต่ไกลเทียวครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรเตียงนอนของข้า-
พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.
                จึงพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับจากที่นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทราบโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ครั้นแล้วทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดย
อเนกปริยาย ... แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๓๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง
๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็น
ปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๕๖] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น.
                ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ เตียงมีแม่-
แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.
                ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั่งมีแม่แคร่เนื่อง
เป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรดแม่แคร่ ๑.


                                                            หน้าที่ ๖๒๘

                บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี.
                คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ คือ
ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ.
                ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วย
ได้เตียง ตั่งนั้นมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
                                                                บทภาชนีย์
                                                จตุกกะปาจิตตีย์
                [๗๕๗] เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ภิกษุทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุได้เตียง ตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๕๘] ทำเตียง ตั่งได้ประมาณ ๑ ทำเตียง ตั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑ ได้เตียง ตั่งที่ผู้อื่น
ทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้วใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๖๒๙

                                                ๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๗๕๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วย
นุ่น พวกชาวบ้านเที่ยวไปทางวิหารเห็นเข้าแล้ว ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น เหมือนพวกคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำเตียง
บ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอให้ทำ
เตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ให้ทำ
เตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๓๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของหุ้มนุ่น เป็นปาจิตตีย์
ที่ให้รื้อเสีย.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๖๓๐

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๖๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ เตียงมีแม่-
แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑ เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.
                ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑ ตั่งมีแม่แคร่ติดเนื่อง
เป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรดแม่แคร่ ๑.
                ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่นุ่น ๓ ชนิด คือ นุ่นเกิดจากต้นไม้ ๑ นุ่นเกิดจากเถาวัลย์ ๑
นุ่นเกิดจากดอกหญ้าเลา ๑.
                บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค เป็นปาจิตตีย์
ด้วยได้ของมา ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.
                                                                บทภาชนีย์
                                                จตุกกะปาจิตตีย์
                [๗๖๑] เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เตียง ตั่ง คนอื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ได้เตียง ตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๖๒] ทำสายรัดเข่า ๑ ทำประคตเอว ๑ ทำสายโยกบาตร ๑ ทำถุงบาตร ๑ ทำ
ผ้ากรองน้ำ ๑ ทำหมอน ๑ ได้เตียง ตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้สอย ๑ ภิกษุวิกล-
จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘