พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 611-615

                                                            หน้าที่ ๖๑๑

ทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่แปด ในการ
เข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
                ๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้าแผ่นดิน ทรงส่งกองทัพ
ไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้ยกกลับเสียในระหว่างทาง พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้น
จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต
นี้เป็นโทษข้อที่เก้า ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
                ๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง โทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่
รื่นรมย์ เพราะช้าง ม้า รถ และมีอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเช่น รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่สมควรแก่บรรพชิต นี้แล เป็นโทษข้อที่สิบ ในการเข้าสู่พระราชฐาน
ชั้นใน.
                เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                [๗๓๔] พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอานนท์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ... แล้วตรัสว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๓๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณีเข้าไปในห้องของ
พระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก ที่รัตนะยัง
ไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๓๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง-
ประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๖๑๒

                ที่ชื่อว่า ผู้กษัตริย์ คือ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายพระราชมารดา และพระราช-
บิดา เป็นผู้มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีแล้วตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก ไม่มีใครคัดค้าน
ติเตียน โดยกล่าวถึงชาติได้.
                ที่ชื่อว่า ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว คือ ได้รับอภิเษกโดยสรงสนานให้เป็นกษัตริย์แล้ว.
                บทว่า ที่พระราชายังไม่เสด็จออก คือ พระเจ้าแผ่นดินยังไม่เสด็จออกจากตำหนัก
ที่ผทม.
                บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจากตำหนักที่ผทม หรือ
ทั้ง ๒ พระองค์ยังไม่เสด็จออก.
                บทว่า ยังไม่ได้รับบอกก่อน คือ ไม่มีใครนิมนต์ไว้ก่อน.
                ที่ชื่อว่า ธรณี ได้แก่สถานที่เขาเรียกกันว่าธรณีแห่งตำหนักที่ผทม.
                ที่ชื่อว่า ตำหนักที่ผทม ได้แก่ที่ผทมของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเจ้าพนักงานจัดแต่งไว้ใน
สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระวิสูตร.
                คำว่า ก้าวล่วงธรณีเข้าไป คือ ยกเท้าที่ ๑ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ
ยกเท้าที่ ๒ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๗๓๖] ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสงสัยอยู่ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ได้รับบอกแล้วภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ... ไม่ต้องอาบัติ.


                                                            หน้าที่ ๖๑๓

                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๓๗] ได้รับบอกแล้ว ๑ ไม่ใช่กษัตริย์ ๑ ไม่ได้รับอภิเษกโดยสรงสนานให้เป็น
กษัตริย์ ๑ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกจากตำหนักที่ผทมแล้ว ๑ พระมเหสีเสด็จออกจากตำหนัก
ที่ผทมแล้ว ๑ หรือทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกจากที่ผทมแล้ว ๑ ไม่ใช่ตำหนักที่ผทม ๑ ภิกษุ
วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๖๑๔

                                                ๙. รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
                [๗๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอาราม ของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี
แม้พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงเงินประมาณ ๕๐๐ กษาปณ์ไว้บนบก แล้วลงอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี
เสร็จแล้วได้ลืมถุงทรัพย์นั้นไว้ ไปแล้ว จึงภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยสำคัญว่า นี้ถุงทรัพย์ของพราหมณ์
นั้น อย่าได้หายเสียเลย ฝ่ายพราหมณ์นั้นนึกขึ้นได้ รีบวิ่งมาถามภิกษุนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าเห็นถุงทรัพย์ของข้าพเจ้าบ้างไหม?
                ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกับกล่าวว่า เชิญรับไปเถิด ท่านพราหมณ์.
                พราหมณ์ฉุกคิดขึ้นได้ในขณะนั้นว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึงจะไม่ต้องให้ค่าไถ่
ร้อยละห้าแก่ภิกษุนี้ จึงพูดเป็นเชิงขู่ขึ้นว่า ทรัพย์ของข้าพเจ้าไม่ใช่ ๕๐๐ กษาปณ์ ของข้าพเจ้า
,๐๐๐ กษาปณ์ ดังนี้ แล้วปล่อยตัวไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้เก็บ
เอาสิ่งรตนะเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอเก็บเอารัตนะไว้ จริงหรือ?
                ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้เก็บเอารัตนะเล่า
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...


                                                            หน้าที่ ๖๑๕

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๓๓. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะ ก็ดี ซึ่งของที่
สมมติว่ารัตนะก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
                                                เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
                                                เรื่องนางวิสาขามิคารมาตา
                [๗๓๙]  สมัยต่อมา ในพระนครสาวัตถี มีมหรสพ ประชาชนต่างประดับประดาตกแต่ง
ร่างกาย แล้วพากันไปเที่ยวชมสวน แม้นางวิสาขามิคารมาตาก็ประดับประดาตกแต่งร่างกายออก
จากบ้านไปด้วยตั้งใจว่า จักไปเที่ยวชมสวน แล้วหวนคิดขึ้นว่า เราจักไปสวนทำไม เราเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคดีกว่า ดังนี้แล้วได้เปลื้องเครื่องประดับออก ห่อด้วยผ้าห่มมอบให้แก่ทาสี สั่งว่า
แม่สาวใช้ เธอจงถือห่อเครื่องประดับนี้ไว้ ครั้นแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตาผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว เห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.
                ครั้นนางวิสาขามิคารมาตาอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.
                ฝ่ายทาสีคนนั้น ได้ลืมห่อเครื่องประดับนั้นไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายพบเห็น จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเก็บ
เอามารักษาไว้.
                                                พระพุทธานุญาตพิเศษให้เก็บรัตนะ
                ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บ
ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ แล้วรักษาไว้ ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้น
จะได้นำไป.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘