พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 581-585

                                                            หน้าที่ ๕๘๑

                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุมีความสงสัย แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม แสร้งทำหลงอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๙๔] ภิกษุยังไม่ได้ฟังโดยพิสดาร ๑ ภิกษุฟังโดยพิสดารไม่ถึง ๒-๓ คราว ๑ ภิกษุ
ผู้ไม่ปรารถนาจะแสร้งทำหลง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๕๘๒

                                                ๘. สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๖๙๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร
แก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่าน
ร้องไห้ทำไม?
                พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ น้อยใจ ให้
ประหารแก่พวกผม.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์
จึงได้โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโกรธ
น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธ
น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อม
ใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๒๓. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ ให้ประหารแก่ภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๘๓

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๙๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.
                คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
                คำว่า ให้ประหาร ความว่า ให้ประหารด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วย
ของที่โยนไปก็ดี โดยที่สุด แม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๖๙๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ ให้ประหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                จตุกกะทุกกฏ
                ภิกษุโกรธ น้อยใจ ให้ประหาร แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๙๘] ภิกษุถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว ให้ประหาร ๑ ภิกษุวิกล
จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                                __________


                                                            หน้าที่ ๕๘๔

                                                ๘. สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๖๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่า
มือขึ้นแก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ หลบประหารแล้วร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า
อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ ทำไม?
                พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ น้อยใจ เงื้อ
หอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พวกผม.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์
จึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโกรธ
น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธ
น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๒๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ เป็น
ปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๘๕

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๐๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.
                คำว่า โกรธ น้อยใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
                คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ความว่า เงือดเงื้อกายก็ดี ของเนื่องด้วยกายก็ดี โดย
ที่สุดแม้กลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๗๐๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                                จตุกกะทุกกฏ
                ภิกษุ โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุมีความสงสัย ...  ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๐๒] ภิกษุถูกใครๆ เบียดเบียน ประสงค์จะป้องกันตัว เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘