พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 561-565

                                                            หน้าที่ ๕๖๑

เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ เธอไม่ละทิฏฐิ
นั้น สงฆ์สวดประกาศห้ามภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น การสวดประกาศห้ามภิกษุ
มีชื่อนี้ เพื่อสละทิฏฐินั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ...
                ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ...
                ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดประกาศห้ามแล้ว เพื่อสละทิฏฐินั้น ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                                                                บทภาชนีย์
                [๖๖๖] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๖๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกะทุกกฏ
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่ยอมสละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๖๘] ภิกษุผู้ไม่ถูกสวดประกาศห้าม ๑ ภิกษุผู้ยอมสละ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๖๒

                                                ๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๖๖๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จ
การนอนด้วยกันบ้าง กับพระอิรฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละ
ทิฏฐินั้น บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์รู้อยู่
จึงได้กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับพระอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยัง
ไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้นเล่า ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่
กินร่วมบ้าง อยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับอริฏฐะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำ
กรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ จึงได้กิน
ร่วมบ้างอยู่ร่วมบ้าง สำเร็จการนอนด้วยกันบ้าง กับอริฏฐกะผู้กล่าวอย่างนั้น ผู้ยังไม่ได้ทำกรรม
อันสมควรผู้ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๑๘. ๙. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วย
กันก็ดี กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น
เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๖๓

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๗๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือรู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก.
                บทว่า ผู้กล่าวอย่างนั้น คือ ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตรายอย่างไร ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำ-
อันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่.
                ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทำกรรมอันสมควร คือ เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว สงฆ์ยังไม่ได้
เรียกเข้าหมู่
                คำว่า กับ ... ยังไม่ได้สละทิฏฐินั้น คือ กับ ... ยังไม่สละทิฏฐิที่ถือนั้น.
                บทว่า กินร่วมก็ดี อธิบายว่า ที่ชื่อว่ากินร่วม หมายถึงการคบหา มี ๒ อย่าง คบหากัน
ในทางอามิส ๑ คบหากันในทางธรรม ๑
                ที่ชื่อว่า คบหากันในทางอามิส คือ ให้อามิสก็ดี รับอามิสก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ที่ชื่อว่า คบหากันในทางธรรม คือ บอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรม.
                ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท.
                ภิกษุบอกธรรมให้ หรือขอเรียนธรรมโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ อักขระ.
                บทว่า อยู่ร่วมก็ดี ความว่า ทำอุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ร่วมกับภิกษุ
ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                คำว่า สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี อธิบายว่า ในที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ยกวัตรนอนแล้ว ภิกษุจึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอนแล้ว ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร
จึงนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้ง ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ลุกขึ้นแล้วนอนซ้ำอีก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                [๖๗๑] ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว กินร่วมก็ดี
อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๕๖๔

                ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุยังสงสัยอยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอน
ด้วยกันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี
สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
                ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุยังสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ... ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๗๒] ภิกษุรู้ว่าไม่ใช่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร ๑ ภิกษุรู้ว่าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร แต่สงฆ์
เรียกเข้าหมู่แล้ว ๑ ภิกษุรู้ว่าภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตรแล้ว แต่สละทิฏฐินั้นแล้ว ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๕๖๕

                                                ๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                                เรื่องสมณุทเทสกัณฑกะ มิจฉาทิฏฐิ
                [๖๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น สมณุทเทสชื่อกัณฑกะ มีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้
เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่าธรรม
เหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุหลายรูป
ได้ทราบข่าวว่า สมณุทเทสชื่อกัณฑกะมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้
มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย
ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาสมณุทเทสชื่อกัณฑกะ
ถึงสำนักแล้วถามว่า อาวุโส กัณฑกะ ข่าวว่า เธอมีทิฏฐิทรามเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ถึงทั่วธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสธรรมเหล่าใดว่าธรรมเหล่านี้เป็นธรรมทำอันตราย
ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ?
                ก. จริงอย่างว่านั้นแล ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ที่โดย
ประการ ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตราย
แก่ผู้เสพได้จริงไม่ ดังนี้ จริงหรือ?
                ภิ. อาวุโส กัณฑกะ เธออย่าได้ว่าอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนั้นเลย ธรรมอันทำอันตราย
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยบรรยายเป็นอันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง
กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษใน
กามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือนร่างกระดูก ... กาม
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กาม
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือนความฝัน ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เปรียบเหมือนของยืม ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลาย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘